![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า สมนนฺตรนิรุทฺธา คือ เป็นธรรมที่ไม่มีระหว่างคั่นด้วยจิตตุปบาทอื่น ดับไปโดยลำดับด้วยดี. บทว่า ปฏุปฺปนฺนานํ แปลว่า เกิดขึ้นเฉพาะหน้า. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมยังความที่นัตถิปัจจัย เป็นนัตถิปัจจัย เพราะอรรถว่าให้โอกาสแก่ธรรมที่จะเกิดภายหลังเป็นไป. จริงอยู่ เมื่อธรรมที่เกิดก่อน ไม่ให้โอกาสแก่ธรรมที่เกิดภายหลังเป็นไปด้วยอำนาจการที่ตนเองดับไป ความที่ธรรมในภายหลังเหล่านั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ไม่พึงมี. พรรณนาบาลีในอธิการนี้เท่านี้. คำที่เหลือทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในอนันตรปัจจัยนั่นเอง. จริงอยู่ ลักษณะของปัจจัยเท่านั้น เป็นความแปลกกันในระหว่างอนันตรปัจจัยกับนัตถิปัจจัยนี้. แต่ความแตกต่างกันแห่งปัจจัยและปัจจยุบบัน ไม่มีเลย. อนึ่ง ในปัจจัยทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปัจจัยและปัจจยุบบันโดยสรุปไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า จักขุวิญญาณธาตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ. ในที่นี้ทรงแสดงธรรมเหล่านั้นทั้งหมด โดยทั่วๆ ไป ด้วยอำนาจการดับไปและเกิดขึ้นว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกที่ดับไปตามลำดับด้วยดี เป็นปัจจัยแก่ธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า. วรรณนานิทเทสแห่งนัตถิปัจจัย จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร นัตถิปัจจัย จบ. |