ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 1007อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 1008อ่านอรรถกถา 40 / 1022อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ ปัญหาวารปัจจนียานุโลมคณนา นเหตุมูลกนัย

               อรรถกถาปัจจนียานุโลมนัย               
               วาระเหล่าใด เช่นเดียวกับวาระที่ได้โดยอนุโลมแห่งปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยอนุโลม ในบรรดาวาระทั้งหลายที่ได้โดยเป็นปัจจนียะแห่งปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายที่มีการนับอันได้แล้วในอนุโลม อย่างนี้คือ เหตุยา สตฺต อารมฺมเณ นว และในปัจจนียะอย่างนี้ คือ นเหตุยา ปณฺณรส นารมฺมเณ ปณฺณรส ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนับด้วยอำนาจแห่งวาระเหล่านั้น แม้ในปัจจนียานุโลม (นี้)
               จริงอยู่ ในนเหตุปัจจัย ในปัจจนียนัย ได้วาระ ๑๕ ดังพระบาลีว่า "นเหตุยา ปณฺณรส."
               ในอารัมมณปัจจัย ในอนุโลมนัยได้วาระ ๙ ดังพระบาลีว่า อารมฺมเณ นว. วาระ ๙ เหล่าใดในบรรดาวาระ ๑๕ ที่ท่านกล่าวไว้ในนเหตุปัจจัยเป็นเช่นเดียวกันกับวาระ ๙ ที่ท่านกล่าวไว้ในอารัมปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบการนับด้วยอำนาจแห่งวาระเหล่านั้น. บรรดาวาระเหล่านั้น วาระ ๙ เหล่าใด ท่านกล่าวไว้แล้วในอารัมมณปัจจัย วาระเหล่านั้นเหมือนกับวาระ ๙ เหล่านี้คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล แก่อกุศล แก่อัพยากตะ, อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล แก่กุศล แก่อัพยากตะ. อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ แก่กุศล แก่อกุศล ในบรรดาวาระ ๑๕ ที่ท่านกล่าวไว้ในนเหตุปัจจัย.
               คำว่า นเหตุยา อารมฺมเณ นว เพราะเหตุปัจจัยในอารัมมณปัจจัยมี ๙ วาระ ท่านกล่าวหมายถึงวาระ ๙ เหล่านั้น แม้ในคำว่า อธิปติยา ทส เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               จริงอยู่ วาระเหล่าใดๆ ที่ท่านกล่าวไว้ในอนุโลมคณนา (การนับวาระในอนุโลม) แห่งอารัมมปัจจัยเป็นต้น วาระเหล่านั้นทั้งหมด พึงทราบว่าย่อมใช้ได้ในการเทียบเคียงกับเหตุปัจจัย.
               กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยนเหตุปัจจัย โดยอารัมมณปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบการขยายบาลีแห่งวาระเหล่านั้นโดยอุบายนี้คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ย่อมพิจาณากุศลนั้น, บุคคลย่อมพิจารณากุศลที่บำเพ็ญไว้ในกาลก่อน.
               ในคำว่านี้ นเหตุปจฺจยา อธิปติยา ทส เพราะนเหตุปัจจัย ในอธิปติปัจจัยมี ๑๐ วาระ ผู้ศึกษาพึงขยายวาระในอนุโลมวิภังค์ด้วยอำนาจแห่งอธิบดีที่เหลือ เว้นวิมังสาธิบดี. ในอธิการนี้มีการกำหนดวิธีนับ ดังนี้คือ ๙-๑๐-๗-๓-๑๓-๑ ผู้ศึกษาพึงลดการนับ (จำนวน) แม้แห่งปัจจัยที่มีการนับได้มากกว่าปัจจัยที่มีการนับได้น้อยกว่า ด้วยอำนาจแห่งการกำหนดวิธีนับเหล่านั้น แล้วพึงทราบวิธีนับในการเทียบเคียงทั้งหมดในนัยที่มีมูล ๓ เป็นต้น บรรดานัยทั้งหลายมีนเหตุมูลกนัยเป็นต้น นี้เป็นลักษณะที่ทั่วไปก่อน. แต่ลักษณะนี้ยังไม่เป็นไปในการเทียบเคียงทั้งหมด ก็ในการเทียบเคียงปัจจัยเหล่าใด กับปัจจัยเหล่าใด วาระเหล่าใดขัดแย้งกัน พึงนำวาระเหล่านั้นออกเสีย แล้วพึงทราบวิธีนับในอธิการนี้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเหล่านั้นที่ยังเหลืออยู่.
               ก็ในคำนี้ว่า นเหตุปจฺจยา นารมฺมณปจฺจยา อธิปติยา สตฺต เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมปัจจัย ในอธิปติปัจจัยมี ๗ วาระ ย่อมห้ามวาระ ๓ เหล่านี้ที่ได้อยู่ด้วยอำนาจอารัมมณาธิปติ คือ กุสโล อกุสลสฺส อพฺยากโต กุสลสฺส อพฺยากโต อกุสลสฺส (=กุ - อกุ, อัพ - กุ, อัพ - อกุ) เพราะเหตุไร? เพราะท่านกล่าวว่า นารมฺณปจฺจยา คือห้ามอารัมมณปัจจัย. เพราะฉะนั้นในอธิการนี้ผู้ศึกษาพึงนำวาระเหล่านั้นออกเสีย แล้วพึงทราบวาระ ๗ โดยนัยแห่งสหชาตาธิปติ คือ กุสโล กุสลสฺส อพฺยากตสฺส กุสลาพฺยากตสฺส อกุสโล อกุสลสฺส อพฺยากตสฺส อกุสลาพฺยากตสฺส อพฺยากโต อพฺยากตสฺ (= กุ - กุ, กุ - อัพ, กุ -กุ. อัพ, อกุ - อกุ, อกุ - อัพ, อกุ - อกุ. อัพ และ อัพ - อัพ). วาระแม้เหล่านั้นย่อมมีด้วยอำนาจอธิบดีที่เหลือ เว้นวิมังสาธิปติ เพราะพระบาลีว่า นเหตุปจฺจยา ในที่ทุกแห่ง ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนับด้วยอำนาจปัจจัยที่มีวิธีนับน้อยกว่า และด้วยอำนาจจำนวนที่ไม่ขัดกัน.
               ก็ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ ปัจจัยเหล่าใดไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจัยเหล่านั้นด้วยอย่างใด? คือเมื่ออนันตรปัจจัยตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ สมนันตรปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย ย่อมไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม. เมื่อสหชาตปัจจัยตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ เหตุปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย วิปากปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย และสัมปยุตตปัจจัย ย่อมไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม. เมื่อนิสสยปัจจัย๑- ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ วัตถุปุเรชาตปัจจัยย่อมไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม. เมื่ออาหารปัจจัยหรืออินทริยปัจจัย ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ เหตุปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัยและสัมปยุตตปัจจัย ย่อมไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม. แต่เมื่ออารัมมณปัจจัยตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ อธิปติปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัยย่อมไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม. อนึ่ง อารัมมณาธิปติปัจจัยและอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ย่อมมีไม่ได้. โดยอุบายนี้ ในที่ทุกสถานพึงทราบวิสัชนาที่มีได้และมีไม่ได้ไว้แล้ว พึงขยายวาระทั้งหลายด้วยอำนาจแห่งวิสัชนาที่มีได้.
____________________________
๑- ใจความในประโยคนี้ทั้งหมด ขัดต่อสภาวะและพระบาลีข้อ ๑๐๔๘ และข้อ ๑๐๕๑ แต่จำต้องแปลตามบาลีอรรถกถา ซึ่งตรงกันทั้งของไทยและของพม่า.

               วาระทั้งหลายว่า อนนฺตเร สตฺต ในอนันตรปัจจัยมี ๗ วาระ ในติมูลกนัยเป็นต้น แม้ทั้งหมดได้ในทุมูลกนัยนั่นเอง ส่วนในสัตตมูลกนัยเป็นต้น คำว่า นสหชาตปัจฺจยา นิสฺสเย ตีณิ เพราะนสหชาตปัจจัย ในนิสสยปัจจัยมี ๓ วาระ คือวาระ ๓ ในวัตถุนิสสยปัจจัย ด้วยอำนาจปุเรชาตะ. วิสัชนา ๒ วาระในกัมมปัจจัย ด้วยอำนาจนานากขณิกกัมมปัจจัย. วิสัชนา ๑ วาระในอาหารปัจจัย ด้วยอำนาจกพฬีการาหาร. วิสัชนา ๑ วาระในอินทริยปัจจัยด้วยอำนาจรูปชีวิตินทรีย์.
               ในวิปปยุตตปัจจัย ธรรมทั้งหลายมีกุศลเป็นต้น อันมีอัพยากตะเป็นที่สุดถึงแล้วโดยลำดับด้วยคำว่า ตีณิ คือ ๓ วาระ ด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย. คำว่า อตฺถิ อวิคตเสุ ปญฺจ ในอัตถิและอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ ความว่า วิสัชนา ๓ วาระเหล่านั้นด้วยและวิสัชนา ๒ เหล่านี้คือ กุสลาพฺยากตา อพฺยากตสฺส, อกุสลาพฺยากตา อพฺยากตสฺส (กุ. อัพ - อัพ และ อกุ. อัพ - อัพ) ย่อมมีด้วยอำนาจปัจฉาชาตินทริยปัจจัย.
               ก็ตั้งแต่ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นปัจจนียะ (ปจฺจนีก) ไป คำว่า อตฺถิอวิคเตสุ เอกํ คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ ด้วยอำนาจอาหารและอินทริยปัจจัย เมื่อถือเอานอาหารปัจจัยแล้ว ก็ไม่ควรถือเอานอินริปัจจัย.
               อนึ่ง เมื่อถือเอานอินทริยปัจจัย ก็ไม่ควรถือเอานอาหารปัจจัย ด้วยเหมือนกัน. เพราะเหตุไร? เพราะเมื่อปัจจัยทั้ง ๒ อันอาจารย์ถือเอาโดยเป็นอันเดียวกันแล้ว วาระที่จะนับก็ไม่มี แม้เมื่อฌานและมัคคปัจจัยเป็นต้นตั้งอยู่โดยเป็นปัจนียะ ไม่ต้องทำอนุโลมให้เป็นข้อเดียว โดยอาหารปัจจัยหรืออินทริยปัจจัย (แต่ทำให้แยกกัน) ดังที่ตรัสว่า อินฺทฺริเย เอกํ (ในอินทริยปัจจัยมี ๑ วาระ) อตฺถิยา เอกํ อวิคเต เอกํ อาหาเร เอกํ อตฺถิยา เอกํ อวิคเต เอกํ ในที่สุด. คำที่เหลือในอธิการนี้มีเนื้อความกระจ่ายแล้วทั้งนั้น แล.
               นเหตุมูลกนัย จบ.               
               -----------------------------------------------------               

               ในนอารัมมณมูลกนัยเป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               ในอัญญมัญญมูลกนัย คำว่า นอญฺญมญฺญปจฺจยา เหตุยา ตีณิ เพราะนอัญญมัญญปัจจัย ในเหตุปัจจัยมี ๓ วาระ คือกุศลเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
               สองบทว่า อธิปติยา อฏฺฐ ในอธิปติปัจจัยมี ๘ วาระ เพราะนสหชาตปัจจัย ในนิสสยปัจจัยมี ๓ วาระ ความว่า บรรดาวาระ ๑๐ ที่ท่านกล่าวไว้ในอธิปติปัจจัย ได้วาระ ๘ ที่เหลือโดยชักออก ๒ วาระ คือ ๑- กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลและอัพยากตะ อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลและอัพยากตะ.
____________________________
๑- บาลีอรรถกถาของไทยหน้า ๑๕๐ บรรทัดที่ ๑๑ เป็น กุสโล กุสลสฺส อกุสโล อกุสลสฺส (คือ กุ - กุ, อกุ - อกุ) ซึ่งผิดสภาวะ ในที่นี้จึงแปลตามบาลีพม่าที่ว่า กุสโล กุสลาพฺยากตสฺส อกุสโล อกุสลาพฺยากตสฺส

               สองบทว่า สหชาเต ปญฺจ ในสหชาตปัจจัยมี ๕ วาระ คือวาระ ๒ เหล่านี้ คือกุศลและอัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อกุศลกับอัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ กับวาระ ๓ ที่ท่านกล่าวไว้ในเหตุปัจจัย.
               สองบทว่า นิสฺสเย สตฺต ในนิสสยปัจจัยมี ๗ วาระ วาระ ๒ เหล่านี้ คืออัพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุศล อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุศล กับวาระ ๕ เหล่านั้นย่อมีด้วยอำนาจเป็นวัตถุ.
               สองบทว่า กมฺเม ตีณิ ในกัมมปัจจัยมี ๓ วาระ คือวาระ ๓ ที่ท่านกล่าวไว้ในนเหตุปัจจัยนั่นเอง แม้ในติกะที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน ฯ
               สองบทว่า อธิปติยา ตีณิ ในอธิปติปัจจัยมี ๓ วาระ คือวาระที่กล่าวไว้ในหนหลัง.
