บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ก็ในขันธยมกนั้น มหาวาระ ๓ อย่างคือ ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ ปริญญาวาระย่อมมีฉันใด แม้ในอายตนยมกนี้ก็ย่อมมีฉันนั้น. แม้เนื้อความแห่งคำแห่งมหาวาระเหล่านั้นบัณฑิตพึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในขันธยมกนั้นนั่นเอง. ก็ในอายตนยมกนี้ ปัณณัตติวาระ ท่านกำหนดไว้แล้ว ๒ อย่างด้วยอำนาจอุทเทสและนิทเทส. วาระทั้งหลายนอกนี้ ท่านกำหนดไว้แล้วด้วยอำนาจนิทเทสนั่นเทียว. เพราะฉะนั้นในวาระเหล่านั้น บัณฑิตพึงทำบทว่า ทฺวาทสายตนานิ (อายตนะ ๑๒) ให้เป็นต้นแล้วเพียงใด พึงทราบอุทเทสวาระแห่งปัณณัติวาระว่า มนายตนํ น มโน เพียงนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฺวาทสายตนานิ ความว่า นี้เป็นอุทเทสแห่งอายตนะทั้งหลายที่ควรถามด้วยอำนาจยมก. บทว่า จกฺขฺวายตนํ ฯเปฯ ธมฺมายตนํ ความว่า โดยประเภทนี้เป็นการกำหนดชื่อของอายตนะเหล่านั้นนั่นเทียว. ก็ในที่นี้ท่านกล่าวอัชฌัตตรูปายตนะ (อายตนะที่เป็นรูปภายใน) ทั้งหลายไว้แล้วตามลำดับก่อน เพื่อสะดวกแก่การถามด้วยอำนาจยมก. ภายหลังจึงกล่าวพาหิรรูปายตนะ (อายตนะที่เป็นรูปภายนอก) ทั้งหลาย. ในที่สุดจึงกล่าวมนายตนะและธัมมายตนะทั้งหลาย. นัยวาระทั้งหลาย ๔ คือ ปทโสธนวาระ ปทโสธนมูลจักกวาระ สุทธายตนวาระ สุทธายตนมูลจักกวาระ ย่อมมีด้วยอำนาจแห่งอายตนะทั้งหลายเหล่านี้ในที่นี้ ด้วยอำนาจแห่งขันธ์นั่นเทียวในภายหลัง. ก็ในอายตนยมกนี้ วาระหนึ่งๆ ย่อมมี ๒ อย่างนั่นเทียว ด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม. เนื้อความแห่งวาระเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในขันธยมกนั้นนั่นแหละ. บัณฑิตพึงทราบอุทเทสวาระ แห่งปัณณัตติวาระที่ประกอบด้วยยมก ๕๗๖ อย่าง การถาม ๑,๑๕๒ อย่างและอรรถ ๒,๓๐๔ อย่าง ในอายตนยมกนี้ อย่างนี้คือ ก็ในอนุโลมวาระแห่งปทโสธนวาระ ในขันธยมก ยมก ๕ อย่างมีอาทิว่า รูปํ รูปกฺขนฺโธ รูปกฺขนฺโธ รูปํ ดังนี้ ย่อมมีฉันใด ในอายตนยมกนี้ ยมก ๑๒ อย่างมีอาทิว่า จกฺขุํ จกฺขฺวายตนํ จกฺขฺวายตนํ จกฺขุํ ย่อมมีฉันนั้น. แม้ในปฏิโลมวาระ ก็มียมก ๑๒ อย่าง มีอาทิว่า น จกฺขํ น จกฺขฺวายตนํ น จกฺขฺวายตนํ น จกฺขุํ. แต่ในอนุโลมวาระนี้แห่งปทโสธนมูลจักกวาระมียมก ๑๓๒ อย่าง เพราะทำมูลแห่งอายตนะหนึ่งๆ ให้เป็น ๑๑ อย่างๆ แม้ในปฏิโลมวาระ ก็มี ๑๓๒ อย่างนั่นเทียว. ในอนุโลมวาระ แม้แห่งสุทธายตนวาระ มียมก ๑๒ อย่าง ในปฏิโลมวาระ ก็มี ๑๒ อย่าง. ในอนุโลมแห่งสุทธายตนมูลจักกวาระ มียมก ๑๓๒ อย่าง เพราะทำมูลแห่งอายตนะหนึ่งๆ ให้เป็น ๑๑ อย่างๆ. แม้ในปฏิโลมวาระก็มี ๑๓๒ อย่างเหมือนกัน. ก็ในนิทเทสวาระแห่งอายตนยมกนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในปัณณัติวาระนิทเทสแห่งขันธยมกในภายหลังนั่นเทียว. ในวาระอื่นย่อมมีความแปลกกัน. ในอายตนยมกนั้น พึงทราบความแปลกกันดังต่อไปนี้. บทว่า ทิพฺพจกฺขุ ได้แก่ ทุติยวิซชาญาณ. บทว่า ปญฺญาจกฺขุ ได้แก่ ตติยวิชชาญาณ. บทว่า ทิพฺพโสต ได้แก่ ทุติยอภิญญาญาณ. ตัณหาเทียว ชื่อว่า ตัณหาโสตะ. คำมีอาทิว่า นามกาย รูปกาย หัตถิกาย อัสสกาย ชื่อว่า อวเสโส กาโย กายที่เหลือ. สองบทว่า อวเสสํ รูปํ ได้แก่ ภูตรูปอุปาทายรูปนั่นเทียว และปิยรูปสาตรูปที่เหลือจากรูปาย คำว่า สีลคนฺโธ เป็นชื่อของธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้นนั่นเทียว เพราะอรรถว่าฟุ้งไป แม้คำว่า อตฺถรโส เป็นต้น ก็เป็นชื่อของธรรมทั้งหลายมีอรรถเป็นต้น เพราะอรรถว่าไพเราะดี. สองบทว่า อวเสโส ธมฺโม ได้แก่ ประเภทมิใช่หนึ่งแห่งธรรมมีปริยัติธรรมเป็นต้น นี้เป็นความแปลกกันในอายตนยมกนี้. ก็ในอายตนยมกนี้ ในอันตรวาระ ๓ อย่างมีอุปปาทวาระเป็นต้น แห่งปวัตติวาระ มีประเภทแห่งกาล ๖ อย่างในประเภทแห่งกาลหนึ่งๆ นั่นเทียว. บรรดาประเภทแห่งกาลเหล่านั้น วาระทั้งหลายมีปุคคลวาระเป็นต้น ย่อมมีในกาลหนึ่งๆ. วาระเหล่านั้นแม้ทั้งหมดย่อมมี ๒ อย่างเทียว ด้วยอำนาจอนุโลมนัยและปฏิโลมนัย. ในวาระเหล่านั้น ในปัจจุบันกาล ในอนุโลมนัยแห่งปุคคลวาระ ยมก ๑๐ อย่าง ย่อมมีด้วยการถือเอาแล้วไม่ถือเอาอีก คือมูลแห่งรูปขันธ์ในขันธยมก ๔ มูลแห่งเวทนาขันธ์ ๓ มูลแห่งสัญญาขันธ์ ๒ มูลแห่งสังขารขันธ์ ๑ ฉันใด มูลแห่งจักขุอายตนะ ๑๑ อย่าง ก็ย่อมมีฉันนั้นอย่างนี้คือ จักขุอายตนะย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ใด โสตายตนะย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์นั้น ก็หรือว่า โสตายตนะย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ใด จักขุอาย ก็หรือว่า ธัมมายตนะย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ใด จักขุอายตนะย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์นั้น. โดยนัยมีอาทิว่า ยสฺส โสตายตนํ อุปฺปชฺชติ ตสฺส ฆานายตนํ อุปฺปชฺชติ จึงมียมก ๖๖ อย่าง ด้วยการถือเอาแล้วไม่ถือเอาอีก คือมูลแห่งโสตายตนะ ๑๐ มูลแห่งฆานายตนะ ๙ มูลแห่งชิวหายตนะ ๘ มูลแห่งกายายตนะ ๗ มูลแห่งรูปายตนะ ๖ มูลแห่งสัททายตนะ ๕ มูลแห่งคันธายตนะ ๔ มูลแห่งรสาย ในอายตนะเหล่านั้น อายตนะแรกควรวิสัชนาก่อน อายตนะแรกนั้นท่านวิสัชนาแล้ว. อายตนะ ๒ เป็นการวิสัชนาเช่นเดียวกับอายตนะแรกแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น อายตนะที่ ๒ ท่านก็วิสัชนาแล้วเพื่อห้ามความสงสัยว่า ฆานายตนะ ไม่เป็นไรแล้ว โดยส่วนเดียวในที่ปวัตติกาลของจักขุโสตายตนะ อายตนะอย่างหนึ่ง พึงวิสัชนาอย่างไรหนอแล. ยมก ๓ อย่างกับรูปายตนะ มนายตนะและธัมมายตนะ ชื่อว่าท่านวิสัชนาแล้ว เพราะวิสัชนาไม่เหมือนกัน. ในอายตนะที่เหลือ ยมก ๒ อย่างกับชิวหายตนะและกายายตนะ เป็นการวิสัชนาเช่นเดียวกับอายตนะ ๒ อย่างเบื้องต้น. การวิสัชนายมกนั่นเทียวกับด้วยอายตนะนั้น ย่อมไม่มีเพราะไม่เกิดขึ้นในปฏิสนธิขณะแห่งสัททายตนะ. อายตนะทั้งหลาย ท่านย่อไว้แล้ว เพื่อความเบาแห่งแบบแผนว่า ยมก ๓ อย่าง แม้กับคันธายตนะ รสายตนะและโผฏฐัพพายตนะ ย่อมเป็นการวิสัชนาเช่นเดียวกับอายตนะ ๒ เบื้องต้นนั่นเทียว. ในมูลแห่งโสตายตนะ อายตนะแม้อย่างหนึ่ง ไม่ขึ้นสู่พระบาลีแล้วว่า อายตนะใดอันบัณฑิตย่อมได้ อายตนะนั้นย่อมเป็นการวิสัชนาเช่นเดียวกับอายตนะทั้งหลายเบื้องต้น. ในมูลแห่งฆานายตนะทั้งหลาย ยมกอย่างหนึ่งขึ้นสู่พระบาลีแล้วกับด้วยรูปายตนะยมก ๒-๓ อย่างขึ้นสู่พระบาลีแล้วกับด้วยมนายตนะและธัมมายตนะ. ยมกทั้งหลายที่เหลือไม่ขึ้นแล้ว (สู่พระบาลี) เพราะการวิสัชนาเช่นเดียวกันกับฆานายตนยมก. มูลแห่งชิวหายตนะและกายายตนะก็อย่างนั้น. ในมูลแห่งรูปายตนะทั้งหลาย ยมก ๒ อย่างนั่นเทียว ท่านวิสัชนาแล้ว พร้อมกับมนายตนะและธัมมายตนะ. ยมก ๓ อย่าง พร้อมกับคันธะ รสะและโผฏฐัพพะ ย่อมเป็นการวิสัชนาเช่นเดียวกันกับด้วยรูปายตนะและมานายตนะ. คำว่า สรูปกานํ อจิตฺตกานํ เป็นต้น ท่านกล่าวแล้วในภายหลังฉันใดนั่นเทียว แม้ในอายตนยมกนี้ก็ฉันนั้น พึงทราบการรวบรวมว่า สรูปกานํ อคนฺธกานํ อรสกานํ อโผฏฺฐพฺพกานํ ดังนี้. ก็ความเป็นแห่งอายตนะทั้งหลายมีคันธะเป็นต้นนั่นแหละ ท่านประสงค์เอาแล้วในอายตนยมกนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในอายตนยมกนี้ ด้วยอำนาจแห่งอายตนะว่า สรูปกานํ สคนฺธา ยมก ๖๖ อย่างเหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่าเป็นอันท่านวิสัชนาแล้ว ด้วยการวิสัชนายมก ๒-๓ อย่างนั้นเทียว ในอนุโบมนัยแห่งปุคคลวาระในปัจจุบันกาล อย่างนี้ว่า มนายตนมูลกํ วิสชฺชิตเมว ดังนี้. ยมก ๑๙๘ อย่างย่อมมีในอนุโลมนัย ในวาระทั้งสาม ในปัจจุบันกาลว่า ก็ในปุคคลวาระมี ๖๖ ฉันใด แม้ในโอกาสวาระ แม้ในปุคคโลกาสวาระก็ฉันนั้น ดังนี้. ยมก ๓๙๖ อย่าง แม้ทั้งหมดย่อมมีในปัจจุบันกาลว่าก็ในอนุโลมนัย ฉันใด แม้ในปฏิโลมนัยก็ฉันนั้น ดังนี้. การถาม ๗๙๒ อย่างและเนื้อความ ๑,๕๘๔ อย่าง พึงทราบว่ามีอยู่ในยมกทั้งหลายเหล่านั้น. ยมก ๒,๓๗๖ แม้ทั้งหมดว่า ในการแยกกาล ๕ อย่างแม้ที่เหลือ ดังนี้ ย่อมมีอย่างนั้น. นี้เป็นการกำหนดพระบาลี ในอุปปาทวาระนี้ว่า คำถามที่ทวีคูณจากยมกนั้น อรรถที่ทวีคูณจากคำถามนั้น ยมก ๒,๑๒๘ ย่อมมีในปวัตติวาระแม้ทั้งหมดว่า แม้ในนิโรธวาระและอุปปาทะนิโรธวาระ ก็มีนัยนี้. พึงทราบการถามทวีคูณจากยมกนั้น พึงทราบเนื้อความที่ทวีคูณจากคำถามนั้น. ก็พระบาลีท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า มนายตนะและธัมมายตนะ ย่อมไม่มีความแตกต่างกันกับอายตนะหนึ่ง แต่ความสังเขปย่อมมีในวาระเบื้องบน ดังนี้แล้วจึงรวบรวมไว้ในอายตนะนั้นๆ. เพราะฉะนั้น คำใดท่านรวบรวมไว้แล้ในที่นั้นๆ คำนั้นทั้งหมดบุคคลผู้ไม่หลงลืมพึงกำหนดไว้. ก็ในการวินิจฉัยเนื้อความ พึงทราบนัยมุขในอายตนยมกนี้ ดังต่อไปนี้. คำว่า สจกฺขุกานํ อโสตกานํ ท่านกล่าวหมายเอาโอปปาติกะผู้หูหนวกโดยกำเนิดในอบาย. ก็ผู้มีจักขุนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีโสตเกิดขึ้น. เหมือนพระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวแล้วว่า อายตนะ ๑๐ อย่างอื่นอีกของใครๆ ย่อมปรากฏในอุปัตติขณะแห่งกามธาตุ. อายตนะ ๑๐ ย่อมปรากฏในอุปัตติขณะของพวกเปรตผู้โอปปาติกะ ของพวกอสูรผู้โอปปาติกะ ของพวกสัตว์ดิรัจฉานผู้โอปปาติกะ ของพวกสัตว์นรกผู้โอปปาติกะ ของพวกคนหูหนวกแต่กำเนิด. จักขุอายตนะ รูปายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมปรากฏแก่พวกเปรตผู้โอปปาติกะ ฯลฯ แก่พวกคนหูหนวกมาแต่กำเนิด ในขณะอุบัติขึ้น. คำว่า สจกฺขุกานํ สโสตกานํ ท่านกล่าวหมายเอาอายตนะที่บริบูรณ์ในสุคติและทุคติ. และรูปพรหมผู้โอปปาติกะก็ผู้มีจักขุเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีโสตเกิดขึ้น. เหมือนพระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้แล้วว่า อายตนะ ๑๑ อย่างของใครๆ ย่อมปรากฏในอุปัตติขณะแห่งกามธาตุ. อายตนะ ๑๑ อย่างย่อมปรากฏแก่พวกเทวดาชั้นกามาวจร พวกมนุษย์ปฐมกัป พวกเปรตผู้โอปปาติกะ พวกอสูรผู้โอปปาติกะ พวกสัตว์ดิรัจฉานผู้โอปปาติกะ พวกสัตว์นรกผู้โอปปาติกะ พวกสัตว์มีอายตนะบริบูรณ์. อายตนะ ๕ เหล่าไหน ย่อมปรากฏในอุปัตติขณะแห่งกามธาตุ อายตนะ ๕ เหล่านี้คือจักขุอายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมปรากฏในอุปัตติขณะแห่งรูปธาตุ. คำว่า อฆานกานํ ท่านกล่าวหมายเอาพรหมมีพรหมปาริสัชชาเป็นต้น. ก็ผู้มีจักขุเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีฆานะเกิดขึ้น. ก็โอปปาติกะผู้ไม่มีฆานะ ย่อมไม่มีในกามธาตุ ถ้าพึงมีแก่ใครๆ ไซร์ ก็พึงกล่าวได้ว่า อายตนะก็ย่อมปรากฏ ก็ผู้นอนในครรภ์ใด พึงเป็นผู้ไม่มีฆานะ ผู้นอนในครรภ์นั้น ท่านไม่ประสงค์เอาแล้วในอายตนยมกนี้ เพราะคำว่า สจกฺขุกานํ. คำว่า สจกฺขุกานํ สฆานกานํ ท่านกล่าวหมายเอาโอปปาติกะสัตว์ผู้หูหนวกมาแต่กำเนิดบ้าง ผู้มีอายตนะบริบูรณ์บ้าง. คำว่า สฆานกานํ อจกฺขุกานํ ท่านกล่าวหมายเอาโอปปาติกะสัตว์ผู้ตาบอดมาแต่กำเนิดบ้าง ผู้หูหนวกมาแต่กำเนิดบ้าง. คำว่า สจกฺขุกานํ สฆานสานํ ท่านกล่าวหมายเอาโอปปาติกะสัตว์ผู้มีอายตนะบริบูรณ์นั่นเทียว. ผู้อื่นบ้าง ผู้นอนในครรภ์บ้าง อันบัณฑิตย่อมได้นั่นเทียว ในพวกโอปปาติกะสัตว์ผู้ตาบอดมาแต่กำเนิดและหูหนวดมาแต่กำเนิด ในคำนี้ว่า สรูปกานํ อจกฺขุกานํ. แม้ผู้ไม่มีรูปกับบุคคล ๓ จำพวกมีบุคคลผู้ตาบอดมาแต่กำเนิดเป็นต้น ที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง อันบัณฑิตย่อมได้ในคำนี้ว่า สจิตฺตกานํ อจกฺขุกานํ. แม้พวกอสัญญสัตว์กับบุคคล ๔ จำพวกที่กล่าวแล้วในบทเบื้องต้น อันบัณฑิตย่อมได้ในบทแรกนี้ว่า อจกฺขุกานํ. พวกคัพภเสยยกสัตว์ พวกอสัญญสัตว์และพวกรูปพรหมที่เหลือ อันบัณฑิตย่อมได้ในคำนี้ว่า สรูปกานํ อฆานกานํ. พวกคัพภเสยยกสัตว์และพวกรูปพรหม และอรูปพรหม อันบัณฑิตย่อมได้ในคำนี้ว่า สจิตฺตกานํ อฆานกานํ. พึงทราบบุคคลวิภาคในปุคคลวาระทั้งหมด โดยนัยนี้ว่า ก็พวกเอกโวการสัตว์และจตุโวการสัตว์เทียว อันบัณฑิตย่อมได้ในบททั้งหลายว่า อจิตฺตกานํ อรูปกานํ. ในโอกาสวาระ คำว่า ยตฺถ จกฺขฺวายตนํ ได้แก่ ย่อมถามซึ่งโลกแห่งรูปพรหม เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า อามนฺตา. ก็อายตนะเหล่านั้น โดยนิยมในพื้นนั้น ย่อมเกิดในปฏิสนธิ. นี้เป็นนัยมุขในอายตนยมกนี้. พึงทราบเนื้อความในปวัตติวาระแม้ทั้งสิ้นโดยนัยมุขนี้. ปริญญาวาระพึงทราบว่า เป็นนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในขันธยมกนั่นแหละ. อรรถกถาอายตนยมก จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ยมกปกรณ์ ภาค ๑ อายตนยมก ปัณณัตติวารเป็นต้น จบ. |