บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
คำว่า อาวาสปรมฺปรญฺจ ภิกฺขเว สํสถ มีความว่า และท่านทั้งหลายจงบอกในอาวาสทั้งปวง. ในบทว่า ภณฺฑนการโก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า สงฆ์พึงยกอาบัติที่ต้อง เพราะปัจจัยมีความบาดหมางเป็นต้น กระทำกรรมเพราะไม่เห็นอาบัตินั้นนั่นแล. ติกะทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วเหมือนกัน. แต่ความประพฤติชอบในเรื่องพระฉันนะนี้ มีวัตร ๔๓ ข้อ. บรรดาวัตรเหล่านั้น ข้อว่า น อนุทฺธํเสตพฺโพ ได้แก่ ไม่พึงโจทภิกษุอื่น. ข้อว่า น ภิกฺขุ ภิกฺขูหิ ได้แก่ ไม่พึงยุภิกษุอื่นกับภิกษุอื่นให้แตกกัน. ข้อว่า น คิหิธโช ได้แก่ ไม่พึงทรงผ้าขาว ผ้าไม่ได้ตัดชายและผ้ามี ข้อว่า น ติตฺถิยธโช ได้แก่ ไม่พึงทรงผ้าคากรองเป็นต้น. ข้อว่า น อาสาเทตพฺโพ ได้แก่ ไม่พึงรุกรานภิกษุอื่น. สองบทว่า อนฺโต วา พหิ วา ได้แก่ จากข้างในก็ดี จากข้างนอกก็ดี แห่งกุฏีที่อยู่. สามบทมีบทว่า น ติตฺถิยา เป็นต้น ตื้นทั้งนั้น. ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทที่เหลือทั้งหมด ในปาริวาสิกักขันธกะ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล. อุกเขปนียกรรมในเพราะไม่ทำคืนอาบัติ คล้ายกับอุกเขปนียกรรม ในเพราะไม่เห็นอาบัตินี้แล. เรื่องอริฏฐภิกษุ ได้กล่าวแล้วในวรรณนาแห่งขุททกกัณฑ์.๑- วินิจฉัยในบทว่า ภณฺฑนการโก เป็นต้น พึงทราบดังนี้ :- ภิกษุอาศัยทิฏฐิใด จึงทำความบาดหมางเป็นต้น, พึงทำกรรม ในเพราะไม่สละทิฏฐินั้นนั่นแล. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล. แม้ความประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิลามกนี้ ก็มีวัตร ๔๓ ข้อเหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้. ____________________________ ๑- สมนต. ทุติย. ๔๖๓. กัมมักขันธกวรรณนา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๑ กัมมขันธกะ อุกเขปนียกรรมที่ ๕ เรื่องพระฉันนะเป็นต้น จบ. |