บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามความที่กุศลเป็นปัจจัย ด้วยคำว่า นกุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ ทรงห้ามการเกิดขึ้นแห่งกุศล ด้วยคำว่า นกุสโล ธมฺโม อุปฺปชฺชติ เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบปัญหาและวิสัชนาในอธิการนี้ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ขันธ์ ๓ ที่เป็นอกุสลาพยากตะและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยขันธ์หนึ่งที่เป็นอกุสลาพยากตะเกิดขึ้น. ก็วิธีนับที่ได้ในปัจจัยนั้นๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในบาลี แม้วาระทั้งหลายที่มีวิสัชนาเหมือนกัน ก็ทรงแสดงไว้ในบาลีนั้นเอง เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้ ผู้ศึกษาพึงกำหนดบาลีแล้วทราบปัฏฐานนัยทั้งหมด ตามแนวแห่งนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง ก็ในอธิการนี้ฉันใด ในทุกปัฏฐาน ทุกติก นัย ๖ ในธัมมปัจจนียปัฏฐาน อันท่านแสดงไว้ด้วยคาถาที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า นัย ๖ ในปัจจนียปัฏฐาน คือติกปัฏฐาน อันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐานและทุกทุกปัฏฐาน ลึกซึ้งนัก ดังนี้. เป็นอันข้าพเจ้าแสดงแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ฯ ก็ในอธิการนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบเฉพาะ ปัจจนียปัฏฐาน เท่านั้น ประดับด้วยนัย ๒๕ โดยปริยายหนึ่งคือ ในปัฏฐานหนึ่งๆ ว่าด้วยอำนาจแห่งปัจจัยมีอย่างละ ๔ นัย มีอนุโลมนัยเป็นต้น. อรรถกถาปัจจนียปัฏฐาน จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๖ ปัจจนียทุกทุกปัฏฐาน นสรณทุกนสเหตุกทุกะเป็นต้น จบ. |