![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() วิสัชนานั้นมีเนื้อความกระจ่างแล้วทั้งนั้น. ก็คำว่า นเหตุยา เทฺว ในนเหตุปัจจัยมี ๒ วาระ เป็นอาทินั้นใด อันท่านกล่าวไว้เพื่อการกำหนดวิสัชนาในปัจจนียนัยโดยการคำนวณ ในคำนั้นมีการกำหนด (ปริเฉท) ๓ อย่าง คือ เทฺว ๒, ตีณิ ๓, เอกํ ๑. บัณฑิตพึงทราบการคำนวณเพราะการเทียบเคียงปัจจัยในทุกติกะเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งปริเฉทเหล่านั้น. แม้ในอธิการนี้ก็ย่อมได้เฉพาะวิสัชนาที่มีการคำนวณได้น้อยกว่า เพราะเทียบเคียงปัจจัยที่คำนวณได้มากกว่ากับปัจจัยที่คำนวณได้น้อยกว่า. ย่อมได้วิสัชนาที่มีจำนวนเท่ากัน เพราะเทียบเคียงกับปัจจัยที่คำนวณได้เท่ากัน. ก็เพราะในวาระนี้มีอรูปธรรมเท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน ฉะนั้น ท่านจึงแสดงปัจจัย ๑๐ คือ นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนาปัจจัย นกัมมมปัจจัย นวิปากปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัยและนวิปปยุตตปัจจัย โดยความเป็นปัจจนิก. ปัจจัยที่เหลือ ๑๔ ย่อมมีไม่ได้. แม้ในบรรดาปัจจัยที่มีได้เหล่านั้น นกัมมปัจจัยและนวิปากปัจจัยย่อมไม่ได้ปัจจยุบบันที่เป็นวิบาก. คำว่า นเหตุปจฺจยา นอธิปติยา เทฺว เพราะนเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัยมี ๒ วาระ คือวิสัชนา ๒ ที่ได้ในนเหตุปัจจัย. แม้ในหมวด ๒ แห่งวิสัชนาที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. สองบทว่า นกมฺเม เอกํ ในนกัมมปัจจัยมี ๑ วาระ คืออัพยากตะกับอัพยากตะ เพราะจัดอเหตุก สองบทว่า น วิปาเก เทฺว ความว่า วิสัชนา ๒ ด้วยอำนาจอเหตุกโมหะและอเหตุกกิริยา. สองบทว่า นฌาเน เอกํ พึงทราบว่า เป็นอัพยากตะวิสัชนา ด้วยอำนาจอเหตุกปัญจวิญญาณ. สองบทว่า นมคฺเค เอกํ พึงทราบอัพยากตะวิสัชนาด้วยอำนาจอเหตุกวิบากและกิริยา. ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความในการเทียบเคียงปัจจัยทั้งปวงโดยอุบายนี้แล. อรรถกถาปัจจนียนัย จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ สังสัฏฐวาร ปัจจนียนัย จบ. |