บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ภิกษุผู้ไม่แกล้ง แต่ต้องโทษตามพระบัญญัติ มีสหไสยเป็นต้น ชื่อว่าไม่มีความจงใจต้อง, เมื่อแสดงเสีย ชื่อว่ามีความจงใจออก. ภิกษุผู้แกล้งต้องโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามีความจงใจต้อง, เมื่อออกด้วยติณวัตถารกวินัย ชื่อว่าไม่มีความจงใจออก. เมื่อออกอาบัติที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล ด้วยติณวัตถารกวินัย ชื่อว่าไม่มีความจงใจต้อง ไม่มีความจงใจออก. เมื่อแสดงอาบัตินอกนี้ ชื่อว่ามีความจงใจต้อง มีความจงใจออก. เมื่อคิดว่า เราจะทำธรรมทาน กระทำธรรมเป็นต้นโดยบท ชื่อว่ามีจิตเป็นกุศลต้อง. เมื่อมีจิตเบิกบานว่า เราทำตามคำพร่ำสอนของพระพุทธเจ้า แสดง (อาบัติ) ชื่อว่ามีจิตเป็นกุศลออก. เมื่อเป็นผู้ถึงความเสียใจแสดง ชื่อว่ามีจิตเป็นอกุศลออก. เมื่อหลับเสีย ออกด้วยติณวัตถารกวินัย ชื่อว่ามีจิตเป็นอัพยากฤตออก. เมื่อทำความละเมิดมีหลอนให้กลัวเป็นต้น แล้วถึงความดีใจว่า เราทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แสดง (อาบัติ) ชื่อว่ามีจิตเป็นอกุศลต้อง มีจิตเป็นกุศลออก. ถึงความเสียใจเทียวแสดง ชื่อว่ามีจิตเป็นอกุศลออก. เมื่อออกด้วยติณวัตถารกวินัย ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่ามีจิต เป็นอัพยากฤตออก. เมื่อต้องอาบัติเพราะนอนร่วมเรือน ในสมัยที่หยั่งลงสู่ความหลับ ชื่อว่ามีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง. ส่วนคำว่า มีจิตเป็นกุศลออก เป็นอาทิ พึงทราบในอาบัติที่ต้องเพราะนอนร่วมเรือนนี้ ตามนัยที่กล่าวนั่นแล. คำว่า ปฐมํ ปาราชิกํ กตีหิ สมุฏฺฐาเนหิ เป็นอาทิ นับว่าตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหลัง. สมุฏฐานใดๆ ได้แก่อาบัติใดๆ, สมุฏฐานและอาบัตินั้นๆ ทั้งมวล เป็นอันได้กล่าวเสร็จแล้ว โดยกำหนดอย่างสูง ในคำว่า ปาราชิก ๔ ย่อมเกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ เป็นอาทิ. สมุฏฐานวัณณนา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ปริวาร สมุฏฐาน ภิกษุไม่มีความจงใจต้องอาบัติเป็นต้น จบ. |