               ในนอาหารมูลกนัย คำว่า อญฺญมญฺเญ ตีณิ ในอัญญมัญญปัจจัยมี ๓ วาระ ผู้ศึกษาพึงทราบวาระด้วย อำนาจเจตสิกที่เหลือ เว้นอาหาร ก็แม้ในอธิการนี้ ในนอาหารปัจจัยและนอินทริยปัจจัย ท่านถือเอาคราวละ ๑ ปัจจัย ไม่ถือเอา ๒ ปัจจัยรวมกัน เหมือนในหนหลัง (คือแยกแสดงไม่แสดงรวมกัน).
               คำว่า นสมฺปยุตฺตปัจฺจยา เหตุยา ตีณิ เพราะนสัมปยุตตปัจจัยในเหตุปัจจัยมี ๓ วาระ มีวาระที่ท่านกล่าวไว้ในนอัญญมัญญปัจจัย ในหนหลัง อธิปติยา อฏฺฐ ในอธิปติปัจจัยมี ๘ วาระ คือวิสัชนาที่ท่านกล่าวไว้ในหนหลังเหมือนกัน.
               พึงทราบวินิจฉัยในนวิปปยุตตปัจจัยเป็นมูล.
               สองบทว่า กมฺเม ปญฺจ ในกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ คือมีวาระ ๕ อย่างนี้คือ เจตนามีกุศลเป็นต้นเป็นปัจจัยแก่กุศลเป็นต้นที่เกิดร่วมกัน กุศลและอกุศลเจตนาที่เกิดต่างขณะกันเป็นปัจจัยแก่วิบาก และแก่รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน.
               ในอาหารปัจจัยและอินทริยปัจจัย มีวาระ ๓ เหมือนกับสหชาตปัจจัย. ในฌานปัจจัยและมัคคปัจจัยเป็นต้น มีวาระ ๓ เหมือนกับเหตุปัจจัย.
               ในโนอัตถิมูลกนัย มีอธิบายว่า เพราะเหตุ ชื่อว่า โนอตฺถิ ไม่มี มีแต่อัตถิแน่นอน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ถือเอาเหตุปัจจัยนั้น แล้วกล่าวว่า นอารมฺมเณ นว ในนอารัมมณปัจจัยมี ๙ วาระ (เหตุปัจจัยแสดงไม่ได้). ปัจจัยทั้งหลายที่เข้าลักษณะอัตถิปัจจัยแม้อื่น ย่อมไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลมในอธิการนี้.
               ก็คำว่านี้ กมฺเม เทฺว ในกัมมปัจจัยมี ๒ วาระ ท่านกล่าวด้วยอำนาจนานาขณิกกัมมปัจจัย ปัจจัยทั้งหมดย่อมได้โดยปัจจนียะ.
               ก็วาระทั้งหลาย ต่อจากนั้นอันท่านไม่ถือเอาปัจจัยใด แม้ที่ได้อยู่โดยอนุโลม ถือเอาโดยเป็นปัจจนียะ ปัจจัยนั้นย่อมได้การประกอบในภายหลัง เพราะเหตุนั้นเอง ในอธิการนี้ท่านจึงกล่าวไว้ว่า โน อตฺถิปจฺจยา นเหตุปจฺจยา ฯเปฯ โนอวิคตปจฺจยา กมฺเม เทวฺ ฯเปฯ
               ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ถือเอาปัจจัยนั่นในฐานะของตนเองเลย.
               แก้ว่า เพราะเมื่อปัจจัยทั้งหมดที่เหลือ ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ ปัจจัยหนึ่งเท่านั้นย่อมได้โดยอนุโลม
               จริงอยู่ นี้เป็นลักษณะในปัจจนียานุโลมนี้ คือเมื่อปัจจัยทั้งหมดตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ ปัจจัยใดปัจจัยเดียวเท่านั้นย่อมได้โดยอนุโลมปัจจัยนั้น ท่านจะกล่าวในภายหลัง.
               แม้ในคำว่า โนอตฺถิปจฺจยา นเหตุปจฺจยา ฯเปฯ โนอวิคตปจฺจยา อุปฺปนิสฺสเย นว ก็ในนัยนี้เหมือนกัน ก็คำนี้ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจแห่งปกตูปนิสสยปัจจัย ในทุกแห่งวาระที่มีได้และไม่ได้ ที่ท่านกล่าวไว้ก่อนและภายหลัง พึงทราบโดยนัยนี้แล.

               ปัจจนียานุโลมแห่งปัญหาวาระ จบ.               
               วรรณนากุสลติกปัฏฐาน จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ ปัญหาวารปัจจนียานุโลมคณนา นเหตุมูลกนัย จบ.
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 1007อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 1008อ่านอรรถกถา 40 / 1022อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=40&A=14156&Z=14334
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=12437
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=12437
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๑  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :