บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
พระสารีบุตรผู้มีอายุย่อมทราบบรรพชาและอุปสมบท ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตด้วยไตรสรณคมน์ที่กรุงพาราณสีแม้โดยแท้. ถึงกระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะห้ามอุปสมบทอันเพลานั้นแล้ว ทรงอนุญาตอุปสมบททำให้กวดขัน ด้วยญัตติจตุตถกรรม คราวนั้น พระเถระทราบพระอัธยาศัยของพระองค์ จึงกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จะให้พราหมณ์นั้นบรรพชาอุปสมบทอย่างไร? จริงอยู่ บริษัทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ฉลาดในอัธยาศัยและพระผู้มีอายุสารีบุตรนี้ เป็นผู้ประเสริฐเป็นยอดของพุทธ ในคำว่า พฺยตฺเตน ภิกฺขุนา ปฏิพเลน นี้ มีวินิจฉัยว่า วินัยปิฎกพร้อมทั้งอรรถ ฝ่ายภิกษุใดไม่สามารถสวดกัมมวาจาด้วยบทและพยัญชนะอันเรียบร้อย คือว่าพยัญชนะหรือบทให้เสีย หรือควรจะว่าอย่างอื่น ว่าเป็นอย่างอื่นไปเสีย เพราะความเจ็บไข้มีไอ หืดและเสมหะเป็นต้น หรือเพราะอวัยวะมีริมฝีปาก ฟันและลิ้นเป็นต้น ใช้การไม่ได้ หรือเพราะไม่ได้ทำความสั่งสมไว้ในพระปริยัติ ภิกษุนี้จัดว่าเป็นผู้ไม่สามารถ ภิกษุผู้แผกจากนั้น พึงทราบว่าเป็นผู้สามารถในอรรถนี้. ข้อว่า สงฺโฆ ญาปตพฺโพ มีความว่า สงฆ์อันภิกษุนั้นพึงให้ทราบ. เบื้องหน้าแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า สุณาตุ เม ภนฺเต เป็นต้น เพื่อแสดงข้อที่ภิกษุนั้นควรให้สงฆ์ทราบ. ข้อว่า อุปสมฺปนฺนสมนนฺตรา มีความว่า เป็นผู้พออุปสมบทแล้ว ย่อมประพฤติอนาจาร๑- ในกาลเป็นลำดับต่อติดกันไป. ข้อว่า อนาจารํ อาจรติ มีความว่า ย่อมทำความละเมิดพระบัญญัติ. บทว่า อุลฺลุมฺปตุ มํ มีความว่า ขอจงยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด. อธิบายว่า ขอให้ข้าพเจ้าออกจากอกุศล ให้ตั้งเฉพาะในกุศลเถิด หรือว่า ขอจงยกขึ้นจากความเป็นสามเณร ให้ตั้งเฉพาะในความเป็นภิกษุเถิด. สองบทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ได้แก่ อาศัยความสงสาร. อธิบายว่า กระทำความเอ็นดูในข้าพเจ้า. สองบทว่า อฏฺฐิตา โหติ มีความว่า เป็นของเป็นไปเป็นนิตย์. สองบทว่า จตฺตาโร นิสฺสเย ได้แก่ ปัจจัยสี่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า นิสัย เพราะเหตุว่า เป็นที่อาศัยเป็นไปของอัตภาพ. ____________________________ ๑- ถ้า อุปสมฺปนฺโน หุตฺวาว... อาจรติ เป็นประโยคเดียวกันก็จะงาม เพราะเมื่อแปลเสร็จแล้วเอา อนาจารํ อาจรติ มาเป็นบทตั้งแก้อรรถอีกครั้ง. อรรถกถาญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ มูลเหตุอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม จบ. |