บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บุญสมบัติ ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายก่อสร้างแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ เพื่อความสำเร็จ แห่งสมบัติทั้งปวง ขอสรรพสัตว์ผู้ถึงความทุกข์ จงเป็น ผู้ไม่มีความทุกข์ ผู้ถึงภัย จงเป็นผู้ไม่มีภัย ผู้ถึงความโศก จงเป็นผู้ไม่มีความโศก จง บรรลุธรรมอันเกษม พระพุทธเจ้าทั้งปวง และพระปัจเจก- พุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบรรลุธรรมใดเป็น กำลัง ข้าพเจ้าจะประกอบการรักษาธรรม อันเป็นกำลังเหล่านั้นไว้ ด้วยเดชแห่งธรรม โดยประการทั้งปวง. อรรถกถาปัจจนียานุโลมปัฏฐาน บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามความที่กุศลเป็นปัจจัยด้วยคำว่า นกุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ ทรงอนุญาตการเกิดขึ้นแห่งอกุศล ด้วยคำว่า อกุสโล ธมฺโม อุปฺปชฺชติ. จริงอยู่ ที่ชื่อว่า นกุสลํ ธรรมที่ไม่ใช่กุศล ก็ได้แก่อกุศลหรืออัพยากตะนั่นเอง. และกุศล ชื่อว่าทำนกุศล คือธรรมที่ไม่ใช่กุศล นั้นให้เป็นสหชาตปัจจัยเกิดขึ้น ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแต่งคำวิสัชนาด้วยอำนาจอกุศลและอัพยากตะ. ในข้อนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบวิสัชนา อาศัยนกุศลธรรมอย่างนี้ คือขันธ์ ๓ และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยอกุศลขันธ์หนึ่งเกิดขึ้น. ส่วนปัญหานี้ว่า อัพยากตธรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ทรงวิสัชนาไว้เสร็จแล้วว่า ขันธ์ ๓ และรูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยขันธ์หนึ่งอันเป็นวิปากาพยากตะและกิริยาพยากตะเกิดขึ้น. ในปัญหาทั้งหมด ปัญหาที่ยังไม่ได้วิสัชนาย่อมมีวิสัชนาที่เหมาะสมแก่เนื้อความ และปัญหาที่มีวิสัชนาแล้ว มีวิสัชนาอันมาแล้วในบาลีนั่นเอง ก็วิธีนับประเภทแห่งวาระ และนับปัจจัยในติกะและทุกะหนึ่งๆ ทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบตามแนวแห่งนัยอันข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ก็นัย ๖ ในธัมมปัจจนียานุโลมปัฏฐาน อันท่านแสดงไว้แล้วด้วยคาถาซึ่งพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า นัย ๖ ในปัจจนียานุโลม คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐานและทุกทุกปัฏฐาน ลึกซึ้งนัก ดังนี้. เป็นอันข้าพเจ้าแสดงแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ก็ในอธิการนี้ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจนียานุโลมปัฏฐาน อันประดับด้วยนัย ๒๔ โดยปริยายหนึ่ง คือในปัฏฐานหนึ่งๆ ว่าด้วยอำนาจแห่งปัจจัยมีอย่างละ ๔ นัยมีอนุโลมนัยเป็นต้นด้วยประการฉะนี้. ปริโยสานวรรณนา อรรถกถาท้ายปกรณ์ ส่วนอาจารย์บางพวกตั้งมาติกาแห่งอารมณ์ โดยนัยว่า กุสลารมฺมโณ ธมฺโม อกุสลารมฺมโณ ธมฺโม เป็นต้นแล้ว แสดงอารัมมณปัฏฐานโดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมที่มีกุศลเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่มีกุศลเป็นอารมณ์ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัยดังนี้แล้ว ยกปัฏฐานชื่อว่าผัสสปัฎฐาน ขึ้นแสดงด้วยอำนาจแห่งผัสสะเป็นต้นอีก แต่ข้อนั้นไม่ปรากฏทั้งในบาลีและอรรถกถา เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่วิจารณ์ไว้ในที่นี้ ก็ในอรรถกถานี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่าข้าพเจ้าอธิบายเฉพาะบาลีที่ยกขึ้นสู่สังคีติแล้วเท่านั้น. ก็ด้วยกุศลเจตนามีประมาณเท่านี้ของข้าพเจ้า