![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ชื่อว่า ปุเรชาตะ ในคำว่า ปุเรชาตปจฺจโย นี้ เป็นปัจจัยแก่ธรรมใด ต้องเกิดก่อนกว่าธรรมนั้น คือล่วงเลยอุปาทขณะไปถึงฐิตะขณะแล้ว. คำว่า จกฺขฺวายนํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจวัตถุปุเรชาตปัจจัย. คำว่า รูปายตนํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจอารัมมณปุเรชาตปัจจัย. คำว่า กิญฺจิ กาลํ ปุเรชาตปจฺจเยน (บางคราวเป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย) พระองค์ตรัสหมายถึงปวัตติกาล. คำว่า กิญฺจิ กาลํ น ปุเรชาตปจฺจเยน (บางคราวก็ไม่เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย) ตรัสหมายเอาปฏิสนธิกาล. บาลีนี้มาแล้วด้วยอำนาจวัตถุและอารมณ์ในปัญจทวารทั้งหมด ไม่ได้มาด้วยอำนาจวัตถุในมโนทวาร. แต่ในปัญหาวาระ ได้อารัมมณปุเรชาตปัจจัยแม้ในมโนทวารด้วย เพราะบาลีมาแล้วว่า พระเสกขะหรือปุถุชนย่อมเห็นแจ้งซึ่งจักษุอันเป็นอารมณ์ที่เกิดก่อน โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา. ส่วนในที่นี้ ทรงแสดงเทศนาด้วยอำนาจธรรมที่มีส่วนเหลือ. พรรณนาบาลีในปุเรชาตปัจจัยนิทเทสเพียงเท่านี้. ก็ปุเรชาตปัจจัยนี้มีแต่รูปล้วนๆ. ก็แลรูปนั้น ได้แก่รูปรูป ๑ (รูปรูป หมายถึงนิปผันนรูป ๑๘) ๑๘ เท่านั้น (รูปที่แตกสลายเพราะปัจจัยที่เป็นข้าศึก มีเย็นร้อนเป็นต้น) ที่เลยอุปาทขณะแล้วถึงฐิติขณะ. รูปทั้งหมดมี ๒ อย่าง คือเป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัยและอารัมมณ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่างๆ ในปุเรชาตปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาแล้ว. ก็ในปุเรชาตปัจจัยซึ่งจำแนกได้ดังที่ข้าพเจ้าแสดงมาแล้วนี้ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญ ก็รูปรูปทั้ง ๑๘ อย่างนั้น เป็นปุเรชาตปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้ คือกามาวจรกุศล อภิญ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในปุเรชาตปัจจัยนี้ อย่างนี้แล. วรรณนานิทเทสแห่งปุเรชาตปัจจัย จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร ปุเรชาตปัจจัย จบ. |