บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
วินิจฉัยในโกสัมพิขันธกะ ได้ยินว่า ภิกษุ ๒ รูป คือ พระวินัยธร ๑ พระสุตตันติกะ ๑ อยู่ในอาวาสเดียวกัน. ในภิกษุ ๒ รูปนั้น วันหนึ่ง พระสุตตันติกภิกษุเข้าไปยังเว็จกุฏิ ค้างน้ำชำระที่เหลือไว้ในภาชนะแล้วออกไป. พระวินัยธรเข้าไปทีหลัง เห็นน้ำนั้น ออกไปแล้วจึงถามภิกษุนั้นว่า :- ผู้มีอายุ ท่านเหลือน้ำนี้ไว้หรือ? ขอรับ ผู้มีอายุ ท่านไม่รู้ว่าเป็นอาบัติในเพราะเหลือน้ำไว้นี้หรือ? ขอรับ ผมไม่รู้. ผู้มีอายุ มีอาบัติเพราะเหตุนี้. ถ้ามี, ผมจักแสดง. ผู้มีอายุ แต่ถ้าท่านไม่แกล้ง ทำด้วยไม่มีสติ, ก็ไม่มีอาบัติ. พระสุตตันติกะนั้นได้เป็นผู้มีความเห็นอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ. ฝ่ายพระวินัยธรได้บอกแก่เหล่านิสิตของตนว่า พระสุตตันติกะนี้ แม้ต้องอาบัติอยู่ ก็ยังไม่รู้. นิสิตเหล่านั้นพบพวกนิสิตของพระสุตตันติกะนั้นเข้า จึงกล่าวว่า อุปัชฌาย์ของพวกท่าน แม้ต้องอาบัติแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ. นิสิตเหล่านั้นจึงมาบอกแก่อุปัชฌาย์. เธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า วินัยธรนี้แต่ก่อนพูดว่า ไม่เป็นอาบัติ มาบัดนี้พูดว่า เป็นอาบัติ, เธอพูดปด. นิสิตเหล่านั้นจึงไปก่อการทะเลาะกะกันและกันอย่างนี้ว่า อุปัชฌาย์ของพวกท่านพูดปด. ลำดับนั้น พระวินัยธรได้โอกาสจึงได้ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นอาบัติแก่เธอ. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาห วินิจฉัยในคำว่า ภินฺโน ภิกฺขุสงฺโฆ ภินฺโน ภิกฺขุสงฺโฆ นี้พึงทราบดังนี้ :- ภิกษุสงฆ์ยังไม่แตกกันก่อน, เช่นอย่างว่า เมื่อฝนตก ชนทั้งหลายย่อมกล่าวว่า บัดนี้ข้าวกล้าสำเร็จแล้ว. จริงอยู่ ข้าวกล้านั้นจักสำเร็จเป็นแน่ ข้อนี้ฉันใด ; ด้วยเหตุนี้ ต่อไป ภิกษุสงฆ์จักแตกกันแน่แท้ ข้อนี้ก็ฉันนั้น. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้นแลจักแตกกันด้วยอำนาจความทะเลาะ, จักแตกกันด้วยอำนาจสังฆเภทหามิได้ ; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า แตกกันแล้ว. ส่วนคำที่ตรัสซ้ำในข้อนี้ พึงทราบด้วยอำนาจเนื้อความที่ปรากฏ. ข้อว่า เอตมตฺถํ ภาสิตฺวา อุฏฺฐายาสนา ปกฺกามิ มีคำถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว จึงเสด็จหลีกไปเสีย? ตอบว่า ก็ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสกะเหล่าภิกษุผู้ยกวัตรว่า ภิกษุนั้นอันท่านทั้งหลายยกวัตรแล้ว โดยมิใช่เหตุ หรือจะพึงตรัสกะเหล่าภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกยกวัตรว่า ท่านทั้งหลายต้องอาบัติ. ภิกษุเหล่านั้นจะพึงกล่าวว่า พระผู้มีพระ ในข้อว่า อตฺตนา วา อตฺตานํ นี้มีความว่า ภิกษุใดนั่งในฝ่ายแห่งเหล่าอธรรมวาที ผู้มีกรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรยกวัตร ถามว่า พวกท่านกล่าวอย่างไร? ได้ฟังลัทธิของพวกเธอและของอีกฝ่ายหนึ่ง ยังจิตให้เกิดขึ้นว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นอธรรมวาที, ภิกษุนอกจากนี้เป็นธรรมวาที ; ภิกษุนี้คงนั่งในท่ามกลางแห่งพวกภิกษุอธรรมวาทีนั้น ย่อมเป็นนานาสังวาสก์ของพวกเธอ ย่อมยังกรรมให้กำเริบ ; ชื่อว่ายังกรรมของอีกฝ่ายหนึ่งให้กำเริบด้วย เพราะข้อที่เธอไม่มาเข้าหัตถบาส. ภิกษุย่อมทำตนให้เป็นนานาสังวาสก์ด้วยตนเอง ด้วยประการอย่างนี้. แม้ในข้อว่า สมานสํวาสกํ นี้มีความว่า ภิกษุใดนั่งในฝ่ายอธรรมวาทีทราบว่า พวกนี้เป็นอธรรมวาที พวกนอกจากนี้เป็นธรรมวาที แล้วเข้าไปในท่ามกลางของพวกนั้น, นั่งแล้วในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถืออยู่ว่า พวกนี้เป็นธรรมวาที. ภิกษุนี้พึงทราบว่า ทำตนให้เป็นสมานสังวาสก์ด้วยตนเอง. ในคำว่า กายกมฺมํ วจีกมฺมํ นี้มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น เมื่อประหารกันด้วยกาย พึงทราบว่า ยังกายกรรมให้เป็นไป เมื่อกล่าวคำหยาบ พึงทราบว่า ยังวจีกรรมให้เป็นไป. สองบทว่า หตฺถปรามสํ กโรนฺติ มีความว่า ภิกษุเหล่านั้นกระทำการตีกันและกันด้วยมือ ด้วยอำนาจความโกรธ. บทว่า อธมฺมิยมาเน ได้แก่ ผู้ทำอยู่ซึ่งกิจทั้งหลาย อันไม่สมควรแก่ธรรม. สองบทว่า อสมฺโมทิกาย วตฺตมานาย คือ เมื่อถ้อยคำอันชวนให้บันเทิง ไม่เป็นไปอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะนี้เองเป็นบาลี. ความว่า เมื่อถ้อยคำเป็นเครื่องบันเทิงพร้อม ไม่เป็นไปอยู่. วินิจฉัยในข้อว่า เอตฺตาวตา น อญฺมญฺญํ นี้ พึงทราบดังนี้ :- พึงทำให้เป็น ๒ แถว นั่งเว้นอุปจารไว้. ส่วนในฝ่ายผู้กระทำกรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อถ้อยคำอันชวนให้บันเทิงเป็นไปอยู่ พึงนั่งในแถวมีอาสนะคั่นในระหว่าง คือพึงนั่งเว้นอาสนะอันหนึ่งๆ ไว้ในระหว่าง. ในบทว่า มา ภณฺฑนํ เป็นต้น พึงถือเอาปาฐะที่เหลือว่า อกตฺถ เห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำความบาดหมางกัน. บทว่า อธมฺมวาที ได้แก่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกยกวัตร. อันภิกษุนี้ เป็นผู้ใคร่ประโยชน์แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ได้ยินว่า ความประสงค์ของภิกษุนั้น ดังนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมไม่เชื่อฟังคำของพระศาสดา, พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่าต้องทรงลำบากตักเตือนภิกษุเหล่านั้นเลย เพราะฉะนั้น เธอจึงทูลอย่างนั้น. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสด้วยทรงเอ็นดูแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเธอจักได้ความรู้สึกแล้วงดเว้นในภายหลังบ้าง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนตฺถโต ตัดบทว่า อนตฺโถ อโต. มีคำอธิบายว่า ความเสื่อมเสียจักมีแก่เราจากบุรุษนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อนตฺถโต ได้แก่ อนตฺถโท แปลว่า บุรุษนั้นจักเป็นผู้ให้ความฉิบหาย. คำที่เหลือชัดเจนแล้ว. ก็วินิจฉัยในคาถาว่า ปุถุสทฺโท เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้ :- ชนชื่อว่าผู้มีเสียงดัง เพราะเขามีเสียงมากคือใหญ่. ชนผู้เป็นเช่นเดียวกัน ชื่อว่าชนผู้สมกัน. มีคำอธิบายว่า จริงอยู่ ชนผู้ทำความบาดหมางกันนี้ทั้งหมด เป็นผู้มีเสียงดังเพราะเปล่งเสียงรอบด้านและเป็นเช่นกัน. บาทคาถาว่า น พาโล โกจิมญฺญถ มีความว่า ในชนนิกายนั้น ใครๆ แม้คนหนึ่ง (ไม่) สำนึกตนเลยว่า เราเป็นพาล, ทุกๆ คนเป็นผู้มีความสำคัญว่า เราเป็นบัณฑิตทั้งนั้น. บาทคาถาว่า นาญฺญํ ภิยฺโย อมญฺญรุํ มีความว่า ใครๆ แม้ผู้หนึ่ง ไม่สำนึกตนเลยว่า เราเป็นพาล และยิ่งกว่านั้น เมื่อสงฆ์แตกกันอยู่ ไม่สำนึกถึงเหตุอันหนึ่งแม้คนอื่น คือเหตุอันนี้ว่า สงฆ์แตกกันเพราะเราเป็นเหตุ. บทว่า ปริมุฏฺฐา ได้แก่ ผู้หลงลืมสติ. บาทคาถาว่า วาจาโคจรภาณิโน คือ ทำอาเทศ ร อักษรให้เป็นรัสสะ. ความว่า ผู้มีวาจาเป็นโคจร หาใช่ผู้มีสติปัฏฐานเป็นต้น เป็นโคจรไม่. บทว่า ภาณิโน ได้แก่ ผู้มักกล่าวถ้อยคำ. บาทคาถาว่า ยาวจฺฉนฺติ มุขายามํ มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น ตนปรารถนาจะต่อปากกันเพียงใด ย่อมเป็นผู้มักกล่าวยืดไปเพียงนั้น แม้รูปหนึ่งก็ไม่ทำความสยิ้วหน้าด้วยความเคารพต่อสงฆ์. สองบทว่า เยน นีตา มีความว่า อันความทะเลาะใดนำไปสู่ความเป็นผู้ไม่มีละอายนี้. สองบทว่า น ตํ วิทู มีความว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ซึ่งความทะเลาะนั้นว่า ความทะเลาะนี้มีโทษอย่างนี้. บาทคาถาว่า เย จ ตํ อุปนยฺหนฺติ มีความว่า ชนเหล่าใดเข้าไปผูกอาการที่ว่า ผู้นี้ได้ด่าเรา เป็นต้นนั้นไว้. บทว่า สนนฺตโน คือ เป็นของเก่า. บทว่า ปเร มีความว่า เว้นพวกบัณฑิตเสีย ชนเหล่าอื่นจากบัณฑิตนั้น คือผู้ บาทคาถาว่า เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ มีความว่า ฝ่ายชนเหล่าใดเป็นบัณฑิตในท่ามกลางสงฆ์นั้น ทราบชัดว่า เราทั้งหลายไปสู่ที่ใกล้แห่งความตาย. บาทคาถาว่า ตโต สมฺมนฺติ เมธคา มีความว่า จริงอยู่ ชนเหล่านั้น เมื่อทราบอย่างนั้น ยังโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น ย่อมปฏิบัติเพื่อความเข้าไปสงบแห่งความหมายมั่น คือความทะเลาะเสีย. คาถาว่า อฏฺฐิจฺฉิทา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเจ้าพรหมทัตและทีฆาวุกุมาร. ความว่า ความพร้อมเพรียง แม้แห่งชนเหล่านั้น ยังมีได้, เหตุไร ความพร้อมเพรียงของท่านทั้งหลายจะมีไม่ได้เล่า? กระดูกของมารดาบิดาอันพวกท่านเหล่าใด ก็หาได้ถูกตัดเสียไม่เลย, ชีวิตก็หาได้ถูกผลาญเสียไม่, โค ม้าและทรัพย์ทั้งหลาย คาถาว่า สเจ ลเภถ เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงคุณแห่งสหาย บาทคาถาว่า อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ มีความว่า พึงย่ำยีอันตรายที่ปรากฏ และอันตรายที่ซ่อนเร้นเสีย มีใจชื่นชมกับด้วยสหายนั้น มีสติเที่ยวไป. หลายบทว่า ราชาวรฏฺฐํ วิชิตํ มีความว่า พระราชาทรงพระนามว่า มหาชนก และพระมหาราชาทรงพระนามว่า อรินทมะทรงละแว่นแคว้น คือดินแดนเป็นที่ยินดีของพระองค์เสีย เที่ยวไปตามลำพัง ฉันใด, พึงเที่ยวไป ฉันนั้น. สองบทว่า มาตงฺครญฺเญว นาโค มีความว่า เหมือนช้างใหญ่ละโขลง เที่ยวไปในป่า. สัตว์มีงวงเรียกช้าง. คำว่า นาค นี้ เป็นชื่อแห่งผู้เป็นใหญ่. มีคำอธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ช้างใหญ่ผู้เลี้ยงมารดา เที่ยวไปในป่าแต่ลำพัง ทั้งไม่ได้ทำบาปทั้งหลาย ฉันใด ; อนึ่ง ช้างปาริเลยยกะเที่ยวไปในป่าตามลำพัง ทั้งไม่ได้ทำบาปทั้งหลาย ฉันใด : บุคคลพึงเที่ยวไปตามลำพัง ทั้งไม่พึงทำบาปทั้งหลายก็ฉันนั้น. หลายบทว่า ปาริเลยฺยเก วิหรติ รกฺขิตวนสณฺเฑ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไปอาศัยบ้านชื่อปาริเลยยกะ เสด็จอยู่ในรักขิตไพรสณฑ์. บทว่า หตฺถินาโค ได้แก่ ช้างใหญ่. บทว่า หตฺถิกลเภหิ ได้แก่ ลูกช้าง. บทว่า หตฺถิจฺฉาเปหิ ได้แก่ ลูกช้างอ่อน ซึ่งยังดื่มนม. บทว่า ฉินฺนคฺคานิ มีความว่า เคี้ยวกินหญ้า มียอดซึ่งช้างเหล่านั้นไปข้างหน้าๆ ตะพ่วนเสีย คือ คล้ายตอซึ่งเหลือจากที่เคี้ยวกินแล้ว. ข้อว่า โอภคฺโคภคฺคํ มีความว่า อันช้างใหญ่นั้นหักให้ตกลงจากที่สูงแล้ว. สองบทว่า อสฺส สาขาภงคํ ความว่า ช้างเหล่านั้นย่อมเคี้ยวกินกิ่งไม้ที่พึงหัก ซึ่งเป็นของช้างใหญ่นั่น. บทว่า อาวิลานิ มีความว่า ช้างใหญ่นั้นย่อมดื่มน้ำเจือตม ซึ่งช้างเหล่านั้น เมื่อลงดื่มก่อนลุยเสียแล้ว. บทว่า โอคาหา คือจากท่า. สองบทว่า นาคสฺส นาเคน คือแห่งสัตว์ใหญ่ คือช้าง ด้วยผู้เป็นใหญ่ คือพระพุทธเจ้า. บทว่า อีสาทนฺตสฺส คือ ผู้มีงาเช่นกับงอนรถ. บาทคาถาว่า ยเทโก รมตี วเน มีความว่า สัตว์ใหญ่ คือช้างแม้นี้ เป็นผู้เดียว คือเงียบสงัด รื่นรมย์ในป่า เหมือนผู้ประเสริฐ คือพระพุทธเจ้า, เพราะฉะนั้น จิตของสัตว์ใหญ่นั้น ชื่อว่าเสมอด้วย ท่านผู้ประเสริฐ คือเป็นเช่นเดียวกัน ด้วยความยินดีในความเป็นผู้เดียว. พึงทราบความในคำว่า ยถาภิรนฺตํ วิหริตฺวา นี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่บ้านปาริเลยยกะนั้นตลอดไตรมาส. คำที่พูดกันได้แพร่หลายไปในที่ทั้งปวงว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุชาวเมืองโกสัมพีเบียดเบียนด้วยเหตุเท่านี้ จึงเสด็จเข้าป่าอยู่ตลอดไตรมาส. หลายบทว่า อถ โข โกสมฺพิกา อุปาสกา มีความว่า ครั้งนั้นแล พวกอุบาสกชาวเมืองโกสัมพี ได้ฟังถ้อยคำที่เจรจากันนี้. ข้าพเจ้าจักพรรณนาเภทกรวัตถุ ๑๘ มีคำว่า อธมฺมํ ธมฺโม เป็นต้น ในสังฆเภทขันธกะ. บทว่า อาทายํ ได้แก่ ฝั่งแห่งลัทธิ. บทว่า วิวิตฺตํ ได้แก่ ว่าง. หลายบทว่า ตํ อุกฺขิตฺตกํ ภิกฺขุํ โอสาเรตฺวา มีความว่า พาภิกษุผู้ถูกยกวัตรนั้นไปนอกสีมา ให้แสดงอาบัติแล้ว เรียกเข้าหมู่ด้วยกรรมวาจา. สองบทว่า ตาวเทว อุโปสโถ มีความว่า พึงทำสามัคคีอุโบสถตามนัยที่กล่าวแล้วในอุโปสถขันธกะในวันนั้นทีเดียว. หลายบทว่า อมูลา มูลํ คนฺตฺวา มีความว่า ไม่ออกจากมูลไปหามูล. อธิบายว่า ไม่วินิจฉัยวัตถุนั้น. ข้อว่า อยํ วุจฺจติ อุปาลี สงฺฆสามคฺคี อตฺถาเปตา พฺยญฺชนุเปตา มีความว่า สังฆสามัคคีนี้ ปราศจากอรรถ แต่อาศัยเพียงพยัญชนะว่า สังฆสามัคคี นี้. อรรถแห่งคาถา บทว่า มนฺตนาสุ ได้แก่ เมื่อการปรึกษาวินัย. สองบทว่า อตฺเถสุ ชาเตสุ ได้แก่ เมื่อเนื้อความแห่งวินัยเกิดขึ้น. บทว่า วินิจฺฉเยสุ ได้แก่ ครั้นวินิจฉัยอรรถเหล่านั้นแล. บทว่า มหตฺถิโก ได้แก่ ผู้มีอุปการะมาก. บทว่า ปคฺคหารโห ได้แก่ สมควรเพื่อยกย่อง. บาทคาถาว่า อนานุวชฺโช ปฐเมน สีลโต มีความว่า ในชั้นต้นทีเดียว ใครๆ ก็ติเตียนไม่ได้โดยศีลก่อน. บทว่า อเวกฺขิตาจาโร คือ ผู้มีอาจาระอันตนพิจารณาแล้ว ได้แก่ผู้มีอาจาระอันตนคอยตรวจตราแล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า มีปกติ ทำความรู้สึกตัว ในเมื่อมองดู ในเมื่อเหลียวแล. ส่วนในอรรถกถาทั้งหลายแก้ว่า ผู้มีอาจาระไม่ปกปิด คือผู้ระวังตัวดี. บทว่า วิสยฺห ได้แก่ องอาจ. สองบทว่า อนุยฺยุตฺตํ ภณํ คือ เมื่อพูด ไม่นอกเหตุอันควรคือไม่เข้ากัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า จริงอยู่ บุคคลนั้น ย่อมพูดไม่นอกเหตุอันควร คือไม่พูดปราศจากเหตุด้วยความริษยาหรือด้วยอำนาจความลำเอียง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ยังประโยชน์ให้เสีย. ฝ่ายบุคคลผู้พูดด้วยความริษยาหรือด้วยอำนาจความลำเอียง ชื่อว่าย่อมยังประโยชน์ให้เสีย, บุคคลนั้นไปในบริษัทย่อมประหม่าและสะทกสะท้าน, บุคคลใดไม่เป็นผู้เช่นนี้ บุคคลนี้สมควรเพื่อยกย่อง. คาถาว่า ตเถวปญฺหํ พึงทราบให้ชัดอีกสักหน่อย. เนื้อความแห่งคาถานั้น บุคคลผู้พูดไม่นอกเหตุอันสมควร ย่อมไม่ยังประโยชน์ให้เสียฉันใด เขาเป็นผู้ถูกถามปัญหา ในท่ามกลางบริษัท ย่อมไม่เป็นผู้เก้อ ก็ฉันนั้นนั่นแล. จริงอยู่ ผู้ใดไม่รู้อรรถ ผู้นั้นย่อมนิ่งอั้น, ผู้ใดไม่อาจเพื่อตอบ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้เก้อ. ฝ่ายผู้ใดรู้อรรถด้วย อาจเพื่อตอบด้วย ผู้นั้นย่อมไม่นิ่งอั้น ไม่เป็นผู้เก้อ. บทว่า กาลาคตํ มีความว่า เหมาะในกาลที่สมควรกล่าว. บทว่า พฺยากรณารหํ ความว่า ชื่อว่าเป็นพยากรณ์ที่สมควร เพราะเข้ากับใจความแห่งปัญหา. บทว่า วโจ ได้แก่ เมื่อพูด. อธิบายว่า เมื่อกล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้น. บทว่า รญฺเชติ ได้แก่ ย่อมให้พอใจ. บทว่า วิญฺญูปริสํ ความว่า ยังบริษัทแห่งวิญญูชนทั้งหลาย. สองบทว่า อาเจรกมฺหิ จ สเก มีความว่า เป็นผู้แกล้วกล้า ในวาทะแห่งอาจารย์ของตน. สองบทว่า อลํ ปเมตุํ มีความว่า เป็นผู้สามารถเพื่อพิจารณา คือเพื่อชั่งดูเหตุนั้นๆ ด้วยปัญญา. สองบทว่า ปคุโณ มีความว่า ผู้ได้ทำความสั่งสมไว้ คือ ได้ความซ่องเสพจนคุ้น. บทว่า กเถตเว ได้แก่ ในคำที่จะพึงกล่าว. บทว่า วิรทฺธิโกวิโท ได้แก่ ผู้ฉลาด คือรู้ทัน ในเหตุอันพิรุธ. คาถาว่า ปจฺจตฺถิกา เยน วชนฺติ นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเพื่อแสดงคำที่จะพึงกล่าวซึ่งเป็นที่ชำนาญ. จริงอยู่ ในคาถานี้ มีเนื้อความดังนี้ :- ด้วยถ้อยคำเช่นใด อันตนกล่าวแล้ว ข้าศึกทั้งหลาย ย่อมถึงความถูกปราบ, และมหาชนย่อมถึงความยินยอม, อธิบายว่า ถึงความตกลงตามคำประกาศ. จริงอยู่บุคคลนี้ เมื่อกล่าว ชื่อว่าย่อมไม่ลบล้างลัทธิเป็นที่เชื่อถือของตน คือวาทะแห่งอาจารย์ตน. อธิกรณ์เกิดขึ้น เพราะเรื่องใด, เมื่อแก้ปัญหา สมควรแก่เรื่องนั้น คือไม่ทำความขัดขวาง แก่เรื่องนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ชำนาญในคำที่จะพึงกล่าวเช่นนั้น. สองบทว่า ทูเตยฺยกมฺเมสุ อลํ มีความว่า ชื่อว่าผู้สามารถในกรรม เนื่องด้วยทูตของสงฆ์ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยองค์แห่งทูต ๘ ประการ. ชื่อว่าผู้ยอมรับ เพราะอรรถว่า รับด้วยดี คือโดยง่าย. มีคำอธิบายดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายย่อมรับด้วยดี ซึ่งสักการะอันเขาพึงนำมาคำนับคือบิณฑาหารอันชื่อว่า ขอคำนับ ชื่อฉันใด, บุคคลนี้ ย่อมเป็นผู้ยอมรับในกิจทั้งหลายของสงฆ์ ด้วยน้ำใจอันมีปีติและโสมนัสเป็นแท้ ข้อนี้ก็ฉันนั้น, ความว่า เป็นผู้รับช่วยกิจนั้น ในบรรดากิจของสงฆ์. สองบทว่า กรํ วโจ มีความว่า เมื่อทำหน้าที่เจรจา. สองบทว่า น เตน มญฺญติ มีความว่า ย่อมไม่ประพฤติถือตัวและเย่อหยิ่งว่า เราทำ. เราช่วยภาระสงฆ์ เพราะการทำหน้าที่เจรจาอันนั้น. บทว่า อาปชฺชติ ยาวตเกสุ มีความว่า เมื่อจะต้องอาบัติย่อมต้องในวัตถุมีประมาณเท่าใด. สามบทว่า โหติ ยถา จวุฏฺฐิติ๑- มีความว่า และความออกอาบัตินั้น ย่อมมีด้วยประการใด. สองบทว่า เอเต วิภงฺคา มีความว่า ย่อมต้องในวัตถุเหล่าใดและความออกย่อม บาทคาถาว่า อาปตฺติวุฏฺฐานปทสฺส โกวิโท คือ ผู้ฉลาดในเหตุแห่งการออกอาบัติ. สองบทว่า ยานิ จารจรํ มีความว่า อนึ่ง เมื่อประพฤติซึ่งกรรมมีความก่อความบาดหมางเป็นต้น เหล่าใด จึงถึงความถูกขับออกด้วยอำนาจตัชชนียกรรมเป็นอาทิ. บาทคาถาว่า โอสารณํ ตํ วุสิตสฺส ชนฺตุโน มีความว่า เมื่อบุคคลผู้จบพรตนั้นแล้ว, การเรียกเข้าหมู่อันใด สงฆ์พึงทำให้, ย่อมรู้การเรียกเข้าหมู่แม้นั้น. คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้นฉะนี้แล. อรรถกถาโกสัมพิขันธกะ จบ. อรรถกถามหาวรรค ในอรรถกถา ชื่อสมันตปาสาทิกา จบบริบูรณ์ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง วรรณนานี้ไม่มีอุปัทวะ จบบริบูรณ์แล้วฉันใด ขอปวงชนจงถึงความสงบ หาอุปัทวะมิได้ ฉันนั้นแล. ____________________________ ๑- อิ. วุฏฺฐาติ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ โกสัมพีขันธกะ เรื่องภิกษุรูปหนึ่งเป็นต้น จบ. |