บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
คำว่า อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ตรัสด้วยอำนาจอารมณ์ที่แตกต่างกัน. คำว่า โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค ตรัสด้วยอำนาจภูมิที่ต่างกัน. ก็คำว่า กุศล ในคำว่า กุสลํ วุฏฺฐานสฺส นี้ ได้แก่กุศลอันเป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า วุฏฺฐานํ คือ วิบากอันเป็นไปในภูมิ ๓. พระโยคาวจรทั้งหลายย่อมออกจากกุศลชวนวิถีด้วยวิบากเหล่านั้น ฉะนั้น วิบากนั้นท่านจึงเรียกว่า วุฏฐานะ วุฏฐานะ นั้นมี ๒ อย่าง คือตทารัมมณะ ๑ ภวังค์ ๑. บรรดาวุฏฐานะเหล่านั้น แม้ทั้งสองอย่างเป็นวุฏฐานะของกามาวจรกุศล ภวังค์อย่างเดียวเป็นวุฏฐานะแห่งมหัคคตกุศล. คำว่า มคฺโค ผลสฺส นี้ พระองค์ตรัสแยกไว้ เพราะโลกุตตรวิบากเป็นวุฏฐานไม่ได้ เหตุที่นับเนื่องในชวนวิถี. สองบทว่า เสกฺขานํ อนุโลมํ ความว่า กุศลย่อมไม่เป็นอนันตรปัจจัยแก่เสขธรรม เพราะฉะนั้น จึงทรงทำการแยกไว้. บทว่า ผลสมาปตฺตยา คือ ผลสมาบัติของโสดาปัตติผล สกทา ในคำว่า วิปากาพฺยากตา กิริยาพฺยากตา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบวิปากาพยากตะเฉพาะแก่วิปากาพยากตะด้วยกันเท่านั้น และกิริยาพยากตะเฉพาะแก่กิริยาพยากตะด้วยกันเท่านั้นเหมือนกัน. คำว่า ภวงฺคํ อาวชฺชนาย เป็นต้น ตรัสด้วยอำนาจธรรมที่เจือกัน. ในคำว่า กิริยา นั้น กามาวจรกิริยาเป็นอนันตรปัจจัยแก่วุฏฐานวิบากทั้งสอง มหัคคตกิริยาเป็นอนันตรปัจจัยแก่ภวังค์เท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มคำว่า กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย แล้วแสดงวาระ ๗ วาระเหล่าใดไว้ในปัจจวิภังค์ในหนหลังว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล อกุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุศล อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุศล (เพราะอำนาจของอนันตรปัจจัย). ในอธิการนี้ ท่านจำแนกอนันตรปัจจัยไว้โดยสังเขปด้วยอำนาจแห่งวาระเหล่านั้น แต่ว่าโดยพิสดารในอธิการนี้ บัณฑิตพึงกำหนดนิทเทส ๑๐-๑๗-๖๐ ถ้วนและมากกว่านั้นให้ดีแล. จริงอยู่ อนันตรปัจจัยนี้หาได้นิทเทส ๗ อย่างเดียวเท่านั้นไม่ แต่ย่อมได้นิทเทส ๑๐ อย่างนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล ๑ แก่วิบาก ๑. อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล ๑ แก่วิบาก ๑. วิบากเป็นปัจจัยแก่วิบาก ๑ แก่กิริยา ๑. กิริยาเป็นปัจจัยแก่กุศล ๑ แก่อกุศล ๑ แก่วิบาก ๑ แก่กิริยา ๑. ก็อนันตรปัจจัยนี้จะได้นิทเทสเฉพาะ ๑๐ อย่างเท่านี้ก็หามิได้ แต่ยังได้นิทเทส ๑๗ อย่าง อย่างนี้อีก คือกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล ๑ กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑. อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล ๑ อกุศลวิบาก ๑ กุศลวิบาก ๑. กุศลวิบากเป็นปัจจัยแก่กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ กิริยา ๑. อกุศลวิบากเป็นปัจจัยแก่อกุศลวิบาก ๑ แก่กุศลวิบาก ๑ แก่กิริยา ๑. กิริยาเป็นปัจจัยแก่กิริยา ๑ กุศล ๑ อกุศล ๑ กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑. ก็อนันตรปัจจัยนี้จะได้นิทเทสเฉพาะ ๑๗ อย่างเท่านั้นหามิได้ ยังได้นิทเทส ๖๐ ถ้วนอีก คือกุศลเป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศล ๖ อย่าง ได้แก่ กามาวจรกุศลเป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศลทั้ง ๔ อย่าง ตามความต่างกันแห่งภูมิ, รูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศล, เป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศลที่เกิดในภูมิของตนๆ. ส่วนกุศลเป็นอนันตรปัจจัยแก่วิบาก ๑๒ อย่าง คือกามาวจรกุศลเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกุศลวิบาก, อกุศลวิบาก, รูปาวจรวิบาก, อรูปาวจรวิบาก, โลกุตตรวิบาก. รูปาวจรกุศลเป็นปัจจัยแก่รูปาวจรวิบาก กามาวจรวิบาก. อรูปาวจรกุศลเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกุศลวิบาก, รูปาวจรวิบาก, อรูปาวจรวิบาก, โลกุตตรวิบาก, โลกุตตรกุศล เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรวิบาก. อกุศลเป็นอนันตรปัจจัย ๕ อย่าง คือแก่อกุศล, อกุศลวิบาก, วิบากอันเป็นไปในภูมิ ๓. กามาวจรกุศลวิบากเป็นอนันตรปัจจัยแก่วิบาก ๔ อย่าง คือแก่กามาวจรกุศลวิบาก, อกุศลวิบาก, รูปาวจรวิบาก, อรูปาวจรวิบาก. รูปาวจรวิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๓ อย่าง คือแก่กุศลวิบากที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓. อรูปาวจรวิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๒ อย่าง คือแก่อรูปาวจรวิบากและกามาวจรกุศลวิบาก. โลกุต อกุศลวิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๒ อย่าง คือแก่อกุศลวิบากและกามาวจรกุศลวิบาก. วิบากแม้ในที่ทั้งปวงเป็นอนันตรปัจจัย ๑๕ อย่างแก่วิบาก โดยประการฉะนี้. วิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๔ อย่างแม้แก่กิริยา คือกามาวจรกุศลวิบากเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกิริยา อกุศลวิบาก รูปาวจรวิบาก และอรูปวจรวิบากก็เป็นปัจจัยแก่กามาวจรกิริยาได้เหมือนกัน. กิริยาเป็นอนันตรปัจจัยแก่กิริยา ๕ อย่าง คือกามาวจรกิริยาเป็นปัจจัยแก่กิริยาที่เป็นไปในภูมิ ๓, รูปาวจรกิริยา อรูปาวจรกิริยา เป็นปัจจัยเฉพาะแก่กิริยาในภูมิของตนๆ. กิริยาเป็นอนันตรปัจจัยแก่วิบาก ๑๑ อย่าง คือกามาวจรกิริยาเป็นปัจจัยแก่อกุศลวิบากและกุศลวิบากที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๔, รูปาวจรกิริยาเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกุศลวิบาก และรูปาวจรวิบาก, อรูปา ส่วนกามาวจรกิริยาเป็นอนันตรปัจจัย ๒ อย่างแก่กุศลและอกุศล คือแก่กามาวจรกุศลและอกุศล. อนันตรปัจจัยย่อมได้นิทเทส ๖๐ ถ้วน ด้วยประการฉะนี้. อนันตรปัจจัยนี้จะได้นิทเทส ๖๐ ถ้วนเท่านี้ก็หาไม่ ยังได้นิทเทสแม้อีกมากอย่าง คือกามาวจร รวมความว่า เป็นปัจจัยแก่กุศลจิต ๒๑ ดวงเป็นปัจจัยแก่วิบากอีก ๓๒ ดวง คือแก่กามาวจรวิบาก ๑๑ ดวง ที่เกิดด้วยอำนาจตทารัมมณะ และแก่ภวังค์ในที่สุดแห่งชวนะ แก่รูปาวจรวิบากและอรูปา กุศลจิตดวงที่ ๒ ก็เหมือนกัน. ส่วนดวงที่ ๓ และที่ ๔ ย่อมเป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวงที่เหลือ เว้นกุศลที่เกิดในภูมิสูงๆ ขึ้นไป และโลกุตตรวิบาก. มหากุศลจิตดวงที่ ๕ และที่ ๖ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๓๓ ดวง คือแก่ตนเอง แก่กุศลจิตที่สหร มหากุศลจิตดวงที่ ๗ และที่ ๘ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวงเท่านั้น. รูปาวจรกุศลจิต ๕ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๐ ดวง คือแก่รูปาวจรกุศลที่เกิดภายหลังตน ๑ แก่มหาวิบากญาณสัมปยุต ๔ ดวง และแก่รูปาวจรวิบาก ๕ ดวง. โดยนัยนี้แหละ บรรดาอรูปาวจรกุศลทั้งหลาย ดวงที่ ๑ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๑ ดวง พร้อมกับวิบากของตน. อรูปาวจรกุศลดวงที่ ๒ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง. อรูปาวจรกุศลดวงที่ ๓ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๓ ดวง. อรูปาวจรกุศลดวงที่ ๔ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๕ ดวง คือจิต ๑๔ ดวงและผลสมาบัติ ๑ ดวง. โลกุตตรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยเฉพาะแก่วิบากของๆ ตน เท่านั้น. บรรดาจิตที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง อกุศลจิตดวงหนึ่งๆ เป็นปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวง คือกามาวจรวิบากมโนวิญญาณธาตุ ๑๑ ดวง มหัคคตวิบาก ๙ ดวง และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑. จิตที่สหรคตด้วยโทสะ ๒ ดวงเป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๗ ดวง คือกามาวจรวิบากมโนวิญญาณธาตุ ๖ ดวง ซึ่งสหรคตด้วยอุเบกขาและแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑. จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวง คือกามาวจรวิบากมโนวิญญาณธาตุ ๑๑ ดวง พร้อมกับอเหตุกวิบากที่สหรคตด้วยโสมนัสมหัคคตวิบาก ๙ และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑. ปัญจวิญญาณฝ่ายกุศลวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่มโนธาตุฝ่ายกุศลวิบาก. มโนธาตุเป็นอนันตรปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบาก ๒ ดวง. บรรดามโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบาก ๒ ดวงนั้น ดวงที่สหรคตด้วยโสมนัสเป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง คือมโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบาก ๑๐ ดวงที่ทำหน้าที่เป็นภวังค์ แก่ตนเองที่เกิดภายหลังตนในเวลาเป็นตทารัมมณะและแก่โวฏฐัพพน ส่วนอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวงเหมือนกัน คือแก่อาวัชชนมโนธาตุ อาวัชชนมโนวิญญาณธาตุที่มีฐาน ๒ และวิบากมโนวิญญาณธาตุ ๑๐. มหาวิบากที่เป็นติเหตุกะ เป็นปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวง คือแก่มโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบากที่เป็นกามาวจร ๑๐ เว้นโสมนัสสันตีรณะ รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และอาวัชชนจิตทั้งสอง. ทุเหตุวิบากเป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง ที่เหลือเว้นมหัคคตวิบาก. รูปาวจรวิบาก ๕ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๙ ดวง คือแก่สเหตุกกุศลวิบากปฏิสนธิจิต อันเป็นไปในภูมิทั้งสาม ๑๗ ดวงและอาวัชชนจิต ๒. ในบรรดาอรูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๑ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๙ ดวง คือติเหตุกปฏิสนธิฝ่ายกุศลวิบากชั้นกามาวจร ๔ อรูปาวจรวิบาก ๔ และมโนทวาราวัชชนจิต ๑. อรูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๒ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๘ ดวง เว้นวิบากชั้นต่ำกว่าเสียหนึ่งดวง. อรูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๓ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๗ ดวง เว้นวิบากที่ต่ำกว่า ๒ ดวง. อรูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๔ เป็นปัจจัยแก่จิต ๖ ดวง เว้นวิบากเบื้องต่ำ ๓ ดวง. โลกุตตรวิบาก ๔ ดวงเป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๔ ดวง คือติเหตุกวิบาก ๑๓ ดวงและแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑. ปัญจวิญญาณฝ่ายอกุศลวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่อกุศลวิบากมโนธาตุ. มโนธาตุเป็นอนันตรปัจจัยแก่อเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายอกุศลวิบาก. อเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายอกุศลวิบากนั้นเป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง คือแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ในเวลาเป็นตทารัมมณะ กามาวจรวิบาก ๙ ที่เป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิและภวังค์ในจุติกาล และกามาวจรกิริยา ๒ ดวงที่สหรคตด้วยอุเบกขา. กิริยามโนธาตุเป็นปัจจัยแก่ทวิปัญญาวิญญาณจิต ๑๐. หสิตุปปาทกิริยาเป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๓ ดวง โดยไม่นับที่ซ้ำ คือแก่ติเหตุกวิบาก ๙ ที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์ในปัญจโวการภพและแก่วิบากที่สหรคตด้วยโสมนัส ๕ ที่เป็นไปด้วยอำนาจตทา โวฏฐัพพนกิริยาเป็นปัจจัยแก่จิต ๔๕ ดวง คือกามาวจรกิริยา ๑๐ เว้นกิริยามโนธาตุ กามา กามาวจรติเหตุกกิริยาที่สหรคตด้วยโสมนัส ๒ ดวงเป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๒๕ ดวง ที่นับแล้วไม่นับซ้ำอีก คือแก่ติเหตุกวิบาก ๑๓ ที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์ โสมนัสสหรคตวิบาก ๕ ด้วยอำนาจ ทุเหตุกโสมนัสสหรคตกิริยา ๒ ดวง เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๗ ดวง โดยไม่นับที่ซ้ำกัน คือแก่ภวังคจิต ๑๓ ตามที่กล่าวแล้ว ตทารัมมณะ ๕ และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑. กามาวจรติเหตุกอุเบกขาสหรคตกิริยา ๒ ดวง เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๒๔ ดวง โดยไม่นับที่ซ้ำกัน คือแก่ภวังคจิต ๑๓ ดวงเหล่านั้นนั่นแหละ อุเบกขาสหรคตวิบาก ๖ ที่เป็นไปด้วยอำนาจ ทุเหตุกอุเบกขาสหรคตกิริยา ๒ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๘ ดวงโดยไม่นับที่ซ้ำ คือแก่ภวังค บรรดารูปาวจรกิริยาดวงหนึ่งๆ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๐ ดวง คือติเหตุกภวังค์ในปัญจโว บรรดาอรูปาวจรกิริยาจิตทั้งหลาย อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๑ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๑ ดวง คือภวังคจิต ๙ ดวงในปัญจโว อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๒ ย่อมได้ภวังคจิต ๒ ดวง ในจตุโว อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๓ ได้ ๓ ดวง. อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๔ ย่อมได้ภวังจิต ๔ ดวง และผลสมาบัติอีก ๑ ดวง. บรรดาอรูปาวจรกิริยาเหล่านั้น ดวงหนึ่งๆ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๑-๑๒-๑๓ และ ๑๕ ดวง ตามลำดับดังนี้แล. อนันตรปัจจัยย่อมได้นิทเทสแม้หลายอย่างด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บัณฑิตควรกำหนดนิทเทส ๑๐-๑๗-๖๐ และแม้มากหลาย (ของอนันตรปัจจัย) ให้ดี. สมนันตรปัจจัยเป็นต้น มีเนื้อความกระจ่างแล้ว. อรรถกถาอนันตรปัจจัย จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ อนุโลมติกปัฏฐาน กุสลัตติกะ ปัญหาวาร อนันตรปัจจัย จบ. |