ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 6อ่านอรรถกถา 37 / 11อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
ปุคคลกถา นิคหะ ๘ นิคหะที่ ๒

               นิคคหะที่ ๒               
               อรรถกถาปัจจนีกปัญจกะ               
               หมวด ๕ แห่งปัจจนิก               
               เมื่อความชนะฝ่ายแรกของสกวาทีมีอยู่ประมาณเท่าใด ความชนะของปรวาทีด้วยวาทะอันมีเลศนัยสักว่าเป็นคำธรรมดาก็มีประมาณเท่านั้น. บัดนี้ ครั้นเมื่อความชนะฝ่ายแรกของปรวาทีมีอยู่ฉันใด ความชนะของสกวาทีโดยธรรมดาตามความเป็นจริงก็มีอยู่ฉันนั้น เพื่อแสดงซึ่งความเกิดขึ้นแห่งวาทะเช่นนั้น ท่านจึงเริ่มปัจจนิกานุโลมปัญจกะด้วยคำว่า ย่อมหยั่งเห็นบุคคลไม่ได้ เป็นต้น.
               ในปัจจนิกนั้นเป็นคำถามของปรวาที.
               คำรับรองของสกวาทีหมายเอาสัจฉิกัตถปรมัตถะอันต่างด้วยรูปเป็นต้น.
               คำซักถามของปรวาทีอีกว่า "สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะ" หมายเอาสมมติสัจจะล้วน หรือสมมติสัจจะที่เจือด้วยปรมัตถะ.
               คำปฏิเสธของสกวาทีว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เพราะสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้นใครๆ ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นไม่ได้ด้วยสามารถแห่งสมมติสัจจะ หรือเพราะความซักถามอันระคนแล้วด้วยสัจจะทั้ง ๒.
               คำเป็นต้นว่า ท่านจงรับรู้นิคคหะ ดังนี้ ด้วยสักว่าเป็นคำธรรมดาว่า ท่านปฏิเสธอยู่ซึ่งคำอันท่านรับรองแล้ว เป็นของปรวาที.
               พึงทราบว่า นิคคหะที่ ๒ อาศัยวาทะที่ ๒ ว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
               ปรวาทียกนิคคหะขึ้นแล้วด้วยเลศนัยนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้.
               อรรถกถาปัจจนีกปัญจกะ จบ.               

               อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ ข้อ [๗]               
               หมวด ๔ แห่งการทำตอบ               
               บัดนี้ เป็นคำถามของสกวาทีในนัยแห่งอนุโลม เพื่อแสดงถึงความชนะในวาทะของตนโดยเป็นธรรม เสมอด้วยการรับรองปัญหานั้นนั่นแหละ.
               คำตอบรับรองของปรวาทีอาศัยลัทธิของตน.
               การซักถามไม่ให้โอกาสแก่ลัทธิของปรวาทีด้วยสามารถแห่งปรมัตถะอีก เป็นของสกวาที.
               การปฏิเสธของปรวาที เพราะความที่บุคคลเป็นสภาพไม่มีอยู่โดยปรมัตถะ.
               เบื้องหน้าแต่นี้ คำของสกวาทีทั้งปวงมีคำว่า ท่านจงรู้ปฏิกรรมเป็นต้นนั่นเทียว เพื่อแสดงความชนะของตนโดยธรรมเสมอ.
               ในปฏิกัมมจตุกกะนั้น พึงทราบเนื้อความแห่งปฏิกัมมะ นิคหะ อุปนยนะและนิคจตุกกะทั้งปวง โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
               ข้อนี้ชื่อว่าปัจจนิกานุโลมปัญจกะ พึงทราบว่าท่านชี้แจงแล้ว ด้วยสามารถแห่งปฏิกัมมะ นิคหะ อุปนยนะและนิคคมจตุกกะ อันมีคำว่า ย่อมหยั่งเห็นได้ เป็นต้นแห่งปัจจนิกปัญจกะคำว่า ย่อมหยั่งเห็น บุคคลไม่ได้ เป็นต้น ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
               ปัญจกะ คือหมวด ๕ ทั้ง ๒ ในปฐมสัจฉิกัตถะเหล่านี้ ท่านอธิบายแล้วด้วยประการฉะนี้.
               ในปัญจกะทั้ง ๒ นั้น ปัญจกะแรกสกวาทีทำนิคคหะแก่ปรวาที ชื่อว่าเป็นนิคคหะดี แต่ความชนะที่ปรวาทีอาศัยวาทะอันมีเลศนัย ทำตอบแก่สกวาทีที่ตนให้สำเร็จแล้ว เป็นความชนะที่ไม่ดี.
               ในปัญจกะที่ ๒ ปรวาทีทำนิคคหะแก่สกวาทีเป็นนิคคหะที่ไม่ดี. แต่ความชนะที่สกวาทีอาศัยวาทะอันเป็นธรรม อันตนให้สำเร็จแล้วทำตอบแก่ปรวาทีเป็นการชนะที่ดี.
               อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ จบ.               

               อรรถกถาปฐมสัจฉิกัตถะ               
               ในปฐมสัจฉิกัตถะนั้น ท่านกล่าวไว้ว่า :-
                         ปฐมปัญจกะ สกวาทีทำนิคคหะอันบริสุทธิ์แก่ปรวาที
               แต่การชนะในการทำตอบของปรวาทีในปัญหานั้นนั่นแหละ
               ไม่บริสุทธิ์.
                         ในทุติยปัญจกะ ปรวาทีทำนิคคหะแก่สกวาทีเป็นนิคคหะ
               ที่ไม่บริสุทธิ์ แต่ชัยชนะในการทำตอบของสกวาทีในที่นั้น
               นั่นแหละ บริสุทธิ์วิเศษแล้ว.
                         เพราะฉะนั้น ในฐานะแม้ทั้ง ๒ ความชนะของสกวาทีเทียว
               ชื่อว่าชนะโดยธรรม ความชนะโดยอธรรมของปรวาทีจักมีแต่ที่ไหน.
                         ความมีชัยและความปราชัยในสัจฉิกัตถะอันประดับด้วย
               หมวด ๒ แห่งปัญจกะนี้ท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งธรรมและ
               อธรรม ฉันใด ในสัจฉิกัตถะทั้งปวงอื่นจากนี้ บัณฑิตพึงยังความ
               มีชัยและปราชัยทั้ง ๒ ให้แจ่มแจ้ง ฉันนั้นนั่นแหละ ดังนี้แล.

               อรรถกถานิคคหะที่ ๒ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ ปุคคลกถา นิคหะ ๘ นิคหะที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 6อ่านอรรถกถา 37 / 11อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=99&Z=184
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3021
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3021
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :