บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า รูปายตนํ ได้แก่ อายตนะ กล่าวคือรูป. แม้ในธรรมที่เหลือก็นัยนี้แหละ. บทว่า จกฺขุวิญฺญาณธาตุยา แปลว่า แก่ธาตุ คือจักขุวิญญาณ. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ตํ สมฺปยุตฺตกานํ แปลว่า แก่ขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น. อธิบายว่า รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๔ ที่อาศัยจักขุประสาท แม้ทั้งหมดด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย. ในธรรมอื่นจากนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า มโนธาตุยา ความว่า อายตนะ ๕ มีรูปายตนะเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุทั้ง ๓ พร้อมทั้งธรรมที่สัมปยุต ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย แต่ไม่ได้เป็นไปในขณะเดียวกัน. สองบทว่า สพฺเพ ธมฺมา ความว่า อายตนะ ๕ มีรูปายตนะเป็นต้นเหล่านี้ด้วย ไญยธรรมทั้งหมดที่เหลือด้วย เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ พร้อมทั้งธรรมที่สัมปยุตที่เหลือ เว้นธาตุ ๖ ๑ (ได้แก่ เว้นวิญญาณธาตุ ๖ คือจักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ) เหล่านี้ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย. ด้วยคำว่า ยํ ยํ ธมฺมํ อารพฺภ เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมเหล่าใดที่ตรัสว่าเป็นอารมณ์แห่งวิญญาณธาตุ ๗ เหล่านี้ ธรรมเหล่านั้นเป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธาตุเหล่านั้น ในขณะที่ทำให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. ถึงแม้ว่าธรรมเหล่านั้นจะเป็นอย่างนั้นก็จริง แต่ก็หาได้เป็นอารัมมณปัจจัยในคราวเดียวกันไม่ เพราะว่าธรรมเหล่าใดๆ ปรารภธรรมเหล่าใดๆ เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นๆ เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้นๆ เฉพาะอย่างๆ เท่านั้น. บทว่า อุปฺปชฺชติ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เหมือนคำว่า น้ำย่อมไหลไป ภูเขาย่อมตั้งอยู่ อันพระองค์ตรัสด้วยอำนาจการพูดคลุมไปถึงกาลทั้งหมด. ด้วยบทนั้นย่อมสำเร็จใจความว่า ธรรมเหล่าใดปรารภธรรมเหล่าใดเกิดขึ้นแล้ว ธรรมเหล่าใดปรารภธรรมเหล่าใดจักเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเกิดขึ้นแล้ว แล้วจักเกิดขึ้นด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัยเท่านั้น. คำว่า จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา นี้ เป็นการอธิบายโดยย่อซึ่งธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เย เย ธมฺมา (ธรรมเหล่าใดๆ). คำว่า เต เต ธมฺมา คือ ธรรมที่เป็นอารมณ์เหล่านั้นๆ. สองบทว่า เตสํ เตสํ ได้แก่ ธรรม คือจิตและเจตสิกเหล่านั้นๆ. พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้. ก็ชื่อว่า อารมณ์นี้ว่าโดยเป็นส่วนๆ แล้วมี ๖ อย่าง คือรูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์และธัมมารมณ์. บรรดาอารมณ์เหล่านั้น อารมณ์ที่เหลือเว้นบัญญัติ ว่าโดยภูมิมี ๔ คือกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิและโลกุตตรภูมิ. บรรดาอารมณ์ที่นับเนื่องในภูมิ ๔ เหล่านี้ อารมณ์ที่เป็นกามาวจรมี ๕ อย่าง โดยจำแนกเป็นกุศล อกุศล วิบาก กิริยาและรูป. อารมณ์ที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร มีอย่างละ ๓ โดยเป็นกุศล วิบากและกิริยา. อารมณ์ที่เป็นโลกุตตรภูมิมี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจเป็นกุศล วิบากและนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง อารมณ์นี้ทั้งหมดมี ๗ อย่าง โดยจำแนกเป็นกุศล อกุศล วิบาก กิริยา รูป นิพพานและบัญญัติ. บรรดาอารมณ์ ๗ อย่างนั้น เมื่อว่าโดยภูมิ อารมณ์ที่เป็นกุศลมี ๔ อารมณ์ที่เป็นอกุศลเป็นกามาวจรอย่างเดียว อารมณ์ที่เป็นวิบากเป็นไปในภูมิ ๔ อารมณ์ที่เป็นกิริยาเป็นไปในภูมิ ๓ รูปเป็นไปในภูมิเดียว คือเป็นกามาวจรเท่านั้น แม้นิพพานก็เป็นไปในภูมิเดียว คือเป็นโลกุตตระเท่านั้น บัญญัติพ้นจากภูมิแล. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่างๆ ในอารัมมณปัจจัยนี้ ดังพรรณนามานี้. ก็ในอารมณ์นี้ซึ่งแตกต่างกันอย่างนี้ อารมณ์อันเป็นกามาวจรกุศล เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้ คือกามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบาก กามาวจรกิริยา รูปาวจรกิริยา. อารมณ์อันเป็นรูปาวจรกุศลเป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านั้น เพียง ๕ หมวด คือเว้นกามาวจรวิบาก อารมณ์ที่เป็นโลกุตตระเป็นอารัมมณปัจจัยเฉพาะแก่กุศลและกิริยาเท่านั้น โดยที่กุศลและกิริยานั้นเป็นกามาวจรและรูปาวจร. อารมณ์ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบาก กามาวจรกิริยาและรูปาวจรกิริยา. อารมณ์ที่เป็นกามาวจรวิบากเป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบาก กามาวจรกิริยา รูปาวจรกิริยา อารมณ์ที่เป็นรูปาวจรวิบากเป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๕ หมวดเหล่านี้คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรกิริยาและรูปาวจรกิริยา. แม้อารมณ์ที่เป็นอรูปาวจรวิบากก็เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๕ หมวดเหล่านี้เหมือนกัน. อารมณ์ที่เป็นโลกุตตรวิบากเป็นอารัมมณปัจจัยเฉพาะแก่กุศลและกิริยาเท่านั้น โดยกุศลและกิริยานั้นเป็นกามาวจรและรูปาวจร. อารมณ์ที่เป็นกามาวจรกิริยาเป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบาก กามาวจรกิริยาและรูปาวจรกิริยา. บรรดาธรรม ๖ หมวดเหล่านี้ อารมณ์ที่เป็นรูปาวจรกิริยา เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๕ หมวด เว้นกามาวจรวิบาก. อารมณ์ที่เป็นอรูปาวจรกิริยา เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ๕ หมวดเหล่านั้นและอรูปาวจรกิริยา. อารมณ์คือรูป กล่าวคือรูปขันธ์ที่มีสมุฏฐาน ๔ เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบาก กามาวจรกิริยาและรูปาวจรกิริยา. อารมณ์คือนิพพาน เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล โลกุตตรกุศล โลกุตตรวิบาก กามาวจรกิริยาและรูปาวจรกิริยา. อาจารย์บางพวกไม่เอารูปาวจรกุศล และรูปาวจรกิริยา คำนั้น ผู้ศึกษาพึงพิจารณาโดยที่ถูกที่ควร. ส่วนอารมณ์ที่เป็นบัญญัติซึ่งมีประการต่างๆ เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๙ หมวดเหล่านี้คือ กุศลที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓. บรรดาอารมณ์เหล่านั้น อารมณ์ใดๆ เป็นปัจจัยแก่ธรรมใดๆ ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าเป็นปัจจยุบบันแห่งอารมณ์นั้นๆ. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอารัมมณปัจจัย ดังพรรณนามานี้ แล. วรรณนานิทเทสแห่งอารัมมณปัจจัย จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร อารัมมณปัจจัย จบ. |