บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในนัยทั้งหมดว่า ปุริมา ปุริมา ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ได้แก่ ธรรมที่ดับไปโดยลำดับด้วยดี. ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงทำนิทเทสพร้อมกับธรรมที่มีชาติแตกต่างกัน โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ เหมือนในอนันตรปัจจัยเล่า. ตอบว่า เพราะธรรมทั้งหลายไม่สามารถให้ธรรมเหล่าอื่น ถือเอาคติของตนได้. จริงอยู่ ธรรมที่มีชาติแตกต่างกัน เมื่อจะให้ธรรมที่มีชาติแตกต่างกัน สำเร็จความเป็นธรรมคล่องแคล่ว และมีกำลังด้วยคุณ คืออาเสวนะ ย่อมไม่อาจให้ธรรมเหล่านั้นถือเอาคติของตน กล่าวคือความเป็นกุศลเป็นต้นได้. เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทำนิทเทสพร้อมกับธรรมที่มีชาติต่างกันเหล่านั้น ทรงทำนิทเทสร่วมกับธรรมที่มีชาติเหมือนกัน กับธรรมที่สามารถให้ธรรมอื่นถือเอาคติของตน กล่าวคือความเป็นกุศลเป็นต้นที่พิเศษออกไปโดยภาวะที่มีกำลังมากกว่า คล่องแคล่วกว่า เพราะอาเสวนะ กล่าวคือการสั่งสมเอาไว้. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ทรงถือเอาวิปากาพยากตะด้วยเล่า. ตอบว่า เพราะไม่มีอาเสวนะ. จริงอยู่ วิบากคือภาวะที่สุกงอม ด้วยอำนาจแห่งกรรม เป็นสภาพที่ถูกกรรมทำให้แปรปรวนไป ย่อมเป็นไปอย่างไร้ความพยายาม (ในการให้ผล) และขาดกำลัง วิบากนั้นจึงไม่สามารถให้วิบากอื่นถือเอา คือรับเอาสภาพของตน แล้วเกิดขึ้นด้วยคุณ คืออาเสวนะได้ ทั้งวิบาก (ใหม่) ก็หาได้ถือเอาอานุภาพของวิบากเก่าเกิดขึ้นไม่. แต่วิบากถูกกำลังกรรมซัดไป ย่อมเกิดขึ้นประหนึ่งว่าตกไป เพราะเหตุนั้นในวิบากทั้งหมดจึงไม่มีอาเสวนะ เพราะข้อที่วิบากไม่มีอาเสวนะดังกล่าวมาแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงถือเอา (ในอธิการแห่งอาเสวนปัจจัยนี้). ก็วิบากนี้ แม้จะเกิดในลำดับแห่งกุศล อกุศลและกิริยา ก็ย่อมไม่ได้รับคุณ คืออาเสวนะ เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วยกรรม เพราะฉะนั้น ธรรมมีกุศลเป็นต้นจึงไม่เป็นอาเสวนปัจจัยแก่วิบากนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ที่กุศลเป็นต้นเหล่านี้ ไม่เป็นอาเสวนปัจจัยแก่วิบาก เพราะมีชาติต่างกันก็ได้. ก็เมื่อว่าโดยภูมิ หรืออารมณ์แล้ว ธรรมทั้งหลายชื่อว่ามีชาติต่างกันย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น กามาวจรกุศลและกิริยา จึงเป็นอาเสวนปัจจัยแก่มหัคคตกุศล และมหัคคตกิริยา และอนุโลมกุศล ซึ่งมีสังขารเป็นอารมณ์ และแก่โคตรภูกุศลที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ได้ พรรณนาบาลีในนิทเทสแห่งอาเสวนปัจจัยเท่านี้ก่อน. ก็อาเสวนปัจจัยนี้ โดยชาติมี ๓ เท่านั้น คือ กุศล อกุศล กิริยาพยากตะ. ใน ๓ อย่างนั้น กุศลว่าโดยภูมิมี ๓ ภูมิ คือกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร. อกุศลเป็นกามาวจรเท่านั้น. กิริยาพยากตะมี ๓ ภูมิ คือกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร. ชื่อว่าอาเสวนปัจจัยที่เป็นโลกุตตระ ย่อมไม่มี. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่างๆ ในอาเสวนปัจจัยนี้ดังกล่าวมาแล้ว. ก็ในอาเสวนปัจจัยที่จำแนกได้ดังกล่าวมานี้ กามาวจรกุศลเป็นอาเสวนปัจจัยแก่กามาวจรกุศลที่เกิดในลำดับแห่งตน. ในอาเสวนปัจจัย กามาวจรกุศลที่เป็นญาณสัมปยุต เป็นอาเสวนปัจจัยแก่หมวดธรรมเหล่านี้ คือรูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล โลกุตตรกุศล ซึ่งมีเวทนาเหมือนกันกับตน. ส่วนรูปาวจรกุศลเป็นอาเสวนปัจจัยเฉพาะแก่รูปาวจรกุศลเท่านั้น. อรูปาวจรกุศลเป็นอาเสวนปัจจัยแก่อรูปาวจรกุศลเท่านั้น. อกุศลเป็นอาเสวนปัจจัยแก่อกุศลเท่านั้นเหมือนกัน. ฝ่ายกิริยาธรรม กล่าวคือกามาวจรกิริยา เป็นอาเสวนาปัจจัยแก่กามาวจรกิริยาก่อน. ธรรมกล่าวคือกามาวจรกิริยาใดเป็นญาณสัมปยุต ธรรมนั้นเป็นอาเสวนาปัจจัยแก่หมวดธรรมเหล่านี้ คือรูปาวจรกิริยา อรูปาวจรกิริยาที่มีเวทนาเหมือนกับตน. รูปาวจรกิริยาเป็นอาเสวนปัจจัยแก่รูปา ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอาเสวนปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาฉะนี้. วรรณนานิทเทสแห่งอาเสวนปัจจัย จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร อาเสวนปัจจัย จบ. |