ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 133อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 192อ่านอรรถกถา 40 / 236อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ ปฏิจจวาร ปัจจนียานุโลม ปัจจยปัจจนียานุโลมนัย

               อรรถกถาปัจจยปัจจนียานุโลม               
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มคำว่า นเหตุปจฺจยา อารมฺมเณ เทวฺ เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัยมี ๒ วาระเป็นต้น เพื่อแสดงการนับในปัจจนียานุโลม. ในปัจจนียานุโลมนั้น ปัจจัยที่เหลือเว้นอธิปติปัจจัย ย่อมได้โดยอนุโลมในเหตุปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยความเป็นปัจจนิก. ส่วนปัจฉาชาตปัจจัย ย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในปัจจัยทั้งหมดนั่นเทียว.
               ปัจจัย ๙ เหล่าใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า อรูปานญฺเญว ปัจจัยที่ตั้งอยู่ในฐานแห่งนามที่เหลือย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในปัจจัย ๗ ที่เหลือ เว้นปุเรชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย ซึ่งตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก.
               จริงอยู่ ธรรมที่ไม่เกิดจากอารัมมณปัจจัยเป็นต้น ย่อมไม่ได้อนันตรปัจจัยเป็นต้น.
               ก็ปฏิสนธิวิบาก และวิบากทั้งหมดจากปุเรชาตปัจจัย แม้จะไม่เกิดจากอาเสวนะกับกิริยามโนธาตุ ก็ย่อมได้อนันตรปัจจัยเป็นต้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปุเรชาตญฺจ อาเสวนญฺจ ฐเปตฺวา ดังนี้ ปัจจัยที่เหลือเว้นอวิคตปัจจัย ย่อมได้โดยอนุโลมในปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย วิปากปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย ที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก. เว้นวิปากปัจจัยเสีย ที่เหลือย่อมได้โดยอนุโลมในกัมมปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยปัจจนิก. เว้นปัจจัยที่อุปการะในที่ทั้งปวง และอัญญมัญญปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัยและอินทริยปัจจัย ที่เหลือย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในอาหารปัจจัยและอินทริยปัจจัย ซึ่งตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก. ปัจจัยนอกนี้ย่อมได้ด้วยอำนาจที่เหมาะสม เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย อาเสวนปัจจัยและมัคคปัจจัย ย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในฌานปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก.
               ในมัคคปัจจัย ที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก ย่อมไม่ได้เหตุปัจจัยและอธิปติปัจจัยโดยเป็นอนุโลม. ในวิปปยุตตปัจจัย ที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก เว้นปุเรชาตปัจจัยย่อมได้ปัจจัยที่เหลือโดยอนุโลม.
               บัณฑิตครั้นทราบปัจจัยที่ไม่ได้โดยเป็นอนุโลม ในบรรดาปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิกอย่างนี้แล้ว พึงทราบด้วยการนับด้วยอำนาจปัจจัยที่นับได้น้อยกว่า ในการเปรียบเทียบกับปัจจัยนั้น.
               ในมาติกาทั้งหลายมีทุกะมาติกาเป็นต้นใดๆ อันท่านแสดงเริ่มแต่ปัจจัยใดๆ ในนัยทั้งหลายมีทุมูลกนัยเป็นต้น ทุกะมาติกานั้นๆ ท่านแสดงไว้แล้วโดยวิธีใดๆ ด้วยอำนาจปัจจัยที่หาได้และหาไม่ได้ บัณฑิตพึงกำหนดทุกมาติกาเป็นต้นนั้นให้ดี โดยวิธีนั้นๆ.
               พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงนัยมีทุมูลกนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจเหตุปัจจัยตรัสว่า นเหตุปจฺจยา นารมฺมณปจฺจยา ฯเปฯ นาเสวนปจฺจยา ดังนี้ แล้วตรัสคำใดไว้ คำอธิบายทั้งหมดเช่นเดียวกันจนถึงอาเสวนปัจจัย พึงทราบความเหมือนกันของคำนั้นกับคำว่า นอญฺญมญฺปจฺยา สหชาเต เอกํ เพราะนอัญญมัญญปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระใดที่ท่านเขียนไว้ในภาษาสิงหลว่า พระอาจารย์ย่อมรวมเอาซึ่งปัจจัย ๕ ในนกัมมปัจจัย ที่คำนวณแล้ว พึงทราบใจความแห่งคำนั้นดังนี้ ปัจจัย ๕ เริ่มต้นแต่นเหตุปัจจัย อันท่านแสดงไว้อย่างนี้ว่า บัณฑิตย่อมได้วิสัชนาข้อหนึ่งในสหชาตปัจจัย ที่ต่อกับนกัมมปัจจัยอย่างนี้ว่า นกมฺมปจฺจยา ดังนี้ ย่อมได้โดยอนุโลม ปัจจัยอื่นไม่ได้ ในฐานอื่นเป็นแบบนี้ บัณฑิตไม่ควรถือเอาพยัญชนะ ควรถือเอาเฉพาะเนื้อความที่ประสงค์เท่านั้น.
               จริงอยู่ พยัญชนะเช่นนั้นพระโบราณาจารย์เขียนไว้เป็นภาษาสันสกฤต เพื่อร้อยกรองตามความทรงจำของตน.
               อีกอย่างหนึ่ง แม้ในบรรดาปัจจยุบบันธรรมในปัจจนียานุโลมนี้ อัตถิธรรม (อัตถิปัจจัย) ย่อมได้กัมมปัจจัย แต่ไม่ได้อินทริยปัจจัย. อัตถิธรรมนั้น พึงทราบด้วยอำนาจรูปชีวิตินทรีย์ในอสัญญสัตว์ และในปวัตติกาลในปัญจโวการภพ อัตถิธรรมที่ได้มัคคปัจจัยแต่ไม่ได้เหตุปัจจัย. อัตถิธรรมนั้น พึงทราบด้วยอำนาจโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจสัมปยุตตจิต อัตถิธรรมที่ได้ฌานปัจจัยแต่ไม่ได้มัคปัจจัย. อัตถิธรรมนั้น พึงทราบด้วยอำนาจมโนธาตุและอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ.
               บรรดาความในอัตถิปัจจัยนั้น กัมมชรูปยอ่มได้กัมมปัจจัย ด้วยอำนาจนานักขณิกกัมมปัจจัยเท่านั้น. ในปัจจัยเหล่านั้น รูปธรรมย่อมไม่ได้เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย วิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัยและมัคคปัจจัย. ปัจจัยที่เข้าได้ทุกที่ไม่มีปัจจนียะ ในอเหตุกจิตไม่มีอธิปติปัจจัยแล. ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบวาระแห่งการคำนวณด้วยอำนาจปกิณกะ แม้เหล่านี้โดยไม่งมงาย.
               ในข้อนั้นมีนัยดังต่อไปนี้ อเหตุกโมหะ และอเหตุวิบาก และกิริยาเท่านั้นเป็นปัจจยุบบันธรรมในพระบาลีนี้ว่า นเหตุปจฺจยา อารมฺมเณ เทฺว เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัยมี ๒ วาระ คำว่า มี ๒ วาระ ในอธิการนี้ ท่านจึงหมายเอาอกุศลกับอกุศล อัพยากตะกับอัพยากตะ.
               แม้ในคำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
               ส่วนในอาเสวนปัจจัยย่อมไม่ได้วิบากและกิริยามโนธาตุ เพราะฉะนั้นในที่นี้คำว่า อพฺยากเตนาพฺยากตํ บัณฑิตพึงทราบด้วยอำนาจอเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายกิริยา.
               สองบทว่า วิปาเก เอกํ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ คืออัพยากตะกับอัพยากตะนั่นเอง.
               คำว่า มคฺเค เอกํ คืออกุศลกับอกุศล.
               คำว่า เหตุยา ปญฺจ ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ ในอารัมมณมูลกนัย ท่านกล่าวหมายเอารูปเท่านั้น.
               จริงอยู่ รูปนั้นย่อมเกิดเพราะอาศัยส่วน ๕ คือ กุศล อกุศล อัพยากตะ กุศลกับอัพยากตะ และอกุศลกับอัพยากตะ.
               แม้ในปัญจกะทั้งปวงนี้นัยนี้เหมือนกัน.
               สองบทว่า อญฺญมญฺเญ เอกํ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ท่านกล่าวหมายเอามหาภูตรูปและวัตถุรูป.
               จริงอยู่ รูปเหล่านั้นย่อมเกิดเพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะอัญญมัญญปจจัย.
               แม้ในติมูลกนัย ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
               คำว่า เหตุยา นว ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในนาธิปติมูลกนัย ท่านกล่าวไว้แล้วในเหตุปัจจัยตอนอนุโลมนัย. แม้คำว่า ตีณิ = ๓ เป็นต้นก็เช่นเดียวกับคำที่กล่าวแล้วในอนุโลมนัยในหนหลัง.
               ในติมูลกนัย คำว่า เทฺว = ๒ วาระ เหมือนกับที่กล่าวไว้แล้ว ในนเหตุปัจจัยมูละ อารัมมณปัจมูลี ในหนหลัง.
               ในนปุเรชาตมูลกนัย คำว่า เหตุยา สตฺต ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในนปุเรชาตปัจจัยในหนหลัง โดยนัยมีอาทิว่า อารุปฺเป กุสลํ เอกํ ขนฺธํ ปฏิจฺจ (ขันธ์ ๓ อาศัยกุศลขันธ์ ๑ ในอรูปภูมิ). แม้ในสัตตกะทั้งปวงก็นัยนี้.
               ในนกัมมมูลกนัย คำว่า เหตุยา ตีณิ ในเหตุปัจจัยมี ๓ วาระ เป็นต้น เจตนาเท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน เพราะฉะนั้น คำว่า ๓ วาระ ท่านจึงกล่าวหมายเอาการเกิดขึ้นเพราะอาศัย กุศล อกุศลและอัพยากตะ. โดยนัยนี้ บัณฑิตพึงทราบการนับจำนวนวาระในอาคตสถาน (ที่มา) ว่า ๑, ๒, ๓, ๕, ๗, ๙ ส่วนการนับจำนวนอีก ๓ ว่า ๔, ๖, ๘ เหล่านี้ไม่มีเลย.

               อรรถกถาปัจจปัจจนียานุโลมนัย จบ.               
               วรรณนาเนื้อความแห่งปฏิจจวาระ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ ปฏิจจวาร ปัจจนียานุโลม ปัจจยปัจจนียานุโลมนัย จบ.
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 133อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 192อ่านอรรถกถา 40 / 236อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=40&A=2140&Z=2809
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=10984
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=10984
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๙  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :