บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
มหาขันธกวรรณนา มหาวรรค อปโลกคาถา ก็แลเนื้อความเหล่าใดยังไม่ชัดเจน ด้วยอธิบายและอนุสนธิและด้วยพยัญ อรรถกถาโพธิกถา ถึงจะไม่มีเหตุพิเศษเพราะตติยาวิภัตติ เหมือนในคำที่ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชายํ เป็นต้น ก็จริงแล, แต่โวหารนี้ ท่านยกขึ้นด้วยตติยาวิภัตติเหมือนกัน เพราะเพ่งวินัย เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบสันนิษฐานว่า คำนั้นท่านกล่าวตามทำนองโวหารที่ยกขึ้นแต่แรกนั่นเอง. ในคำอื่นๆ นอกจากคำนี้ แม้อื่นอีกแต่เห็นปานนี้ก็นัยนั้น. ถามว่า ก็อะไรเป็นประโยชน์ในการกล่าวคำนั้นเล่า? ตอบว่า การแสดงเหตุตั้งแต่แรกแห่งวินัยกรรมทั้งหลายมีบรรพชาเป็นต้น เป็นประโยชน์. จริงอยู่ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ประโยชน์ในการกล่าวคำนั้น ก็คือการแสดงเหตุตั้งแต่แรกแห่งวินัยกรรมทั้งหลายมีบรรพชาเป็นต้นเหล่านั้น อย่างนี้ว่า บรรพชาและอุปสมบทอันใด ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบรรพ ____________________________ ๑- มหาวคฺค ปฐม. ๔๒. ในบทเหล่านั้น บทว่า อุรุเวลายํ ได้แก่ ที่แดนใหญ่. อธิบายว่า ที่กองทรายใหญ่. อีกประการหนึ่ง ทราย เรียกว่าอุรุ, เขตคัน เรียกว่าเวลา. แลพึงเห็นความในบทนี้ อย่างนี้ว่า ทรายที่เขาขนมาเพราะเหตุที่ล่วงเขตคัน ชื่ออุรุเวลา. ได้ยินว่า ในอดีตสมัย เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ กุลบุตรหมื่นคนบวชเป็นดาบสอยู่ที่ประเทศนั้น วันหนึ่งได้ประชุมกันทำกติกาวัตรไว้ว่า ธรรมดากายกรรม วจี ____________________________ ๒- หรือว่าใบไม้สำหรับห่อ ตามนัยอรรถกถา สตฺติคุมฺพชาตก ที่ท่านชักมาไว้ใน มงฺคล ข้าพเจ้าหมายเอากองทรายนั้นกล่าวว่า บทว่า อุรุเวลายํ ได้แก่ ที่แดนใหญ่. อธิบายว่า ที่กองทรายใหญ่. หมายเอากองทรายนั้นเองกล่าวว่า อีกประการหนึ่ง ทราย เรียกว่าอุรุ, เขตคัน เรียกว่าเวลา, และพึงเห็นความในบทนี้ อย่างนี้ว่า ทรายที่เขาขนมา เพราะเหตุที่ล่วงเขตคัน ชื่ออุรุเวลา. บทว่า โพธิรุกฺขมูเล มีความว่า ญาณในมรรค ๔ เรียกว่าโพธิญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุโพธิญาณนั้นที่ต้นไม้นี้ เพราะฉะนั้นต้นไม้จึงพลอยได้นามว่าโพธิพฤกษ์ด้วย ที่โคนแห่งโพธิพฤกษ์นั้นชื่อว่า โพธิรุกขมูล. บทว่า ปฐมาภิสมฺพุทฺโธ ได้แก่ แรกตรัสรู้. อธิบายว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเสร็จก่อนทุกอย่างทีเดียว. บทว่า เอกปลฺลงฺเกน มีความว่า ประทับนั่ง ด้วยบัลลังก์อันเดียวตามที่ทรงคู้แล้วเท่านั้น ไม่เสด็จลุกขึ้นแม้ครั้งเดียว. บทว่า วิมุตฺติสุขปฏิสํเวที มีความว่า เสวยวิมุตติสุข คือสุขที่เกิดแต่ผล บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ได้แก่ ปัจจยาการ. จริง ปัจจยาการท่านเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า อาศัยกันและกัน ยังธรรมที่สืบเนื่องกันให้เกิดขึ้น. ความสังเขปในบทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ นี้ เท่านี้. ส่วนความพิสดาร ผู้ปรารถนาวินิจฉัยที่พร้อมมูลด้วยอาการทั้งปวง พึงถือเอาจากวิสุทธิมรรค๓- และมหาปกรณ์. ____________________________ ๓- วิ.