|
อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ ปฏิจจวาร ปัจจนียานุโลม ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย อรรถกถาปัจจยานุโลมปัจจนียนัย
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มต้นคำว่า เหตุปจฺจยา นอารมมฺเณ ปญฺจ ดังนี้เป็นต้น เพื่อจะแสดงการนับในอนุโลมปัจจนียปัจจัย.
พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้น ปัจจัย ๘ เหล่านี้ คือปัจจัย ๔ มีสหชาตะเป็นต้นที่เข้าได้ทุกที่ และอาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัยอีก ๔
ย่อมไม่ได้โดยความเป็นปัจจนียะในเหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย มัคคปัจจัย อันตั้งอยู่โดยความอนุโลม (โดยลำดับ).
จริงอยู่ ธรรมเมื่อจะเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเหตุปัจจัย เป็นต้น ชื่อว่าจะไม่ได้ปัจจัย ๘ เหล่านี้ ย่อมไม่มี.
แต่อารัมมณปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย สัมปยุตปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย ซึ่งตั้งอยู่โดยอนุโลมย่อมไม่ได้ปัจจัยที่อุปการะในตำแหน่งแห่งนาม โดยเป็นปัจจนิก.
เพราะว่าอนันตรปัจจัยเป็นต้น เมื่อไม่เกิดจากอารัมมณปัจจัยเป็นต้น ก็ย่อมไม่ได้.
ส่วนปัจจัย ๔ ที่อุปการะในฐานะทั้งหมด ย่อมไม่ได้โดยความเป็นปัจจนิกในสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย
กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย ซึ่งตั้งอยู่โดยความเป็นอนุโลมกัน.
เพราะว่า ธรรมเมื่อเกิดด้วยอำนาจปัจจัยเหล่านี้ จะไม่ได้ปัจจัยที่อุปการะในฐานะทั้งปวงย่อมไม่มี. ปัจฉาชาตปัจจัยไม่มีที่ตั้งโดยความเป็นอนุโลม.
บัณฑิตกำหนดปัจจัยที่มีได้และมีไม่ได้ในปัจจัยที่เหลือ ซึ่งตั้งอยู่โดยความเป็นอนุโลมกัน แล้วถึงทราบการนับด้วยอำนาจปัจจัยที่นับได้น้อยกว่าในการเปรียบเทียบปัจจัยนั้นๆ ในปัจจัยที่มีมูล ๒ เป็นต้น แม้ทั้งหมดแล.
อรรถกถาปัจจยานุโลมปัจจนียนัย จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ ปฏิจจวาร ปัจจนียานุโลม ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย จบ.
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=40&A=1499&Z=2139 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=10966 The Pali Atthakatha in Roman https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=10966 - -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
|