หมู่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ผู้สร้างกุศลเป็นต้น ลุ่มหลง แล้วในปัจจยาการใด ย่อมไม่ล่วงเลยสงสารอันแออัด ไปด้วยความทุกข์เป็นอเนกประการ พระศาสดาผู้เป็นครูแห่งโลก ฉลาดในการจำแนก ปัจจัย ทรงอาศัยปัจจยาการนั้นอันละเอียดลึกซึ้งยิ่งนัก เป็นภูมิเป็นที่แล่นไปแห่งพุทธญาณ อันต่างโดยธรรม มีกุศลเป็นต้น ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ ประกาศพระ อภิธรรมปกรณ์ที่ ๗ ชื่อว่าปัฏฐานใด ให้พิสดารด้วยนัย ทั้งหลาย อันกุลบุตรพึงเข้าถึงด้วยญาณวิถีต่างๆ ข้าพเจ้า ไม่ละแล้วซึ่งวาทะแห่งอาจารย์ทั้งหลาย ชาวสีหลผู้เป็น วิภัชวาที ได้เริ่มไว้ดีแล้วด้วยศรัทธา ซึ่งอรรถกถาแห่ง ปัฏฐานนั้น โดยปราศจากอันตราย ในเมื่อโลกกำลังมีอันตรายมากมาย อรรถกถานี้ ประกาศอรรถแห่งปัฏฐานปกรณ์อันประเสริฐทั้งสิ้น จบลง ด้วยญาณวาร ๑๔ ภาณวารถ้วนในวันนี้ ฉันใด ขอความ ดำริอันดี งานทั้งปวงของชนเป็นอันมากจงถึงความสำเร็จ เร็วพลัน ฉันนั้น. อรรถกถาแห่งพระอภิธรรม ๗ ปกรณ์ แม้ทั้งสิ้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์โลก เป็นเทพ ยิ่งกว่าเทพ ได้ทรงแสดงแล้วที่เทวบุรีในเทวโลก จบแล้ว ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ข้าพเจ้าแต่งอรรถกถานั้นให้จบลง เพื่อให้พระธรรม ดำรงอยู่ยั่งยืนนาน ให้ถึงแล้วซึ่งกุศลอันใด ด้วยอานุภาพ แห่งกุศลนั้น ขอสัตว์ผู้มีปราณทั้งปวงจงรู้ธรรมอันนำมา ซึ่งความสุข แห่งพระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระสัทธรรมราชา แล้ว จงบรรลุซึ่งพระนิพพานอันไม่มีความโศก ความ คับแค้นใจ เป็นความสุขที่สูงสุด ด้วยการปฏิบัติสะดวก หมดจด ขอพระสัทธรรมจงตั้งอยู่สิ้นกาลนาน ขอสัตว์ ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้เคารพในธรรม ขอฝนจงตก ต้องตามฤดูกาล พระราชาผู้ดีงามแต่เก่าก่อน ได้รักษา ปวงชนโดยธรรมฉันใด ขอพระราชาพระองค์นี้จงรักษา ปวงชนนี้โดยธรรม เหมือนโอรสของพระองค์ฉันนั้นแล. นิคมกถา ผู้มีความรู้หมดจด ไพบูลย์ประดับด้วยศรัทธา ความรู้และความ เพียร อันหมดจดอย่างยิ่ง ผู้รุ่งเรืองด้วยธรรมเป็นเหตุเกิดแห่ง ความดี มีศีล อาจาระ ความซื่อตรง และความอ่อนโยนเป็นต้น สามารถหยั่งลงสู่ชัฏ คือลัทธิของตนและลัทธิของผู้อื่น ประกอบ ด้วยความเฉียบแหลมด้วยปัญญา มีความรู้ไม่ติดขัดในสัตถุศาสน์ ต่างโดยปริยัติ คือปิฎกสาม พร้อมทั้งอรรถกถา เป็นนักไวยากรณ์ ใหญ่ ประกอบด้วยความงามแห่งถ้อยคำ ทั้งอ่อนหวานและกว้าง ขวาง เปล่งออกได้คล่อง ก่อให้เกิดกรณสมบัติ มีวาทะประเสริฐ ถูกต้อง คนอื่นเข้าใจง่าย เป็นกวีใหญ่ แวดล้อมด้วยปฏิสัมภิทา อันแตกฉาน เป็นผู้ประดับวงศ์แห่งพระเถระผู้อยู่ในมหาวิหาร ทั้งหลาย ผู้ซึ่งเป็นประทีปแห่งเถรวงศ์ มีความรู้อันตั้งมั่นดีแล้ว ในอุตริมนุษยธรรม อันประดับด้วยคุณต่างโดยคุณมีอภิญญา ๖ เป็นต้น แวดล้อมด้วยปฏิสัมภิทาเป็นต้น ได้แต่งอรรถกถาอภิธรรม ปิฎกแม้ทั้งสิ้นนี้ จบแล้ว. ขออรรถกถานี้จงดำรงอยู่ในโลก แสดงนัยแก่กุลบุตร ทั้งหลายผู้แสวงหาธรรมเป็นเครื่องไถ่ถอนจากโลก ตราบเท่าที่ พระนามว่า "พุทโธ" ของพระโลกเชษฐ์แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มีพระทัยอันหมดจด คงที่ ยังเป็นไปอยู่ในโลก. อรรถกถาท้ายปกรณ์ จบ. อรรถกถาปัญจปกรณ์มีธาตุกถาเป็นต้น ชื่อปรมัตถทีปนี จบบริบูรณ์. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๖ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน นเหตุทุกนสเหตุกทุกเหตุทุกสเหตุกทุกะเป็นต้น จบ. |