![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ก็เทศนาที่แสดงไว้โดยย่อนั้น พึงทราบว่าเทศนานั้นทรงแสดงอย่างนี้. จริงอยู่ พระองค์ทรงเชื่อมกุศลบทกับเหตุทุกะ แล้วแสดงปัจจัยที่ได้อยู่ทั้งหมด ด้วยอำนาจอนุโลมและปัจจนียนัย ในปฏิจจวาระ ไม่ทรงแสดงอนุโลมปัจจนียนัย และปัจจนียานุโลมนัย และสหชาตวาระเป็นต้น แล้วตรัสว่า ทั้งหมดควรขยายให้พิสดารเหมือนปฏิจจวาระนั่นแหละ. แม้ในปัญหาวาระ พระองค์ไม่ทรงวิสัชนาปัญหา ทรงยกปัจจัยอย่างเดียว แล้วทรงแสดงปัจจัยที่ได้อยู่ด้วยอำนาจอนุโลมปัจจนียนัยเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ศึกษาพึงเชื่อมแม้อกุสลาพยากตบทกับเหตุทุกะ แล้วแสดงไข เหตุกุสลทุกติกะ เหมือนอย่างกุศลบท. ต่อจากนั้นทรงแสดงทุกติกะ ๒๑ มีเหตุเวทนาทุกติกะเป็นต้น โดยนัยว่า เหตุํ สุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตํ ธมฺมํ เป็นต้น. ก็เพราะเหตุที่เห็นได้กระทบได้ หรือเห็นไม่ได้กระทบได้ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรงเชื่อมสนิทัสสนสัปปฏิฆะและอนิทัสสนสัปปฏิฆบทกับเหตุบท. ทรงเชื่อมติกะ ๒๒ ที่มีได้กับเหตุทุกะ ดังอธิบายมาแล้ว ทรงเชื่อมติกะเหล่านั้นกับทุกะทั้งหมด มีสเหตุกทุกะเป็นต้น มีสรณทุกะเป็นที่สุดอีก. ในทุกะเหล่านั้น บทใดๆ ไม่ประกอบร่วมกับบทใดๆ บทนั้นๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบาลีนั้นเองว่ามีไม่ได้ ในอธิการนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าประกอบติกะ ๒๒ กับทุกะ ๑ แล้วประกอบติกะ ๒๒ กับทุกะบทที่ได้อยู่ใน ๑๐๐ ทุกะ ตามลำดับ คือติกะ ๒๒ ติกะ กับทุกะอื่น ติกะ ๒๒ ติกะ กับทุกะอื่นอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาติกะ ๒๒ ติกะ ดังว่ามานี้ แล้วผนวกเข้าใน ๑๐๐ ทุกะ แสดงปัฏฐานชื่อว่าทุกติกปัฏฐาน ในทุกติกปัฏฐานนั้น ในฐานะใดๆ ทรงแสดงนัยแล้วทำการย่อไว้ในบาลี ผู้ศึกษาพึงทราบความพิสดารแห่งบาลีนั้น ตามสมควรแก่นัยที่ทรงแสดงไว้ในฐานะนั้นๆ แล. อรรถกถาทุกติกปัฏฐาน จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๕ อนุโลมทุกัตติกปัฏฐาน เหตุทุกสนิทัสสนสัปปฏิฆัตติกะ จบ. |