ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 162อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 164อ่านอรรถกถา 5 / 165อ่านอรรถกถา 5 / 261
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ จีวรขันธกะ
ถวายจีวรเป็นของสงฆ์

               ว่าด้วยผ้าที่เกิดขึ้นในจีวรกาล               
               ข้อว่า ตุยฺเหว ภิกฺขุ ตาหิ จีวรานิ มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น.
               ก็แล ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว จึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความรังเกียจถือเอา.
               ข้อว่า ตสฺเสว ตานิ จีวรานิ ยาวกฐินสฺส อุพฺภาราย มีความว่า หากว่า ได้ภิกษุครบคณะ กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดจีวรมาสเดือนเดียวเท่านั้น. จีวรใดๆ อันพวกทายกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ก็ดี ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายเฉพาะสงฆ์ก็ดี ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้วก็ดี ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายผ้าจำนำพรรษาก็ดี ถึงแม้ว่า จีวรมรดกยังมิได้แจก ภิกษุทั้งหลายเข้าไปสู่วัดนั้น จีวรทั้งปวงนั้นย่อมเป็นของภิกษุผู้กรานกฐินนั้นเท่านั้น.
               ภิกษุนั้นถือเอาผ้าจำนำพรรษาแม้ใด จากทุนทรัพย์ที่ไวยาวัจกรตั้งไว้ประกอบดอกเบี้ย เพื่อประโยชน์แก่ผ้าจำนำพรรษา หรือจากกัลปนาสงฆ์อันเกิดในวัดนั้น ผ้าจำนำพรรษานั้นทั้งหมดเป็นอันเธอถือเอาด้วยดีแท้.
               จริงอยู่ ในคำว่า ตสฺเสว ตานิ จีวรานิ ยาวกฐินสฺส อุพฺภาราย นี้ มีลักษณะดังนี้ :-
               ผ้าที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ด้วยอาการใดๆ ก็ตาม ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้กรานกฐินแล้วตลอด ๕ เดือน แก่ภิกษุไม่ได้กรานกฐินตลอดจีวรมาสเดือนหนึ่ง. ส่วนผ้านี้ใดที่ทายกบอกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาในวัดนี้ หรือว่า ข้าพเจ้าถวายผ้าจำนำพรรษา ผ้านั้นย่อมถึงแม้แก่ภิกษุผู้มิได้กรานกฐินตลอด ๕ เดือน. ผ้าจำนำพรรษาที่เกิดขึ้น นอกจากผ้าที่กล่าวแล้วนั้น ภิกษุพึงถามดูว่า นี่เป็นผ้าจำนำพรรษาสำหรับพรรษาที่ล่วงไปแล้วหรือ? หรือว่า สำหรับพรรษาที่ยังไม่มา เหตุไรจึงต้องถาม? เพราะผ้านั้นเกิดขึ้นหลังสมัย.

               ว่าด้วยผ้าที่เกิดขึ้นในฤดูกาล               
               บทว่า อุตุกาลํ ได้แก่ กาลอื่นจากฤดูฝน.
               วินิจฉัยในคำว่า ตานิ จีวรานิ อาทาย สาวตฺถึ คนฺตฺวา นี้ พึงทราบดังนี้ :-
               จีวรเหล่านั้นย่อมเป็นของสงฆ์ในที่ๆ เธอไปถึงแล้วๆ เท่านั้น ผ้าสักว่าอันภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วเท่านั้น เป็นประมาณในการถือเอาจีวรนี้ เพราะเหตุนั้น หากภิกษุบางพวกเดินสวนทางมา ถามว่า ไปไหนคุณ? ได้ฟังเนื้อความนั้นแล้วกล่าวว่า เราทั้งหลายไม่เป็นสงฆ์หรือคุณ? แล้วแบ่งกันถือเอาในที่นั้นทีเดียว เป็นอันถือเอาด้วยดี. แม้ถ้าว่า ภิกษุนั้นแวะออกจากทาง เข้าสู่วัดหรืออาสนศาลาบางแห่งก็ดี เมื่อเที่ยวบิณฑบาต เข้าสู่เฉพาะเรือนหลังหนึ่งก็ดี ก็แล ภิกษุทั้งหลายในที่นั้นเห็นเธอแล้วถามเนื้อความนั้นแล้วแบ่งกันถือเอา เป็นอันถือเอาด้วยดีเหมือนกัน.
