ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 779อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 795อ่านอรรถกถา 37 / 809อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๓ ทิพพจักขุกถา

               อรรถกถาทิพยจักขุกถา               
               ว่าด้วยทิพพจักขุ               
               บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องทิพพจักขุ.๑-
____________________________
๑- จักษุ ๓ คือ :-
               ๑. มังสจักขุ ได้แก่จักขุปสาท ๒. ทิพพจักขุ ได้แก่อภิญญาจิตตุปบาทที่เป็นทุติยวิชชาญาณ ๓. ปัญญาจักขุ ได้แก่อาสวักขยญาณ (ในปกรณ์นี้หรือในขุททกนิกาย อิติวุตตกะ)
               จักขุ ๕ คือ มังสจักขุ ทิพพจักขุ ปัญญาจักขุ พุทธจักขุ สมันตจักขุ (ในขุททกนิกาย มหานิทเทส).


               ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจนิกายอันธกะและสมิติยะทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า มังสฺจักขุ นั่นแหละอันธรรม คือจตุตถฌานอุปถัมภ์แล้ว ชื่อว่าเป็นทิพพจักขุ ดังนี้
               สกวาทีหมายชนเหล่านั้น จึงถามปรวาทีว่า มังสจักขุอันธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพพจักขุหรือ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ก็ถูกถามอีกว่า มังสจักขุก็คือทิพพจักขุ ทิพพจักขุก็คือมังสจักขุหรือ ปรวาทีปฏิเสธว่า มังสจักขุนั้นก็เป็นเพียงมังสจักษุนั้นเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น. แม้ในคำถามทั้งหลายว่า มังสจักขุเป็นเช่นใด เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความที่จักษุทั้ง ๒ นั้น ไม่มีสภาพอย่างเดียวกัน.
               แม้ในปัญหามีคำว่า วิสัย เป็นต้น ความว่า รูปายตนะนั่นแหละเป็นวิสัยแห่งจักษุแม้ทั้ง ๒.
               อธิบายว่า ก็มังสจักขุย่อมเห็นรูปอันมาสู่คลองแห่งจักษุเท่านั้น ส่วนทิพพจักขุนี้ย่อมเห็นรูปอันไม่มาสู่คลองแห่งจักษุได้ แม้รูปนั้นจะมีภูเขากั้นไว้เป็นต้น.
               อนึ่ง รูปแม้ละเอียดยิ่งนัก ก็เป็นโคจรคืออารมณ์ของทิพพจักขุได้ แต่รูปเช่นนี้เป็นอารมณ์ของมังสจักขุไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น อานุภาพคืออำนาจ และโคจรคืออารมณ์ แห่งจักษุทั้ง ๒ นี้ จึงไม่เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้.
               ถูกถามว่า เป็นอุปาทินนะคือเป็นกัมมชรูป แล้วเป็นอนุปาทินนะ คือมิใช่กัมมชรูปหรือ ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาว่า มังสจักขุเป็นอุปาทินนะ ส่วนทิพพจักขุเป็นอนุปาทินนะ ทั้งมังสจักขุนั้นแหละก็ไม่เป็นทิพพขุ เพราะฉะนั้นจึงตอบปฏิเสธ.
               ถูกถามครั้งที่ ๒ ปรารถนา ทิพพจักขุย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยมังสจักขุเป็นปัจจัย เพราะอาศัยพระบาลีว่า ความเกิดขึ้นแห่งมังสจักขุเป็นทางแห่งทิพพจักขุ ดังนี้ ทั้งมังสจักขุนั้นก็เป็นความผ่องใสของมหาภูตรูปทั้ง ๔ อันเป็นไปในรูปาวจร เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรอง. แม้ถูกถามว่า เป็นกามาวจร ปรวาทีไม่ปรารถนาซึ่งมังสจักขุนั่นแหละเป็นทิพพจักขุ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงตอบปฏิเสธ.
               ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรองว่า ธรรมดาว่า รูปาวจรเกิด เพราะความที่มังสจักขุเกิดขึ้นแล้ว โดยมีรูปาวจรฌานเป็นปัจจัย. แม้ถูกถามว่า เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรหรือ ต่อจากนี้ไป ท่านตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีรูปาวจรจิต ในขณะแห่งอรูปาวจรด้วยการภาวนา.
               ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรอง เพราะลัทธิว่า มังสจักขุนั้นเป็นสภาพผ่องใสของมหาภูตรูปทั้ง ๔ อันเป็นปัจจัยให้อรูปาวจรเกิดขึ้น ดังนี้. ก็แต่ปรวาทีนั้นไม่ปรารถนาความที่มังสจักขุนั้นเป็นโลกุตตธรรม (อปริยาปันนะ) เพราะฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธนั้นเทียว.
               คำว่า ทิพพจักขุอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว ได้แก่ เป็นธรรมกามาวจรอุปถัมภ์แล้ว. คำว่า อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว ได้แก่ เป็นธรรม คือโลกุตตรอุปถัมภ์แล้ว. ถูกถามว่า จักขุมี ๒ อย่างเท่านั้นหรือ ปรวาทีไม่ปรารถนาความที่ทิพพจักขุอันธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักขุ แม้ก็จริง ถ้าอย่างนั้น ก็ตอบปฏิเสธ เพราะความที่ปัญญาจักขุเป็นสภาพมีอยู่.
               ถูกถามอีก ก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิว่า มังสจักขุอันธรรมอุปถัมภ์แล้วย่อมเป็นทิพพจักขุ ดังนี้
               คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น แล.

               อรรถกถาทิพพจักขุ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๓ ทิพพจักขุกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 779อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 795อ่านอรรถกถา 37 / 809อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=8199&Z=8274
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4410
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4410
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๖  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :