บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
คำว่า กุสลํ ธมฺมํ สมฺปยุตฺโต ประกอบกับกุศลธรรม ความว่า ทำกุศลธรรมให้เป็นสัมปยุตต คำที่เหลือในวรรณนานี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้ในสังสัฏฐวาระ. ส่วนในที่สุดของสัมปยุตตวาระนี้ คำว่า อรรถว่าสังสัฏฐะ เจือ มีความหมายเท่ากับสัมปยุตตะ ประกอบ. อรรถว่าสัมปยุตตะ ประกอบ มีความหมายเท่ากับสังสัฏฐะ เจือ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงความไม่ต่างกัน โดยใจความแห่งวาระทั้งสองนี้. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยใจความ วาระทั้งสองนี้ไม่มีข้อแตกต่างกัน เหมือนปฏิจจะศัพท์กับสหชาตะ และปัจจยะกับนิสสยะศัพท์ฉะนั้น ถึงอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อกำหนดความของกันและกัน. จริงอยู่ ในคำมีอาทิว่า ม้าทั้งหลายอันเขาเอาเข้าคู่กันเทียมเข้าด้วยกัน ดังนี้. แม้สิ่งที่ไม่ได้ประกอบกัน ท่านก็เรียกว่าสังสัฏฐะได้. ในคำว่า วิมังสานั้นใดสหรคตแล้วโกสัชชะ สัมปยุตแล้วด้วยโกสัชชะ ดังนี้เป็นต้น. แม้สิ่งที่ระคนปนกันก็มาเป็นสัมปยุตได้. วาระทั้งสองนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อให้เน้นหนักถึงภาวะที่สัมปยุตตปัจจัย ซึ่งมีลักษณะเกิดในคราวเดียวกันเป็นต้น เป็นสังสัฏฐวาระ และเพื่อให้เน้นหนักถึงสังสัฏฐธรรม ซึ่งมีการเกิดในคราวเดียวกันเป็นต้นเป็นลักษณะ เป็นสัมปยุตตปัจจัย โดยสัมปยุตตวาระ. อีกอย่างหนึ่ง วาระทั้งสองนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยเป็นเทศนาวิลาสะ ตามอำนาจอัธยาศัยของเหล่าสัตว์ผู้จะตรัสรู้โดยประการนั้น และด้วยอำนาจพระปรีชาอันแตกฉานในนิรุตติปฏิสัมภิทา. อรรถกถาสัมปยุตตวาระ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ สัมปยุตตวาร จบ. |