![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อญฺญมญฺญํ แปลว่า ซึ่งกันและกัน. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจัยและปัจจยุบบันในขณะเดียวกัน. บทว่า โอกฺกนฺติกฺขเณ คือ ในขณะปฏิสนธิในปัญจโวการภพ. จริงอยู่ ในขณะนั้นนามและรูปเกิดขึ้นเหมือนก้าวลง คือเหมือนแล่นไป ได้แก่ เหมือนมาจากโลกอื่นแล้วเข้ามาสู่โลกนี้ เพราะฉะนั้น ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า โอกกันติกขณะ (ขณะก้าวลง). ก็ในอธิการนี้ คำว่า รูป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาหทัยวัตถุเท่านั้น. จริงอยู่ หทัยวัตถุนั้นย่อมอำนวยประโยชน์เพื่อเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกันแก่นาม และนามก็อำนวยประโยชน์เพื่อเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกันแก่หทัยวัตถุนั้น. บทว่า จิตฺตเจตสิกา คือ ขันธ์ ๔ ในปวัตติกาล. ในบทว่า สหชาตปจฺจเยน นี้ รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ย่อมไม่อำนวจประโยชน์เพื่อเป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิก เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อญฺญมญฺญํ. อุปาทายรูปก็ไม่อำนวยประโยชน์เพื่อเป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูปเหมือนกัน. คำว่า รูปธรรมเป็นปัจจัยแก่อรูปธรรม คือ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่นามขันธ์ ๔. สองบทว่า กิญฺจิ กาเล คือ ในกาลบางคราว. บทว่า สหชาตปจฺจเยน ตรัสหมายถึงปฏิสนธิกาล. บทว่า น สหชาตปจฺจเยน ตรัสหมายถึงปวัตติกาล. ก็สหชาตปัจจัยนี้ตั้งไว้ด้วยส่วน ๖ ส่วนดังนี้คือ นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัยเป็นต้น. ใน ๖ ส่วนนั้น ๓ ส่วนตรัสด้วยอำนาจการเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกัน อีก ๓ ส่วนไม่ได้ตรัสด้วยอำนาจการเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกัน. บรรดาสหชาตปัจจัย ๖ ส่วนนั้น อรูปธรรมเท่านั้น เป็นทั้งปัจจัยและปัจจยุบบันในส่วนที่ ๑. เฉพาะรูปธรรมอย่างเดียว เป็นทั้งปัจจัยและปัจจยุบบันในส่วนที่ ๒. นามและรูปเป็นปัจจัยและปัจจยุบบันในส่วนที่ ๓. อรูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันในส่วนที่ ๔. รูปเท่านั้นเป็นทั้งปัจจัยและปัจจยุบบันในส่วนที่ ๕. รูปเป็นปัจจัย อรูปเป็นปัจจยุบบันในส่วนที่ ๖. พรรณนาบาลีในสหชาตปัจจัยนิทเทสเท่านี้ก่อน. ก็สหชาตปัจจัยนี้ จำแนกโดยชาติได้ ๕ ชาติ คือกุศลชาติ อกุศลชาติ วิบากชาติ กิริยาชาติและรูปชาติ. ในชาติทั้ง ๕ นั้น กุศลจัดตามภูมิได้ ๔ ภูมิ อกุศลได้ภูมิเดียว วิบากได้ ๔ ภูมิ กิริยาได้ ๓ ภูมิ รูปได้กามาวจรภูมิภูมิเดียวเท่านั้น ฉะนั้น พึงทราบวินิจฉัยในสหชาตปัจจัยนี้ โดยการจำแนกเป็นประการต่างๆ เพียงเท่านี้. ก็ในสหชาตปัจจัยที่จำแนกแล้วนี้ อย่างนี้ กุศลแม้เป็นไปได้ ๔ ภูมิเป็นสหชาตปัจจัย แก่ธรรมอันสัมปยุตกับตนนั่นเทียว และแก่รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน. อกุศลก็เช่นเดียวกัน. ก็ในสหชาตปัจจัยนี้ จิตใดเกิดในอรูปภูมิ จิตนั้นเป็นสหชาตปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น. กามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก เป็นสหชาตปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานนั่นเทียว และแก่ธรรมที่สัมปยุต. ก็ในสหชาตปัจจัยนี้ จิตใจให้รูปเกิดไม่ได้ จิตนั้นเป็นสหชาตปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. จิตใจเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล จิตนั้นเป็นสหชาตปัจจัยแก่กัมมชรูปด้วย. อรูปวิบากเป็นสหชาตปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. โลกุตตรวิบากเป็นสหชาตปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ, เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้นในจตุโวการภพ. กามาวจรกิริยาและอรูปาวจรกิริยาเป็นสหชาตปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ. ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น. รูปาวจรกิริยาเป็นสหชาตปัจจัยโดยส่วนเดียว แก่ธรรมที่สัมปยุตและรูปที่จิตเป็นสมุฏฐาน. สำหรับรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ในรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัยแก่มหาภูตรูปหนึ่ง มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ในขณะปฏิสนธิของกามาวจรและรูปาวจร วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ส่วนในบรรดารูปที่มีอุตุ จิตและอาหารเป็นสมุฏฐาน มหาภูตรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน และแก่อุปาทายรูปด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในสหชาตปัจจัยนี้ อย่างนี้แล. วรรณนาแห่งสหชาตปัจจัยนิทเทส จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร สหชาตปัจจัย จบ. |