ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1846อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1847อ่านอรรถกถา 37 / 1851อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๒๑ ธรรมกถา

               อรรถกถาธัมมกถา               
               ว่าด้วยธรรม               
               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธรรม.
               ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะและอุตตราปถกะบางพวกว่า ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น เป็นนิยตะ คือเป็นสภาพเที่ยง เพราะสภาพแห่งรูปเป็นต้น ย่อมไม่ละซึ่งสภาพนั้น เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายทั้งปวงจึงเป็นนิยตะ ดังนี้.
               คำถามของสกวาทีว่า ธรรมทั้งปวง เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่า ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเหล่านั้น พึงเป็นสภาพแน่นอน คือพึงเป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือพึงเป็นสัมมัตตนิยตะไซร้ เพราะชื่อว่านิยามอื่นจากนี้ไม่มี ดังนี้.
               ปัญหานั้น คำปฏิเสธและคำรับรองเป็นของปรวาที.
               คำว่า รูปเป็นนิยตะโดยอรรถว่าเป็นรูป เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อจะท้วงด้วยสามารถแห่งรูปที่บุคคลกล่าวว่า เป็นนิยตะโดยอรรถอันใดนั้น ในข้อนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคลพึงกล่าวโดยความประสงค์ว่า ก็รูปชื่อว่าเป็นของเที่ยง ด้วยอรรถว่าเป็นรูป เพราะฉะนั้น รูปจึงเป็นรูปเท่านั้น ไม่ใช่เป็นภาวธรรมมีเวทนาเป็นต้น ใครๆ ไม่พึงกล่าวโดยประการอื่นจากนี้.
               ถามว่า เพราะเหตุไร?
               แก้ว่า เพราะไม่มีรูปอื่น นอกจากอรรถว่าเป็นรูป.
               จริงอยู่ สภาพแห่งรูปมีรูปเป็นอรรถด้วย สภาพแห่งรูปเป็นรูปนั่นแหละด้วย มิใช่เป็นธรรมอื่นนอกจากรูป แต่ว่า โวหารนี้ย่อมมีเพื่อให้รู้ถึงความต่างกันของรูปกับธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ดังนี้. เพราะฉะนั้น คำว่า รูปเป็นนิยตะ โดยอรรถเป็นรูป ดังนี้ ย่อมเป็นคำอันสกวาทีกล่าวว่า รูปเป็นนิยตะหรือ ดังนี้ ก็ชื่อว่า นิยตะ พึงเป็นมิจฉัตตนิยตะหรือเป็นสัมมัตตนิยตะ เพราะนอกจากนิยตะนี้แล้ว นิยามคือข้อกำหนดที่แน่นอนอย่างอื่นไม่มี.
               ถามว่า ครั้นเมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร?
               ท่านจึงตอบรับรองว่า เพราะอำนาจความแตกต่างกันแห่งอรรถมีอยู่.
               จริงอยู่ ในคำว่า รูปเป็นนิยตะ โดยอรรถว่าเป็นรูป นี้ท่านอธิบายว่า รูปก็เป็นรูปเท่านั้น ไม่เป็นสภาพธรรมมีเวทนาเป็นต้น ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงตอบรับรอง.
               อนึ่ง ความที่รูปนั้นเป็นนิยตะคือเที่ยงแท้โดยประการอื่นจากประการที่กล่าวมานี้ ย่อมไม่มี ดังนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นต้น เพื่อจะกล่าวท้วงโดยนัยนั้นแหละ.
               คำเหล่านั้นทั้งหมดมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
               แม้ลัทธิว่า ถ้าอย่างนั้น รูปก็เป็นนิยตะ ดังนี้ ลัทธินี้ย่อมตั้งไว้ไม่ได้เลย เพราะตั้งไว้โดยไม่แยบคาย ดังนี้แล.

               อรรถกถาธัมมกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๒๑ ธรรมกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1846อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1847อ่านอรรถกถา 37 / 1851อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=19698&Z=19742
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7146
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7146
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๙  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :