ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 8 / 1อ่านอรรถกถา 8 / 819อรรถกถา เล่มที่ 8 ข้อ 826อ่านอรรถกถา 8 / 841อ่านอรรถกถา 8 / 1366
อรรถกถา ปริวาร
ย่อหัวข้อสมุฏฐาน

               สมุฏฐานสีสวัณณนา               
               ก็แลวินิจฉัยในสมุฏฐานกถา อันเป็นอันดับแห่งโสฬสมหาวารนั้น พึงทราบดังนี้ :-
               คาถาว่า อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา มีความว่า บัญญัติและนิพพาน ท่านวินิจฉัยว่า เป็นอนัตตา. (เมื่อดวงจันทร์ คือ พระพุทธเจ้ายังไม่เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์ คือ พระพุทธเจ้ายังไม่อุทัยขึ้นมา).
               บทว่า สภาคธมฺมานํ ได้แก่ สังขตธรรมที่มีส่วนเสมอกันด้วยอาการมีอาการคือไม่เที่ยงเป็นต้น.
               ข้อว่า นามมตฺตํ น ญายติ มีความว่า แม้เพียงแต่ชื่อ (แห่งสังขตธรรมเหล่านั้น) ย่อมไม่ปรากฏ.
               บทว่า ทุกฺขหานึ ได้แก่ บำบัดทุกข์เสีย.
               บาทคาถาว่า ขนฺธกา ยา จ มาติกา มีความว่า ขันธกะทั้งหลายและมาติกาเหล่าใด. อนึ่ง บาลีก็เหมือนกันนี้.
               บาทคาถาว่า สมุฏฺฐานนิยโต กตํ มีความว่า สมุฏฐานที่ท่านทำให้เป็นของแน่นอน คือจัดไว้เป็นหลักที่แน่ ชื่อว่า นิตยสมุฏฐาน.
               การสงเคราะห์ ๓ สิกขาบท คือ ภูตาโรจนสิกขาบท โจรีวุฏฐาปนสิกขาบทและอนนุญญาตสิกขาบท ด้วยคำว่า สมุฏฺฐานนิยโต กตํ นั่น อันบัณฑิตพึงพิจารณา.
               จริงอยู่ ๓ สิกขาบทนี้เท่านั้น เป็นนิยตสมุฏฐาน คือเป็นสมุฏฐานที่ไม่เจือปนกับสมุฏฐานเหล่าอื่น.
               บาทคาถาว่า สมฺเภทนิทานญฺจญฺญํ มีความว่า ความเจือปนกันและเหตุแม้อื่น. บัณฑิตพึงพิจารณาการถือเอาความเจือปนกันแห่งสมุฏฐาน ใน ๒ คำนั้น ด้วยคำว่า สัมเภท. จริงอยู่ เว้น ๓ สิกขาบทนั้นเสีย สิกขาบทที่เหลือจัดเป็นสัมภินนสมุฏฐาน. บัณฑิตพึงตรวจดูนิทาน กล่าวคือประเทศที่บัญญัติแห่งสิกขาบททั้งหลายด้วยคำว่า นิทาน.
               บาทคาถาว่า สุตฺเต ทิสฺสนฺติ อุปริ มีความว่า ๓ ส่วนนี้ คือ สมุฏฐานนิยม สัมเภท นิทานแห่งสิกขาบททั้งหลาย ย่อมเห็นได้ คือย่อมปรากฎในสูตรเท่านั้น.
               บรรดาสมุฏฐานนิยม สัมเภทและนิทานนั้น สมุฏฐานนิยมและสัมเภท ในปุริมนัยก่อน ย่อมปรากฏในคำว่า ย่อมเกิดขึ้นด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือกายกับจิต เป็นอาทิ. ส่วนนอกจากนี้ ชื่อนิทาน ย่อมปรากฏในเบื้องหน้าอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว ในกรุงเวสาลี ในกรุงราชคฤห์ ในกรุงสาวัตถี ในเมืองอาฬวี ในกรุงโกสัมพี ในแคว้นสักกะทั้งหลาย และในแคว้นภัคคะทั้งหลาย. บัณฑิตพึงทราบว่า คำนี้จักปรากฏในสูตรซึ่งมาข้างหน้า.
               เนื้อความแห่งคาถาว่า วิภงฺเค ทฺวีสุ เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้ :-
               ในวันอุโบสถ ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายย่อมสวดสิกขาบทใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ในวิภังค์ทั้ง ๒, ข้าพเจ้าจักกล่าวสมุฏฐานตามสมควรแก่สิกขาบทนั้น ; ท่านทั้งหลายจงฟังคำนั้นของข้าพเจ้า.
               บทว่า สญฺจริตฺตานุภาสญฺจ ได้แก่ สัญจริตตสิกขาบทและสมนุภาสนสิกขาบท.
               สองบทว่า อติเรกญฺจ จีวรํ ได้แก่ อติเรกจีวรสิกขาบท. อธิบายว่า กฐินสิกขาบท.
               สองบทว่า โลมานิ ปทโสธมฺโม ได้แก่ เอฬกโลมสิกขาบททั้งหลายและปทโสธัมมสิกขาบท.
               บทว่า ภูตสํวิธาเนน จ ได้แก่ ภูตาโรจนสิกขาบทและการชักชวนเดินทางไกล.
               บทว่า เถยฺยเทสนโจรญฺจ ได้แก่ เถยยสัตถสิกขาบท การแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีร่มในมือ และโจรีวุฏฐาปนสิกขาบท.
               สองบทว่า อนนุญฺญาตาย เตรส มีความว่า สมุฏฐานเหล่านี้รวมกับการบวชสตรีที่มารดาบิดาหรือสามีไม่อนุญาต จึงเป็นสมุฏฐาน ๑๓.
               บาทคาถาว่า สทิสา อิธ ทิสฺสเร มีความว่า ในอุภโตวิภังค์นี้ สมุฏฐานทั้งหลายที่คล้ายกันแม้เหล่าอื่น ย่อมปรากฏ ในสมุฏฐานอันหนึ่งๆ ในบรรดาสมุฏฐาน ๑๓ เหล่านี้.

               [ว่าด้วยปฐมปาราชิกสมุฏฐาน]               
               บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า เมถุนํ สุกฺกสํสคฺโค เป็นต้น เพื่อแสดงสมุฏฐานเหล่านั้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมถุนํ นี้ พึงทราบก่อน. สมุฏฐานใหญ่อันหนึ่ง ชื่อว่าปฐมปาราชิก. สมุฏฐานที่เหลือ คล้ายกับปฐมปาราชิกสมุฏฐานนั้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกฺกสํสคฺโค ได้แก่ สุกกวิสัฏฐิสมุฏฐานและกายสังสัคคสมุฏฐาน.
               บาทคาถาว่า อนิยตา ปฐมิกา ได้แก่ อนิยตสิกขาบทที่ ๑.
               บาทคาถาว่า ปุพฺพูปปริปาจิตา ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า ชานํ ปุพฺพูปคตํ ภิกฺขุํ และภิกขุนีปริปาจิตปิณฑปาตสิกขาบท.
               บาทคาถาว่า รโห ภิกฺขุนิยา สห ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการนั่งในที่ลับกับภิกษุณี.
               บาทคาถาว่า สโภชเน รโห เทฺว จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการนั่งแทรกแซง ในสโภชนสกุล และรโหนิสัชชสิกขาบททั้ง ๒.
               บาทคาถาว่า องฺคุลิ อุทเก หสํ ได้แก่ อังคุลีปโฏทกสิกขาบทและอุทเกหัสสธัมมสิกขาบท.
               บาทคาถาว่า ปหาเร อุคฺคิเร เจว ได้แก่ ปหารทานสิกขาบทและตลสัตติกอุคคิรณสิกขาบท.
               บาทคาถาว่า เตปญฺญาสา จ เสขิยา ได้แก่ เสขิยสิกขาบท ๕๓ มีปริมัณฑลนิวาสนสิกขาบทเป็นอาทิ ที่ท่านกล่าวไว้ในที่สุดแห่งขุททกวัณณนาเหล่านี้ คือ :-
                         ปริมัณฑลกสิกขาบท ๒, สุปฏิจฉันนกสิกขาบท ๒,
               สุสังวุตสิกขาบท ๒, โอกขิตตจักขุกสิกขาบท ๒, อุกขิตตกายกสิกขาบท ๒,
               กายัปปจาลิกสิกขาบท ๒, พาหุปปจาลิกสิกขาบท ๒,
               สีสัปปจาลิกสิกขาบท ๒, ขัมภกสิกขาบท ๒, โอคุณฐิตสิกขาบท ๒,
               อุกกุฏิกสิกขาบท ๑, ปัลลัตถิกสิกขาบท ๑, สักกัจจปฏิคคหณสิกขาบท ๑,
               ปัตตสัญญิตาสิกขาบท ๑, สมสูปกสิกขาบท ๑, สมติตติกสิกขาบท ๑,
               สักกัจจภุญชิสสสิกขาบท ๑, ปัตตสัญญีภุญชิสสสิกขาบท ๑,
               สปทานภุญชิสสสิกขาบท ๑, สมสูปกภุญชิสสสิกขาบท ๑, ถูปิกตสิกขาบท ๑,
               พยัญชนสิกขาบท ๑, อุชฌานสัญญิสิกขาบท ๑, นาติมหันตกวฬสิกขาบท ๑,
               มัณฑลอาโลปสิกขาบท ๑, อนาหตสิกขาบท ๑, สัพพหัตถสิกขาบท ๑,
               ปิณฑุกเขปกสิกขาบท ๑, กวฬาวัจเฉทกสิกขาบท ๑, อวคัณฑกสิกขาบท ๑,
               หัตถนิทธูนกสิกขาบท ๑, สิตถาวการกสิกขาบท ๑, ชิวหานิจฉารกสิกขาบท ๑,
               จปุจปุการกสิกขาบท ๑, สุรุสุรุการกสิกขาบท ๑, หัตถนิลเลหสิกขาบท ๑,
               ปัตตนิลเลหสิกขาบท ๑, โอฏฐนิลเลหสิกขาบท ๑, สามิสสิกขาบท ๑,
               สสิตถกสิกขาบท ๑, และปกิณณกสิกขาบท ๓ เหล่านี้ คือ ยืนถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ๑,
               ยืนหรือนั่งถ่ายอุจจาระปัสสาวะบ้วนน้ำลายลงในของเขียว ๑,
               ยืนหรือนั่งถ่ายอุจจาระปัสสาวะบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ๑,
               บาทคาถาว่า อธกฺขคามาวสฺสุตา ได้แก่ อธักขกสิกขาบท คามันตรคมนสิกขาบทและสิกขาบทว่าด้วยการที่ภิกษุณีผู้มีจิตกำหนัดรับของควรเคี้ยว จากมือของบุรุษผู้มีจิตกำหนัด ของภิกษุณีทั้งหลาย.
               บาทคาถาว่า ตลมตฺถญฺจ สุทฺธิกา ได้แก่ ตลฆาฎกสิกขาบท ชตุมัตถกสิกขาบท และอุทกสุทธิกาสิกขาบท สาทิยนสิกขาบท.
               บาทคาถาว่า วสฺสํ วุตฺถา จ โอวาทํ ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า วสฺสํ วุตฺถา ฉ ปญฺจ โยชนานิ และสิกขาบทว่าด้วยการไม่ไปเพื่อโอวาท.
               บาทคาถาว่า นานุพนฺเธ ปวตฺตินึ มีความว่า สิกขาบทเหล่านี้มี ๗๖ รวมทั้งวุฎฐาปิตปวัตนนานุพันธสิกขาบท.
               สองบทว่า อิเม สิกฺขา ได้แก่ สิกขาบททั้งหลายเหล่านี้. ศัพท์ว่า อิเม ท่านทำให้ผิดลิงค์เสีย.
               บาทคาถาว่า กายมานสิกา กตา ความว่า สิกขาบทเหล่านี้ ท่านจัดเป็นสิกขาบทมีกายกับจิตเป็นสมุฏฐาน.

               [ว่าด้วยทุติยปาราชิกสมุฏฐาน]               
               บทว่า อทินฺนํ นี้ พึงทราบก่อน. คำว่าอทินนาทาน หรือคำว่า ทุติยปาราชิก เป็นสมุฏฐานใหญ่อันหนึ่ง.
               บทที่เหลือเป็นเช่นกับอทินนาทานนั้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิคฺคหุตฺตรึ ได้แก่ มนุสสวิคคหสิกขาบทและอุตตริมนุสสธัมมสิกขาบท.
               สองบทว่า ทุฏฺฐุลฺลา อตฺตกามินํ ได้แก่ ทุฏฐุลลวาจสิกขาบทและอัตตกามปาริจริยสิกขาบท.
               สองบทว่า อมูลา อญฺญภาคิยา ได้แก่ ทุฏฐโทสสิกขาบททั้ง ๒.
               สองบทว่า อนิยตา ทุติยิกา ได้แก่ อนิยตสิกขาบทที่ ๒.
               สองบทว่า อจฺฉินฺเท ปริณามเน ได้แก่ การให้จีวรเองแล้วชิงเอามา และการน้อมลาภของสงฆ์มาเพื่อตน.
               บาทคาถาว่า มุสาโอมสเปสุณา ได้แก่ มุสาวาทสิกขาบท ๑ โอมสวาทสิกขาบท ๑ ภิกขุเปสุญญสิกขาบท ๑.
               สองบทว่า ทุฏฐุลฺลา ปฐวีขเณ ได้แก่ ทุฏฐุลลาปัตติอาโรจนสิกขาบท ๑ ปฐวีขณนสิกขาบท ๑.
               สามบทว่า ภูตํ อญฺญาย อุชฺฌเป ได้แก่ ภูตคามสิกขาบท อัญญวาทกสิกขาบท และอุชฌาปนกสิกขาบท.
               สองบทว่า นิกฑฺฒนํ สิญฺจนญฺจ ได้แก่ วิหารโตนิกัฑฒนสิกขาบท ๑ อุทเกนติณาทิสิญจนสิกขาบท ๑.
               สองบทว่า อามิสเหตุ ภุตฺตาวี ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า อามิสเหตุ ภิกฺขุนิโย โอวทนฺติ ๑, สิกขาบทว่าด้วยปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จแล้ว ด้วยของเคี้ยวเป็นต้น อันมิใช่เดน ๑.
               สามบทว่า เอหิ อนาทริ ภึสา ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า เอหาวุโส คามํ วา เป็นต้น ๑, อนาทริยสิกขาบท ๑, ภิกขุภิงสาปนกสิกขาบท ๑,
               สองบทว่า อปนิเธ จ ชีวิตํ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการซ่อนบริขารมีบาตรเป็นต้น ๑, สิกขาบทว่าด้วยการแกล้งปลงชีวิตสัตว์ ๑.
               สามบทว่า ชานํ สปฺปาณกํ กมฺมํ ได้แก่ ชานังสัปปาณกอุทกสิกขาบท ๑, ปุนกัมมายุโกฏนสิกขาบท ๑.
               บทว่า อูนสํวาสนาสนา ได้แก่ อูนวีสติวัสสสิกขาบท ๑, สิกขาบทว่าด้วยการอยู่ร่วมกับภิกษุที่ถูกสงฆ์ยกวัตร ๑, นาสิตกสามเณรสัมโภคสิกขาบท ๑.
               บทว่า สหธมฺมิกวิเลขา ได้แก่ สหธัมมิกวุจจมานสิกขาบท ๑ สิกขาบทที่มาว่า วิเลขาย สํวตฺตนฺติ ๑.
               สองบทว่า โมโห อมูลเกน จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยเป็นปาจิตตีย์ เพราะความเป็นผู้แสร้งทำหลง ๑, สิกขาบทว่าด้วยการโจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ๑.
               สามบทว่า กุกฺกุจฺจํ จีวรํ ทตฺวา ได้แก่ กุกกุจจอุปปาทนสิกขาบท ๑, สิกขาบทว่าด้วยการให้ฉันทะเพื่อกรรมที่เป็นธรรมแล้วกลับบ่นว่า ๑, สิกขาบทว่าด้วยการให้จีวรแล้วกลับบ่นว่า ๑.
               สองบทว่า ปริณเมยฺย ปุคฺคเล ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยน้อมลาภสงฆ์ไปเพื่อบุคคล.
               บาทคาถาว่า กินฺเต อกาลอจฺฉินฺเท ได้แก่ สิกขาบทที่มาว่า พระผู้เป็นเจ้า บุรุษบุคคลนั่น จักทำประโยชน์อะไรแก่ท่าน ๑ สิกขาบทว่าด้วยการอธิษฐานอกาลจีวร ว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกัน ๑, สิกขาบทว่าด้วยการแลกจีวรกับภิกษุณีแล้วชิงเอามา ๑.
               สองบทว่า ทุคฺคหิ นิรเยน จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการยกโทษผู้อื่น ด้วยเครื่องที่จับไม่ถนัด ใคร่ครวญไม่ดี ๑ สิกขาบทว่าด้วยการแช่งด้วยนรก หรือพรหมจรรย์ ๑.
               สามบทว่า คณํ วิภงฺคํ ทุพฺพลํ ได้แก่ สิกขาบทที่ตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงทำอันตรายแก่จีวรลาภของคณะ ๑ ที่ตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงห้ามการแจกจีวรที่เป็นธรรม ๑ ที่ตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงก้าวล่วงจีวรกาลสมัยเสีย ด้วยจำนงเฉพาะซึ่งจีวรอันไม่มั่นคง ๑.
               บาทคาถาว่า กฐินาผาสุปสฺสยํ ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงห้ามการรื้อกฐินที่เป็นธรรม ๑ ภิกษุณีใด พึงแกล้งทำความไม่สำราญแก่ภิกษุณี ๑ ภิกษุณีใดให้ที่อยู่แก่ภิกษุณีแล้ว โกรธ ไม่พอใจ พึงฉุดคร่านางก็ดี ๑.
               สองบทว่า อกฺโกสจณฺฑี มจฺฉรี ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใดพึงด่าก็ดี ซึ่งภิกษุ ๑ ภิกษุณีใดเป็นผู้ดุร้าย พึงกล่าวขู่คณะ ๑ ภิกษุณีใด พึงเป็นผู้หวงตระกูล ๑.
               สองบทว่า คพฺภินี จ ปายนฺติยา ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังสตรีมีครรภ์ให้บวช ๑ ภิกษุณีใด พึงยังสตรีผู้ยังต้องให้บุตรดื่มนมให้บวช ๑.
               หลายบทว่า เทฺว วสฺสา สิกฺขา สงฺเฆน ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาในธรรม ๖ ครบ ๒ ปี ให้บวช ๑ ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานาผู้ศึกษาเสร็จแล้วในธรรม ๖ แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ให้บวช ๑.
               สองบทว่า ตโย เจว คิหิคตา ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังสตรีมีคฤหัสถ์ ผู้มีอายุหย่อน ๑๒ ปี ให้บวช ๑ ภิกษุณีใด พึงยังสตรีคฤหัสถ์ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปีแล้ว แต่ยังไม่ศึกษาในธรรม ๖ ครบ ๒ ปี ให้บวช ๑ ภิกษุณีใด พึงยังสตรีคฤหัสถ์ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปีแล้ว ได้ศึกษาในธรรม ๖ ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ ให้บวช ๑.
               สองบทว่า กุมารีภูตา ติสฺโส จ ได้แก่ สตรีผู้เป็นนางกุมารี ๓ จำพวกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยนัยมีคำว่า ภิกษุณีใด พึงยังสตรีผู้เป็นนางกุมารี มีอายุหย่อน ๒๐ ปีให้บวช เป็นต้น.
               บทว่า อูนทฺวาทสสมฺมตา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด มีพรรษาหย่อน ๑๒ พึงเป็นอุปัชฌาย์ยังนางสิกขมานาให้อุปสมบท ๑ ภิกษุณีใด มีพรรษาครบ ๑๒ แล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ พึงเป็นอุปัชฌาย์ ยังนางสิกขมานาให้อุปสมบท ๑.
               สองบทว่า อลนฺตา ว โสกาวสฺสํ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ผู้อันนางภิกษุณีใดกล่าวอยู่ว่า อย่าเพ่อก่อนแม่คุณ เธออย่ายังนางสิกขมานา ให้บวช ดังนี้เป็นต้น ๑ ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานา ผู้มีใจร้ายยังความโศกให้ครอบงำใจบุรุษให้บวช ๑.
               สามบทว่า ฉนฺทา อนุวสฺสา จ เทฺว ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานา ให้อุปสมบทด้วยการมอบฉันทะที่ตกค้าง ๑ ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานา ให้อุปสมบทตามปี ๑ ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานา ให้อุปสมบทปีละ ๒ รูป ๑.
               สามบทว่า สมุฏฺฐานา ติกา กตา มีความว่า ๗ สิกขาบทนี้จัดเป็นติกสมุฏฐาน (คือ เกิดโดยทวาร ๓).

               [ว่าด้วยสัญจริตตสมุฏฐาน]               
               สามบทว่า สญฺจริ กุฏิ วิหาโร ได้แก่ สัญจริตตสิกขาบท ๑ สัญญาจิกายกุฏิกรสิกขาบท ๑ มหัลลกวิหารกรณสิกขาบท ๑.
               สองบทว่า โธวนญฺจ ปฏิคฺคโห ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ซักจีวรเก่า ๑ จีวรปฏิคคหณสิกขาบท ๑.
               สองบทว่า วิญฺญตฺตุตฺตริ อภิหฏฺฐุํ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการออกปากขอจีวรกะคฤหบดีผู้มิใช่ญาติ ๑ สิกขาบทว่าด้วยยินดียิ่งกว่าอุตราสงค์ และอันตรวาสกนั้น ๑.
               สองบทว่า อุภินฺนํ ทูตเกน จ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่มาว่า จีวรเจตาปนํ อุปกฺขฏํ โหติ และสิกขาบทว่าด้วยค่าจีวรที่เขาส่งไปด้วยทูต.
               หลายบทว่า โกสิยา สุทฺธเทฺวภาคา ฉพฺพสฺสานิ นิสีทนํ ได้แก่ ๕ สิกขาบท มีสิกขาบทที่ว่า โกสิยมิสฺสกํ สนฺถตํ เป็นต้น.
               สองบทว่า ริญฺจนฺติ รูปิกา เจว ได้แก่ เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบทที่มาในคัมภีร์วิภังค์ว่า ริญฺจนฺติ อุทฺเทสํ ๑ รูปียปฏิคคหณสิกขาบท ๑.
               สองบทว่า อุโภ นานปฺปการกา ได้แก่ ๒ สิกขาบท คือ รูปียสังโวหารสิกขาบทและกยวิกกยสิกขาบท.
               สองบทว่า อูนพนฺธนวสฺสิกา ได้แก่ อูนปัญจพันธนปัตตสิกขาบท ๑ วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ๑.
               สองบทว่า สุตฺตํ วิกปฺปเนน จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยออกปากขอด้ายให้ช่างหูกทอจีวร ๑ สิกขาบทว่าด้วยการเข้าไปหาช่างหูกถึงความกำหนดในจีวร ๑.
               บทว่า ทฺวารทานสิพฺพินี จ ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ด้วยวางเช็ดหน้าเพียงไรแต่กรอบแห่งประตู ๑ ภิกษุณีใด พึงให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ๑ ภิกษุใด พึงเย็บจีวรของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ๑.
               บทว่า ปูวปจฺจยโชติ จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการปวารณาด้วยขนมหรือด้วยสัตตุผง เพื่อนำไปตามปรารถนา ๑ จาตุมาสปัจจยปวารณาสิกขาบท ๑ โชติสมาทหนสิกขาบท ๑.
               หลายบทว่า รตนํ สูจ มญฺโจ จ ตุลํ นิสีทนกณฺฑุ จ วสฺสิกา จ สุคเตน ได้แก่ รตนสิกขาบท ๑ และ ๗ สิกขาบทมีสูจิฆรสิกขาบทเป็นต้น.
               หลายบทว่า วิญฺญตฺติ อญฺญเจตาปนา, เทฺวสงฺฆิกา มหาชนิกา เทฺว ปุคฺคลา ลหุกา ครุ ได้แก่ ๙ สิกขาบทมีสิกขาบทว่า อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงออกปากขอกะคนอื่นแล้ว ออกปากขอกะคนอื่นอีก เป็นต้น.
               สามบทว่า เทฺว วิฆาสา สาฏิกา จ ได้แก่ วิฆาสสิกขาบททั้ง๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงทิ้งเองก็ดี พึงยังผู้อื่นให้ทิ้งก็ดี ซึ่งอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือหยากเยื่อ หรืออาหารที่เป็นเดน ภายนอกฝาก็ตาม ภายนอกกำแพงก็ตาม ๑ ภิกษุณีใดพึงทิ้งเองก็ดี พึงยังผู้อื่นให้ทิ้งก็ดีซึ่งอุจจาระหรือปัสสาวะหรือหยากเยื่อ หรืออาหารที่เป็นเดน ในของสดเขียว ๑ และอุทกสาฏิกสิกขาบท.
               คำว่า สมณจีวเรน จ นั่น ท่านกล่าวหมายเอาพระบาลีนี้ว่า สมณจีวรํ ทเทยฺย.

               [ว่าด้วยสมนุภาสนสมุฏฐาน]               
               บทว่า เภทานุตฺตทุพฺพจทูสทุฏฐุลฺลทิฏฺฐิ จ ได้แก่ สังฆเภทสิกขาบท ๑ เภทานุวัตตกสิกขาบท ๑ ทุพพจสิกขาบท ๑ กุลทูสกสิกขาบท ๑ ทุฏฐุลลาปัตติปฏิจฉาทนสิกขาบท ๑ ทิฏฐิอัปปฏินิสสัชชสิกขาบท ๑.
               สามบทว่า ฉนฺทํ อุชฺชคฺฆิกา เทฺว จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยไม่มอบฉันทะไปเสีย ๑ และ ๒ สิกขาบทว่าด้วยการไปและการนั่งในละแวกบ้าน และทั้งหัวเราะลั่น.
               บทว่า เทฺวปฺปสทฺทา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่ว่า เราจักเป็นผู้มีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน ๑ นั่งในละแวกบ้าน ๑.
               บทว่า น พฺยาหเร ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า เราจักไม่พูดด้วยปากที่ยังมีคำข้าว.
               หลายบทว่า ฉมา นีจาสเน ฐานํ, ปจฺฉโต อุปฺปเถน จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุนั่งที่แผ่นดิน แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งบนอาสนะ ๑ นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง ๑ ผู้ยืนอยู่ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่ง ๑ ผู้ไปข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ไปข้างหน้า ๑ ผู้เดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่บุคคลไม่เป็นไข้ ผู้ไปในทาง ๑.
               สองบทว่า วชฺชานุวตฺติ คหณา ได้แก่ ปาราชิก ๓ สิกขาบทกล่าวคือ วัชชปฏิจฉาทนสิกขาบท ๑ อุกขิตตานุวัตตนสิกขาบท ๑ หัตถคหณาทิสิกขาบท ๑.
               สองบทว่า โอสาเร ปจฺจาจิกฺขนา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ไม่บอกเล่าสงฆ์ผู้กระทำ ไม่ทราบความพอใจของคณะ พึงถอนโทษ (ภิกษุณี ผู้อันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงยกวัตรแล้ว โดยธรรมโดยวินัย โดยสัตถุศาสน์) ๑. ภิกษุณีใดโกรธเคือง มีใจไม่แช่มชื่น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ากล่าวคืนพระพุทธเจ้า ดังนี้เป็นต้น ๑.
               หลายบทว่า กิสฺมึ สํสฏฺฐา เทฺว วธิ ได้แก่ หลายสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด อันสงฆ์ทำภายหลัง ในอธิกรณ์บางเรื่องเท่านั้น ดังนี้ ๑ อนึ่ง ภิกษุณีทั้งหลายเป็นผู้คลุกคลีกันอยู่ดังนี้ ๑ อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คลุกคลีกันอยู่เถิด แม่เจ้าดังนี้เป็นต้น ๑ ภิกษุณีใด พึงประหารข่วนตัวแล้วร้องไห้ดังนี้ ๑.
               สองบทว่า วิสิพฺเพ ทุกฺขิตาย จ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงเลาะเองก็ดี ให้ผู้อื่นเลาะก็ดี ซึ่งจีวรของภิกษุณี ๑ ภิกษุณีใด พึงไม่บำรุงเองก็ดี ไม่พึงให้ผู้อื่นบำรุงก็ดี ซึ่งสหชีวินีผู้ถึงทุกข์ ๑.
               หลายบทว่า ปุน สํสฏฺฐา น วูปสเม ได้แก่ สังสัฏฐสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซ้ำอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงอยู่คลุกคลีด้วยคหบดีก็ดี ด้วยบุตรของคหบดีก็ดี ๑ และสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใดผู้อันภิกษุณีกล่าวอยู่ว่า มาเถิด แม่เจ้าท่านจงยังอธิกรณ์นี้ให้ระงับ ดังนี้ รับแล้วว่า สาธุ ภายหลังเธอผู้ไม่มีอันตราย พึงไม่ยังอธิกรณ์ให้ระงับ ๑.
               สองบทว่า อารามญฺจ ปวารณา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด รู้อยู่ ซึ่งอารามอันมีภิกษุ ไม่ไต่ถามก่อน พึงเข้าไปดังนี้ ๑ ภิกษุณีใด จำพรรษาแล้ว พึงไม่ปวารณาด้วยสถาน#- ๓ ... ในอุภโตสงฆ์ ดังนี้ ๑.
               หลายบทว่า อนฺวฑฺฒมาสํ สหชีวินี เทฺว ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธรรม ๒ อย่าง (คือ อุโบสถ ๑ การเข้าไปหาเพื่อโอวาท ๑) อันภิกษุณีพึงหวังเฉพาะจากสงฆ์ทุกกึ่งเดือน และ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังสหชิวินีให้บวชแล้ว ไม่อนุเคราะห์ตลอด ๒ พรรษา ๑ ภิกษุณีใด พึงยังสหชีวินีให้บวชแล้ว ไม่พาไปเอง ๑.
               สองบทว่า จีวรํ อนุพนฺธนา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงพูดกะนางสิกขมานาว่า แน่ะแม่เจ้า ถ้าว่า เธอจักให้จีวรแก่เราไซร้ ด้วยอย่างนั้น เราจักยังเธอให้อุปสมบท ดังนี้เป็นต้น ๑ ภิกษุณีใด พึงพูดกะนางสิกขมานาว่า แน่ะแม่เจ้า ถ้าว่า เธอจักติดตามเราไปตลอด ๒ พรรษาไซร้ ด้วยอย่างนั้น เราจักยังเธอให้อุปสมบท ดังนี้ ๑.
               ธรรม ๓๗ เหล่านี้ (ทั้งหมด เป็นสมุฏฐานอันหนึ่ง มีองค์ ๓ คือ กาย วาจา จิต เหมือนสมนุภาสนสมุฏฐาน).
____________________________
#- คือ ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา.

               [ว่าด้วยกฐินสมุฏฐาน]               
               สามบทว่า อุพฺภตํ กฐินํ ตีณิ ได้แก่ ๓ สิกขาบทข้างต้นที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ครั้นจีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุรื้อเสียแล้ว.
               สองบทว่า ปฐมํ ปตฺตเภสชฺชํ ได้แก่ ปัตตสิกขาบทที่ ๑ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง และสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เภสัชอันควรลิ้ม.
               สองบทว่า อจฺเจกญฺจาปิ สาสงฺกํ ได้แก่ อัจเจกจีวรสิกขาบท ๑ สาสังกสิกขาบท อันเป็นลำดับแห่งอัจเจกจีวรสิกขาบทนั้นเอง ๑.
               สองบทว่า ปกฺกมนฺเตน วา ทุเว ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในภูตคามวรรคว่า เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเองก็ดี ซึ่งเตียงเป็นต้นนั้น.
               สองบทว่า อุปสฺสยํ ปรมฺปรา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณีแล้ว พึงสอนภิกษุณีทั้งหลาย ๑ เป็นปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะทีหลัง ๑.
               สองบทว่า อนติริตฺตํ นิมนฺตนา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุใด ฉันเสร็จห้ามเสียแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ตาม ซึ่งของฉันก็ตาม อันไม่เป็นเดน ๑ ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตรอยู่แล้ว ๑.
               สามบทว่า วิกปฺปํ รญฺโญ วิกาเล ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุใด วิกัปจีวรเอง ... ๑ ของพระราชาผู้กษัตริย์ ๑ ภิกษุใด ... พึงเข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล ๑.
               บทว่า โวสาสารญฺญเกน จ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าภิกษุณีมายืนยันสั่งเสียอยู่ในที่นั้น ๑ ภิกษุใดอยู่ในเสนาสนะป่าเห็นปานนั้น รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ก่อน ๑.
               สองบทว่า อุสูยา สนฺนิจยญฺจ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด มักพูดด้วยความริษยา ๑ ภิกษุณีใด พึงทำการสะสมบาตร ๑.
               หลายบทว่า ปุเร ปจฺฉา วิกาเล จ ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงเข้าไปสู่สกุลทั้งหลาย ในเวลาก่อนอาหาร ดังนี้ ๑ อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงเข้าไปสู่สกุลทั้งหลายในเวลาภายหลังอาหาร ดังนี้ ๑ อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงเข้าไปสู่สกุลทั้งหลาย ในเวลาวิกาล ดังนี้ ๑.
               สองบทว่า ปญฺจาหิกา สงฺกมนี ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังการผลัดสังฆาฏิ ให้ก้าวล่วง ๕ วันไป ๑ ภิกษุณีใด พึงทรงจีวรที่ตนยืมมา ซึ่งจะต้องส่งคืน ๑.
               สองบทว่า เทฺวปิ อาวสเถน จ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรวมกับที่พักอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด ไม่มอบหมายจีวรในที่พัก พึงบริโภค ไม่มอบหมายที่พัก พึงหลีกไปสู่ที่จาริก.
               สองบทว่า ปสาเข อาสเน เจว ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ไม่บอกซึ่งฝี (หรือพุพอง) อันเกิดที่โคนขา (กะสงฆ์หรือกะคณะ) ๑. ภิกษุณีใด ไม่ขออนุญาตก่อนพึงนั่งบนอาสนะข้างหน้าภิกษุ ๑.
               ๒๙ สิกขาบทเหล่านี้ (ย่อมเกิดโดยทวาร ๓ คือ กายกับวาจาแต่ไม่เกิดโดยลำพังจิต ทุกสิกขาบทรวมทั้งกฐินสิกขาบทมีสมุฏฐาน ๒ เสมอกัน).

               [ว่าด้วยเอฬกโลมสมุฏฐาน]               
               สามบทว่า เอฬกโลมา เทฺว เสยฺยา ได้แก่ เอฬกโลมสิกขาบท ๑ และสหไสยสิกขาบท ๒.
               บทว่า อาหจฺจปิณฺฐโภชนํ ได้แก่ อาหัจจปาทกสิกขาบทและอาวสถปิณฑโภชนสิกขาบท.
               บทว่า คณวิกาลสนฺนิธิ ได้แก่ ๓ สิกขาบท คือ คณโภชนสิกขาบท ๑ วิกาลโภชนสิกขาบท ๑ สันนิธิการกสิกขาบท ๑.
               บทว่า ทนฺตโปเณนเจลกา ได้แก่ ทันตโปณสิกขาบทและอเจลกสิกขาบท.
               สามบทว่า อุยฺยุตฺตํ วเส อุยฺโยธิ ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงไปเพื่อดูเสนาอันยกออกแล้ว พึงอยู่ในกองทัพ พึงไปสู่สนามรบก็ดี ฯลฯ ไปดูกองทัพก็ดี.
               สามบทว่า สุรา โอเรน นหายนา ได้แก่ สุราปานสิกขาบท ๑ โอเรนัฑฒมาสังนหานสิกขาบท ๑.
               สามบทว่า ทุพฺพณฺเณ เทฺว เทสนิกา ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ติณฺณํ ทุพฺพณฺณกรณานํ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๒ สิกขาบทที่เหลือจากที่ตรัสแล้ว ๑.
               สองบทว่า ลสุณุตฺติฏฺเฐ นจฺจนา ได้แก่ ลสุณสิกขาบท ๑ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงเข้าไปปฏิบัติภิกษุผู้กำลังฉัน ด้วยน้ำฉันก็ดี ด้วยการพัดก็ดี ๑. สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใดพึงไปดูการฟ้อนก็ดี การประโคมก็ดี ๑.
               ต่อจากนี้ไป พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย เขียนเพี้ยนบาลี. ผู้ศึกษาพึงทราบลำดับ ในคำว่า นหานํ อตฺถรณํ เสยฺยา เป็นอาทินี้ เหมือนเนื้อความที่ข้าพเจ้าอธิบาย (ต่อไป).
               สามบทว่า นหานํ อตฺถรณํ เสยฺยา ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีเหล่าใด พึงเปลือยกายอาบน้ำ ภิกษุณีเหล่าใด พึงใช้ผ้าปูนอนและผ้าห่มผืนเดียวกัน นอนด้วยกัน ๒ รูป ภิกษุณีเหล่าใด พึงนอนบนเตียงเดียวกัน ๒ รูป.
               สามบทว่า อนฺโตรฏฺเฐ ตถา พหิ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ไม่มีพวก พึงเที่ยวจาริกไป ... ในที่ซึ่งรู้กันว่า น่ารังเกียจภายในแคว้น ไม่มีพวก เที่ยวจาริกไป ... ในที่ซึ่งรู้กันว่าน่ารังเกียจภายนอกแคว้น.
               สองบทว่า อนฺโตวสฺสํ จิตฺตาคารํ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงหลีกไปสู่จาริก ภายในกาลฝน ภิกษุณีใด พึงไปเพื่อดูพระราชวังก็ดี เรือนงามก็ดี ฯลฯ สระโบกขรณีก็ดี.
               สองบทว่า อาสนฺทิ สุตฺตกนฺตนา ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงใช้สอยอาสันทิหรือบัลลังก์ พึงกรอด้าย.
               สองบทว่า เวยฺยาวจฺจํ สหตฺถา จ ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงทำความขวนขวายแก่คฤหัสถ์ พึงให้ของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน แก่ชาวบ้านก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี.
               คำว่า อภิกฺขุกาวาเสน จ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาสิกขาบทนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสไม่มีภิกษุ.
               สามบทว่า ฉตฺตํยานญฺจ สงฺฆาณึ ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ไม่อาพาธ พึงใช้ร่มและรองเท้า ไม่เป็นไข้ พึงไปด้วยยาน ภิกษุณีใด พึงใช้เข็มขัด.
               สองบทว่า อลงฺการํ คนฺธวาสิตํ ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงทรงไว้ซึ่งเครื่องแต่งตัวสำหรับสตรี พึงอาบด้วยของหอมและสี พึงอาบด้วยแป้งอบ.
               ด้วยบทว่า ภิกฺขุนี เป็นต้น ตรัส ๔ สิกขาบทมีสิกขาบทว่า ภิกษุณีใด พึงใช้ภิกษุณีให้นวด เป็นอาทิ.
               สองบทว่า อสงฺกจฺฉิกา อาปตฺติ ได้แก่ อาบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด ไม่มีประคดอกเข้าบ้าน ต้องปาจิตตีย์.
               บาทคาถาว่า จตฺตาริสา จตุตฺตรี ได้แก่ ๔๔ สิกขาบทเหล่านี้ทั้งหมด.
               หลายบทว่า กาเยน น วาจาจิตฺเตน กายจิตฺเตน น วาจโต มีความว่า เกิดทางกายและกายกับจิต ไม่เกิดทางวาจากับจิตไม่เกิดทางวาจา.
               คำว่า ทุกสิกขาบท มีสมุฏฐาน ๒ ชื่อว่าเอฬกโลมสมุฏฐานเสมอกันนี้ มีเนื้อความชัดเจนแล้ว.

               [ว่าด้วยปทโสธัมมสมุฏฐาน]               
               สองบทว่า ปทญฺญตฺร อสมฺมตา ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุใด พึงยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมโดยบท ๑, ภิกษุใดพึงแสดงธรรมแก่มาตุคาม ยิ่งกว่า ๖-๕ คำ เว้นแต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสา ๑, ภิกษุใด ไม่ได้รับสมมติสั่งสอนพวกภิกษุณี ๑.
               คำว่า ตถา อตฺลงฺคเตน จ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาสิกขาบทนี้ว่า เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว สั่งสอนพวกภิกษุณี.
               สองบทว่า ติรจฺฉานวิชฺชา เทฺว ได้แก่ ๒ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงเรียนติรัจฉานวิชชา ๑, พึงบอกติรัจฉานวิชชา ๑.
               คำว่า อโนกาเส จ ปุจฺฉนา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาสิกขาบทนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงถามปัญหากะภิกษุซึ่งตนไม่ขอโอกาสก่อน.

               [ว่าด้วยอัทธานสมุฏฐาน]               
               สองบทว่า อทฺธานนาวํ ปณีตํ ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุใด ชักชวนกันแล้ว เดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี ๑, ชักชวนกันแล้วขึ้นเรือลำเดียวกับภิกษุณี ๑, ภิกษุใด มิใช่อาพาธ ขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน ๑.
               สองบทว่า มาตุคาเมน สงฺฆเร ได้แก่ สิกขาบทคือชักชวนกันแล้วไปกับมาตุคาม ๑, สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงนำ (ถอน-โกน-ตัด) ขนในที่แคบ ๑.
               สองบทว่า ธญฺญํ นิมนฺติตา เจว ได้แก่ สิกขาบทที่ตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงขอข้าวเปลือก ๑, ภิกษุณีใด รับนิมนต์แล้วก็ดี ห้ามโภชนะแล้วก็ดี พึงเคี้ยวของเคี้ยวก็ตาม พึงฉันของฉันก็ตาม ๑.
               บทว่า อฏฺฐ จ ได้แก่ ปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบทที่ตรัสเพื่อภิกษุณีทั้งหลาย.

               [ว่าด้วยเถยยสัตถสมุฏฐาน]               
               สองบทว่า เถยฺยสตฺถํ อุปสฺสุติ ได้แก่ สิกขาบทคือชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ๑, สิกขาบทคือยืนแอบฟัง ๑.
               คำว่า สูปวิญฺญาปเนน จ นี้ ตรัสหมายเอาการออกปากขอแกงและข้าวสุก.
               สามบทว่า รตฺติฉนฺนญฺจ โอกาสํ ได้แก่ ๓ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงยืนร่วมหรือพึงเจรจาตัวต่อตัวกับบุรุษในราตรีที่มืดไม่มีไฟ ๑, ในโอกาสกำบัง ๑, ในที่กลางแจ้ง ๑.
               คำว่า พฺยูเหน สตฺตมา นี้ ตรัสหมายเอาสิกขาบทที่มาเป็นลำดับแห่งสิกขาบทนั้นนั่นแลว่า กับบุรุษที่ถนนหรือที่ตรอกตัน.
               ธัมมเทสนสมุฏฐาน ๑๑ สิกขาบท ตื้นทั้งนั้น.
               พึงทราบสมุฏฐานที่เจือกันอยู่นี้ก่อน :-
               ส่วนนิยตสมุฏฐานมี ๓ อย่าง, นิยตสมุฏฐานนั้น มีเฉพาะแต่ละสิกขาบทเท่านั้น, เพื่อแสดงนิยตสมุฏฐานนั้นเฉพาะแผนก จึงตรัสคำว่า ภูตํ กาเยน ชายติ เป็นต้น. คำนั้นตื้นทั้งนั้น.
               บทว่า เนตฺติธมฺมานุโลมิกํ ได้แก่ อนุโลมแก่ธรรม กล่าวคือบาลีแห่งวินัย.

               สมุฏฐานสีสวัณณนา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปริวาร ย่อหัวข้อสมุฏฐาน จบ.
อ่านอรรถกถา 8 / 1อ่านอรรถกถา 8 / 819อรรถกถา เล่มที่ 8 ข้อ 826อ่านอรรถกถา 8 / 841อ่านอรรถกถา 8 / 1366
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=8&A=5897&Z=6130
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=9528
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=9528
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๒  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :