บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
สองบทว่า สนิทานํ สนิทฺเทสํ มีความว่า ข้าพเจ้าจักถามพร้อมด้วยต้นเหตุ และอธิบาย. หลายบทว่า สมุกฺกฎฺฐปทานํ กติ อาปตฺติโย มีความว่า บทเหล่าใดเป็นบทอุกฤษฏ์ คือ เป็นบทสูงสุด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอุปสัมปทาขันธกะนั้น บทอุกฤษฏ์โดยย่อ มีอาบัติเท่าไร? อาบัติใดๆ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติด้วยบทใดๆ, อาบัตินั้นๆ ท่านกล่าวว่า อาบัติแห่งบทนั้นๆ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทสูงสุดทั้งหลาย มีอาบัติเท่าไร? สองบทว่า เทฺว อาปตฺติโย มีความว่า เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ยังบุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปีให้อุปสมบท, เป็นทุก บทว่า ติสฺโส มีความว่า ในอุโปสถักขันธกะ มีอาบัติ ๓ อย่างนี้ คือ เป็นถุลลัจจัย เพราะทำอุโบสถแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มุ่งความแตกกันเป็นใหญ่แก่ผู้กล่าวอยู่ว่า ภิกษุเหล่านี้ จงฉิบหาย. ภิกษุเหล่านี้ จงวอดวาย, ประโยชน์อะไร ด้วยภิกษุเหล่านั้น, เป็นปาจิตตีย์ แม้เพราะทำอุโบสถร่วมกับภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร, เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ. บทว่า เอกา มีความว่า ในวัสสูปนายิกขันธกะ มีอาบัติทุกกฏชนิดเดียวเท่านั้น. บทว่า ติสฺโส มีความว่า แม้ในปวารณาขันธกะ ก็มีอาบัติ ๓ อย่างนี้ คือ เป็นถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้มุ่งความแตกกันเป็นใหญ่ ปวารณาอยู่, เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ปวารณากับภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร, เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ. บทว่า ติสฺโส มีความว่า แม้ในจัมมสังยุตต์ ก็มีอาบัติ ๓ อย่างนี้ คือ เป็นปาจิตตีย์ แก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ผู้จับแม่โคสาวให้ (จมน้ำ) ตาย, เป็นถุลลัจจัย เพราะมีจิตกำหนัดถูกองคชาต, เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ. แม้ในเภสัชชขันธกะ ก็มีอาบัติ ๓ อย่างนี้ คือ เป็นถุลลัจจัย (แก่ภิกษุผู้ทำสัตถกรรม) ใกล้ที่แคบประมาณ ๒ นิ้ว โดยรอบ (แห่งวัจจมัคค์และปัสสาวมัคค์), เป็นปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนยาคู, เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ. กฐิน พระผู้มีพระภาคเจ้าเพียงแต่ทรงบัญญัติเท่านั้น, ไม่มีอาบัติในกฐินขันธกะนั้น. ในจีวรสังยุตต์ มีอาบัติ ๓ เหล่านี้ คือ เป็นถุลลัจจัย เพราะจีวรคากรองและเปลือกไม้คากรอง, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะอติเรกจีวร, เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ. แม้ในจัมมเปยยักขันธกะ ก็มีอาบัติทุกกฏชนิดเดียวเท่านั้น. แม้ในโกสัมพิกขันธกะ กัมมขันธกะ ปาริวาสิกขันธกะและสมุจจยขันธกะ ก็มีอาบัติทุกกฏชนิดเดียวเท่านั้น. ในสมถขันธกะ มีอาบัติ ๒ เหล่านี้ คือ ภิกษุณีผู้มอบฉันทะย่อมบ่นว่า เธอต้องปาจิตตีย์ มีการบ่นว่าเป็นเหตุ เป็นทุกกฏเพราะบททั้งหลายที่เหลือ. ในขุททกวัตถุกขันธกะ มีอาบัติ ๓ เหล่านี้ คือ ภิกษุตัดองคชาตของตน ต้องถุลลัจจัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะกลืนอาหารที่สำรอกออกมาค้างอยู่ในปาก เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ. ในเสนาสนขันธกะ มีอาบัติ ๓ เหล่านี้ คือ เป็นถุลลัจจัยเพราะจำหน่ายครุภัณฑ์ เป็นปาจิตตีย์ เพราะฉุดคร่าออกจากสำนักของสงฆ์ เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ. ในสังฆเภทักขันธกะ มีอาบัติ ๒ เหล่านี้ คือ เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้พลอยสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์ เพราะคณโภชนะ. ในวัตตขันธกะ ที่ท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักถามถึงสมาจาร มีอาบัติทุกกฏชนิดเดียวเท่านั้น. อาบัติทุกกฏนั้น เป็นเพราะความไม่เอื้อเฟื้อในวัตรทั้งปวง. ในปาฏิโมกขัฏฐปนขันธกะ ก็เหมือนกัน. ในภิกขุนีขันธกะ มีอาบัติ ๒ เหล่านี้ คือ เป็นปาจิตตีย์ เพราะไม่ปวารณา เป็นทุกกฏ เพราะบททั้งหลายที่เหลือ. ในปัญจสติกขันธกะและสัตตสติกขันธกะ ท่านยกธรรมล้วนๆ ขึ้นสู่หมวด ไม่มีอาบัติในขันธกะทั้ง ๒ นั้น ฉะนี้แล. ขันธกปุจฉาวัณณนา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ปริวาร ขันธกปุจฉา คำถามและคำตอบเกี่ยวกับอาบัติ จบ. |