ปญฺญา. ตติย. ๑๐๗. บทว่า อนุโลมปฏิโลมํ มีวิเคราะห์ว่า ตามลำดับด้วย ทวนลำดับด้วย ชื่อว่าทั้งตามลำดับทั้งทวนลำดับ. ผู้ศึกษาพึงเห็นความในบทอย่างนี้แลว่า ในอนุโลมและปฏิโลมทั้ง ๒ นั้น ปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้น ที่ท่านกล่าวโดยนัยว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ดังนี้ เรียกว่า อนุโลม เพราะทำกิจที่ตนพึงทำ. ปัจจยาการนั้นนั่นเองที่ท่านกล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราค อีกอย่างหนึ่ง ปัจจยาการที่กล่าวแล้ว ตามนัยก่อนนั่นแล เป็นไปตามประพฤติเหตุ นอกนี้เป็นไปย้อนประพฤติเหตุ. ก็แลความเป็นอนุโลมและปฏิโลมในปัจจยาการนี้ ยังไม่ต้องด้วยเนื้อความอื่นจากนี้ เพราะท่านมิได้กล่าวตั้งแต่ต้นจนปลายและตั้งแต่ปลายจนถึงต้น. บทว่า มนสากาสิ ตัดบทว่า มนสิ อกาสิ แปลว่า ได้ทำในพระหฤทัยในอนุ ส่วนความพิสดารผู้ต้องการวินิจฉัยที่พร้อมมูลด้วยอาการทุกอย่าง พึงถือเอาจากวิสุทธิมรรค๔- สัมโมหวิโนทนี๕- และอรรถกถาแห่งมหาวิภังค์. และพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำในพระหฤทัย โดยปฏิโลมด้วยประการใด เพื่อแสดงประการนี้ ท่านจึงกล่าวคำว่า อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ เป็นต้น. ____________________________ ๔- วิ. ปญฺญา. ตติย. ๑๒๔. ๕- สมฺ. วิ. ๑๖๘. ในคำนั้นพึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า อวิชฺชาย เตฺวว ตัดบทว่า อวิชฺชาย ตุ เอว. บทว่า อเสสวิราคนิโรธา มีความว่า เพราะดับไม่เหลือด้วยมรรค กล่าวคือวิราคะ. บทว่า สงฺขารนิโรโธ ได้แก่ ความดับ คือความไม่เกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลาย. ก็แลเพื่อแสดงว่า ความดับแห่งวิญญาณ จะมีก็เพราะดับแห่งสังขารทั้งหลายที่ดับไปแล้วอย่างนั้น และธรรมทั้งหลายมีนามรูปเป็นต้น จะเป็นธรรมที่ดับดีแล้วทีเดียว ก็เพราะดับแห่งธรรมทั้งหลายมีวิญญาณเป็นต้น ท่านจึงกล่าวคำว่า สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ เป็นต้น แล้วกล่าวคำว่า กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เป็นอันดับไปด้วยประการอย่างนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า เกวลสฺส ได้แก่ทั้งมวลหรือล้วน. ความว่า ปราศจากสัตว์. บทว่า ทุกฺขกฺขนฺธสฺส ได้แก่กองทุกข์. สองบทว่า นิโรโธ โหติ มีความว่า ความไม่เกิดย่อมมี. สองบทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา มีความว่า เนื้อความนี้ใดที่พระธรรม สองบทว่า ตายํ เวลายํ ได้แก่ ในเวลาที่ทรงทราบเนื้อความนั้นๆ. บทว่า อิมํ อุทานํ อุทาเนสิ มีความว่า ทรงเปล่งอุทานซึ่งมีญาณอันสัมปยุตด้วยโสมนัสเป็นแดนเกิด มีคำว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ เป็นต้นนี้ ซึ่งแสดงอานุภาพแห่งความทรงทราบเหตุและธรรมที่เกิดแต่เหตุ ในเนื้อความที่ทรงทราบแล้วนั้น มีคำอธิบายว่า ทรงเปล่งพระวาจาแสดงความเบิกบานพระหฤทัย. เนื้อความแห่งอุทานนั้นว่า บทว่า ยทา หเว ได้แก่ ในกาลใดแล. บทว่า ปาตุภวนฺติ ได้แก่ ย่อมเกิด. โพธิปักขิยธรรมซึ่งให้สำเร็จความตรัสรู้ปัจจยาการโดยอนุโลม ชื่อว่าธรรม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปาตุภวนฺติ มีความว่า แจ่มแจ้ง คือเป็นของชัดเจน ปรากฏด้วยอำนาจความรู้ตรัสรู้. ธรรมคืออริยสัจ ๔ ชื่อว่าธรรม. ความเพียรเรียกว่า อาตาปะ เพราะอรรถว่าย่างกิเลสให้ร้อน บทว่า อาตาปิโน ได้แก่ ผู้มีความเพียรอันบุคคลพึงตั้งไว้ชอบ. บทว่า ฌายโต มีความว่า ผู้เพ่งด้วยฌาน ๒ คือด้วยการกำหนด คืออารัม บทว่า พฺราหฺมณสฺส ได้แก่ พระขีณาสพผู้ลอยบาปแล้ว. หลายบทว่า อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ มีความว่า เมื่อนั้นความสงสัยของพราหมณ์นั้น คือผู้มีธรรมปรากฏแล้วอย่างนั้นย่อมสิ้นไป. บทว่า สพฺพา มีความว่า ความสงสัยในปัจจยาการที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อเขาถามว่า ใครเล่าหนอ? ย่อมถูกต้องพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ปัญหาไม่สมควรแก้๖- ดังนี้ และโดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อเขาถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็ชราและมรณะเป็นอย่างไรหนอ ก็แลชราและมรณะนี้จะมีแก่ใคร? พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ปัญหาไม่สมควรแก้. ดังนี้๗- และความสงสัย ๑๖ อย่างเป็นต้นว่า ในอดีตกาลเราได้มีแล้วหรือหนอ? ซึ่งมาแล้วเพราะยังไม่ได้ตรัสรู้ปัจจยาการนั่นเอง (เหล่านี้) ทั้งหมดย่อมสิ้นไป คือย่อมปราศจากไป ย่อมดับไป. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่มาทราบธรรมพร้อมทั้งเหตุ. มีอธิบายว่า เพราะทราบ คือทราบชัด ตรัสรู้ธรรมคือกองทุกข์ทั้งมวล มีสังขารเป็นต้นนี้พร้อมทั้งเหตุ ด้วยเหตุมีอวิชชาเป็นต้น. ____________________________ ๖- สํ. นิ. เล่ม ๑๖/ข้อ ๓๓ ๗- สํ. นิ. เล่ม ๑๖/ข้อ ๑๒๙. พึงทราบวินิจฉัยในทุติยวาร :- สามบทว่า อิมํ อุทานํ อุทาเนสิ มีความว่า ทรงเปล่งอุทานมีประการดังกล่าวแล้วนี้ ซึ่งแสดงอานุภาพแห่งความตรัสรู้ ความสิ้นปัจจัย กล่าวคือนิพพานซึ่งปรากฏแล้วอย่างนี้ว่า อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ ในเนื้อความที่ทรงทราบแล้วนั้น. ความสังเขปในอุทานนั้นดังต่อไปนี้ :- เพราะได้รู้ คือได้ทราบชัดได้ตรัสรู้นิพพานกล่าวคือความสิ้นปัจจัยทั้งหลาย เมื่อใดธรรมทั้งหลายมีประการดังกล่าวแล้วปรากฏแก่พราหมณ์นั้น ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทุกอย่างที่จะพึงเกิดขึ้นเพราะไม่รู้นิพพาน ย่อมสิ้นไป. พึงทราบวินิจฉัยในตติยวาร :- สามบทว่า อิมํ อุทานํ อุทาเนสิ มีความว่า ทรงเปล่งอุทานมีประการดังกล่าวแล้วนี้ ซึ่งแสดงอานุภาพแห่งอริย ความสังเขปในอุทานนั้นดังต่อไปนี้ :- เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัด เสนามารด้วยโพธิปักขิยธรรมซึ่งเกิดแล้วเหล่านั้น หรือด้วยอริย ____________________________ ๘- ขุ. สุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๓๕๕ ถามว่า กำจัดอย่างไร? ตอบว่า เหมือนพระอาทิตย์ส่องอากาศให้สว่างฉะนั้น. อธิบายว่า พระอาทิตย์ขึ้นไปแล้ว เมื่อส่องอากาศให้สว่างด้วยรัศมีของตนแล ชื่อว่ากำจัดมืดเสีย ข้อนี้ฉันใด. พราหมณ์แม้นั้นเมื่อตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยธรรมเหล่านั้นหรือด้วยมรรคนั้นแล ชื่อว่ากำจัดเสนามารเสียได้ ข้อนี้ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบสันนิษฐานว่าใน ๓ อุทานนี้ อุทานที่ ๑ เกิดขึ้นด้วยอำนาจความพิจารณาปัจจยาการ อุทานที่ ๒ เกิดขึ้นด้วยอำนาจความพิจารณาพระนิพพาน อุทานที่ ๓ เกิดขึ้นด้วยอำนาจความพิจารณามรรค ด้วยประการฉะนี้. ส่วนในอุทาน๙- ท่านกล่าวว่า ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลม ____________________________ ๙- ขุ. อุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๓๘ จริงอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพิจารณาส่วนอันหนึ่งๆ เท่านั้น ตลอด จริงอยู่ ในราตรีเพ็ญวิสาขมาส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงระลึกปุพเพนิวาสในปฐมยาม ทรงชำระทิพยจักษุในมัชฌิมยาม ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลมและปฏิโลมในปัจฉิมยาม ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในขณะที่จะพึงกล่าวว่า อรุณจักขึ้นเดี๋ยวนี้. อรุณขึ้นในเวลาติดต่อกับเวลาที่ได้ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูทีเดียว. แต่นั้น พระองค์ทรงปล่อยวันนั้นให้ผ่านพ้นไปด้วยการนั่งขัดสมาธินั้นแล แล้วทรงพิจารณาอย่างนั้น เปล่งอุทานเหล่านี้ในยามทั้ง ๓ แห่งราตรีวันปาฏิบทที่ถึงพร้อมแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาอย่างนั้นในราตรีวันปาฏิบท ให้ ๗ วันที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ประทับนั่งด้วยบัลลังก์อันเดียว ที่โพธิรุกขมูลตลอด ๗ วัน. นั้นผ่านพ้นไปที่โพธิรุกขมูลนั้นแล ด้วยประการฉะนี้แล. อรรถกถาโพธิกถา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ โพธิกถา จบ. |