ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 77อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 78อ่านอรรถกถา 5 / 82อ่านอรรถกถา 5 / 261
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ เภสัชชขันธกะ
เรื่องสีหเสนาบดีเป็นต้น

               ว่าด้วยอุททิสสมังสะ               
               ข้อว่า ธมฺมสฺส จ อนุธมฺมํ พฺยากโรนฺติ มีความว่า ชนเหล่านั้นย่อมกล่าวเหตุสมควรแก่เหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแลหรือ?
               สองบทว่า สหธมฺมิโก วาทานุวาโท มีความว่า ก็วาทะของพระองค์เป็นเหตุซึ่งชนเหล่าอื่นกล่าวแล้ว บางอย่างคือแม้มีประมาณน้อย ไม่มาถึงเหตุที่วิญญูชนจะพึงติเตียนหรือ? มีคำอธิบายว่า วาทะเป็นประธานของพระองค์ ที่เป็นเหตุน่าติเตียนไม่มี แม้โดยเหตุทั้งปวงหรือ?
               บทว่า อนพฺภกฺขาตุกามา มีความว่า ข้าพเจ้าไม่มีประสงค์จะกล่าวข่ม.
               บทว่า อนุวิจฺจการํ มีคำอธิบายว่า ท่านจงทำการที่พึงรู้ตาม คือคิดพิจารณาแล้วจึงทำ.
               บทว่า ญาตมนุสฺสานํ ได้แก่ (มนุษย์) ผู้มีชื่อเสียงในโลก.
               สองบทว่า สาธุ โหติ มีความว่า จะเป็นความดี.
               สองบทว่า ปฏากํ ปริหเรยฺยุํ มีความว่า อัญญเดียรถีย์ทั้งหลายพึงยกธงแผ่นผ้า เที่ยวเป้าร้องในเมือง.
               ถามว่า เพราะเหตุไร?
               ตอบว่า เพราะพวกเขาคิดว่า ความเป็นใหญ่จักมีแก่พวกเราด้วยอุบายอย่างนี้.
               บทว่า โอปานภูตํ มีความว่า (สกุลของท่าน) แต่งไว้แล้ว คือเตรียมไว้แล้วเป็นดุจบ่อน้ำ.
               บทว่า กุลํ ได้แก่ นิเวศน์.
               สองบทว่า ทาตพฺพํ มญฺเญยฺยาสิ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตักเตือนว่า ท่านอย่าตัดไทยธรรมของนิครนถ์เหล่านี้เสียเลย แต่ท่านพึงสำคัญซึ่งไทยธรรม อันตนควรให้แก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้มาถึงเข้าแล้ว.
               บทว่า โอกาโร ได้แก่ ความกระทำต่ำ คือความเป็นของทราม.
               บทว่า สามุกฺกํสิกา ได้แก่ (ธรรมเทศนา) ที่พระองค์เองทรงยกขึ้น.
               อธิบายว่า ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกเหล่าอื่น.
               บทว่า อุทฺทิสฺสกตํ ได้แก่ มังสะที่เขาทำเฉพาะตน.
               บทว่า ปฏิจฺจกมฺมํ มีความว่า มังสะที่เขาเจาะจงตนกระทำ. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ปฏิจจกรรม นี้เป็นชื่อของนิมิตกรรม. แม้มังสะ ท่านเรียกว่า ปฏิจจกรรม นี้เป็นชื่อของนิมิตกรรม. แม้มังสะ ท่านเรียกว่า ปฏิจจกรรม ก็เพราะเหตุว่า ในมังสะนี้มีปฏิจจกรรมนั้น.
               จริงอยู่ ผู้ใดบริโภคมังสะเห็นปานนั้น ผู้นั้นย่อมเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น.
               อธิบายว่า กรรม คือการฆ่าสัตว์ย่อมมีแม้แก่ผู้นั้น เหมือนมีแก่ผู้ฆ่าเอง.
               บทว่า น ชีรนฺติ มีความว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เมื่อกล่าวตู่อยู่ชื่อย่อมไม่สร่างไป. อธิบายว่า ย่อมไม่มีถึงที่สุดแห่งการกล่าวตู่. กถาแสดงมังสะมีความบริสุทธิ์โดยส่วนสาม ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งสังฆเภทสิกขาบท.๑-
____________________________
๑- สมนฺต. ทุติย. ๑๑๕.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ เภสัชชขันธกะ เรื่องสีหเสนาบดีเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 77อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 78อ่านอรรถกถา 5 / 82อ่านอรรถกถา 5 / 261
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=1924&Z=2094
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4045
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4045
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๕  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :