![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ในทุติยบท ควรถามว่า ขันธ์ทั้งหลายชื่อว่ารูป ใช่ไหม? เพราะพระองค์ทรงอธิบายรูปขันธ์ไว้ด้วยคำว่า รูป แล้ว ฉะนั้นจึงไม่ทรงคำนึงถึง เมื่อจะตรัสถามด้วยอำนาจแห่งอรรถ จึงตรัสว่า ขันธ์ทั้งหลายชื่อว่ารูปขันธ์ ใช่ไหม? พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยอุบายนี้ แม้ในนิทเทสวาระแห่งอายตนยมกเป็นต้น ข้างหน้าก็นัยนี้. แม้ในคำถามที่ว่า สญฺญา สญฺญากฺขนฺโธ = ธรรมที่ชื่อว่าสัญญา ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ใช่ไหม? นี้, ทิฏฐิสัญญาก็ดี สัญญาก็ดี พระองค์ตรัสว่า อามนฺตา = ใช่ เพราะความที่แห่งทิฏฐิสัญญาและสัญญา แม้ทั้งหมดก็เป็นขันธ์. แม้ในบทว่า สงฺขารา สงฺขารกฺขนฺโธ = สังขาร ชื่อว่าสังขารขันธ์หรือ? ก็มีนัยนี้ ชื่อว่า สังขารที่พ้นจากความเป็นขันธ์ ย่อมไม่มี. ในปฏิโลม คำถามว่า นรูปํ นขนฺโธ = ธรรมที่ไม่ชื่อว่ารูป ไม่ชื่อว่าขันธ์ ใช่ไหม? ดังนี้ พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสถามว่า ธรรมชาติใดไม่ใช่รูป ธรรมชาตินั้นก็ไม่ใช่ขันธ์ ใช่ไหม? ก็ในวิสัชนาปัญหานั้นว่า รูปํ ฐเปตฺวา อวเสสา ขนฺธา น รูปํ ขนฺธา ยกเว้นรูปเสียแล้ว ขันธ์ทั้งหลายที่เหลือไม่ชื่อว่ารูป ชื่อว่าขันธ์ อธิบายว่า ขันธ์ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น อื่นจากรูปไม่ชื่อว่ารูป แต่ชื่อว่าขันธ์. บทว่า รูปญฺจ ขนฺเธ จ ฐเปตฺวา อวเสสา = ยกเว้นรูปและขันธ์ทั้งหลาย ธรรมที่เหลือ ดังนี้ ได้แก่ บัญญัติและนิพพานที่พ้นจากขันธ์ห้า ในบทว่า อวเสสา แม้เหล่าอื่นจากบทนี้ก็มีนัยนี้ ด้วยประการฉะนี้. อรรถกถาสุทธักขันธวาระ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ยมกปกรณ์ ภาค ๑ ขันธยมก ปัณณัตติวาร นิทเทสวาร สุทธขันธวาร ๒ จบ. |