บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ก็ในบรรดาปฏิณกะเหล่านั้น ปัญหาที่ ๑ พึงทราบด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย. ปัญหาที่ ๒ พึงทราบด้วยอำนาจจตุกกะปัฏฐาน. ปัญหาที่ ๓ พึงทราบด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือที่เหมาะสมกัน. อรรถกถาเหตุปัจจัย คำว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย ดังนี้เป็นต้น พระผู้มีพระ กุศลธรรมเมื่อจะเป็นปัจจัยแก่กุศล ก็ย่อมเป็นปัจจัยโดยปัจจัย ๒๐ ที่เหลือเว้นปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย วิปากปัจจัยและวิปปยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้น กุศลธรรมย่อมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมด้วยปัจจัยเหล่าใด เพื่อจะแสดงปัจจัยเหล่านั้นตามลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า เหตุปจฺจเยน เป็นต้น. พึงทราบอธิบายในคำนั้นต่อไป เทศนานี้อันใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า เหตุปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุต เหมือนในปัจจยวิภังควาระ (แต่) ตรัสว่าเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตดังนี้ ในการที่พระพุทธองค์ตรัสเทศนาอย่างนั้น มีประโยชน์ในการที่ทรงกระทำอย่างนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธมฺมานํ ดังนี้ เพื่อจะแสดงอรรถว่าว่างเปล่าในปัจจยวิภังควาระนั้น ธรรมทั้งหลายเมื่อจะเกิดแต่ปัจจัย ย่อมเกิดโดยเป็นกองธรรม หาเกิดขึ้นโดยเป็นสภาพโดดเดี่ยวไม่ เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงอรรถว่าเป็นกองในปัญหาวารวิภังค์นี้ พระองค์จึงตรัสว่า ขนฺธานํ. อีกประการหนึ่ง การแสดงปัจจยุบบัน พระองค์ทรงยกขึ้นแล้วด้วยอำนาจแห่งขันธ์ในปฏิจ ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในวาระเหล่านี้ จึงทรงยกขึ้นเพื่อแสดงอย่างนั้น. แก้ว่า เพื่อแสดงการจำแนกโดยไม่ปะปนกัน. จริงอยู่ เมื่อพระองค์ตรัสโดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมที่เหลือเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมอันหนึ่ง ดังนี้ ผู้ศึกษาก็ไม่สามารถจะทราบปัจจัยและปัจจยุบบันโดยไม่ปะปนกันได้ว่า ธรรมโน้มเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมชื่อโน้น เมื่อเป็นอย่างนั้นอุทเทสกับนิทเทสก็จะไม่มีข้อแปลกกัน เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแยกเทศนาขึ้นอย่างนี้ ก็เพื่อแสดงวิภาคโดยไม่ปะปนกัน. คำว่า จิตฺตสมุฏฐานํ นี้ ตรัสเพื่อแสดงกุศลว่าเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะโดยเหตุปัจจัย. แต่ในปัจจัยวิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทำวิภาคด้วยอำนาจกุศลเป็นต้น ไม่ตรัสว่ามีจิตเป็นสมุฏฐาน แต่ตรัสว่ามีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน เพื่อแสดงรูปที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเหตุทั้งหมดโดยสามัญ เพราะฉะนั้น รูปที่มีอัพยากตเหตุเป็นสมุฏฐาน ในปัจจยวิภังค์นั้นจึงรวมไปถึงกัมมชรูปในปฏิสนธิด้วย. ผู้ศึกษาพึงทราบใจความในวิสัชนาที่เหลือซึ่งเป็นแบบเดียวกันนี้. อรรถกถาเหตุปัจจัย จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ ปัญหาวาร เหตุปัจจัย จบ. |