บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อรรถกถาปวัตติวาระ ถามว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ตรัสอุทเทสวาระไว้ในปวัตติวาระนี้. ตอบว่า เพราะเป็นนัยที่ทรงแสดงไว้แล้วในหนหลัง ก็นัยในอุทเทสวาระพระองค์ทรงแสดงไว้แล้วในปัณณัตติวาระ ก็โดยนัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสอุทเทสวาระนั้น ทรงเริ่มนิทเทสวาระเลยทีเดียว เพราะแม้ไม่ตรัสอุทเทสวาระไว้ในปัณณัตติวาระนี้ ใครๆ ก็อาจทราบได้. ก็อันตรวาระ ๓ คือ อุปาทวาระ นิโรธวาระ อุปาทนิโรธวาระ ย่อมมีในมหาวาระ กล่าวคือปวัตติวาระนี้. ในวาระทั้ง ๓ นั้น วาระที่ ๑ เรียกว่าอุปาทวาระ เพราะแสดงลักษณะแห่งการเกิดขึ้นของธรรมทั้งหลาย. วาระที่ ๒ เรียกว่านิโรธวาระ เพราะแสดงลักษณะแห่งการดับของธรรมทั้งหลายเหล่านี้นั้นนั่นแหละ. วาระที่ ๓ เรียกว่าอุปาทนิโรธวาระ เพราะแสดงลักษณะแม้ทั้งสอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการแห่งการเกิดขึ้นของธรรมทั้งหลายในปวัตติวาระนี้ด้วย ในอุปาทวาระนั้น มีประเภทแห่งกาล ๖ อย่างด้วยอำนาจอัทธา ๓ คือปัจจุบัน อดีต อนาคต ปัจจุบันกับอดีต ปัจจุบันอนาคต อดีตกับอนาคต. ในกาลเหล่านั้น คำว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ รูปขันธ์กำลังเกิด (ย่อมเกิด) แก่บุคคลใด พึงทราบว่าเป็นปัจจุบันด้วยอำนาจของชื่อที่เป็นปัจจุบัน ก็ปัจจุบันนั้นพระองค์ตรัสไว้ก่อนว่า ปัจจุบันนั้นเป็นธรรมชาติที่บุคคลพึงรู้ด้วยดีเกินเปรียบ เพราะความที่ธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน บุคคลพึงถือเอาได้โดยประจักษ์. อดีตกาล พึงทราบด้วยอำนาจของชื่อที่เป็นอดีตว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ = รูปขันธ์เคยเกิด (เกิดแล้ว) แก่บุคคลใด ก็อดีตกาลนั้นท่านกล่าวไว้เป็นที่สองเพราะอดีตธรรมที่เคยเกิดขึ้นแล้วในภายหลัง เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้งโดยประจักษ์ดีกว่าอนาคตที่บุคคลพึงรู้แจ้งโดย พึงทราบอนาคตกาลด้วยอำนาจแห่งชื่อที่เป็นอนาคตว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิสฺสติ = รูปขันธ์จักเกิดแก่บุคคลใด อนาคตกาลนั้นกล่าวไว้เป็นที่ ๓ เพราะถือเอาว่า ธรรมทั้งหลายมีอย่างนี้ เป็นรูปจักเกิดขึ้น แม้ในอนาคตด้วยอำนาจธรรมที่เคยเกิดขึ้นแล้วโดยประจักษ์ และด้วยธรรมที่ถือเอาแล้ว คำถามว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ พึงทราบว่าเป็นปัจจุบันกับอดีต ด้วยอำนาจชื่อที่เป็นปัจจุบันกับชื่อที่เป็นอดีต ปัจจุบันกับอดีต (ปัจจุบันนาตีตวาระ) นั้น กล่าวไว้เป็นที่ ๔ เพราะปัจจุบันและอดีตบุคคลพึงรู้แจ้งได้ง่ายกว่ากาลทั้ง ๓ ที่เจือปนกัน. พึงทราบปัจจุบันกับอนาคตด้วยอำนาจของชื่อที่เป็นปัจจุบันกับชื่อที่เป็นอนาคตว่า ยสฺส รูปกฺ พึงทราบอดีตกับอนาคต ด้วยชื่อที่เป็นอนาคตกับอดีตว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิสฺสติ อดีตกับอนาคตนั้น พึงรู้ได้ยากกว่ากาลทั้งหลายก่อนๆ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในลำดับที่ ๖. ในกาลทั้ง ๖ นั้น ปัจจุบันกาลอันเป็นกาลที่หนึ่ง มี ๓ วาระ คือโดยบุคคล โดยโอกาส โดยบุคคลและโอกาส (ปุคคลวาระ, โอกาสวาระและปุคคลโลกาสวาระ). ในวารทั้ง ๓ นั้น การแสดงการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจบุคคลด้วยคำว่า ยสฺส ชื่อว่าปุคคลวาระ. การแสดงการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจโอกาส ด้วยคำว่า ยตฺถ ชื่อว่าโอกานวาร. การแสดงการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจบุคคลและโอกาส ด้วยคำว่า ยสฺส ยตฺถ ชื่อว่าปุคคลโลกาสวาระ. วาระทั้ง ๓ เหล่านี้ พระองค์ทรงแสดงอนุโลมนัยก่อน แล้วจึงแสดงปฏิโลมนัยภายหลัง ในอนุโลมนัยและปฏิโลมนัย การแสดงการเกิดขึ้นด้วยคำว่า อุปฺปชฺชติ = ย่อมเกิด (กำลังเกิด) อุปฺปชฺชิตฺถ = เกิดแล้ว (เคยเกิด) อุปฺปชฺชิสฺสติ = จักเกิด ชื่อว่าอนุโลมนัย. การแสดงการไม่เกิดขึ้นด้วยคำว่า นุปฺปชฺชติ = ไม่ใช่ย่อมเกิด (หรือไม่ใช่กำลังเกิด) นุปฺ ในอนุโลมนัยแห่งบุคคลวาระในปัจจุบันกาลนั้น มียมก ๑๐ อย่าง เพราะนับแล้วไม่นับอีก (คือนับเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน) คือยมก ๔ อย่างที่มีรูปขันธ์เป็นมูลอย่างนี้ว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ, ยสฺส วา ปน เวทนากฺขนฺโธ อุปฺ ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส สญฺญากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ, ยสฺส วา ปน สญฺญากฺขนฺโธ อุปฺ ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส สงฺขารกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ, ยสฺส วา ปน สงฺขารกฺขนฺโธ อุปฺ ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส วิญญาณกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ, ยสฺส วา ปน วิญญาณกฺ ยมก ๓ อย่าง ที่มีเวทนาขันธ์เป็นมูล ด้วยนัยเป็นต้นว่า ยสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺ ในยมกทั้ง ๑๐ อย่างนั้น ในยมก ๔ อย่างที่มีรูปขันธ์เป็นมูล พระองค์ทรงวิสัชนายมกต้นอย่างเดียวเท่านั้น ยมกที่เหลือ (อีก ๓) มีการวิสัชนาเช่นกับยมกต้นนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงย่อไว้เพื่อความง่ายแห่งภาษาที่เป็นแบบแผน แม้ในมูลทั้งหลายมีเวทนาขันธ์เป็นมูลเป็นต้น การวิสัชนาเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยคำว่า อามนฺตา = ใช่ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนายมก ๑๐ อย่างแล้ว ด้วยการวิสัชนายมกหนึ่งๆ ในอนุโลมนัย ในบุคคลวาระ ในปัจจุบันกาล เหล่านี้อย่างนี้ว่า ยมกเหล่านั้นทรงย่อไว้เพื่อความง่ายแห่งภาษาที่เป็นแบบแผน. ในอนุโลมนัย ในวาระทั้ง ๓ ในปัจจุบันกาล มียมก ๓๐ อย่าง คือในบุคคลวาระมี ๑๐ อย่าง ในโอกาสวาระ ๑๐ อย่าง ในปุคคโลกาสวาระ ๑๐ อย่าง ฉันใด แม้ในปฏิโลมนัยก็มี ๓๐ ฉันนั้น จึงรวมเป็นยมกะ ๖๐ อย่าง ในปัจจุบันกาลทั้งหมด. ในยมกะ ๖๐ อย่างนั้น พึงทราบว่า มีปุจฉา ๑๒๐ มีอรรถ ๒๔๐. วาระทั้ง ๖ พึงทราบว่า มียมกะ ๖๐ เพราะกระทำให้เป็น ๑๐ ในวาระหนึ่งๆ รวมยมกะ ๓๐๐ ในก่อน จึงเป็นยมกะ ๓๖๐ ปุจฉา ๗๒๐ อรรถ ๑,๔๔๐ นี้เป็นการกำหนดพระบาลีในอุปปาทวาระก่อน. ก็ในอุปปาทะวาระฉันใด พึงทราบว่าแม้ในนิโรธวาระ แม้ในอุปปาทนิโรธวาระก็อย่างนั้น ในปวัตติมหาวาระ แม้ทั้งหมดจึงยมกะ ๑,๐๘๐ ปุจฉา ๒,๑๖๐ อรรถ ๔,๓๒๐. แต่พระบาลีในอุปปาทวาระและนิโรธวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาย่อไว้แล้วซึ่งยมกหนึ่งๆ เท่านั้น ในวาระนั้นๆ ในประเภทแห่งกาลที่ไม่ปะปนกัน ๓ อย่าง. ในประเภทแห่งกาลที่ปะปนกัน ๓ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนายมกอย่างหนึ่ง แม้ในมูลที่มีเวทนาขันธ์เป็นมูลเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ยสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส สญฺญากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ = เวทนาขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด สัญญาขันธ์เคยเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม? ก็ในอุปปาทะนิโรธ วาระพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงวิสัชนายมกแม้นั้นไว้ในประเภทแห่งกาล แม้ทั้ง ๖ พึงทราบว่ายมกะที่เหลือทรงย่อไว้ เพราะยมกเหล่านั้น พระองค์ทรงวิสัชนาให้เสมอกันกับยมกนั้น นี้เป็นการกำหนดพระบาลีในปวัตติมหาวาระแม้ทั้งสิ้น. ก็เพื่อวินิจฉัยเนื้อความแห่งขันธยมกนี้ พึงทราบลักษณะดังต่อไปนี้ บัณฑิตพึงทราบการวินิจฉัยเนื้อความแห่งปัญหา ๔ อย่าง ในปวัตติมหาวาระนี้ที่ท่านใส่ไว้ในคำวิสัชนา ๕ อย่าง ในฐานะ ๒๗ ในอรรถวินิจฉัยนั้น ชื่อปัญหา ๔ อย่าง คือปุเรปัญหา ปัจฉาปัญหา ปริ ในปัญหา ๔ อย่างนั้น ในการวิสัชนาซึ่งปัญหาใดย่อมได้การเกิดขึ้นหรือการดับไปแห่งขันธ์ที่ถือเอาด้วยบทเพียงบทเดียว ปัญหานี้ ชื่อว่าปุเรปัญหา. ก็ในการวิสัชนาซึ่งปัญหาใด ย่อมได้การเกิดขั้นหรือความดับไปแห่งขันธ์ที่ถือเอาด้วยบทแม้ทั้งสอง ปัญหานี้ชื่อว่าปัจฉาปัญหา. ก็ในการวิสัชนาซึ่งปัญหาใดย่อมได้การเกิดขึ้นหรือความดับไปแห่งขันธ์ที่ถือเอาแล้วด้วยบทเพียงบทเดียวบ้าง ด้วยบทแม้ทั้งสองบ้าง ปัญหานี้ชื่อว่าปริปุณณปัญหา. แต่การห้ามหรือการปฏิเสธย่อมได้ในการวิสัชนาซึ่งปัญหาใด ปัญหานี้ชื่อว่าโมฆะปัญหา ก็เพราะโมฆะปัญหานี้ ถ้าพระองค์ไม่ทรงแสดงไว้ ใครๆ ก็ไม่อาจรู้ได้ ฉะนั้นจึงจักแสดงปัญหานั้นไว้. การเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์อันท่านถือเอาด้วยบทเพียงบทเดียว ในการวิสัชนานี้ว่า อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิด (กำลังเกิด) ในคำถามยตฺถ รูปกฺขนฺโธ นุปฺชชฺชติ ตตฺถ เวทนากฺขนฺโธ นุปฺปชฺชติ = รูปขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมิใด เวทนาขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้นหรือ เพราะเหตุนั้นปัญหานี้ด้วย ปัญหาอื่นที่มีรูป การเกิดขึ้นแห่งรูปและเวทนาขันธ์ในอดีตของสัตว์ใดสัตว์หนึ่ง ที่ถือเอาด้วยบททั้งสองย่อมได้ในการวิสัชนานี้ว่า อามนฺตา = ใช่ ในปัญหาว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺ ก็การเกิดขั้นแม้ของรูปขันธ์ที่ถือเอาแล้วด้วยบทเพียงบทเดียว ย่อมได้ในปุริมโกฏฐาสะนี้ว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ = เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ รูปขันธ์กำลังเกิด แต่เวทนาขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น ในการวิสัชนานี้มีอาทิว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ, ในปัญหาแรกนี้ว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ = รูปขันธ์กำลังเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์ก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ ดังนี้ การเกิดขึ้นแม้ของรูปและเวทนาขันธ์ที่ถือเอาแล้วด้วยบทแม้ทั้งสอง ย่อมได้ในปัจฉิมโกฏสะนี้ว่า ปญฺจโวการํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ รูปกฺขนฺโธ จ อุปฺ ก็ในการวิสัชนาปริปุณณปัญหานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์นั่นแหละที่สงเคราะห์ไว้ด้วยบทเดียวในปุริมโกฏฐาส ในทุติยโกฏฐาสการเกิดขึ้นและการดับไปแห่งขันธ์ที่ถือเอาแล้วด้วยบทบทเดียว ย่อมได้ในปัญหาใดด้วยนัยและลักษณะนี้แห่งรูปและเวทนาขันธ์ที่ถือเอาด้วยบททั้งสอง ปัญหานั้นเรียกว่าปุเรปัญหา. การเกิดขึ้นหรือการดับไปของขันธ์ทั้งหลายที่ถือเอาด้วยบททั้งสอง ย่อมได้ในปัญหาใด ปัญหานั้นเรียกว่าปัจฉาปัญหา. ปฏิกเขปวิสัชนา ย่อมได้ในการวิสัชนานี้ ด้วยคำว่า นตฺถิ = ไม่มี ในปัญหานี้ว่า ยสฺส รูปกฺ ปฏิเสธวิสัชนา ย่อมได้ในการวิสัชนานี้ด้วยคำว่า โน = ไม่ใช่ ในคำถามว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺ ก็วิสัชนาเหล่านี้คือ ปาลิคติวิสัชนา ปฏิวจนวิสัชนา สรูปทัสสนวิสัชนา ปฏิกเขปวิสัชนา ปฏิเสธ ในวิสัชนา ๕ อย่างนั้น วิสัชนาใดเป็นบาลีบทเท่านั้นอันท่านวิสัชนาซึ่งเนื้อความไว้ วิสัชนานี้ชื่อว่าปาลิคติวิสัชนา. ปาลิคติวิสัชนานั้นย่อมได้ในปุเรปัญหา วิสัชนานี้ว่า อุปฺปชฺชติ = กำลังเกิด ในปัญหาว่า ยตฺถ รูปกฺขนฺโธ นุปฺปชฺชติ ตตฺถ เวทนากฺขนฺโธ นุปฺปชฺชติ = รูปขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมิใด เวทนาขันธ์ก็ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้นหรือ เป็นเพียงบทแห่งพระบาลีที่พระองค์วิสัชนาเนื้อความไว้เรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้น พึงทราบการวิสัชนาด้วยปาลิคติวิสัชนา ในฐานะเห็นปานนี้ อย่างนี้. ก็วิสัชนาใดที่ท่านวิสัชนาเนื้อความโดยความเป็นคำตอบ วิสัชนานี้ชื่อว่าปฏิวจนะวิสัชนา. ปฏิวจนวิสัชนานั้นย่อมได้ในปัจฉาปัญหา ก็วิสัชนานี้ด้วยคำว่า อามนฺตา = ใช่ ในปัญหาว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชิตฺถ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ = รูปขันธ์เคยเกิดแก่บุคคลใด เวทนาขันธ์ก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ ที่พระองค์ทรงวิสัชนาเนื้อความไว้เรียบร้อยแล้ว ด้วยอำนาจความเป็นคำตอบนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พึงทราบปฏิวจนะวิสัชนา ในฐานะเห็นปานนี้. คำวิสัชนาใดที่ท่านแสดงเนื้อความไว้โดยสรุป วิสัชนานี้ชื่อว่าสรูปทัสสน สรูปทัสสนวิสัชนานี้ย่อมได้ในปริปุณณปัญหา. ก็วิสัชนานี้ว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ ในปัญหานี้ ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวท ก็คำวิสัชนาใดที่ท่านวิสัชนาปัญหาด้วยการห้ามเนื้อความ เพราะความไม่มีเนื้อความเห็นปานนั้น คำวิสัชนานั้น ชื่อว่าปฏิก วิสัชนาใดที่ท่านวิสัชนาปัญหาโดยปฏิเสธเนื้อความ เพราะความไม่ได้ซึ่งเนื้อความเห็นปานนั้นในขณะหนึ่งๆ วิสัชนานี้ชื่อว่าปฏิเสธวิสัชนา ปฏิเสธวิสัชนานั้น ย่อมได้ในโมฆะปัญหา. จริงอยู่ คำวิสัชนานี้ว่า นตฺถิ = ไม่มี ในปัญหาว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ นุปฺปชฺชิตถ ตสฺส เวทนากฺ ก็คำวิสัชนานี้ว่า โน = ไม่ใช่ ในปัญหาว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ นิรุชฺ บัดนี้พึงทราบปัญหา ๔ อย่างและการวิสัชนา ๕ อย่าง ที่ควรใส่ไว้ในฐานะ ๒๗ เหล่าใด พึงทราบฐานะเหล่านั้นอย่างนี้ คือ อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ เป็น ๑ ฐานะ อสญฺญสตฺเต ตตฺถ ๑ ฐานะ อสญฺญตฺตานํ ๑ ฐานะ อสญฺญสตฺตา จวนฺตานํ ๑ ฐานะ อรูปํ อุปปชฺชนฺตานํ ๑ ฐานะ อรูเป ตตฺถ ๑ ฐานะ อรูปานํ ๑ ฐานะ อรูปา จวนฺตานํ ๑ ฐานะ อรูเป ปจฺฉิมภวิกานํ ๑ ฐานะ อรูเป ปรินิพฺพายนฺตานํ (บาลีใช้ว่า ปรินิพฺพนฺตานํ) ๑ ฐานะ เย จ อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ ๑ ฐานะ ปญฺจโวการํ อุปปชฺชนฺตานํ ๑ ฐานะ ปญจโวกาเร ตตฺถ ๑ ฐานะ ปญฺจโวการนํ ๑ ฐานะ ปญฺจโวการา จวนฺตานํ ๑ ฐานะ ปญฺจโวกาเร ปจฺฉิมภวิกานํ ๑ ฐานะ สุทฺธาวาสํ อุปปชฺชนฺตานํ ๑ ฐานะ สุทฺธาวาเส ตตฺถ ๑ ฐานะ สุทธาวาสานํ ๑ ฐานะ สุทฺธาวาเส ปรินิพฺพนฺตานํ ๑ ฐานะ สพฺเพสํ อุปปชฺชนฺตานํ ๑ ฐานะ สพฺเพสํ จวนฺตานํ ๑ ฐานะ ปจฺฉิมภวิกานํ ด้วยอำนาจที่สาธารณะแก่สัตว์ทั้งปวงอีก ๑ ฐานะ ปรินิพฺพายนฺตานํ (บาลีใช้ ปรินิพฺพนฺตานํ) ๑ ฐานะ จตุโวการํ ปญฺจโวการํ อุปปชฺชนฺตานํ ๑ ฐานะ จตุโวการา ปญฺจโวการา จวนฺตานํ ๑ ฐานะ. บัณฑิตพึงใส่คำวิสัชนา ๕ อย่างไว้ในฐานะ ๒๗ อย่างเหล่านี้แล้ว พึงทราบการวินิจฉัยเนื้อความแห่งปัญหา ๔ อย่างในปวัตติมหาวาระด้วยประการฉะนี้ ก็อรรถวินิจฉัยนั้น อันบัณฑิตทราบแล้วอย่างนี้ เมื่อวิสัชนาปัญหาย่อมเป็นอันวิสัชนาแล้วโดยง่าย และเมื่อวินิจฉัยซึ่งเนื้อความย่อมเป็นอันวินิจฉัยแล้วโดยง่าย. นัยนี้ว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ = รูปขันธ์ย่อมเกิดแก่บุคคลใด ได้แก่ย่อมถามว่า รูปขันธ์กำลังเกิดในอุปาทะขณะสมังคีแก่บุคคลใด เวทนาก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นหรือ เพราะเหตุนี้แม้เวทนาขันธ์ก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นในขณะนั้นนั่นแหละ. สองบทว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ ได้แก่ เมื่อบุคคลเหล่านั้นเกิดอยู่ในอสัญญสัตตภพด้วยอำนาจปฏิสนธิที่ไม่ใช่จิต. บทว่า เตสํ รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ได้แก่ รูปขันธ์กำลังเกิดเพียงอย่างเดียวแก่อสัญญสัตว์นั้น ก็รูปขันธ์ของอสัญญสัตว์ผู้เกิดแล้วในปวัตติกาล ย่อมเกิดบ้าง ย่อมดับบ้าง เพราะเหตุนั้น จึงไม่ตรัสว่า อสญฺญสตฺตานํ = ๑-เกิดอยู่ในอสัญญสัตตภูมิ แต่ตรัสว่า อสญฺญสตฺตํ อุปปชฺชนฺตานํ = เกิดอยู่ คือกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ โน จ เตสํ เวทนากฺขนฺโธ อุปปชฺชติ = แต่เวทนาขันธ์ย่อมไม่เกิดแก่บุคคลเหล่านั้น ได้แก่เวทนาขันธ์ของอสัญญสัตว์เหล่านั้นไม่ใช่กำลังเกิด เพราะความที่แห่งอสัญญสัตว์นั้นไม่มีจิต นี้เป็นการวิสัชนาโดยการแสดงโดยสรุปในปุริมโกฏฐาสแห่งปริปุณณปัญหา ในฐานะที่ ๑ ในบรรดาฐานะ ๒๗ อย่าง. ____________________________ ๑- คำว่า เกิดอยู่ หมายความทั้งกำลังเกิดและกำลังตาย คำว่า อสญฺญสตฺตานํ ในยมกะนี้ จึงมีความหมายว่า กำลังเกิด - กำลังตาย สองบทว่า ปญฺจโวการํ อุปฺปชฺชนํตานํ = กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ ได้แก่ เข้าถึงอยู่ซึ่งปัญจโวการภพด้วยอำนาจแห่งการปฏิสนธิที่เจือด้วยรูปและอรูป. หลายบทว่า เตสํ รูปกฺขนฺโธ จ อุปฺปชฺชติ เวทนากฺขนฺโธ จ อุปฺปชฺ ก็นี้เป็นนิยมลักษณะในการเกิดและการดับนี้. ก็ในขันธยมกนี้แม้ทั้งสิ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุปปาทวาระไว้ ด้วยอำนาจแห่งการเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาลนั่นเทียวว่า การไม่ลูบคลำ (คือไม่ทรงแสดง) ซึ่งการเกิดและการดับในปวัตติกาลว่า ก็ในขันธยมกนี้แม้ทั้งสิ้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในปัญจโวการภพนั้นๆ เมื่อการเกิดขึ้นและการดับอันไม่มีที่สุดแห่งขันธ์ ๕ แม้มีอยู่ในปวัตติกาลจนกระทั่งตาย การทำการแยกธรรมทั้งหลายที่เป็นไปโดยเร็ว เพื่อแสดงการเกิดและการดับ ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย ดังนี้แล้วจึงทรงแสดงการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในปฏิสนธิของสัตว์ผู้เกิดแล้วด้วยกรรมต่างๆ อันยังวิปากวัฏฏ์ใหม่ๆ ให้สำเร็จ เป็นการทำได้ง่าย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิโรธวาระด้วยอำนาจการดับในมรณะกาลว่า ก็การแสดงการดับ ในกาลเป็นที่สิ้นสุดลงแห่งวิปากวัฏฏ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นการทำได้ง่าย ก็ความไม่ลูบคลำการเกิดและการดับในปวัตติกาลนี้เป็นประมาณอย่างไรนั่นแหละคือพระบาลี อนึ่ง พระบาลีว่า ปจฺฉิมภวิกานํ เตสํ รูปกฺขนฺโธ จ นุปฺปชฺชติ เวทนากฺขนฺโธ จ นุปฺปชฺชิสฺสติ = รูปขันธ์ก็ย่อมไม่เกิด เวทนาขันธ์ก็จักไม่ดับแก่ปัจฉิมภวิกบุคคลเหล่านั้น นี้เป็นประมาณยิ่ง ในวาระแห่ง บัณฑิตครั้นทราบลักษณะที่แน่นอนในการเกิดขึ้นและดับไปนี้แล้ว ควรถือเอาการเกิดขึ้นด้วยปฏิสนธิกาลและการดับด้วยจุติกาลเท่านั้น แล้วพึงทราบการวินิจฉัยเนื้อความแห่งการวิสัชนาทั้งหลายที่มาแล้วในฐานะทั้งหลายเหล่านั้นๆ ด้วยประการฉะนี้ แต่ว่าการวินิจฉัยเนื้อความนั้นท่านไม่ทำให้พิสดารแล้วโดยลำดับแห่งการวิสัชนาว่า การวินิจฉัยเนื้อความนั้นใครๆ ก็อาจทราบได้โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในการวิสัชนาแรก หากว่าบุคคลใดไม่สามารถจะทราบการวินิจฉัยเนื้อความเหล่านั้น บุคคลนั้นพึงเข้าไปนั่งใกล้อาจารย์ ฟังด้วยดีแล้วพึงทราบตามนัยที่อาจารย์ให้แล้วนี้ อย่างนี้. ยมกทั้งหลายเหล่าใดในขันธ์ ๕ ย่อมมีด้วยอำนาจแห่ง อุปปาทวาระ, นิโรธวาระ และอุปปาทะและนิโรธะทั้งสองรวมกัน ด้วยอำนาจของอนุโลมนัยและปฏิโลมนัย พระชินเจ้าตรัสแล้ว ซึ่งยมกะทั้งหลายเหล่านั้นในวาระทั้งหลายในปวัตติกาล เพราะ ทรงแสดงแล้วซึ่งบุคคลวาระ, โอกาสวาระ, และปุคคโลกาสวาระ การกำหนดพระบาลีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยลำดับ แม้การประกอบเนื้อความเพื่อการวินิจฉัยปัญหาและ วิสัชนา พร้อมทั้งฐานะทั้งหลายแห่งการวิสัชนาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยประการทั้งปวง พระชินเจ้าทรงแสดงแล้ว ทรงประกาศแล้วใน ปัญหาหนึ่งๆ ลำดับการวิสัชนาปัญหาในปวัตติมหาวาระนี้เป็นไป แล้วโดยพิสดาร เพราะฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายจงทราบเนื้อความ โดยนัยนี้ว่า เบื้องหน้าแต่นี้ไป ใครหนอจะสามารถพรรณนาเนื้อ ความนี้ได้. อรรถกถาปวัตติวาระ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ยมกปกรณ์ ภาค ๑ ขันธยมก ปวัตติวาร อุปปาทวารเป็นต้น จบ. |