               วินิจฉัยในข้อว่า อธิฏฺาตุํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
               อันภิกษุผู้จะอธิษฐาน พึงรู้จักวัตร ความพิสดารว่า
               ภิกษุนั้นพึงตีระฆังประกาศเวลาแล้ว คอยหน่อยหนึ่ง ถ้าภิกษุทั้งหลายมาตามสัญญาระฆังหรือตามกำหนดเวลา พึงแบ่งกับภิกษุเหล่านั้น : ถ้าไม่มา พึงอธิษฐานว่า จีวรเหล่านี้ถึงแก่เรา เมื่ออธิษฐานแล้วอย่างนั้น จีวรทั้งปวงเป็นของเธอเท่านั้น. ส่วนลำดับไม่คงอยู่. ถ้ายกขึ้นทีละผืนๆ ถือเอาอย่างนี้ว่า นี่ส่วนที่ ๑ ถึงแก่เรา นี่ส่วนที่ ๒, อันจีวรที่เธอถือเอาแล้ว เป็นอันถือเอาแล้วด้วยดี แต่ลำดับคงตั้งอยู่. จีวรเป็นอันภิกษุผู้แม้ให้ถึงถือเอาอยู่อย่างนั้น อธิษฐานแล้วเหมือนกัน.
               แต่ถ้าภิกษุตีระฆังหรือไม่ตีก็ตาม ประกาศเวลาหรือไม่ประกาศก็ตาม ถือเอาด้วยทำในใจว่า ที่นี่มีแต่เราเท่านั้น จีวรเหล่านี้ย่อมเป็นของเฉพาะเรา จีวรเหล่านั้นเป็นอันถือเอาไม่ชอบ. หากเธอถือเอาด้วยทำในใจว่า ที่นี่ไม่มีใครๆ อื่น จีวรเหล่านี้ย่อมถึงแก่เรา เป็นอันถือเอาด้วยดี.
               สองบทว่า ปาติเต กุเส มีความว่า เมื่อสลากในส่วนอันหนึ่งสักว่า ให้จับแล้ว แม้ถ้ามีภิกษุตั้งพันรูป จีวรชื่อว่าอันภิกษุทั้งปวงถึงเอาแล้วแท้.
               ข้อว่า นากามา ภาโค ทาตพฺโพ มีความว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ประสงค์จะให้ตามชอบใจของตนไซร้ จงให้เถิด. แม้ในอนุภาคก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
               บทว่า สจีวรานิ มีความว่า ชนทั้งหลายพูดกันว่า เราทั้งหลายจักถวาย แม้ซึ่งกาลจีวรแก่สงฆ์ จากส่วนอันจะพึงถวายแก่พระเถระนี้เทียว เมื่อกาลจีวรนั้นอันเราทั้งหลายจัดไว้แผนกหนึ่ง จะช้าเกินไป ดังนี้แล้ว ได้ทำภัตทั้งหลายพร้อมทั้งจีวรโดยทันทีทีเดียว.
               หลายบทว่า เถเร อาคมฺม อุปฺปนฺนานิ มีความว่า จีวรเหล่านี้พลันเกิดขึ้นเพราะความเลื่อมในท่านทั้งหลาย.
               ข้อว่า สงฺฆสฺส เทมาติ จีวรานิ เทนฺติ มีความว่า ชนทั้งหลายถวายล่าช้าจนตลอดจีวรกาลทั้งสิ้นทีเดียว. ส่วนใน ๒ เรื่องก่อน พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า อทํสุ เพราะชนทั้งหลายมีการถวายอันกำหนดแล้ว.
               สองบทว่า สมฺพหุลา เถรา ได้แก่ พระเถระผู้เป็นหัวหน้าแห่งพระวินัยธรทั้งหลาย.
               ก็แล เรื่องนี้กับเรื่องพระเถระสองพี่น้องก่อนเกิดขึ้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ส่วนพระเถระเหล่านี้เป็นผู้เคยเห็นพระตถาคต เพราะเหตุนั้น ในเรื่องก่อนๆ พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวแล้วตามนัยที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้นั่นแล.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ จีวรขันธกะ ถวายจีวรเป็นของสงฆ์ จบ.
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 162อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 164อ่านอรรถกถา 5 / 165อ่านอรรถกถา 5 / 261
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=4274&Z=4312
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4940
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4940
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๐  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :