บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
สองบทว่า สตฺต สามีจิโย มีความว่า พึงทราบสามีจิกรรม ๗ เพราะเพิ่มข้อว่า ภิกษุณีนั้น ก็เป็นอันมิได้อัพภาน ภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้น ก็เป็นอันพระพุทธเจ้าจะพึงทรงติเตียน นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น นี้เข้าในสามีจิกรรม ๖ ที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง. หลายบทว่า สตฺต อธมฺมิกา ปฏิญฺญาตกรณา ได้แก่ ทำตามปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรม ๗ ที่ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะ อย่างนี้ว่า ภิกษุต้องปาราชิก อันภิกษุผู้ต้องปาราชิก โจทอยู่ จึงปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยสังฆาทิเสส, ชื่อว่าทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม. แม้ทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม ก็ได้ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะนั้นแล. สตฺต อธมฺมิกา ปฏิญฺญาตกรณาติ ภิกฺขุ ปาราชิกํ อชฺฌาปนฺโน โหติ ปาราชิเกน โจทิยมาโน สงฺฆาทิเสสํ อชฺฌาปนฺโนมฺหีติ ปฏิชานาติ ตํ สงฺโฆ สงฺฆาทิเสเสน กาเรติ อธมฺมิกํ ปฏิญฺญาตกรณนฺติ เอวํ สมถกฺขนฺธเก นิทฺทิฏฺาฯ หลายบทว่า สตฺตนฺนํ อนาปตฺติ สตฺตาหกรณีเยน คนฺตุํ นี้ ได้กล่าวแล้วในวัสสูปนายิกขันธกะ. สองบทว่า สตฺตานิสํสา วินยธเร มีความว่า อานิสงส์ ๕ ที่กล่าวแล้วในหมวด ๕ กับ ๒ อานิสงส์นี้ คืออุโบสถ ปวารณาเป็นหน้าที่ของพระวินัยธรนั้น จึงรวมเป็น ๗. สองบทว่า สตฺต ปรมานิ ได้แก่ อย่างยิ่งที่กล่าวแล้วในหมวด ๖ นั่นแล พึงจัดด้วยอำนาจหมวด ๗. หมวดเจ็ด ๒ หมวด มีว่าด้วยจีวรที่ทำแล้วเป็นอาทิ ได้แสดงแล้วในกฐินขันธกะ. หมวดเหล่านี้ คืออาบัติที่ต้องเห็น ไม่มีแก่ภิกษุ, อาบัติที่ต้องเห็น มีแก่ภิกษุ, อาบัติที่ต้องทำคืน มีแก่ภิกษุ, เป็นหมวดเจ็ด ๓ หมวด. อธัมมิกะ ๒ หมวด, ธัมมิกะ ๑ หมวด. ทั้ง ๓ หมวดนั้น ได้แสดงแล้วในจัมเปยยขันธกะ. บทว่า อสทฺธมฺมา ได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษ หรือธรรมที่ไม่สงบ. อธิบายว่า ธรรมไม่งาม คือเลว ลามก. บทว่า สทฺธมฺมา ได้แก่ ธรรมของสัตบุรุษ คือของพระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือธรรมที่สงบ. อธิบายว่า ธรรมที่งาม คือสูงสุด. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้นฉะนี้แล. พรรณนาหมวด ๗ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ปริวาร เอกุตตริกะ หมวด ๗ จบ. |