![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() คำนี้ว่า รูปธรรมเป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่อรูปธรรม พึงทราบด้วยอำนาจหทัยวัตถุและจักขุนทรีย์เป็นต้นก่อนๆ. จริงอยู่ รูปธรรม ๖ อย่างเหล่านี้เองเป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่อรูปขันธ์. ถึงแม้ธรรมที่เป็นอารมณ์มีรูปายตนะเป็นต้น เป็นวิปปยุตกัน (กับจักขายตนะเป็นต้น) ก็จริง แต่ก็ไม่จัดเป็นวิปปยุตตปัจจัย. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องสัมปโยคะ. อรูปขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้นเหมือนออกมาจากภายในแห่งรูปอันเป็นที่อาศัย มีจักขุปสาทเป็นต้น. ความเกี่ยวข้องในจักขุปสาทเป็นต้นเหล่านั้น จึงมีอยู่ ไม่ว่าอรูปขันธ์เหล่านั้นจะสัมปยุตหรือวิปปยุตกับจักขุปสาทเป็นต้นเหล่านั้นก็ตาม. ส่วนธรรมที่เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นเพียงอารมณ์แห่งจิตที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยวัตถุรูปเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ความเกี่ยวข้องเรื่องสัมปโยคะในจักขุปสาทเป็นต้นเหล่านั้น จึงไม่มี. รูปายตนะเป็นต้นเหล่านั้นไม่จัดเป็นวิปปยุตตปัจจัย เพราะไม่มีการเกี่ยวข้องในเรื่องสัมปโยคะ ด้วยประการฉะนี้. ผู้ศึกษาพึงทราบความเป็นวิปปยุตตปัจจัยนี้ในหทัยวัตถุเป็นต้นด้วย. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปัญหาวาระว่า "วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์และอกุศลขันธ์ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิปากาพยากตะและกิริยาพยากตะ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย." คำนี้ว่า อรูปธรรมเป็นปัจจัยแก่รูปธรรมด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจขันธ์ ๔. จริงอยู่ ในบรรดาอรูปธรรมขันธ์ ๔ เป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่รูปธรรมที่เป็นสหชาตะและปุเรชาตะ. ส่วนนิพพานถึงจะเป็นอรูปธรรม ก็ไม่เป็นปัจจัยแก่รูปด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑- ประกอบด้วยขันธ์ ๔ ไม่ประกอบด้วยขันธ์ ๔ (คือสัมปยุตหรือวิปปยุตใช้กับนามขันธ์). ____________________________ ๑- อภิ. ธาตุกถา ผู้ศึกษาพึงทราบว่า เฉพาะขันธ์ ๔ เท่านั้น เป็นวิปปยุตตปัจจัยด้วยประการฉะนี้. สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ในปัญหาวาระว่า ที่เป็นสหชาตะ กุศลขันธ์เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย, ที่เป็นปัจฉาชาตะ กุศลขันธ์เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิขันธ์ที่เป็นวิปากาพยากตะเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบการพรรณนาบาลีในอธิการนี้อย่างนี้. ก็ชื่อว่าวิปปยุตตปัจจัยนี้ โดยสังเขป ได้แก่ รูปธรรมและอรูปธรรมที่กำลังเป็นไปในปัญจโวการภพ. บรรดารูปธรรมและอรูปธรรมเหล่านั้น รูปธรรมจำแนกได้ ๖ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งหทัยวัตถุและจักขุปสาทเป็นต้น. อรูปธรรมที่เกิดในปัญจโวการภพ จำแนกได้ ๔ ชาติ คือกุศล อกุศล วิบาก กิริยา. อรูปธรรมนั้นโดยภูมิจำแนกได้ ๑๑ ภูมิ คือกุศล ๔ อกุศล ๑ วิบาก ๓ กิริยา ๓ ด้วยอำนาจแห่งกามาวจรภูมิเป็นต้น. แต่อรูปวิบากไม่เป็นวิปปยุตตปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ ในวิปปยุตตปัจจัยนี้ ดังพรรณนามานี้. ก็ในวิปปยุตตปัจจัยที่จำแนกแล้วอย่างนี้ กุศลและอกุศลทั้ง ๔ ภูมิที่เกิดในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปที่เกิดขึ้นพร้อมกับตน ด้วยอำนาจของสหชาตวิปปยุตตปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่รูปกายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ที่เกิดก่อน ที่ล่วงเลยอุปาทขณะมาถึงฐิติขณะ ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตวิปปยุตต ก็กามาวจรวิบากและรูปาวจรวิบาก เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูป ในปวัตติกาลและกัมมชรูปในปฏิสนธิกาล ด้วยอำนาจของสหชาติวิปปยุตต ก็วิบากทั้ง ๓ ภูมินี้ (กาม+รูป+โลกุตตระ) เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย. กิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูป ด้วยอำนาจของสหชาติวิปปยุตต ส่วนในฐิตรูป ๖ อย่างนั้น วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่กามาวจรวิบากและรูปาวจรวิบากในขณะปฏิ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้วแล. วรรณนานิทเทสแห่งวิปปยุตตปัจจัย จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร วิปปยุตตปัจจัย จบ. |