บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
สองบทว่า ทุปฺปริหารํ สตฺถํ มีความว่า ในที่แคบ ระวังมีดยาก. สองบทว่า สตฺถกมฺมํ วา วตฺถิกมฺมํ วา มีความว่า ในโอกาสตามที่กำหนดแล้วไม่ควรทำการตัด หรือการผ่า หรือการเจาะ หรือการกรีด ด้วยของมีคมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นมีดก็ตาม เข็มก็ตาม หนามก็ตาม หอกก็ตาม สะเก็ดหินก็ตาม เล็บก็ตาม เพราะกรรมมีการตัดเป็นต้นนั้นทั้งหมด ย่อมเป็นสัตถกรรมแท้. อนึ่ง ไม่ควรทำแม้ซึ่งการบีบหัวไส้ด้วยของอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นหนังก็ตาม ผ้าก็ตาม เพราะว่า การบีบนั้นทั้งหมด เป็นวัตถิกรรมเหมือนกัน. ก็ในพระบาลีนี้ คำว่า สองนิ้วโดยรอบแห่งที่แคบ นี้ตรัสหมายเอาเฉพาะสัตถกรรม. ส่วนวัตถิกรรมทรงห้ามแต่ในที่แคบเท่านั้น. แต่จะหยอดน้ำด่างก็ดี จะรัดด้วยเชือกชนิดใดชนิดหนึ่งก็ดีที่หัวไส้นั้น ควรอยู่. ถ้าหัวไส้นั้นขาดออกด้วยน้ำด่างหรือเชือกนั้น เป็นอันขาดด้วยดี. ถึงโรคอัณฑะโตก็ไม่ควรทำสัตถกรรม เพราะเหตุนั้น ไม่ควรทำสัตถกรรมด้วยคิดว่า เราจะผ่าอัณฑะควักเอาเม็ดออกทำให้หายโต. แต่ในการย่างด้วยไฟและทายา ไม่มีการห้าม. ในทวารหนัก กรวยใบไม้และเกลียวชุดที่ทายาแล้วก็ดี หลอดไม้ไผ่ก็ดี ซึ่งสำหรับหยอดน้ำด่างและกรอกน้ำมัน ย่อมควร. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ เภสัชชขันธกะ พระพุทธบัญญัติห้ามทำสัตถกรรมเป็นต้น จบ. |