บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
มานัต ๔ อย่าง คำว่า ฉารตฺตํ มานตฺตํ นี้ มีวินิจฉัยว่า มานัต ๔ อย่าง คืออัปปฏิจฉันนมานัต ๑ ปฏิจฉันนมานัต ๑ ปักขมานัต ๑ สโมธานมานัต ๑. ในมานัต ๔ อย่างนั้น ที่ชื่ออัปปฏิจฉันนมานัต ได้แก่ มานัตที่สงฆ์ให้ภิกษุผู้ควรแก่มานัต โดยความเป็นผู้ต้องอาบัติล้วนเท่านั้นไม่ต้องให้ปริวาส เพื่ออาบัติที่ไม่ได้ปิด. ที่ชื่อปฏิจฉันนมานัต ได้แก่ มานัตที่สงฆ์ให้แก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสเสร็จแล้ว เพื่ออาบัติที่ปิดไว้. ที่ชื่อปักขมานัต ได้แก่ มานัตกึ่งเดือนที่สงฆ์ให้แก่นางภิกษุณี เพื่ออาบัติที่ปิดไว้หรือมิได้ปิด. ที่ชื่อสโมธานมานัต ได้แก่ มานัตที่สงฆ์รวม คือประสมกันให้. อัปปฏิจฉันนมานัต ถ้าต้องอาบัติ ๒ ตัว หรือ ๓ ตัว หรือยิ่งกว่านั้น คำว่า เอกํ อาปตฺตึ อันท่าน วิธีให้สำหรับอาบัติเหล่านี้ ที่สงฆ์จะพึงรวมอาบัติแม้มีวัตถุต่างๆ กันให้ ข้าพ เมื่อมานัต อันสงฆ์ทำกรรมวาจาด้วยอำนาจแห่งอาบัติให้แล้วอย่างนั้น มานัตตจาริกภิกษุพึงสมาทานวัตร ตามนัยที่กล่าวแล้วว่า มานตฺตํ สมาทิยามิ, วตฺตํ สมาทิยามิ, ดังนี้ นั่นแล ที่สีมาแห่งโรงทีเดียว ในที่สุดแห่งกรรมวาจาว่า เอวเมตํ ธารยามิ. ครั้นสมาทานแล้ว พึงบอกแก่สงฆ์ในสีมาแห่งโรงนั้นทีเดียวและเมื่อจะบอก พึงบอกอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้, ข้าพเจ้านั้นขอมานัต ๖ ราตรีต่อสงฆ์ เพื่ออาบัติตัวเดียว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ อันไม่ปิดไว้ ; สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวเดียว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ อันไม่ได้ปิดไว้แก่ข้าพเจ้านั้น ; ข้าพเจ้านั้นประพฤติมานัตอยู่, ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าบอกให้รู้ ขอสงฆ์จงทรงข้าพเจ้าไว้ว่า บอกให้รู้ เทอญ. ก็แลจะถือเอาใจความนี้ บอกด้วยวาจาอย่างใดอย่างหนึ่ง สมควรเหมือนกัน. ครั้นบอกแล้ว ถ้ามีประสงค์จะเก็บ พึงเก็บในท่ามกลางสงฆ์ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. เมื่อภิกษุทั้งหลายออกจากสีมาแห่งโรงไปเสีย จะเก็บในสำนักภิกษุรูปเดียว ก็ควร. ภิกษุผู้ออกจากสีมาแห่งโรงไปแล้ว จึงกลับได้สติ พึงเก็บในสำนักภิกษุผู้ไปด้วยกัน. ถ้าภิกษุแม้นั้นก็หลีกไปเสีย ยังไม่ได้บอกแก่ภิกษุอื่น รูปใด ที่ในโรง, พึงบอกแก่ภิกษุนั้นให้รู้แล้วเก็บเถิด และเมื่อบอก พึงกล่าวว่า เวทิยตีติ มํ อายสฺมา ธาเรตุ, ขอผู้มีอายุจงทรงข้าพเจ้าไว้ว่า บอกให้รู้ เทอญ ดังนี้ ในอวสาน. เมื่อจะบอกแก่ภิกษุ ๒ รูป พึงกล่าวว่า อายสฺมนฺตา ธาเรนฺตุ. เมื่อจะบอกแก่ภิกษุ ๓ รูป พึงกล่าวว่า อายสฺมนฺโต ธาเรนฺตุ. จำเดิมแต่เวลาที่เก็บแล้วไป คงตั้งอยู่ในฐานผู้ปกตัตต์. ถ้าวัดมีภิกษุน้อย ภิกษุผู้เป็นสภาคกันอยู่ ; ไม่ต้องเก็บวัตรนับราตรี ณ ภายในวัดนั่นแล. ถ้าไม่อาจให้หมดจด. พึงเก็บวัตรตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล พร้อมด้วยภิกษุ ๔ รูปหรือ ๕ รูป แวะออกจากทางใหญ่นั่งในที่กำบังด้วยพุ่มไม้หรือด้วยรั้ว ให้เลย ๒ เลฑฑุบาตจากเครื่องล้อมแห่งวัดที่ล้อม จากที่ควรแก่เครื่องล้อมแห่งวัดที่ไม่ได้ล้อม ในเวลาใกล้รุ่งทีเดียว. พึงสมาทานวัตรแล้วบอกตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล เฉพาะในภายในอรุณ. ถ้าภิกษุอื่นบางรูปมาที่นั้น ด้วยกิจจำเป็นเฉพาะบางอย่าง ; ถ้ามานัตตจาริกภิกษุนั่น เห็นภิกษุนั้น หรือได้ยินเสียงของเธอ. ควรบอก เมื่อไม่บอก เป็นรัตติเฉท ทั้งเป็นวัตตเภท. ถ้าภิกษุนั้นล้ำอุปจารเข้าไป ๓๒ ศอกแล้วไปเสียแต่เมื่อมานัตตจาริก ภิกษุยังไม่ทันรู้, มีแต่รัตติเฉทเท่านั้น ส่วนวัตตเภทไม่มี. ก็แล จำเดิมแต่กาลที่ได้บอกแล้วไป มีภิกษุทั้งหลายเว้นภิกษุไว้รูปหนึ่ง ที่เหลือจะไปเสียในเมื่อมีกิจจำเป็นก็ควร ครั้นอรุณขึ้นแล้ว พึงเก็บวัตรในสำนักภิกษุนั้น. ถ้าภิกษุแม้นั้นไปเสียก่อนอรุณด้วยกรรมบางอย่าง มานัตตจาริกภิกษุเห็นภิกษุใดก่อน จะเป็นภิกษุอื่นซึ่งออกจากวัดไปก็ตาม เป็นอาคันตุกะก็ตาม พึงบอกแล้วเก็บวัตรในสำนักภิกษุนั้น. ก็มานัตตจาริกภิกษุนี้ บอกแก่คณะและคอยกำหนดความที่มีภิกษุหลายรูปอยู่ ด้วยเหตุนั้น โทษเพราะประพฤติในคณะพร่องหรือโทษ เพราะอยู่ปราศ จึงไม่มีแก่เธอ. พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า ถ้าไม่เห็นใครๆ พึงไปวัดแล้วเก็บในสำนักภิกษุรูปหนึ่ง ในบรรดาภิกษุที่ไปกับตน. ส่วนพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า เห็นภิกษุใดก่อน, พึงบอกแล้ว เก็บในสำนักภิกษุนั้น, นี้เป็นบริหารของภิกษุผู้เก็บวัตรแล้ว. ภิกษุนั้นครั้นประพฤติมานัต ๖ ราตรีไม่ขาดอย่างนั้นแล้ว พึงขออัพภานในที่ซึ่งมีภิกษุสงฆ์เป็นคณะ ๒๐ รูป. และภิกษุทั้งหลายผู้จะอัพภาน พึงทำเธอให้เป็นผู้ควรแก่อัพภานก่อน. จริงอยู่ ภิกษุนี้ชื่อว่าตั้งอยู่ในฐานผู้ปกตัตต์ เพราะเธอเก็บวัตรเสียแล้ว. และจะทำอัพภานแก่ปกตัตต์ ย่อมไม่ควร. เพราะฉะนั้น พึงให้เธอสมาทานวัตร. เธอย่อมเป็นผู้ควรแก่อัพภาน ในเมื่อสมาทานวัตรแล้ว. แม้เธอพึงสมาทานวัตรแล้วบอก แล้วขออัพภาน. กิจที่จะต้องสมาทานวัตรอีก ย่อมไม่มีแก่ผู้มิได้เก็บวัตร. จริงอยู่ ภิกษุผู้มิได้เก็บวัตรนั้น เป็นผู้ควรแก่อัพภาน โดยล่วง ๖ ราตรีเท่านั้น, เพราะเหตุนั้น เธออันสงฆ์พึงอัพภาน. อัพภานวิธีในอัปปฏิจฉันนาบัตินั้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระบาลีว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว อพฺเภตพฺโพ ดังนี้ นั่นแล แต่อัพภานวิธีนี้ พระองค์ตรัสด้วยอำนาจอาบัติตัวเดียว. ก็ถ้าเป็นอาบัติ ๒-๓ ตัว หรือมากมาย มีวัตถุเดียวหรือมีวัตถุต่างๆ กัน, พึงทำกรรมวาจาด้วยอำนาจอาบัติเหล่านั้น อัปปฏิจฉันนมานัต สงฆ์พึงให้ด้วยประการอย่างนี้. ปริวาส ปริวาสและมานัต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยอาการเป็นอเนกในพระบาลีโดยนัยเป็นต้นว่า ถ้ากระนั้น สงฆ์จงให้ปริวาสวันหนึ่งเพื่ออาบัติ ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิอันปิดไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายีเถิด. วินิจฉัยที่ท่านได้กล่าวไว้ในอาคตสถานของปริวาสและมานัตนั้นๆ ถึงความพิสดารเกินไปเหมือนในบาลี ทั้งเป็นวินิจฉัยที่ใครๆ ไม่อาจกำหนดได้โดยง่าย, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจักประมวลปริวาสและมานัตนั้นแสดงในอธิการนี้ทีเดียว. ก็แล ขึ้นชื่อว่าปริวาสนี้ ที่ประสงค์ในพระบาลีนี้ มี ๓ อย่าง คือ ปฏิจฉัน ใน ๓ อย่างนั้น ปฏิจฉันนปริวาส ควรให้เพื่ออาบัติตามที่ปิดไว้ก่อน. จริงอยู่ อาบัติของภิกษุบางรูปปิดไว้วันเดียว เหมือนอาบัตินี้ของพระอุทายีเถระ, ของบางรูปปิด ๒ วันเป็นต้น เหมือนอาบัติของพระอุทายีเถระนั่นเอง ซึ่งมาแล้วข้างหน้า, ของบางรูปมีตัวเดียวเหมือนอาบัตินี้, ของบางรูปมี ๒-๓ ตัวหรือยิ่งกว่านั้น เหมือนที่มาแล้วข้างหน้า. เพราะเหตุนั้น เมื่อสงฆ์จะให้ปฏิจฉันนปริวาส ควรทราบความที่อาบัติเป็นอันปิดเป็นทีแรกก่อน. อาการปิดอาบัติ หัวข้อในการปิดอาบัตินั้นดังนี้ :- เป็นอาบัติและรู้ว่าเป็นอาบัติ, เป็นผู้ปกตัตต์และรู้ว่าเป็นผู้ปกตัตต์, เป็นผู้ไม่มีอันตรายและรู้ว่าเป็นผู้ไม่มีอันตราย, เป็นผู้อาจอยู่และรู้ว่าเป็นผู้อาจอยู่, เป็นผู้ใคร่จะปิดและปิดไว้. ในหัวข้อเหล่านี้ ๒ ข้อว่า เป็นอาบัติและรู้ว่าเป็นอาบัติ. มีอธิบายว่า ภิกษุต้องอาบัติใด จัดว่าเป็นอาบัตินั้นแท้. และแม้เธอก็มีความสำคัญในอาบัตินั้นว่า เป็นอาบัติเหมือนกัน. เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้และปิดไว้ เป็นอันปิด, แต่ถ้าภิกษุนี้ มีความสำคัญในอาบัตินั้นว่า เป็นอนาบัติ ไม่เป็นอันปิด. ส่วนอนาบัติ ซึ่งภิกษุปิดอยู่ด้วยความสำคัญว่า เป็นอาบัติก็ดี, ด้วยความสำคัญว่า เป็นอนาบัติก็ดี ไม่เป็นอันปิดเลย. ภิกษุปิดลหุกาบัติ ด้วยสำคัญว่า เป็นครุกาบัติก็ดี ปิดครุกาบัติ ด้วยสำคัญว่า เป็นลหุกาบัติก็ดี. อนึ่ง เธออยู่ในพวกอลัชชี อาบัติไม่เป็นอันปิด. ภิกษุสำคัญครุกาบัติว่า เป็นลหุกาบัติ และแสดง, อาบัตินั้นไม่เป็นอันแสดง ไม่เป็นอันปิด. รู้จักครุกาบัติว่า เป็นครุกาบัติ แล้วปิดไว้ เป็นอันปิด. ไม่รู้จักว่าเป็นอาบัติหนักอาบัติเบา คิดว่า เราปิดอาบัติ แล้วปิดไว้ เป็นอันปิดแท้. ภิกษุไม่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ๓ อย่าง ชื่อว่าผู้ปกตัตต์. ถ้าเธอเป็นผู้มีความสำคัญว่า ตนเป็นผู้ปกตัตต์ ปิดไว้ เป็นอันปิดไว้แท้. ถ้าเธอเป็นผู้มีความสำคัญตนว่า ไม่ใช่ผู้ปกตัตต์ ด้วยเข้าใจว่า สงฆ์ทำกรรมแก่เรา และปิดไว้ ไม่เป็นอันปิดก่อน. อาบัติแม้ที่ภิกษุมิใช่ผู้ปกตัตต์ ซึ่งมีความสำคัญตนว่าเป็นผู้ปกตัตต์ หรือสำคัญตนว่า มิใช่ผู้ปกตัตต์ ปิดแล้ว ไม่เป็นอันปิดแท้. จริงอยู่ คำนี้แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ (ในคัมภีร์บริวาร) ดังนี้ว่า :- บุคคลต้องครุกาบัติมีส่วนเหลือ, อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อปิดไว้, บุคคลนั้นไม่ใช่ภิกษุณี แต่ไม่พึงต้องโทษ ; ปัญหานี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว. จริงอยู่ ปัญหานี้ ท่านกล่าวด้วยภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร. ข้อว่า อนนฺตรายิโก มีความว่า ในอันตราย ๑๐ อย่าง อันตรายแม้อย่างหนึ่งไม่มีแก่ภิกษุใด, ถ้าภิกษุนั้นเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่มีอันตรายแล้วปิดไว้, อาบัตินั้นเป็นอันปิดแท้. ถ้าแม้เธอผู้มีความสำคัญว่า มีอันตรายเพราะอมนุษย์และสัตว์ร้ายในเวลากลาง ก็เมื่อภิกษุใดอยู่ในวิหารใกล้ภูเขา ครุกาบัติเป็นของภิกษุนั้นจะต้องข้ามซอกเขาหรือดงหรือแม่น้ำไปบอก. ภัยมีสัตว์ดุร้ายและอมนุษย์เป็นต้นมีในระหว่างทาง, งูทั้งหลายย่อมนอนในทาง แม่น้ำเต็ม, และเมื่ออันตรายนั้นมีอยู่จริงๆ เธอมีความสำคัญว่ามีอันตราย จึงปิดไว้, อาบัตินั้นไม่เป็นอันปิดก่อน. อนึ่ง เมื่อภิกษุผู้มีอันตราย ปิดไว้ด้วยสำคัญว่าไม่มีอันตราย อาบัตินั้นไม่เป็นอันปิดเหมือนกัน. ข้อว่า ปหุ มีความว่า ภิกษุใดอาจเพื่อจะไปสู่สำนักภิกษุ และเพื่อจะบอกได้, ถ้าเธอเป็นผู้มีความสำคัญว่าตนอาจ แล้วปิดไว้, อาบัตินั้นเป็นอันปิดเทียว. ถ้าที่ปากของเธอเป็นฝีเล็กน้อย หรือลมเสียดคาง หรือฟันปวด หรือได้ภิกษาน้อย ; ก็แลด้วยเหตุเพียงเท่านั้น จะจัดว่าไม่อาจบอก ไม่อาจไป หาได้ไม่. ก็แต่ว่าเธอเป็นผู้มีความสำคัญว่า เราไม่อาจ ภิกษุนี้ เป็นผู้อาจ แต่ชื่อว่าผู้มีความสำคัญว่า ตนไม่อาจ. อาบัติแม้ที่ภิกษุนี้ปิดไว้ จัดว่าไม่เป็นอันปิด. อนึ่ง อาบัติที่ภิกษุผู้ไม่อาจ คือไม่สามารถจะบอกหรือจะไป จะมีความสำคัญว่า ตนอาจก็ตาม มีความสำคัญว่า ตนไม่อาจก็ตาม ปิดไว้ ไม่เป็นอันปิดแท้. ข้อว่า เป็นผู้ใคร่จะปิด และปิดไว้ นี้ ตื้นทั้งนั้น. แต่ถ้าภิกษุทอดธุระว่า เราจักปิด ครั้นในปุเรภัตหรือปัจฉาภัต หรือในยามทั้งหลายมีปฐมยามเป็นต้น หยั่งลงสู่ลัชชีธรรม บอกเสีย ภายในอรุณนั่นเอง; ภิกษุนี้ ชื่อว่าผู้ใคร่จะปิดแต่ไม่ปิด. แต่เมื่อภิกษุใด อยู่ในสถานไม่มีภิกษุ ต้องอาบัติแล้วคอยความมาแห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกัน หรือไปสู่สำนักของภิกษุผู้เป็นสภาคกันอยู่ล่วงไปกึ่งเดือนก็ดี เดือนหนึ่งก็ดี ; ภิกษุนี้ ชื่อว่าปิดไว้ ทั้งที่ไม่ประสงค์จะปิด, แม้อาบัตินี้ก็ไม่เป็นอันปิด. ฝ่ายภิกษุผู้ใดพอต้องเข้าแล้ว รีบหลีกไปสู่สำนักภิกษุผู้เป็นสภาคกัน กระทำ ให้แจ้งเสีย เหมือนบุรุษเหยียบไฟฉะนั้น ; ภิกษุนี้ชื่อว่าผู้ไม่ประสงค์จะปิด ทั้งไม่ปิด. แต่ถ้าแม้เห็นภิกษุผู้เป็นสภาคกันแล้วแต่ไม่บอก เพราะกระดากว่าผู้นี้เป็นอุปัชฌาย์ของเรา หรือว่า ภิกษุนี้เป็นอาจารย์ของเรา. อาบัติเป็นอันปิดแท้. จริงอยู่ ความเป็นอุปัชฌาย์เป็นต้น ไม่เป็นประมาณในการบอกอาบัตินี้, ข้อที่ภิกษุไม่ใช่ผู้มีเวรและเป็นสภาคกันเท่านั้น เป็นประมาณ เพราะเหตุนั้น ควรบอกในสำนักภิกษุซึ่งไม่ใช่ผู้มีเวรและเป็นสภาคกัน. ฝ่ายภิกษุใดเป็นวิสภาคกัน เป็นผู้มุ่งจะฟังแล้วประจาน,ไม่ควรบอกในสำนักภิกษุเห็นปานนั้น แม้เป็นอุปัชฌาย์. บรรดากาลเหล่านั้น ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติในปุเรภัตก็ตาม ปัจฉาภัตก็ตาม กลางวันก็ตาม กลางคืนก็ตาม, ควรบอกเสียตั้งแต่อรุณยังไม่ขึ้น. เมื่ออรุณขึ้นแล้วอาบัตินั้นเป็นอันปิดด้วย. ทั้งต้องทุกกฎเพราะความปิดเป็นปัจจัย. จะทำให้แจ้งในสำนักภิกษุผู้ต้องสังฆาทิเสสชนิดเดียวกัน ไม่ควร. ถ้าจะทำให้แจ้ง อาบัติเป็นอันเปิดเผย, แต่ภิกษุไม่พ้นอาบัติทุกกฎ ; เพราะเหตุนั้น ควรเปิดเผยในสำนักภิกษุผู้บริสุทธิ์. ในกุรุนทีแก้ว่า และเมื่อจะเปิดเผย จงกล่าวว่า ข้าพเจ้าแจ้งอาบัติตัวหนึ่งในสำนักของท่าน หรือว่า ข้าพเจ้าบอกอาบัติตัวหนึ่งในสำนักของท่าน, หรือว่า ข้าพเจ้ากล่าวอาบัติตัวหนึ่งในสำนักของท่าน หรือว่า ท่านจงทราบความที่ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ก็ได้. จงบอกโดยนัยเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าแจ้งครุ อาบัติเป็นอันบอกด้วยอาการทั้ง ๓ อย่าง คือ บอกเฉพาะวัตถุ, บอกเฉพาะอาบัติ, บอกทั้ง ๒. อันสงฆ์จะให้ปฏิฉันนปริวาส พึงกำหนดเหตุ ๑๐ เหล่านี้ ทราบความที่อาบัติเป็นอันปิดเสียก่อน ด้วยประการฉะนี้. วิธีให้ปริวาส อหํ ภนฺเต เอกํ อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิกํ สุกฺกวิสฏฺฐึ เอกาหปฏิจฺฉนฺนํ. แล้วพึงสวดกรรมวาจาให้ปริวาส ตามนัยที่กล่าวแล้วในบาลีนี้นั่นแล. ถ้าปิดได้ ๒ วัน ๓ วันเป็นต้น พึงให้ขออย่างนี้ว่า :- ทฺวีหปฏิจฺฉนฺนํ, ตีหปฏิจฺฉนฺนํ, จตูหปฏิจฺฉนฺนํ, ปญฺจาหปฏิจฺฉนฺนํ, ฉาหปฏิจฺ พึงแต่งคำประกอบตามจำนวนวัน เพียง ๑๔ วัน ด้วยประการฉะนี้. สำหรับอาบัติที่ปิดไว้ ๑๕ วัน พึงแต่งคำสวดประกอบว่า ปกฺขปฏิจฺฉนฺนํ. ตั้งแต่ ๑๕ วันไปจนถึงวันที่ ๒๙ พึงแต่งคำสวดประกอบว่า อติเรกปกฺขปฏิจฺฉนฺนํ ตั้งแต่ ๒๙ วันขึ้นไป พึงแต่งคำสวดประกอบว่า มาสปฏิจฺฉนฺนํ, อติเรกมาสปฏิจฺ เมื่อเต็มปี พึงแต่งคำสวดประกอบว่า เอกสํวจฺฉรปฏิจฺฉนฺนํ. เบื้องหน้าแต่นั้น พึงแต่งคำสำหรับสวดประกอบอย่างนี้ว่า อติเรกเอกสํวจฺฉร, ทฺวิสํวจฺฉร, อติเรกทฺวิสํวจฺฉร, ติสํวจฺฉร, อติเรกติสํวจฺฉร, จตุสํวจฺฉร, อติเรกจตุสํวจฺฉร, ปญฺจสํวจฺฉร, อติเรกปญฺจสํวจฺฉรปฏิจฺฉนฺนํ, ดังนี้จนถึงว่า สฏฺฐีสํวจฺฉร, อติเรกสฏฺฐีสํวจฺฉรปฏิจฺฉนฺนํ หรือแม้ยิ่งกว่านั้น. และถ้าเป็นอาบัติ ๒ ตัวหรือยิ่งกว่านั้น พึงกล่าวว่า เทฺว อาปตฺติโย, ติสฺโส อาปตฺติโย, เหมือนที่ได้กล่าวไว้ในที่นี้ว่า เอกํ อาปตฺตึ ฉะนั้น. แต่ที่เกินกว่านั้น จะเป็นร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งก็ตาม สมควรกล่าวว่า สมฺพหุลา. แม้ในอาบัติที่มีวัตถุต่างๆ กัน พึงแต่งคำสวดประกอบด้วยอำนาจแห่งจำนวนอย่างนี้ว่า :- อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ เอกํสุกฺกวิสฏฺฐึ เอกํ กายสํสคฺคํ เอกํทุฏฺฐุลฺลํ วาจํ เอกํ อตฺตกามปาริจริยํ เอกํ สญฺจริตํ เอกาหปฏิจฺฉนฺนาโย หรือด้วยอำนาจแห่งการระบุวัตถุอย่างนี้ว่า :- อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ นานาวตถุกาโย เอกาหปฏิจฺฉนฺนาโย หรือด้วยอำนาจแห่งการระบุชื่อว่าอย่างนี้ว่า :- อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ เอกาหปฏิจฺฉนฺนาโย. ในวัตถุและชื่อนั้น ชื่อมี ๒ อย่าง คือชื่อที่ทั่วไปของอาบัติที่มีชาติเสมอกัน ๑ ชื่อที่ทั่วไปของอาบัติทั้งปวง ๑. ในชื่อทั้ง ๒ อย่างนั้น คำว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นชื่อที่ทั่วไปของอาบัติที่มีชาติเสมอกัน. คำว่า อาปตฺติ เป็นชื่อที่ทั่วไปของอาบัติทั้งปวง. เพราะฉะนั้น ควรอยู่ที่จะแต่งคำสวดประกอบ แม้ด้วยอำนาจแห่งชื่อที่ทั่วไปของอาบัติทั้งปวง อย่างนี้ สมฺพหุลา อาปตฺติโย อาปชฺชึ เอกาหปฏิจฺฉนฺนาโย. จริงอยู่ วินัยกรรมมีปริวาสเป็นต้นแม้ทั้งปวงนี้ สมควรแท้ที่จะแต่งคำสวดประกอบด้วยอำนาจแห่งวัตถุ ด้วยอำนาจแห่งโคตรด้วยอำนาจแห่งชื่อ และด้วยอำนาจแห่งอาบัติ, ในวัตถุและโคตรเป็นต้นนั้น คำว่า สุกฺกวิสฏฺฐิส เป็นวัตถุด้วยเป็นโคตรด้วย. คำว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นชื่อด้วย เป็นอาบัติด้วย คำว่า กายสํสคฺโค เป็นวัตถุด้วย เป็นโคตรด้วย คำว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นชื่อด้วย เป็นอาบัติด้วย ในวัตถุเป็นต้นนั้น วัตถุและโคตร เป็นอันถือเอาแล้วด้วยคำว่า สุกฺกวิสฏฺฐิ และ กายสํสคฺโค เป็นอาทิบ้าง ด้วยคำว่า นานาวตฺถุกาโย บ้าง. ชื่อและอาบัติเป็นอันถือเอาแล้ว ด้วยคำว่า สงฺฆาทิเสโส บ้าง ด้วยคำว่า อาปตฺติโย บ้าง. และในบาลีนี้ ทั้งชื่อ ทั้งวัตถุและโคตร เป็นอันถือเอาแล้วแท้ ด้วยคำว่า เอกํ อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิกํสุกฺกวิสฏฺฐึ. เหมือนอย่างว่า ในบาลีนี้ ท่านกล่าวว่า อยํ อุทายิ ภิกฺขุ ฉันใด, ภิกษุใดๆ เป็นผู้ต้อง, พึงถือเอาชื่อของภิกษุนั้นๆ ทำกรรมวาจาว่า อยํ อิตฺถนฺนาโม ภิกฺขุ ฉันนั้น. ในเวลาจบกรรมวาจา ภิกษุนั้นพึงสมาทานวัตรในสีมาแห่งโรงทีเดียว ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแลว่า ปริวาสํ สมาทิยามิ วตฺตํ สมาทิยามิ ครั้นสมาทานแล้ว พึงบอกในท่าม อหํ ภนฺเต เอกํ อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิกํ สุกฺกวิสฏฺฐึ เอกาหปฏิจฺฉนฺนํ, โสหํ สงฺฆํ เอกิสฺสา อาปตฺติยา สญฺเจตนิกายสุกฺกวิสฏฺฐิยา เอกาหปฏิจฺฉนฺนานย เอกาหปริวาสํ ยาจึ, ตสฺส เม สงฺโฆ เอกิสฺสา อาปตฺติยา สญฺเจตนิกาย สุกฺกวิสฏฺฐิยา เอกาหปฏิจฺฉนฺนาย เอกาหปริวาสํ อทาสิ. โสหํ ปริวสามิ, เวทิยามหํ ภนฺเต, เวทิยตีติ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ. ก็แล สมควรแท้ที่จะถือเอาใจความนี้ บอกด้วยภาษาอย่างใดอย่างหนึ่ง. ครั้นบอกแล้ว ถ้าประสงค์จะเก็บ พึงเก็บในท่ามกลางสงฆ์ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. เมื่อภิกษุทั้งหลายออกจากโรงไปเสียแล้ว จะเก็บในสำนักภิกษุแม้รูปเดียวก็ควร. เธอออกจากโรงไปแล้ว จึงกลับได้สติ พึงเก็บในสำนักภิกษุผู้ไปด้วยกัน ถ้าภิกษุแม้นั้น ก็หลีกไปเสีย ตนยังไม่ได้บอกวัตรแก่ภิกษุอื่นใด ที่ในโรง, พึงบอกแก่รูปนั้นแล้วเก็บวัตร และเมื่อบอก พึงกล่าวในที่สุดว่า เวทิยตีติ มํ อายสฺมา ธาเรตุ เมื่อบอกแก่ภิกษุ ๒ รูป พึงกล่าวว่า อายสฺมนฺตา ธาเรนฺตุ เมื่อบอกแก่ภิกษุ ๓ รูปหรือเกินกว่า พึงกล่าวว่า อายสฺมนฺโต ธาเรนฺตุ หรือว่า สงฺโฆ ธาเรตุ จำเดิมแต่เวลาที่เก็บแล้วไป เธอย่อมตั้งอยู่ในฐานะแห่งปกตัตตะ. ถ้าวัดมีภิกษุน้อย ; ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสภาคกันอยู่ ไม่ต้องเก็บวัตร พึงทำความกำหนดราตรี ในวัดนั่นแล. ถ้าไม่อาจให้บริสุทธิ์ได้. พึงเก็บวัตรตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ในเวลาใกล้รุ่ง พร้อมด้วยภิกษุรูปหนึ่ง ล่วงอุปจารสีมาออกไป แวะออกจากทางใหญ่ นั่งในที่กำบัง ตามนัยที่กล่าวแล้วในวรรณนาแห่งมานัตนั่นแล สมาทานวัตรตามนัยที่กล่าวแล้ว บอกปริวาสแก่ภิกษุนั้นในภายในอรุณทีเดียว เมื่อบอก ถ้าภิกษุนั้นเป็นผู้อ่อนกว่า พึงกล่าวว่า อาวุโส ถ้าเป็นผู้แก่กว่า พึงกล่าวว่า ภนฺเต. ถ้าภิกษุอื่นบางรูปมายังที่นั้น ด้วยกิจจำเป็นเฉพาะบางอย่าง ถ้าปาริวาสิกภิกษุนี้ เห็นเธอ หรือได้ยินเสียงของเธอ ควรบอก, เมื่อไม่บอก เป็นรัตติเฉทและเป็นวัตตเภท ถ้าเธอล้ำอุปจารสีมาเข้าไป ๑๒ ศอกแล้วไปเสีย แต่เมื่อปาริวาสิกภิกษุยังมิทันรู้ มีแต่รัตติเฉท ส่วนวัตตเภทไม่มี ครั้นอรุณขึ้นแล้วพึงเก็บวัตร. พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า หากว่าภิกษุที่ไปด้วยกันนั้น หลีกไปเสียด้วยกิจจำเป็นเฉพาะบางอย่าง, ตนพบภิกษุอื่นรูปใดก่อนภิกษุทั้งหมด พึงบอกแก่รูปนั้นแลแล้วเก็บ, ถ้าไม่พบใครเลย พึงไปยังวัดแล้วเก็บในสำนักภิกษุผู้ไปกับตน. ฝ่ายพระมหาปทุมัตเถระกล่าวว่า พบภิกษุใดก่อน, พึงบอกแก่ภิกษุนั้นแล้วเก็บ นี้เป็นบริหารสำหรับภิกษุผู้เก็บวัตรแล้ว. อาบัติที่ได้ปิดไว้ สิ้นวันเท่าใด เพื่อต้องการจะบรรเทาความรังเกียจ พึงอยู่ปริวาสสิ้นวันเท่านั้น หรือเกินกว่านั้นแล้ว เข้าไปหาสงฆ์ สมาทานวัตรแล้ว พึงขอมานัต ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ภิกษุนี้จัดเป็นผู้ควรแก่มานัต ต่อเมื่อเธอสมาทานวัตรแล้วเท่านั้น เพราะเธอเป็นผู้เก็บวัตร อยู่ปริวาส. แต่กิจที่จะต้องสมาทานวัตรอีก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้มิได้เก็บวัตร, จริงอยู่ เธอเป็นผู้ควรแก่มานัตด้วยล่วงวันที่ปิดไว้แท้, เพราะเหตุนั้น สงฆ์ควรให้มานัตแก่เธอทีเดียว. วิธีให้มานัต อย่างไร? ภิกษุอยู่ปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดเสร็จแล้ว พึงขอมานัตเพื่ออาบัติที่ปิดกับอาบัติที่มิได้ปิด รวมกันว่า อหํ ภนฺเต เอกํ อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิกํสุกฺกวิสฏฺฐึ เอกาหปฏิจฺฉนฺนํ โสหํ สงฺฆํ เอกิสฺสา อาปตฺติยา สญฺเจตนิกายสุกฺกวิสฏฺฐิยา เอกาหปฏิจฺ ลำดับนั้น สงฆ์พึงแต่งกรรมวาจาให้เหมาะแก่คำขอนั้น ให้มานัตแก่มานัตตา ถ้าอาบัติที่ปิดไว้ ๒ ตัว ที่มิได้ปิดตัวเดียว ; พึงกล่าวว่า ปฏิจฺฉนฺนานญฺจ อปฺปฏิจฺ ถ้าอาบัติที่ปิดไว้ตัวเดียว ที่มิได้ปิด ๒ ตัว พึงกล่าวว่า ปฏิจฺฉนฺนาย จ อปฺปฏิจฺ ถ้าแม้อาบัติที่ปิดไว้ก็ ๒ ตัว แม้ที่มิได้ปิดก็ ๒ ตัว พึงกล่าวว่า ปฏิจฺฉนฺนานญฺจ อปฺปฏิจฺ สงฆ์พึงแต่งกรรมวาจาให้เหมาะ ให้มานัตในอาบัติที่ปิดและมิได้ปิดทั้งปวง. และพึงแต่งกรรมวาจาให้เหมาะแก่มานัตนั้น และกระทำอัพภานแก่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตแล้ว. แต่อัพภานในบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งอาบัติตัวเดียว. มานัตใด อันสงฆ์ย่อมให้ในที่สุดแห่งปริวาส เพื่ออาบัติที่ปิดไว้ด้วยประการอย่างนี้, มานัตนี้ ชื่อว่าปฏิจฉันนมานัต. ตามนัยที่กลาวแล้วอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิจฉันนปริวาสและปฏิจฉันนมานัต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในบาลีนี้ ด้วยกรรมวาจา สำหรับประกอบเป็นตัวอย่างอันเดียวเท่านั้น คือ ด้วยอำนาจแห่งอาบัติตัวเดียว. ข้าพเจ้ากล่าวปักขมานัตและสโมธานมานัต ในที่สุดแห่งปริวาสกถาที่เหลือ. ____________________________ ๑- สำหรับอาบัติ ๒ ตัว. ๒- สำหรับอาบัติ ๓ ตัว. สุทธันตปริวาส ในปริวาส ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อสุทธันตปริวาส ได้แก่ ปริวาสที่ทรงอนุญาตในเรื่องนี้ว่า เตน โข ปน สมเยน อญฺญตโร ภิกฺขุ สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปนฺโน โหติ, อาปตฺติปริยนฺตํ น ชานาติ รตฺติปริยนฺตํ น ชานาติ. ดังนี้ ในที่สุดแห่งการประพฤติมานัตที่ไม่เป็นธรรมข้างหน้า. สุทธันตปริวาสนั้นมี ๒ อย่าง คือจูฬสุทธันตะ ๑ มหาสุทธันตะ ๑. ก็สุทธันตปริวาสนี้ทั้ง ๒ อย่าง สงฆ์พึงให้แก่ภิกษุผู้ไม่รู้และระลึกไม่ได้ ซึ่งกำหนดราตรีทั้งสิ้นหรือบางราตรี และผู้มีความสงสัยในกำหนดราตรีนั้น. แต่ภิกษุจะรู้จำนวนที่สุดแห่งอาบัติว่า เราต้องอาบัติเท่านี้ หรือจะไม่รู้ก็ตาม นั่นไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นประมาณ. จูฬสุทธันตะ ในสุทธันตปริวาส ๒ อย่างนั้น ภิกษุใดแม้อันพระวินัยธรถามอยู่ว่า ท่านรู้สึกว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ ตลอดวันหรือปักษ์ หรือเดือนหรือปี โน้นและโน้นหรือ ดังนี้ ตามลำดับตั้งแต่อุปสมบทมา หรือทวนลำดับตั้งแต่วันที่บอกไปก็ดี จึงตอบว่า ทราบอยู่ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์ตลอดกาลเพียงเท่านี้. สุทธันตปริวาสที่สงฆ์ให้แก่ภิกษุนั้น เรียกว่าจูฬสุทธันตะ. ภิกษุผู้รับจูฬ ถ้ากำหนดได้ว่า เราเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์เพียงเดือนเดียว ได้รับปริวาสแล้ว, กำลังอยู่ปริวาสระลึกเดือนอื่นได้อีก พึงอยู่ปริวาสตลอดเดือนนั้นด้วยแท้, ไม่มีกิจที่จะต้องให้ปริวาสอีก. ถ้ากำหนดได้ว่า เราเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ๒ เดือน ได้รับปริวาสแล้ว, แต่กำลังอยู่ปริวาส ทำความตกลงใจว่า เราเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์เพียงเดือนเดียวเท่านั้น พึงอยู่ปริวาสเพียงเดือนเดียวเท่านั้น. ไม่มีกิจที่จะต้องให้ปริวาสอีก. จริงอยู่ ธรรมดาสุทธันตปริวาสนี้ เขยิบสูงขึ้นก็ได้ ลดต่ำลงก็ได้. นี้เป็นลักษณะของสุทธันตปริวาสนั้น. ส่วนในการออกอาบัติอื่น มีลักษณะดังนี้ :- ภิกษุใดทำวินัยกรรมว่า ปิดไว้ สำหรับอาบัติที่มิได้ปิด อาบัติของภิกษุนั้น ย่อม มหาสุทธันตะ ฝ่ายภิกษุใด แม้พระวินัยธรถามอยู่โดยนัยอนุโลมและปฏิโลมตามที่กล่าวแล้ว ไม่รู้ ระลึกไม่ได้ ซึ่งที่สุดแห่งราตรี หรือเป็นผู้มีความสงสัย สุท มหาสุทธันตะนี้ เขยิบสูงขึ้นไม่ได้ แต่ต่ำลงได้ เพราะฉะนั้นถ้ากำลังอยู่ปริวาส ทำความตกลงใจในกำหนดราตรีไว้ว่า เมื่อเราต้องอาบัติ เป็นเวลาเดือน ๑ หรือปี ๑ พึงอยู่ปริวาสเดือน ๑ หรือปี ๑. ส่วนลักษณะการขอและการให้ปริวาสในมหาสุทธันต การสมาทานวัตร ในที่สุดแห่งกรรมวาจา มานัตและอัพภานมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง. นี้ชื่อว่าสุทธันตปริวาส. สโมธานปริวาส โอธานสโมธาน บรรดาสโมธานปริวาส ๓ อย่างนั้น ที่ชื่อว่าโอธานสโมธาน ท่านเรียกปริวาสที่สงฆ์พึงเลิก คือ ล้มวันที่ได้อยู่ปริวาสแล้วเสีย ประมวลอาบัติที่ต้องภายหลังลงในกำหนดวันเดิม แห่งอาบัติเดิมให้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติในระหว่างแล้วปิดไว้. โอธานสโมธานปริวาสนั้น มาแล้วข้างหน้าในพระบาลีนั่นแล โดยพิสดาร ตั้งต้นแต่คำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้นสงฆ์จงชักอุทายีภิกษุเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อว่าสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ อันปิดไว้ ๕ วัน แล้วให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเดิม. ก็วินิจฉัยในโอธานสโมธานนี้ พึงทราบดังนี้ :- ภิกษุใดรับปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดแล้ว กำลังอยู่ปริวาส หรือเป็นมานัตตารหะ หรือกำลังประพฤติมานัต หรือเป็นอัพภานารหะ ต้องอาบัติอื่นแล้วปิดไว้ เท่าราตรีของอาบัติเดิมหรือหย่อนกว่าก็ดี สงฆ์พึงเลิกวันที่อยู่ปริวาสแล้ว และวันที่ประพฤติมานัตแล้วเหล่านั้นทั้งหมด คือทำให้เป็นวันที่ใช้ไม่ได้ ประมวลอาบัติที่ต้องภายหลังในอาบัติเดิม ให้ปริวาสแก่ภิกษุนั้นด้วยมูลายปฏิกัสสนะ. ภิกษุนั้นพึงอยู่ปริวาสอีก ๑ ปักษ์ทีเดียว, ถ้าอาบัติเดิมปิดไว้ ๑ ปักษ์ อันตราบัติปิดไว้หย่อนปักษ์. แม้ถ้าอันตราบัติปิดไว้ ๑ ปักษ์ พึงอยู่ปริวาส ๑ ปักษ์เหมือนกัน, โดยอุบายนี้ พึงทราบวินิจฉัยจนถึงอาบัติเดิมที่ปิดไว้ ๖๐ ปี. จริงอยู่ ภิกษุผู้อยู่ปริวาสครบ ๖๐ ปี แม้เป็นมานัตตารหะแล้วปิดอันตราบัติไว้วันหนึ่ง ย่อมเป็นผู้ควรอยู่ปริวาส ๖๐ ปีอีก. เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ก็ถ้าว่าอันตราบัติปิดไว้เกินกว่าอาบัติเดิมเล่า จะพึงทำอย่างไรในอาบัตินั้น? พระมหาสุมัตเถระแก้ว่า บุคคลนี้เป็นอเตกิจฉะ, ธรรมดาบุคคลที่เป็นอเตกิจฉะ ก็ควรให้ทำให้แจ้งแล้วปล่อยเสีย. ฝ่ายพระมหาปทุมัตเถระแก้ว่า เพราะเหตุไร บุคคลนี้จึงจะชื่อว่าเป็นอเตกิจฉะ? ธรรมดาว่า สมุจจยักขันธกะนี้ ย่อมเป็นเหมือนกาลที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังทรงตั้งอยู่. ขึ้นชื่อว่าอาบัติ จะปิดไว้ก็ตาม มิได้ปิดไว้ก็ตาม ปิดไว้เท่ากันก็ตาม หย่อนกว่าก็ตาม แม้ปิดไว้เกินก็ตามที ; ข้อที่พระวินัยธรเป็นผู้สามารถประกอบกรรมวาจานั่นแล เป็นประมาณ ในการเยียวยาอาบัตินี้ เพราะเหตุนั้น อันตราบัติใดปิดไว้เกินกว่า, พึงทำอันตราบัตินั้นให้เป็นอาบัติเดิม ประมวลอาบัตินอกนี้ลงในอาบัติเดิมนั้นให้ปริวาส. นี้ชื่อโอธานสโมธาน. อัคฆสโมธาน ที่ชื่ออัคฆสโมธาน คือ บรรดาอาบัติมากหลาย อาบัติเหล่าใดจะเป็น ๑ ตัวก็ดี ๒ ตัวก็ดี ๓ ตัวก็ดี มากมายก็ดี ที่ปิดไว้นานกว่าอาบัติทุกๆ ตัว, สงฆ์ประมวลด้วยค่าแห่งอาบัติเหล่านั้น ให้ปริวาสเพื่ออาบัติที่เหลือ ซึ่งปิดไว้หย่อนกว่า ด้วยอำนาจกำหนดราตรีแห่งอาบัติเหล่านั้น นี้เรียกว่า อัคฆสโมธาน. อัคฆสโมธานนั้น ได้มาข้างหน้าแล้วในบาลี โดยนัยเป็นต้นว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสมากหลาย, อาบัติตัวหนึ่งปิดไว้ ๑ วัน อาบัติตัวหนึ่งปิดไว้ ๒ วัน. ถามว่า ก็อาบัติของภิกษุใดร้อยตัวปิดไว้ ๑๐ วัน แม้อีกร้อยตัวก็ปิดไว้ ๑๐ วัน นับอย่างนี้รวม ๑๐ ครั้ง จึงเป็นอาบัติหนึ่งพัน ปิดไว้ ๑๐๐ วัน, ภิกษุนั้นจะพึงทำอย่างไร? พึงประมวลอาบัติทั้งหมดอยู่ปริวาส ๑๐ วัน. แม้วันตั้งร้อยย่อมเป็นวันซึ่งภิกษุต้องอยู่ปริวาสจริงๆ ด้วย ๑๐ วัน หนเดียวเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ แม้คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้แล้วว่า ปาริวาสิกภิกษุปิดอาบัติพันตัวไว้ ๑๐๐ ราตรี อยู่ปริวาส ๑๐ ราตรี พึงพ้นได้ ปัญหานี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว. นี้ชื่ออัคฆสโมธาน. มิสสกสโมธาน ที่มีชื่อมิสสกสโมธาน ได้แก่ ปริวาสที่สงฆ์รวมอาบัติต่างๆ วัตถุเข้าด้วยกันให้. ในมิสสกสโมธานนั้น มีนัยดังนี้ :- พึงให้ภิกษุนั้นขิ ๓ ครั้งว่า อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ เอกํ สุกฺกวิสฏฺฐึ เอกํ กายสํสคฺคํ เอกํ ทุฏฺฐุลฺลวาจํ เอกํ อตฺตกามํ เอกํ สญฺจริตํ เอกํ กุฏิการํ เอกํ วิหารการํ เอกํ ทุฏฺโทสํ เอกํ อญฺญภาคิยํ เอกํ สงฺฆเภทกํ เอกํ เภทานุวตฺตกํ เอกํ ทุพฺ ก็ในมิสสกสโมธานนี้ สมควรแท้ที่จะแต่งกรรมวาจาประกอบด้วยอำนาจวัตถุบ้าง ด้วยอำนาจโคตรบ้าง ด้วยอำนาจชื่อบ้าง ด้วยอำนาจอาบัติบ้าง ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล อย่างนี้ว่า สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ นานาวตฺถุกาโย ดังนี้ก็ได้ ว่า สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ ดังนี้ก็ได้. นี้ชื่อได้ มิสสกสโมธาน. ส่วนกถาแสดงเรื่องมีอาทิ คือวัตรที่เก็บและมิได้เก็บในที่สุดแห่งกรรมวาจาให้ปริวาสทั้งปวง พึงทราบตามนัยก่อนั่นแล. ปักขมานัต ก็ปักขมานัต สงฆ์พึงให้กึ่งเดือนเท่านั้น ทั้งอาบัติที่ปิด ทั้งอาบัติที่มิได้ปิด. จริงอยู่ คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุณีผู้ล่วงครุกรรม พึงประพฤติปักขมานัตในอุภโตสงฆ์. ก็ปักขมานัตนั้น อันนางภิกษุณีทั้งหลาย พึงชำระสีมาของตนให้หมดจดแล้วให้ในวิหารสีมา หรือเมื่อไม่อาจชำระวิหารสีมาให้หมดจด พึงให้ประชุมคณะจตุวรรค โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดแล้วให้ในขัณฑสีมาก็ได้. ถ้ามีอาบัติตัวเดียว, พึงแต่งกรรมวาจาประกอบด้วยอำนาจอาบัติตัวเดียว, ถ้ามีอาบัติ ๒ ตัวหรือ ๓ ตัวหรือมากมาย มีวัตถุเดียวหรือต่างๆ วัตถุกัน, พึงถือเอาวัตถุ โคตร นามและอาบัติที่ตนปรารถนา แต่งกรรมวาจาประกอบด้วยอำนาจแห่งอาบัติเหล่านั้นๆ. อุทาหรณ์ที่พอเป็นทาง ด้วยอำนาจอาบัติตัวเดียว ในปักขมานัตนั้น ดังนี้ :- นางภิกษุณีผู้ต้องอาบัติแล้วนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ทำอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้านางภิกษุณีทั้งหลายผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า อหํ อยฺเย เอกํ อาปตฺตึ อาปชฺชึ คามนฺตรํ, สาหํ อยฺเย สงฺฆํ เอกิสฺสา อาปตฺติยา คามนฺตราย ปกฺขมานตฺตํ ยาจามิ. ครั้นให้ขอ ๓ ครั้งอย่างนั้นแล้ว นางภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางภิกษุณีชื่อนี้รูปนี้ ต้องอาบัติตัว ๑ ชื่อคามันตรา, เธอขอปักขมานัตต่อสงฆ์ เพื่ออาบัติตัว ๑ ชื่อคามันตรา ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้ปักขมานัต เพื่ออาบัติตัว ๑ ชื่อคามันตรา แก่นางภิกษุณีชื่อนี้. นี้เป็นวาจาประกาศให้รู้. ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางภิกษุณีชื่อนี้ ต้องอาบัติตัว ๑ ชื่อคามันตรา, เธอขอปักขมานัต ต่อสงฆ์เพื่ออาบัติตัว ๑ ชื่อคามันตรา สงฆ์ให้ปักขมานัต เพื่ออาบัติตัว ๑ ชื่อคามันตรา แก่นางภิกษุณีชื่อนี้ ชอบแก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง; ไม่ชอบแก่แม่เจ้ารูปใด ชอบแก่แม่เจ้ารูปใด แม้เจ้ารูปกล่าวความนี่ เป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ เป็นครั้งที่ ๓. ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ ปักขมานัตเพื่ออาบัติตัว ๑ ชื่อคามันตรา สงฆ์ให้แล้วแก่นางภิกษุณีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์; เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความข้อนี้ไว้ อย่างนี้. ในที่สุดแห่งกรรมวาจา นางภิกษุณีผู้มานัตตจาริกานั้น พึงสมาทานวัตรแล้ว พึงบอกแก่สงฆ์ ตามนัยที่กล่าวแล้วในภิกขุมานัตตกถานั่นแล ใคร่จะเก็บวัตรอยู่ พึงเก็บในท่ามกลางสงฆ์นั้นนั่นแลก็ได้ เมื่อนางภิกษุณีทั้งหลายหลีกไปเสียแล้ว พึงเก็บในสำนักนางภิกษุณีรูปเดียว หรือในสำนักนางภิกษุณีผู้เป็นเพื่อน ตามนัยที่กล่าวแล้วก็ได้. อนึ่ง พึงบอกเก็บในสำนักนางภิกษุณีอื่นผู้เป็นอาคันตุกะ จำเดิมแต่เวลาที่เก็บวัตรไป ตั้งอยู่ในฐานผู้ปกตัตตะ. แต่เมื่อสมาทานใหม่จะรับอรุณ ไม่ได้เพื่ออยู่ในสำนักนางภิกษุณีทั้งหลายเป็นแท้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ปักขมานัตอันนางภิกษุณีพึงประพฤติ ในกุรุนทีแก้ว่า นางภิกษุณีผู้ปกตัตตะ ๔ รูป พึงพานางภิกษุณีผู้ประพฤติมานัต ส่วนในมหาปัจจรีเป็นต้นแก้ว่า แม้นางภิกษุณีทั้งหลายก็ควรชวนอุบาสิกา ๑ คนหรือ ๒ คน ซึ่งเป็นผู้ฉลาดไปด้วย เพื่อประโยชน์แก่การรักษาตน ฝ่ายภิกษุทั้งหลายพึงชวนอุบาสก ๑ คนหรือ ๒ คนไปด้วย เพื่อประโยชน์แก่การรักษาตน. เฉพาะในกุรุนทีแก้ว่า จะละอุปจาระแห่งสำนักภิกษุณีและวัดของภิกษุ ก็ควร, ไม่แก้ว่า จะละอุปจาระแห่งบ้าน ก็ควร. ครั้นภิกษุทั้งหลายและนางภิกษุณีทั้งหลาย นั่งแล้วอย่างนั้น นางภิกษุณีนั้นพึงสมาทานวัตรว่า มานตฺตํ สมาทิยามิ วตฺตํ สมาทิยามิ แล้วพึงบอกแก่ภิกษุสงฆ์ก่อนอย่างนี้ว่า อหํ อยฺเย เอกํ อาปตฺตึ อาปชฺชึ คามนฺตรํ, สาหํ สงฺฆํ เอกิสฺสา อาปตฺติยา คามนฺตราย ปกฺขมานตฺตั ยาจึ. ตสฺสา เม สงฺโฆ เอกิสฺสา อาปตฺติยา คามนฺตราย ปกฺขมานตฺตํ อทาสิ. สาหํ ปกฺขมานตฺตํ จรามิ. เวทยามหํ อยฺเย, เวทิยตีติ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ. ภายหลัง พึงไปบอกในสำนักภิกษุสงฆ์อย่างนี้ว่า อหํ อยฺยา เอกํ อาปตฺตึ อาปชฺชึ คามนฺตรํ ฯลฯ เวทยามหํ อยฺยา, เวทิยตีติ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ. แม้ในปักขมานัตนี้ นางภิกษุณีจะบอกด้วยภาษาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ควร. พึงนั่งบอกในสำนักแห่งภิกษุณีสงฆ์เท่านั้น. จำเดิมแต่กาลที่บอกแล้วไป จึงควรไปสู่สำนักแห่งภิกษุทั้งหลาย, ถ้าที่นั้นเป็นที่ประกอบด้วยความรังเกียจ, ภิกษุณีทั้งหลายจำนงเฉพาะสถานแห่งภิกษุทั้งหลายในที่เท่านั้น ; ภิกษุทั้งหลายพึงคอยอยู่. ถ้าภิกษุหรือภิกษุณีรูปอื่น มายังที่นั้น เมื่อเห็นต้องบอก, ถ้าไม่บอก เป็นรัตติเฉท และเป็นทุกกฎ เพราะวัตตเภท. ถ้าเมื่อนางภิกษุณีผู้มานัตตจาริกาไม่รู้ภิกษุหรือภิกษุณีอื่นล้ำอุปจารเข้ามาอย่างนั้นแล้ว ไปเสีย เป็นแต่รัตติเฉท ไม่เป็นทุกกฎเพราะวัตต ส่วนเนื้อความที่แปลกกัน มีดังต่อไปนี้ :- ในคำว่า พึงบอกแก่อาคันตุกะ นี้มีวินิจฉัยว่า ในปุเรภัตหรือปัจฉาภัต ภิกษุหรือภิกษุณีทั้งหลายมีประมาณเท่าใดมาสู่บ้านนั้น ควรบอกทั้งหมด. เมื่อไม่บอก เป็นรัตติเฉทด้วย เป็นทุกกฎเพราะวัตตเภทด้วย, แม้ถ้าภิกษุบางรูปล้ำคามูปจาระนั้น เข้ามาในราตรีแล้วไปเสีย เป็นรัตติเฉทเท่านั้น, ย่อมพ้นจากวัตตเภท เพราะความไม่รู้เป็นปัจจัย. ส่วนในกุรุนทีเป็นต้นแก้ว่า วัตรที่นางภิกษุณีมิได้เก็บ บัณฑิตพึงกล่าวตามนัยที่ ถ้าไม่ทั่วถึง ภิกษุทั้งหลายแม้ไปในที่อื่นแล้วจึงมาในบ้านนั้นต้องแสดงตนไป. หรือพึงทำที่สังเกตไว้ภายนอกบ้านว่า ท่านจะพบพวกเราในที่ชื่อโน้น. นางภิกษุณีนั้นพึงไปสู่ที่หมายไว้แล้วบอก, ไม่พบในที่หมายไว้ ต้องไปวัดแล้วบอก, ต้องบอกภิกษุทุกรูปในวัด ถ้าไม่อาจบอกทั่วทุกรูปได้, ต้องอยู่นอกอุปจารสีมา แล้ววานนางภิกษุณีทั้งหลายไปแทน. พึงบอกแก่ภิกษุ ๔ รูปซึ่งนางภิกษุณีเหล่านั้นนำมา. ถ้าวัดอยู่ไกลทั้งน่ารังเกียจ, พึงชวนอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายไปด้วย. ก็ถ้านางภิกษุณีนี้อยู่ตามลำพัง ย่อมต้องอาบัติเพราะรัตติวิปปวาส เพราะเหตุนั้น สงฆ์พึงสมมตินางภิกษุณีผู้ปกตัตตะรูป ๑ ให้แก่นางภิกษุณีนั้น เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ในที่มุงอันเดียวกัน. นางภิกษุณีประพฤติมานัตไม่ขาด อย่างนั้นแล้ว พึงทำอัพภานตามนัยที่กล่าวแล้วในภิกษุสงฆ์ ซึ่งมี ๒๐ รูปเป็นคณะนั่นแล. ในกุรุนทีแก้ว่า ถ้ากำลังประพฤติมานัต ต้องอันตราบัติ สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติ สโมธานมานัต ใน ๓ อย่างนั้น ที่ชื่อโอธานสโมธาน ได้แก่ มานัตที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ข้างหน้า สำหรับพระอุทายีเถระผู้กำลังอยู่ปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดไว้ ๕ วัน ต้องอันตราบัติในปริวาส และในฐานะที่เป็นผู้ควรแก่มานัต ถูกสงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิม โดยบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น สงฆ์จงให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุอุทายี ดังนี้. จริงอยู่ มานัตชนิดนี้ สงฆ์เลิกล้มวันที่อยู่ปริวาสแล้วเสียด้วยมูลายปฏิกัสสนะซ้ำๆ กัน ประมวลให้พร้อมกับอาบัติเดิมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า โอธานสโมธาน. ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า มานัตที่สงฆ์พึงให้แก่ภิกษุผู้อยู่สโมธานปริวาสแล้ว ชื่อว่าสโมธานมานัต แม้คำนั้น ก็ถูกโดยปริยายนั้น. ส่วนอัคฆสโมธานและมิสสกสโมธาน ท่านเรียกเฉพาะมานัตที่สงฆ์ พึงให้ในที่สุดแห่งอัคฆสโมธานปริวาสและมิสสกสโมธานปริวาส. อัคฆสโมธานและมิสสกสโมธานนั้น พึงประกอบให้ตามทำนองกรรมวาจาแห่งปริวาส. คำใดที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ปริวาสและมานัต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบาลีโดยอาการมากมาย ตามนัยมีคำว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้นสงฆ์จงให้ปริวาส ๑ วัน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ซึ่งปิดไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายีเถิด ดังนี้เป็นอาทิ, วินิจฉัยอย่างนี้ ที่ท่านกล่าวไว้ในอาคตสถานแห่งปริวาสและมานัตนั้น ย่อมถึงความพิสดารเกินไปเหมือนในบาลี, ทั้งเป็นวินิจฉัยที่ใครๆ ไม่อาจกำหนดได้โดยง่าย, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจักประมวลปริวาสและมานัตนั้น แสดงในอธิการนี้ทีเดียว ดังนี้ คำนี้นั้นเป็นอันข้าพเจ้าให้สำเร็จพร้อมโดยอธิบาย ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. บัดนี้พระบาลีนี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสก่อน ด้วยอำนาจอาบัติตัวเดียวที่มิได้ปิด, พระบาลีนั้น มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. เบื้องหน้าแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปริวาสไว้ในพระบาลีด้วยอำนาจแห่งอาบัติที่ปิดไว้ ๒ วัน ๓ วัน ๔ วัน ๕ วันเท่านั้น แล้วทรงแสดงอันตราบัติ จำเดิมแต่ปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดไว้ ๕ วัน. ก็พระอุทายีต้องอาบัตินั้นแล้ว ย่อมจัดเป็นผู้ควรแก่มูลายปฏิกัสสนะ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตมูลายปฏิกัสสนะในอาบัติที่ปิดไว้ ๕ วันเหล่านั้นแก่พระอุทายีนั้น. แต่ถ้าเธอเก็บวัตรแล้วต้องไซร้ ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรแก่มูลายปฏิกัสสนะ. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่เธอมิได้ต้องกำลังอยู่ปริวาส เธอตั้งอยู่ในฐานะเป็นผู้ปกตัตตะแล้วต้อง เธอพึงควรแยกประพฤติมานัตเพื่ออาบัตินั้น. ถ้าเธอผู้เก็บวัตรต้องอาบัติแล้วปิดไว้ไซร้ ต้องอยู่ปริวาสด้วย. เมื่อมูลายปฏิกัสสนะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ อันสงฆ์ทำแล้ว, วันที่เธออยู่ปริวาสแล้วทั้งหลาย ย่อมเป็นอันเลิกล้มไปแท้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอันตราบัติในปริวาสแล้ว ทรงแสดงอันตราบัติ จริงอยู่ เมื่อมูลายปฏิกัสสนะนั้น อันสงฆ์ทำแล้ว, วันที่อยู่ปริวาสแล้วทั้งหลาย ย่อมเป็นอันเลิกล้มไปแท้. ลำดับนั้น จึงทรงแสดงสโมธานมานัต เพื่ออาบัติทั้ง ๓ ตัวนั้น แห่งภิกษุผู้อยู่ปริวาสเสร็จแล้ว. ลำดับนั้น ได้ทรงแสดงอันตราบัติของภิกษุผู้มานัตตจาริกะแล้ว ตรัสมูลายปฏิกัสสนะ. ก็ครั้นเมื่อมูลายปฏิกัสสนะนั้น อันสงฆ์ทำแล้ว ; วันที่ประพฤติมานัตแล้วก็ดี วันที่อยู่ปริวาสแล้วก็ดี ย่อมเป็นอันเลิกล้มไปแท้. ลำดับนั้นทรงแสดงอันตราบัติแห่งภิกษุผู้ควรแก่อัพภานแล้วตรัสมูลายปฏิกัสสนะ. ครั้นเมื่อมูลายปฏิกัสสนะแม้นั้น อันสงฆ์ทำแล้ว, วันที่อยู่ปริวาสและประพฤติมานัตแล้ว เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอันเลิกล้มไปแท้. เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงประกอบอันตราบัติทั้งปวงแสดงอัพภานกรรม. กรรมวาจา ๕ ชนิด. ด้วยอำนาจแห่งอาบัติ ที่ปิดไว้วันเดียวเป็นต้น กรรมวาจา ๔ ชนิด ด้วยอำนาจแห่งอันตราบัติทั้งหลาย รวมเป็นกรรมวาจา ๙ ชนิด เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วในปฏิจฉันนวาระ ด้วยประการฉะนี้. เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงแสดงสโมธานปริวาสและสโมธานมานัตด้วยอำนาจแห่งอันตราบัติที่ปิดไว้ ๕ วัน จำเดิมแต่ภายในแห่งปริวาส เพื่ออาบัติที่ปิดไว้ปักษ์ ๑. ก็ในอธิการว่าด้วยสโมธานปริวาสและสโมธานมานัตนี้ เมื่อสงฆ์ทำมูลายปฏิกัสสนะเพื่ออาบัติที่ต้อง แม้ในเวลาที่เป็นมานัตตจาริกะ และเป็นมานัตตารหะ วันที่ประพฤติมานัตแล้วก็ดี วันที่อยู่ปริวาสเสร็จแล้วก็ดี เป็นอันเลิกล้มไปทั้งหมดทีเดียว. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่ปิดอันตราบัติไว้. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า สงฆ์จงชักเข้าหาอาบัติเดิม จงให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเดิมแล้ว จงให้มานัต ๖ ราตรี. เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงประกอบอันตราบัติทั้งปวงแสดงอัพภานกรรม ให้จบเรื่องแห่งอาบัติ ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ. ลำดับนั้น ทรงแสดงนัย ๒ อย่าง คือ เอกาปัตติมูลกนัย ๑ อาปัตติวัฑฒนกนัย ๑ แล้วทรงแสดงอัคฆสโมธานปริวาส. แต่นั้น ทรงแสดงเรื่องอาบัติที่ภิกษุแกล้งไม่บอกแล้ว ทรงตั้งบาลีโดยนัยมีคำว่า อิธ ปน ภิกฺขเว เป็นต้น เพื่อแสดงกรรมที่จะพึงกระทำสำหรับอาบัติที่ภิกษุมิได้บอก ด้วยความไม่แกล้งไม่รู้สึกระลึกไม่ได้และความเป็นผู้มีความสงสัย ในเมื่อลัชชีธรรมหรือความรู้สึก ความระลึกได้และความเป็นผู้ไม่มีความสงสัย เกิดขึ้นบ้างในภายหลัง. ลำดับนั้น ทรงตั้งบาลีเหมือนอย่างนั้น เพื่อแสดงข้อที่อาบัติทั้งหลาย ซึ่งปิดไว้ด้วยความไม่รู้สึกระลึกไม่ได้ และความเป็นผู้มีความสงสัย ไม่เป็นอันปิด. ลำดับนั้น ทรงแสดงเรื่องขอปริวาสเดือน ๑ เพื่ออาบัติ ๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือน แล้วทรงตั้งบาลีโดยนัยหนหลังนั่นแล เพื่อแสดงกรรมที่จะพึงกระทำ สำหรับเดือนนอกนี้ ซึ่งไม่ได้บอก ด้วยไม่ได้แกล้ง ไม่รู้สึกระลึกไม่ได้ และความเป็นผู้มีความสงสัย ในเมื่อลัชชีธรรมเป็นต้นเกิดขึ้นในภายหลัง แลเพื่อแสดงข้อที่เดือนซึ่งปิดไว้ ด้วยความไม่รู้สึกระลึกไม่ได้ และความเป็นผู้มีความสงสัย ไม่เป็นอันปิด. ลำดับนั้น ทรงแสดงสุทธันตปริวาสโดยนัยมีคำว่า อาปตฺติ ปริยนฺตํ น ชานาติ รตฺติปริยนฺตํ น ชานาติ เป็นอาทิ. เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงตั้งบาลีเพื่อทำปาริวาสิกภิกษุให้เป็นตัวอย่างแสดงข้อปฏิบัติในคำว่า "สึกแล้วอุปสมบทใหม่" เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสสมากหลายในระหว่าง กำหนดนับได้ ไม่ได้ปิดไว้ เป็นต้น มีความว่า กำหนดนับได้ด้วยอำนาจกำหนดอาบัติ และไม่ได้ปิดไว้. สองบทว่า ปจฺฉิมสฺมึ อาปตฺติกฺขนฺเธ คือกองอาบัตินั้นคงเป็นอันเดียวกัน, แต่เพราะปกปิดไว้ในภายหลัง ท่านจึงกล่าวว่า ในกองอาบัติ ซึ่งมีในภายหลัง, ถึงในคำว่า ปุริมสฺมึ นี้ก็มีนัยเหมือนกัน. คำว่า ววตฺถิตา สมฺภินฺนา นี้ เป็นคำยักเรียกอาบัติทั้งหลายที่เป็นสภาคกันและที่เป็นวิสภาคกันนั่นเอง. เบื้องหน้าแต่นั้น ตรัสคำว่า เทฺว ภิกฺขู เป็นต้น เพื่อแสดงข้อปฏิบัติในภิกษุผู้ปิดไว้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิสฺสกํ ได้แก่ สังฆาทิเสส ที่เจือด้วยลหุกาบัติ มีถุลลัจจัยเป็นต้น. บทว่า สุทฺธกํ ได้แก่ สังฆาทิเสส เว้นกองลหุกาบัติเสียทั้งนั้น. เบื้องหน้าแต่นั้น ตรัสคำว่า อิธ ปน ภิกฺขเว ภิกฺขู สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา เป็นต้น เพื่อแสดงข้อที่อาบัติเหล่านั้นไม่พ้องกันและพ้องกัน. บทไรๆ ที่ชื่อว่า ไม่ชัดเจน โดยพยัญชนะหรือโดยอธิบาย ย่อมไม่มีในคำนั้น.... เพราะฉะนั้น คำนั้นและคำทั้งปวงที่ไม่ได้กล่าวไว้ก่อนแต่นี้ พึงทราบตามแนวแห่งพระบาลีนั่นแล ด้วยประการฉะนี้. สมุจจยักขันธกวรรณนา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๑ สมุจจยขันธกะ เรื่องพระอุทายีเป็นต้น จบ. |