บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อรรถกถาอนุโลมนัย คำว่า กุสลํ ธมฺมํ สํสฏฺโฐ เจือกับกุศลธรรม. อธิบายว่า เพราะกระทำกุศลธรรมให้เป็นปัจจัย โดยอรรถว่าประกอบพร้อมด้วยลักษณะ ซึ่งมีการเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้น. คำว่า กุสลํ เอกํ ขนฺธํ สํสฏฺโฐ มีคำอธิบายว่า ขันธ์ ๓ ทำกุศลขันธ์หนึ่งให้เป็นสัมปยุตตปัจจัย เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย. ในทุกๆ บทพึงทราบใจความโดยอุบายนี้. ก็แลในเหตุปัจจัยนี้ ท่านจัดปัจจัยแล้ว วิสัชนาปัญหาไว้ ๓ วาระ เพราะอรูปธรรมเท่านั้นที่จะมีอรรถว่าสัมปโยคะได้. ก็ในเหตุปัจจัย ฉันใด แม้ในอารัมมณปัจจัยเป็นต้น ก็ฉันนั้น. ในวิปากปัจจัยมีวิสัชนา ๑ วาระเท่านั้น. บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิสัชนาตามที่ได้ด้วยอำนาจจำนวน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหตุยา ตีณิ ในเหตุปัจจัยมี ๓ วาระเป็นต้น. ในวิสัชนาเหล่านั้น ท่านจำกัด (กำหนด) ไว้ในติกะทั้งปวงดังนี้คือ กุศลกับกุศล อกุศลกับอกุศล อัพยากตะกับอัพยากตะ. ก็ในติกะหนึ่งๆ ย่อมได้อัพยากตะกับอัพยากตะเท่านั้น. ในวาระนี้มีการกำหนด ๒ อย่าง คือในปัจจัย ๒๒ มีวิสัชนา ๓ วาระ ในวิปากปัจจัยมีวิสัชนา ๑ วาระ ด้วยประการฉะนี้. วิสัชนาที่เป็นอนุโลมย่อมไม่มีในปัจฉาชาตปัจจัย เพราะฉะนั้น ในการเทียบเคียงปัจจัยในทุกัตติกะเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งวิสัชนาเหล่านี้ว่า วิสัชนา ๓ และ ๑ ดังนี้ วิปากปัจจัยเข้าในทุกัตติกะได้ ทุกติกะนั้นมีวิสัชนา ๑. พึงทราบการคำนวณอย่างนี้ว่า ตีณิ ๓ ในปัจจัยที่เหลือ (พึงทราบการคำนวณอย่างนี้ว่าในปัจจัยที่เหลือมีวิสัชนา ๓ วาร). คำที่เหลือในอนุโลมนัยในสังสัฏฐวาระนี้มีใจความง่ายทั้งนั้น. จบอรรถกถาอนุโลมนัย. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ สังสัฏฐวาร อนุโลมนัย จบ. |