ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 38 / 1อ่านอรรถกถา 38 / 816อรรถกถา เล่มที่ 38 ข้อ 817อ่านอรรถกถา 38 / 825อ่านอรรถกถา 38 / 1564
อรรถกถา ยมกปกรณ์ ภาค ๑
สัจจยมก ปัณณัตติวารเป็นต้น

               อรรถกถาสัจจยมก               
               ๑. ปณฺณตฺติวารวณฺณนา               
               การพรรณนาสัจจยมกที่ท่านรวบรวมแสดงไว้แล้วในลำดับธาตุยมก ด้วยอำนาจสัจจะในธรรมมีกุศลเป็นต้น ที่ท่านแสดงไว้แล้วในมูลยมกเหล่านั้นนั่นเทียว ย่อมมีในบัดนี้.
               พึงทราบมหาวาระ ๓ มีปัณณัตติวาระเป็นต้น และประเภทแห่งวาระที่เหลือมีอันตรวาระเป็นต้นตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นเทียว ในธาตุยมกแม้นั้น.
               แต่ในปัณณัตติวาระ ในสัจจยมกนี้ ด้วยอำนาจสัจจะ ๔ พึงทราบการนับยมกในวาระทั้งหลาย ๔ เหล่านี้ คือปทโสธนวาระ ปทโสธนมูลจักกวาระ สุทธสัจจวาระ สุทธสัจจมูลจักกวาระ.
               แต่ในปัณณัตติวารนิทเทส พึงทราบเตภูมิกธรรมที่หลุดพ้นดีแล้วจากทุกขเวทนาและตัณหา ด้วยคำว่า อวเสสํ ทุกฺขสจฺจํ. ประเภทแห่งกามาวจรกุศลเป็นต้นที่ท่านแสดงไว้แล้วในสัจจวิภังค์ว่า อวเสโส สมุทโย ดังนี้ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งทุกขสัจจะ.
               สองบทว่า อวเสโส นิโรโธ ได้แก่ ตทังคนิโรธ วิกขัมภนนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ ปฏิปัสสัทธินิโรธและขณภังคนิโรธ.
               สองบทว่า อวเสโส มคฺโค ความว่า ก็มรรคมีองค์ ๕ ย่อมมีในสมัยนั้นแล.
               มรรคมีอาทิอย่างนี้ คือ อัฏฐังคิกมรรค มิจฉามรรค ชังฆมรรค สกฏมรรค.

               ๒. ปวตฺติวารวณฺณนา               
               ก็ในปวัตติวาระ ในอนุโลมนัยแห่งปุคคลวาระ ในปัจจุบันกาลนี้ ทุกขสัจจมูล ๓ สมุทยสัจจมูล ๒ นิโรธสัจจมูล ๑ รวมเป็นยมก ๖ อย่าง ด้วยอำนาจพระบาลี เพราะถือเอาสัจจะที่ได้อยู่และไม่ได้อยู่ว่า ทุกขสัจจะย่อมเกิดแก่สัตว์ใด สมุทยสัจจะย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์นั้น ก็หรือว่า สมุทยสัจจะย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ใด ทุกขสัจจะย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์นั้นดังนี้.
               ในสัจจะทั้งหลายเหล่านั้น เพราะความเกิดและความดับ ย่อมไม่สมควรแก่นิโรธ ฉะนั้น ยมกทั้งหลาย ๓ คือ ยมกอันเป็นมูลแห่งทุกขสัจจะ ๒ กับด้วยสมุทยสัจจะ และมัคคสัจจะ ยมกอันเป็นมูลแห่งสมุทยสัจจะ ๑ กับด้วยมัคคสัจจะ จึงมาแล้ว. ในปฏิโลมนัยแห่งปุคคลวาระนั้นบ้าง ในโอกาสวาระเป็นต้นบ้าง ก็นัยนี้นั่นเทียว. พึงทราบการนับยมก ด้วยอำนาจยมก ๓ อย่างๆ ในวาระทั้งหมดเหล่านี้ด้วยประการอย่างนี้.
               ก็ในอรรถวินิจฉัย พึงทราบลักษณะในสัจจยมกนี้ดังต่อไปนี้.
               ก็ในปวัตติวาระแห่งสัจจยมกนี้ ใครๆ ย่อมไม่ได้นิโรธสัจจะก่อนนั่นเทียว. แต่ในวาระทั้งหลาย ๓ ที่เหลือ สมุทยสัจจะและมัคคสัจจะ บุคคลย่อมได้ในปวัตติกาลโดยส่วนเดียวนั่นเทียว.
               ทุกขสัจจะ บุคคลย่อมได้ในจุติและปฏิสนธิบ้าง ในปวัตติกาลบ้าง. แต่กาล ๓ มีปัจจุบันกาลเป็นต้น บุคคลย่อมได้ แม้ในจุติและปฏิสนธิบ้าง ในปวัตติกาลบ้าง. บุคคลย่อมได้สัจจะใดๆ ในสัจจยมกนี้ พึงทราบอรรถวินิจฉัยด้วยอำนาจแห่งสัจจะนั้นๆ ด้วยประการอย่างนี้.
               พึงทราบนัยมุขในสัจจยมกนั้นดังต่อไปนี้.
               สองบทว่า สพฺเพสํ อุปปชฺชนฺตานํ ความว่า โดยที่สุด แม้แก่ชั้นสุทธาวาส.
               ก็เทวดาชั้นสุทธาวาส แม้เหล่านั้น ย่อมเกิดด้วยทุกขสัจจะนั่นเทียว.
               คำนี้ว่า ตณฺหาวิปฺปยุตฺตจิตฺตสฺส ท่านกล่าวไว้แล้วเพื่อแสดงการอุบัติแห่งส่วนหนึ่งในทุกขสัจจะและสมุทยสัจจะ. เพราะฉะนั้น คำนั้นพึงถือเอาด้วยอำนาจปัญจโวการภพนั่นเทียว.
               แต่ในจตุโวการภพ คำนี้ว่า สัจจะแม้อย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดขึ้นในอุปปาทักขณะของผลสมาบัติ จิตที่วิปปยุตด้วยตัณหา ดังนี้ บัณฑิตไม่ควรถือเอาในสัจจยมกนี้.
               จตุโวกาเร ปน ตณฺหาวิปฺปยุตฺตสฺส ผลสมาปตฺติจิตฺตสฺส อุปฺปาทกฺขเณ เอกมฺปิ สจฺจํ นุปฺปชฺชตีติ (๒) อิทํ อิธ น คเหตพฺพํ ฯ
____________________________
(๒) ม. อิติสทฺโท นตฺถิ ฯ


               สองบทว่า เตสํ ทุกฺขสจฺจญฺจ ความว่า ชื่อว่าทุกขสัจจะที่เหลือ เว้นตัณหาเสีย ย่อมมีในขณะนั้น คำนั้นท่านกล่าวหมายเอาทุกขสัจจะนั้น. แม้ในอุปปาทขณะแห่งมรรค ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               แต่ในสัจจยมกนั้นรูปนั่นเทียว ชื่อว่าทุกขสัจจะ ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยมรรคที่เหลือ เป็นธรรมที่พ้นดีแล้วจากสัจจะ. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวแล้วว่า มรรคสัจจะย่อมเกิดขึ้นแก่ชนเหล่านั้น ในอุปปาทักขณะแห่งมรรคในอรูป แต่ทุกขสัจจะย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ชนเหล่านั้น. พึงทราบโอกาสด้วยอำนาจขณะในสัจจยมกนี้อย่างนี้ว่า ในขณะแห่งการอุบัตินั้นและในขณะแห่งการอุบัติขึ้นของจิตที่วิปปยุตด้วยตัณหาที่เป็นไปของผู้เกิดอยู่ทั้งหมด ในอุปปทขณะของผู้เกิดอยู่ทั้งหมดเหล่านั้น.
               ในสัจจะที่มีรูปอย่างนั้น แม้เหล่าอื่น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า อนภิสเมตาวีนํ ได้แก่ สัตว์ผู้ไม่บรรลุอภิสมัย กล่าวคือจตุสัจจปฏิเวธ คือการแทงตลอดสัจจะ ๔.
               บทว่า อภิสเมตาวีนํ ได้แก่ อภิสมิตสัจจะ คือสัจจะที่สงบยิ่ง.
               พึงทราบอรรถวินิจฉัยในบททั้งปวง โดยนัยมุขนี้.

               ๓. ปริญฺญาวารวณฺณนา               
               ก็ในปริญญาวาระ บุคคลย่อมได้ปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.
               ก็เพราะชื่อว่าปริญญา ย่อมไม่มีในโลกุตตรธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น สัจจะ ๒ ท่านจึงถือเอาแล้วในสัจจยมกนี้.
               คำว่า ทุกฺขสจฺจํ ปริชานาติ ในสัจจยมกนั้น ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยอำนาจญาตปริญญาและตีปริญญา.
               คำว่า สมุทยสจฺจํ ปชหติ ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยอำนาจญาตปริญญาและปหานปริญญา.
               พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงด้วยอำนาจแห่งปริญญาทั้งหลายเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้แล.

               อรรถกถาสัจจยมก จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ยมกปกรณ์ ภาค ๑ สัจจยมก ปัณณัตติวารเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 38 / 1อ่านอรรถกถา 38 / 816อรรถกถา เล่มที่ 38 ข้อ 817อ่านอรรถกถา 38 / 825อ่านอรรถกถา 38 / 1564
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=38&A=7162&Z=7229
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7999
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7999
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๑  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :