บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในโสณทัณฑสูตรนั้นมีการพรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้ บทว่า ในอังคชนบท มีความว่า ราชกุมารทั้งหลายนามว่า อังคะ เป็นชาวชนบทที่มักเรียกกันอย่างนี้ ก็เพราะเป็นผู้มีรูปร่างน่าเลื่อมใส ชนบทแม้เดียวซึ่งเป็นที่อาศัยอยู่ของราชกุมารเหล่านั้น ท่านก็เรียกว่าอังคชนบท เพราะศัพท์เพิ่มเข้ามา. ในชนบทชื่ออังคะนั้น. บทว่า จาริก แม้ในชนบทนี้ ท่านมุ่งหมายเอาการเสด็จจาริกไม่รีบร้อน และการเสด็จจาริกประจำ. ได้ยินว่า ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล็งดูโลกธาตุทั้งหมื่นหนึ่งอยู่ โสณทัณฑพราหมณ์เข้าไปปรากฏภายในข่าย คือพระญาณแล้ว. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาอยู่ว่า พราหมณ์นี้ปรากฏในข่าย คือญาณของเรา พราหมณ์นี้มีอุปนิสัยหรือไม่หนอ ก็ได้ทอดพระเนตรเห็นว่า เมื่อเราไป ณ ที่นั้น พวกลูกศิษย์ของเขาจะพากันกล่าวสรรเสริญพราหมณ์ด้วยอาการ ๑๒ แล้วจะไม่ยอมให้เขามายังสำนักของเรา แต่พราหมณ์นั้นจะทำลายวาทะของพวกลูกศิษย์เหล่านั้นเสียแล้ว กล่าวสรรเสริญเราด้วยอาการ ๒๙ แล้วเข้ามาหาเราแล้วจักถามปัญหา ในที่สุดการเฉลยปัญหา เขาก็จักถึงสรณะ ดังนี้แล้ว พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร เสด็จไปสู่ชนบทนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในอังคชนบท เสด็จถึงเมืองจัมปา ดังนี้. บทว่า ที่ฝั่งแห่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา มีความว่า ในที่ไม่ไกลเมืองจัมปานั้น มีสระโบกขรณีเรียกชื่อกันว่าคัคครา เพราะพระมเหสีของพระราชาทรงพระนามว่าคัคครา ทรงขุดไว้ โดยรอบฝั่งสระนั้นมีป่าต้นจัมปาใหญ่ ประดับประดาด้วยดอกไม้ ๕ สีมีสีเขียวเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในป่าต้นจัมปาซึ่งมีกลิ่นหอมระรื่นด้วยกลิ่นหอมของดอกไม้. ท่านมุ่งหมายเอาป่าต้นจัมปานั้นจึงกล่าวว่า ที่ฝั่งแห่งสระ ในบทนี้ว่า พระเจ้าพิมพิสารผู้ครองแคว้นมคธมีเสนาใหญ่ พระราชาพระองค์นั้น ชื่อว่าผู้ครองแคว้นมคธ เพราะทรงเป็นผู้ใหญ่ของชาวแคว้นมคธ ชื่อว่ามีเสนาใหญ่ เพราะประกอบพร้อมด้วยเสนาใหญ่. บทว่า พิมฺพิ แปลว่า ทองคำ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่าพิมพิสาร เพราะเป็นผู้มีผิวพรรณเช่นเดียวกับทองคำแท้. ชนเป็นอันมากมารวมกัน เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าหมู่. หมู่ชนในแต่ละทิศของชนเหล่านั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีหมู่. ครั้งแรกชนเหล่านั้นมิได้เป็นคณะกันในภายในเมือง แต่ออกไปนอกเมืองแล้ว จึงรวมกันเป็นคณะ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่ารวมกันเป็นคณะ. บทว่า เรียกที่ปรึกษามา ความว่า มหาอำมาตย์ผู้สามารถเฉลยปัญหาที่ถูกถามได้ เรียกว่า ขัตตะ (ที่ปรึกษา) เรียกที่ปรึกษาคนนั้นมา บทว่า อาคเมนฺตุ แปลว่า จงรอสักประเดี๋ยว. หมายความว่า อย่าเพิ่งไป โสณทณฺฑคุณกถา บทว่า ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ความว่า ได้ยินว่า พวกพราหมณ์ทั้งหลายในนครนั้นประชุมกันด้วยกรณียกิจสองอย่าง คือเพื่อจะร่วมทำการบูชายัญ หรือเพื่อการสาธยายมนต์. และในคราวนั้นในนครนั้น ไม่มีการบูชายัญ. แต่พราหมณ์เหล่านั้นมาประชุมกันในสำนักของโสณทัณฑพราหมณ์ เพื่อสาธยายมนต์. ท่านกล่าวว่า ด้วยกรณียกิจบางอย่าง หมายเอาการสาธยายมนต์นั้น. พราหมณ์เหล่านั้นได้ทราบข่าวการไปของโสณทัณฑพราหมณ์นั้นแล้ว โสณทัณฑพราหมณ์นี้เป็นพราหมณ์ชั้นสูง และพราหมณ์เหล่าอื่นโดยมากคิดว่าถึงสมณโคดมเป็นสรณะ โสณทัณฑพราหมณ์นี้เท่านั้นยังไม่ไป ถ้าเขานี้แหละจักไป เขาก็จักถูกมายาที่นำให้งงงวยของพระสมณโคดมทำให้หลงไหลแล้ว จักถึงพระโคดมเป็นสรณะแน่แท้ แต่นั้นไป สันนิบาตของพวกพราหมณ์ที่ประตูเรือนของโสณทัณฑพราหมณ์แม้นั้นก็จักไม่มี เอาเถอะ เราจะขัดขวางไม่ให้เขาไปได้ ดังนี้ ปรึกษากันแล้วจึงไปในที่นั้น ท่านหมายเอาข้อนั้น จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ครั้งนั้นแล พราหมณ์ทั้งหลาย ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ด้วยองค์แม้นี้ คือ ด้วยเหตุนี้. พวกพราหมณ์ครั้นกล่าวเหตุนั้นอย่างนี้แล้ว คิดอีกว่า ธรรมดาคนเมื่อเขากล่าวสรรเสริญตนที่จะไม่ยินดีหามีไม่ เอาเถอะ พวกเราจะห้ามการไปของเขาด้วยการกล่าวสรรเสริญเขา จึงกล่าวเหตุหลายอย่างเป็นต้นว่า ก็โสณทัณฑพราหมณ์ผู้เจริญเป็น บทว่า สองฝ่าย คือ จากฝ่ายทั้งสอง คือจากมารดาและจากบิดา. โสณทัณฑพราหมณ์ผู้เจริญ เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดาอย่างนี้ คือมารดาของโสณทัณฑพราหมณ์ผู้เจริญเป็นนางพราหมณี มารดาของมารดาเป็นนางพราหมณี มารดาแม้ของมารดาของมารดานั้นก็เป็นนางพราหมณี บิดาเป็นพราหมณ์ บิดาของบิดาเป็นพราหมณ์ บิดาแม้ของบิดาของบิดานั้นก็เป็นพราหมณ์. บทว่า มีครรภ์ที่ถือปฏิสนธิหมดจดดี ความว่า ครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ คือท้องของมารดา หมดจดดี. แต่ในบทนี้ว่า สมเวปากินิยา คหณิยา๑- ไฟธาตุอันเกิดจากกรรม ท่านเรียกว่า คหณี (ครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ). ____________________________ ๑- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๗๓ ในบทว่า ตลอด ๗ ชั่วคนนี้ ความว่า บิดาของบิดาชื่อปิตามหะ (ปู่) ยุคแห่งปิตามหะชื่อปิตามหยุค. ประมาณของอายุท่านเรียกว่ายุค. ก็คำนี้เป็นเสียงชื่อยุคเท่านั้น. แต่โดยความ ปิตามหะนั้นแหละชื่อปิตามหยุค บรรพบุรุษแม้ทั้งปวงเหนือขึ้นไปจากปิตามหะนั้น ท่านก็ใช้คลุมถึงด้วยปิตามหะศัพท์นี้แหละ เขาเป็นผู้มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ อันหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคนด้วยประการฉะนี้. อีกประการหนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายแสดงว่า เขาเป็นผู้อันใครดูถูกไม่ได้ ไม่ถูกตำหนิด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติ. บทว่า ผู้อันใครๆ ดูถูกไม่ได้ คือ ใครๆ ดูถูกไม่ได้ ได้แก่ผลักไสไม่ได้ว่า พวกท่านจักไล่เขาไปเสีย จะประโยชน์อะไรกับคนคนนี้ ดังนี้. บทว่า ไม่ถูกตำหนิ คือ ไม่ถูกติเตียน ได้แก่ไม่เคยที่จะได้รับคำด่าว่า หรือติเตียนเลย. ถามว่า เพราะเหตุไร. แก้ว่า เพราะการกล่าวอ้างถึงชาติ. ความว่า เพราะถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ เขาเป็นคนมีชาติต่ำทราม ดังนี้. บทว่า ผู้มั่งคั่ง คือ เป็นผู้ใหญ่. บทว่า มีทรัพย์มาก คือ ประกอบพร้อมด้วยทรัพย์มากมาย. พราหมณ์ทั้งหลายแสดงว่า ก็ในเรือนของท่านผู้เจริญมีทรัพย์มาก ราวกะฝุ่นและทรายในแผ่นดิน แต่พระ บทว่า มีโภคะมาก คือ มีเครื่องอุปโภคมากด้วยอำนาจแห่งกามคุณห้า. พวกพราหมณ์ทั้งหลายสำคัญอยู่ว่า ชนทั้งหลายกล่าวคุณใดๆ พวกเราจะแสดงสิ่งที่มิใช่คุณอย่างเดียวด้วยอำนาจ เป็นปฏิปักษ์ต่อคุณนั้นๆ ดังนี้ จึงได้กล่าวอย่างนั้น. บทว่า มีรูปสวย คือ มีรูปงามยิ่ง ได้แก่มีรูปดียิ่งกว่าเหล่ามนุษย์อื่นๆ. บทว่า น่าดู คือ ชื่อว่าน่าดู เพราะทำให้ไม่รู้จักอิ่มเอิบแก่ชนผู้ดูอยู่แม้ตลอดวัน ชื่อว่าน่าเลื่อมใส เพราะให้เกิดความเลื่อมใสแห่งจิตด้วยการดูนั่นแหละ. ความดีงาม ท่านเรียกว่า ความสวย ความที่ผิวพรรณเป็นของสวยงาม ชื่อว่า มีผิว บทว่า มีผิวพรรณดังพรหม คือ มีผิวพรรณอันประเสริฐสุด ความว่า ประกอบพร้อมด้วยผิวพรรณประดุจทองคำอันประเสริฐสุด แม้ในบรรดาผู้มีผิวพรรณอันบริสุทธิ์ทั้งหลาย. บทว่า มีรูปร่างดังพรหม คือ ประกอบพร้อมด้วยรูปร่างเช่นกับรูปร่างของท้าวมหาพรหม. บทว่า น่าดู น่าชม มิใช่น้อย คือ ช่องทางที่จะดูในรูปร่างของท่านผู้เจริญมิใช่เล็กน้อย คือมาก. พราหมณ์ทั้งหลายแสดงว่า อวัยวะน้อยใหญ่ของท่านแม้ทุกส่วนเป็นของน่าดู และอวัยวะน้อยใหญ่เหล่านั้นก็ใหญ่ด้วย ดังนี้. ศีลของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นเขาชื่อว่าเป็นผู้มีศีล ศีลที่เจริญแล้ว คืองอกงามแล้วของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นเขาชื่อว่าเป็นผู้มีศีลอันเจริญแล้ว. บทว่า ด้วยศีลอันเจริญ คือ ด้วยศีลอันเจริญนั่นแหละ คือที่งอกงามแล้ว. บทว่า มาถึงพร้อมแล้ว คือ ประกอบแล้ว. คำนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า มีศีลอันเจริญแล้ว. คำทั้งหมดนั้นท่านกล่าวหมายเอาเพียงศีลห้าเท่านั้น. ในบททั้งหลายมีบทว่า มีวาจางามเป็นต้น มีความว่า วาจาอันงาม คือดี ได้แก่มีบทและพยัญชนะกลมกล่อมของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้น เขาชื่อว่ามีวาจางาม. บทว่า มีสำเนียงไพเราะ คือ สำเนียงอันไพเราะ คืออ่อนหวานของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้น เขาชื่อว่ามีสำเนียงไพเราะ. บทว่า สำเนียง ได้แก่ เสียงกังวาลที่เปล่งออก. วาจามีอยู่ในเมือง เพราะบริบูรณ์ด้วยคุณความดี เหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นของชาวเมือง. อีกประการหนึ่ง ชื่อว่าโปรี เพราะมีวาจาเช่นกับความที่หญิงชาวเมือง คือหญิงชาวเมืองเป็นผู้ละเอียดอ่อน เพราะความที่ตนอยู่ในเมือง. ด้วยวาจาหญิงชาวเมืองนั้น. บทว่า วิสฺสายตฺถ ความว่า ไม่พร่า คือเว้นจากโทษมีความชักช้าที่ตนเห็นแล้วเป็นต้น. บทว่า หาโทษมิได้ คือ เว้นจากการกลืนน้ำลาย. จริงอยู่ เมื่อใครๆ พูดอยู่ น้ำลายไหลเข้า หรือว่าน้ำลายไหล บทว่า ให้รู้ใจความได้ คือ สามารถให้รู้ใจความที่กล่าวได้ชัดเจนทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด. บทว่า แก่แล้ว คือ เป็นคนแก่ เพราะเป็นผู้คร่ำคร่าด้วยชรา. บทว่า เป็นผู้เฒ่า คือ ถึงขีดสุดแห่งความเจริญของอวัยวะน้อยใหญ่. บทว่า เป็นผู้ใหญ่ คือ ประกอบพร้อมด้วยความเป็นผู้ใหญ่โดยชาติ. อธิบายว่า เกิดมานานแล้ว. บทว่า ผ่านเวลามานาน คือ ล่วงเวลานาน. อธิบายว่า ล่วงเลยมาตั้ง ๒-๓ รัช บทว่า ผ่านวัยแล้ว คือ ผ่านถึงปัจฉิมวัยแล้ว ส่วนที่สามอันเป็นที่สุดแห่ง ๑๐๐ ปี ชื่อว่าปัจฉิมวัย อีกนัยหนึ่ง บทว่า แก่แล้ว คือ เก่าแก่. อธิบายว่า เป็นไปตามวงศ์สกุลที่เป็นไปแล้วสิ้นกาลนาน. บทว่า เป็นผู้เฒ่า คือประกอบด้วยความเจริญด้วยคุณมีศีลและอาจาระเป็นต้น. บทว่า เป็นผู้ใหญ่ คือ ประกอบพร้อมด้วยความเป็นผู้ใหญ่ด้วยสมบัติ. บทว่า ผ่านเวลามานาน คือเดินทางมา ได้แก่มีปกติประพฤติไม่ล่วงละเมิดมารยาท มีวัตรจริยาเป็นต้นของพวกพราหมณ์. บทว่า ผ่านวัยแล้ว คือผ่านถึงแม้ความเป็นผู้เจริญด้วยชาติอันเป็นวัยสุดท้ายแล้ว. พุทฺธคุณกถาวณฺณนา โสณทัณฑพราหมณ์สำคัญเห็นคุณทั้งหลายที่ยิ่งกว่าคุณของตนว่า ในคุณเหล่านั้น คุณแม้เหล่าใดเช่นเดียวกับคุณของตนมีว่า อุภโตสุชาตเป็นต้น คุณแม้เหล่านั้นก็เป็นคุณมีชาติสมบัติเป็นต้นของพระสมณโคดม ดังนี้ จึงได้ประกาศคุณเหล่านี้ เพื่อที่จะแสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระคุณยิ่งใหญ่โดยส่วนเดียวโดยแท้. ก็โสณทัณฑพราหมณ์เมื่อจะกำหนดแน่อย่างนี้ว่า พวกเรานั่นแหละควรไปเฝ้า จึงแสดงคำนี้ในที่นี้ว่า ถ้ามีบุคคลที่ควรเข้าไปหา เพราะความเป็นผู้มีคุณใหญ่ เพราะฉะนั้น พวกเรานั่นแหละควรจะเข้าไปเฝ้าเพื่อทัศนาพระโคดมผู้เจริญนั้น เปรียบเหมือนเมล็ดผักกาดเมื่อนำไปเทียบกับเขาสิเนรุ รอยเท้าโคเมื่อนำไปเทียบกับมหาสมุทร หยดน้ำค้างเมื่อนำไปเทียบกับน้ำในสระใหญ่ ๗ สระ ก็เป็นของกะจิ๊ดริด คือเล็กน้อยฉันใด คุณของพวกเรา เมื่อนำไปเทียบกับพระคุณมีพระชาติสมบัติเป็นต้นของพระสมณโคดม เป็นของนิดหน่อย คือเล็กน้อยฉันนั้น เพราะฉะนั้น พวกเรานั้นแหละควรไปเฝ้าพระโคดมผู้เจริญ. บทว่า ทรงละหมู่พระญาติมากมาย คือ ทรงละตระกูลพระญาติแสนหกหมื่นอย่างนี้ คือฝ่ายพระมารดาแปดหมื่น ฝ่ายพระบิดาแปดหมื่น. ในบทนี้ว่า อยู่ในดินและตั้งอยู่ในอากาศ ทรัพย์ที่เขาขุดสระโบกขรณีที่ฉาบปูนเกลี้ยงในพระลานหลวงและในพระราชอุทยาน ใส่แก้ว ๗ ประการจนเต็ม แล้วฝังไว้ในแผ่นดิน ชื่อว่าทรัพย์อยู่ในดิน. ส่วนทรัพย์ที่ตั้งไว้จนเต็มประสาทและป้อมเป็นต้น ชื่อว่าตั้งอยู่ในอากาศ. ทรัพย์ที่ตกทอดมาตามความหมุนเวียนแห่งตระกูลมีเพียงเท่านี้ก่อน. แต่ในวันที่พระตถาคตอุบัติขึ้นแล้วนั่นแหละ มีขุมทรัพย์ ๔ ขุม คือขุมทรัพย์ชื่อ สังขะ ๑ ชื่อเอละ ๑ ชื่ออุปปละ ๑ ชื่อปุณ บรรดาขุมทรัพย์ทั้ง ๔ นั้น ขุมทรัพย์ชื่อสังขะมีคาวุตหนึ่ง ขุมทรัพย์ชื่อเอละมีครึ่งโยชน์ ขุมทรัพย์ชื่ออุปปละมีสามคาพยุต ขุมทรัพย์ชื่อปุณฑริกะมีโยชน์หนึ่ง ทรัพย์ที่ถือเอาๆ แม้ในขุมทรัพย์เหล่านั้น ก็กลับเต็มอีก. พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเงินทองมากมายแล้ว ออกผนวชด้วยประการฉะนี้. บทว่า ยังเป็นคนหนุ่ม คือ ยังเป็นเด็ก. บทว่า มีพระเกศาดำสนิท คือ มีพระ บทว่า เจริญ คือ ดี. บทว่า วัยที่หนึ่ง คือ ปฐมวัยในบรรดาวัยทั้งสาม. บทว่า ไม่ใคร่อยู่ คือ ไม่ปรารถนา. คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัติลงในอรรถว่าอนาทร. น้ำตาที่หน้าของชนเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้นเขาชื่อว่ามีหน้านองด้วยน้ำตา. ความว่า เมื่อพระมารดาบิดาเหล่านั้นมีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร คือมีพระพักตร์เปียกชุ่มด้วยน้ำพระเนตร. บทว่า ทรงกันแสงอยู่ คือ ทรงกันแสงคร่ำครวญอยู่. ในบทว่า ช่องทางมิใช่น้อย นี้ พึงทราบความว่า ช่องทางที่จะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าหาประมาณมิได้. ในที่นี้ มีเรื่องดังต่อไปนี้. ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์มีพราหมณ์คนหนึ่ง ทราบว่า เขาเล่าว่า ใครๆ ย่อมไม่สามารถที่จะถือเอาประมาณของพระสมณโคดมได้ ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ถือเอาไม้ไผ่ยาว ๖๐ ศอก ยืนอยู่ข้างนอกประตูเมือง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึง ถือเอาไม้ไผ่ ได้ยืนอยู่ในที่ใกล้. ไม้ไผ่ยาวถึงแค่พระชานุของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ในวันรุ่งขึ้น เขาจึงต่อไม้ไผ่สองลำแล้วได้ยืนอยู่ในที่ใกล้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงปรากฏเพียงแค่พระสะเอวเท่านั้น เหนือไม้ไผ่สองลำนั้น จึงตรัสว่า พราหมณ์ท่านทำอะไร. เขาทูลว่า ข้าพระองค์จะวัดส่วนพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ แม้ถ้าท่านจักต่อไม้ไผ่ที่เกิดอยู่เต็มห้องแห่งจักรวาลทั้งสิ้นเข้าด้วยกันแล้ว ท่านก็จักไม่สามารถที่จะวัดเราได้ เพราะว่าบารมีตลอดสี่อสงไขยและแสนกัป เรามิได้บำเพ็ญโดยประการที่คนอื่นพึงวัดเราได้ พราหมณ์ ตถาคตใครๆ จะชั่งมิได้ ใครๆ จะประมาณมิได้ ดังนี้แล้วตรัสคาถาในธรรมบทว่า เมื่อบุคคลบูชาท่านผู้เยือกเย็นแล้ว ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ เช่นนั้นอยู่ ใครๆ ไม่อาจที่จะนับบุญได้ว่า เพียงเท่านี้ดังนี้.๑- ในที่สุดแห่งคาถา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ____________________________ ๑- ขุ. ธ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๔ ยังมีเรื่องแม้อื่นอีก. ได้ยินว่า ท้าวอสุรินทรราหูสูงได้ ๔,๘๐๐ โยชน์. ระหว่างแขนของเขาวัดได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ ระหว่างนมวัดได้ ๖๐๐ โยชน์. พื้นมือและพื้นเท้าหนาได้ ๓๐๐ โยชน์. ข้อนิ้วยาวได้ ๕๐ โยชน์. ระหว่างคิ้วกว้าง ๕๐ โยชน์. หน้ายาว ๒๐๐ โยชน์. ลึกได้ ๓๐๐ โยชน์. มีปริมณฑลได้ ๓๐๐ โยชน์. คอยาวได้ ๓๐๐ โยชน์. หน้าผากยาวได้ ๓๐๐ โยชน์. ศีรษะยาวได้ ๙๐๐ โยชน์. เขาคิดว่า เราสูงมาก จักไม่สามารถที่จะน้อมตัวลงแลดูพระศาสดาได้ ดังนี้ จึงไม่มาเฝ้า. วันหนึ่ง เขาได้ฟังพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมาด้วยคิดว่า เราจักมองดูโดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัชฌาสัยของเขาแล้วทรงดำริว่า เราจักแสดงด้วยอิริยาบถไหนในบรรดาอิริยาบถทั้งสี่ ทรงดำริว่า ธรรมดาคนยืน แม้จะต่ำก็ปรากฏเหมือนคนสูง แต่เราจักนอนแสดงตนแก่เขา ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า อานนท์ เธอจงตั้งเตียงในบริเวณคันธกุฎี แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาสน์บนเตียงนั้น. ท้าวอสุรินทรราหูมาแล้ว ชูคอขึ้นมองดูพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนอนอยู่ราวกะว่าพระจันทร์เต็มดวงในท่ามกลางท้องฟ้า และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อสุรินทะ นี้อะไร. จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์มิได้มาเฝ้าด้วยคิดว่า เราจักไม่สามารถที่จะโน้มตัวลงแลดูได้ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อสุรินทะ เรามิได้ก้มหน้าบำเพ็ญบารมีมา เราให้ทานทำให้เลิศทั้งนั้น ดังนี้. วันนั้น อสุรินทรราหูได้ถึงสรณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงน่าดูน่าชมมิใช่น้อย ด้วยประการดังนี้. บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มีศีล เพราะปาริสุทธิศีล ๔. ก็ศีลนั้นเป็นของประเสริฐ คือสูงสุด ได้แก่เป็นศีลบริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีศีลอันประเสริฐ. ศีลนั้นนั่นเองเป็นกุศล เพราะอรรถว่าไม่มีโทษ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีศีลเป็นกุศล. คำว่า ด้วยศีลอันเป็นกุศลนี้ เป็นไวพจน์ของคำว่า มีศีลเป็นกุศลนั้น. บทว่า เป็นอาจารย์และปาจารย์ของคนเป็นอันมาก ความว่า ในการแสดงธรรมครั้งหนึ่งๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า สัตว์มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ และเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ย่อมได้ดื่มน้ำอมฤต คือมรรคและผล เพราะฉะนั้น พระองค์จึงจัดว่าเป็นอาจารย์ของคนเป็นอันมาก และเป็นปาจารย์ของสาวกผู้เป็นเวไนย. ในบทว่า มีกามราคะสิ้นแล้วนี้ ความว่า กิเลสแม้ทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้าสิ้นไปแล้วโดยแท้. แต่พราหมณ์ไม่รู้กิเลสเหล่านั้น จึงกล่าวคุณไปในฐานะแห่งความรู้ของตนนั่นแหละ. บทว่า เลิกประดับตกแต่งแล้ว คือ เว้นจากการประดับตกแต่งที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า การตกแต่งบาตร การตกแต่งจีวร การตกแต่งเสนาสนะ การเล่นสนุกสนานแห่งร่างกายอันเน่านี้. บทว่า ไม่ทรงมุ่งร้าย คือ แสดงความเคารพธรรมที่ไม่เป็นบาป คือ บทว่า ต่อประชาชนที่เป็นพราหมณ์ คือต่อคนที่เป็นพราหมณ์ต่างๆ กันเป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะ และพระองค์เป็นผู้แสดงความนับถือประชาชนนั้น. อธิบายว่า ก็ประชาชนนี้กระทำพระสมณโคดมไว้เบื้องหน้าเที่ยวไป. อีกประการหนึ่ง บทว่า ไม่ทรงมุ่งร้าย ความว่า ไม่ทรงกระทำบาปไว้เบื้องหน้า เที่ยวไป คือไม่ปรารถนาลามก. อธิบายว่า ไม่ทรงมุ่งร้ายต่อประชาชนที่เป็นพราหมณ์นั้น คือต่อประชาชนที่เป็นพราหมณ์ แม้จะเป็นปฏิปักษ์กับตน คือเป็นผู้หวังประโยชน์สุขแต่อย่างเดียว. บทว่า ต่างรัฐ คือจากรัฐอื่น. บทว่า ต่างชนบท คือจากชนบทอื่น. บทว่า ต่างพากันมาเพื่อทูลถามปัญหา ความว่า กษัตริย์และบัณฑิตเป็นต้นก็ดี เทวดาพรหมนาคและคนธรรพ์เป็นต้นก็ดี ต่างตระเตรียมปัญหามาเฝ้าด้วยคิดว่า พวกเราจักถาม ในบรรดาชนเหล่านั้น บางจำพวกกำหนดเห็นโทษของการถาม หรือความที่ตนไม่สามารถในการยอมรับข้อเฉลย จึงไม่ทูลถามเลย แล้วนั่งนิ่งเสีย บางจำพวกทูลถาม สำหรับบางจำพวก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เกิดความอุตสาหะในการถามแล้ว จึงทรงเฉลย ความเคลือบแคลงของชนเหล่านั้นแม้ทั้งสิ้นมาถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เสื่อมคลายไป เหมือนคลื่นในมหาสมุทร มาถึงฝั่งแล้วก็สลายไปฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้. บทว่า มีปกติกล่าวเชื้อเชิญ ความว่า พระองค์ย่อมตรัสกะคนผู้มาสู่สำนักของพระองค์นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเทวดา มนุษย์ บรรพชิตและคฤหัสถ์อย่างนี้ว่า เชิญท่านเข้ามาสิ ท่านมาดีแล้ว (เราขอต้อนรับท่าน) ดังนี้. บทว่า เจรจาผูกไมตรี คือ ทรงประกอบพร้อมด้วยพระดำรัสผูกไมตรี อธิบายว่า มีพระดำรัสอ่อนหวาน. ____________________________ ๒- องฺ. ติก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๔๖๗ บทว่า ช่างปราศรัย คือ ทรงฉลาดในการปฏิสันถาร. ความว่า พระองค์ทรงกระทำสัมโมทนียกถาก่อนทีเดียว ดังจะทรงระงับความกระวนกระวายเพราะเดินทางไกลของเหล่าบริษัททั้งสี่ผู้มาแล้วๆ ได้สิ้น โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุ เธอสบายดีแลหรือ อาหาร การฉันยังพอเป็นไปได้แลหรือ. บทว่า ไม่สยิ้วพระพักตร์ ความว่า บางคนเข้าไปยังประชุมที่แล้วมีหน้าเคร่งขรึม มีหน้าขึ้งเครียดฉันใด พระองค์มิได้เป็นเช่นนั้น. แต่การเห็นที่ประชุมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นเหมือนดอกปทุมที่บานแล้วด้วยการต้องแสงแดดอ่อน เป็นราวกะรัศมีแห่งพระจันทร์เต็มดวง. บทว่า มีพระพักตร์เบิกบาน ความว่า ท่านแสดงไว้ว่า คนบางจำพวกมีหน้าคว่ำ เมื่อชุมนุมชนมาประชุมกันแล้ว ก็ไม่พูดอะไร เป็นคนที่มีคำพูดอันได้ด้วยยากฉันใด แต่พระสมณโคดมไม่เป็นเช่นนั้น เป็นผู้มีพระวาจาได้ด้วยง่าย สำหรับผู้ที่มาสู่สำนักของพระองค์ไม่เกิดความเดือดร้อนใจว่า พวกเรามาในที่นี้เพราะเหตุไร แต่ชนทั้งหลายได้ฟังธรรมแล้ว ย่อมมีใจยินดีโดยแท้. บทว่า มีปกติตรัสก่อน คือ พระองค์เมื่อจะตรัสย่อมตรัสก่อน และพระดำรัสก็ประกอบด้วยกาล. พระองค์ก็ตรัสแต่ถ้อยคำประกอบด้วยประมาณ อาศัยประโยชน์โดยแท้ ไม่ตรัสถ้อยคำอันหาประโยชน์มิได้. บทว่า ในบ้านนั้นหรือ ความว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ย่อมถวายอารักขา. เพราะอาศัยเทวดาเหล่านั้น อุปัทวะย่อมไม่มีแก่มนุษย์ทั้งหลาย. ก็ปีศาจทั้งหลายมีปีศาจคลุกฝุ่นเป็นต้นย่อมเบียดเบียนมนุษย์ ปีศาจเหล่านั้นย่อมหลีกไปไกล ด้วยอานุภาพของเทวดาเหล่านั้น. อีกประการหนึ่ง แม้เพราะกำลังแห่งพระเมตตาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พวกอมนุษย์ก็ไม่เบียดเบียนมนุษย์. ในบททั้งหลายมีบทว่า เป็นเจ้าหมู่เป็นต้น ความว่า หมู่ที่คนพึงพร่ำสอนหรือที่คนให้เกิดเองของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นเขาชื่อว่าเป็นเจ้าหมู่. อนึ่ง คณะเช่นนั้นของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นเขาชื่อว่าเป็นเจ้าคณะ. อีกประการหนึ่ง คำนี้เป็นไวพจน์ของบทแรก. พระองค์ทรงเป็นอาจารย์ของคณะด้วยอำนาจแห่งการให้เขาศึกษาเรื่องอาจาระ เหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เป็นคณาจารย์. บทว่า แห่งเจ้าลัทธิมากมาย คือ แห่งเจ้าลัทธิจำนวนมาก. บทว่า โดยประการใดประการหนึ่ง คือ ด้วยเหตุแม้เพียงสักว่า ไม่นุ่งผ้าเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า ย่อมรุ่งเรือง คือ ย่อมเข้าไปถึงโดยรอบ ได้แก่เจริญยิ่งขึ้น. บทว่า เขาเหล่านั้นเป็นแขก ความว่า เขาเหล่านั้นเป็นอาคันตุกะ คือเป็นแขกหน้าใหม่ของพวกเรา. บทว่า เรียนรู้ คือ รู้จัก. ด้วยบทว่า มีพระคุณอันจะพึงนับมิได้ โสณทัณฑพราหมณ์แสดงว่า มีพระคุณอันหาที่เปรียบมิได้ แม้ด้วยพระสัพพัญญูเห็นปานนั้น จะป่วยกล่าวไปใยด้วยบุคคลเช่นเราเล่า. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า หากว่าแม้พระพุทธเจ้าพึงตรัสพระคุณของพระพุทธเจ้า ไม่ตรัสอย่างอื่นเลยในกัปหนึ่งกัปก็จะพึงหมดสิ้นไปในระหว่าง เป็นเวลานานพระคุณของพระตถาคตหาสิ้นไปไม่ ดังนี้. ก็พวกพราหมณ์เหล่านั้นได้ฟังคุณกถาของพระศาสดานี้แล้ว ต่างคิดว่า โสณทัณฑพราหมณ์กล่าวคุณของพระสมณโคดม พระโคดมผู้เจริญนั้นมีพระคุณหาน้อยไม่ ก็แลอาจารย์ผู้รู้คุณของพระโคดมนั้นอย่างนี้ ได้รอคอยนานเกินไป เอาเถอะ พวกเราจะคล้อย บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เหมาะทีเดียว คือ ควรทีเดียว. บทว่า แม้ด้วยเสบียง เสบียงอาหารท่านเรียกว่า ปุโฏสะ ความว่า การที่แม้จะถือเสบียงนั้นไปเฝ้าก็ควรทีเดียว. บาลีว่า ปฏํเสน ดังนี้ก็มี. บทนั้นมีอธิบายว่า ห่อของบนบ่าของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้น เขาชื่อว่ามี โสณทณฺฑปริวิตกฺกวณฺณนา บทว่า ประนมอัญชลี ความว่า พวกพราหมณ์ซึ่งเป็นสองฝักสองฝ่ายคิดอย่างนี้ว่า แม้ถ้าว่าพวกมิจฉาทิฏฐิจักทักท้วงพวกเราว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงถวายบังคมพระสมณโคดม พวกเราจะกล่าวแก่เขาว่าแม้ด้วยการกระทำเพียงอัญชลี ยังชื่อว่าไหว้ด้วยหรือ ถ้าว่าพวกสัมมาทิฏฐิจักทักท้วงพวกเราว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงไม่ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า พวกเราจักบอกว่า การเอาศีรษะกระทบพื้นแผ่นดินนั่นแหละจึงจะเป็นการไหว้หรือ แม้การกระทำอัญชลีก็ชื่อว่าการไหว้เหมือนกันมิใช่หรือ. บทว่า ชื่อและโคตร ความว่า พวกพราหมณ์เมื่อกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นบุตรของคนชื่อโน้น ชื่อทัตตะ ชื่อมิตตะมาในที่นี้ ดังนี้ ชื่อว่าประกาศชื่อ. พวกที่กล่าวว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อวาเสฏฐะ ชื่อกัจจานะมาในที่นี้ ดังนี้ ชื่อว่าประกาศโคตร. ได้ยินว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้นเป็นกุลบุตรที่ยากจนแก่เฒ่า ได้กระทำอย่างนี้ ในท่ามกลางที่ประชุม ด้วยคิดว่า พวกเราจักปรากฏด้วยอำนาจแห่งชื่อและโคตร. ส่วนพราหมณ์เหล่าใดนั่งนิ่งอยู่ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นพวกหลอกลวง และเป็นอันธพาล. บรรดาพราหมณ์สองพวกนั้น พวกพราหมณ์ที่หลอกลวงคิดว่า คนเมื่อกระทำแม้การคุยกันเพียงคำสองคำก็คุ้นเคยกันได้ ต่อมาเมื่อมีความคุ้นเคยกันแล้ว จะไม่ให้ภักษาหาร ๑-๒ หาควรไม่ดังนี้ ปลดเปลื้องตนจากข้อนั้น จึงนั่งนิ่งเสีย. พวกพราหมณ์ที่เป็นอันธพาลเพราะเหตุที่ไม่รู้อะไรนั่นเอง จึงนั่งนิ่ง ไม่ว่าในที่ไหนๆ เป็นดุจก้อนดินเหนียวที่เขาขว้างทิ้งแล้ว. พฺราหฺมณปญฺญตฺติวณฺณนา บทว่า ย่อมเดือดร้อน คือ ถึงความลำบากใจ. บทว่า เหลียวดูชุมนุมชน ความว่า โสณทัณฑพราหมณ์มีกายและใจสงบระงับแล้วราวกะจมลงในน้ำ ด้วยการตรัสถามปัญหาในลัทธิของตน ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแล้ววางไว้บนบก คล้ายๆ จะกล่าวว่า ขอท่านผู้เจริญจงใคร่ครวญดูคำพูดของข้าพระองค์ด้วยการสัญจรไปแห่งทิฏฐิ แม้เพื่อสงเคราะห์ชุมนุมชน ดังนี้แล้วเหลียวดูชุมนุมชน ได้กราบทูลคำนั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ผู้รับการบูชา ความว่า เป็นคนที่ ๑ หรือที่ ๒ ในบรรดาพราหมณ์ที่รับการบูชา เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ. ท่านโบราณาจารย์กล่าวว่า ผู้รับการบูชายัญอย่างใหญ่ที่เขาให้อยู่เพื่อบูชา. พราหมณ์เฉลยปัญหาถูกต้องแท้ด้วยอำนาจลัทธิของตน ด้วยประการฉะนี้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงถึงพราหมณ์ผู้สูงสุดเป็นพิเศษ จึงได้ตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า อิเมสํ ปน ดังนี้. บทว่า พวกพราหมณ์ได้กล่าวคำนี้ ความว่า พวกพราหมณ์คิดว่า ถ้าพราหมณ์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ วรรณะ และมนต์ไม่มี เมื่อเป็นเช่นนั้น ใคร่เล่าจักเป็นพราหมณ์ในโลก โสณทัณฑพราหมณ์นี้ทำให้พวกเราฉิบหาย เอาเถอะ เราจะกล่าวต่อต้านวาทะของเขา ดังนี้ จึงได้กล่าวคำนี้. บทว่า กล่าวลบหลู่ คือ กล่าวต่อต้าน. บทว่า กล่าวคล้อยตามเข้าไป. พวกพราหมณ์กล่าวคำนี้ด้วยมีประสงค์ว่า ถ้าท่านใคร่จะถึงพระสมณโคดมเป็นที่พึ่งด้วยอำนาจแห่งความเลื่อมใส ท่านจงไปเสีย อย่ามาทำลายลัทธิของพราหมณ์เลย ดังนี้. บทว่า ได้ตรัสพระดำรัสนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า เมื่อพวกพราหมณ์เหล่านี้ต่างวิวาทกันเป็นเสียงเดียวอยู่อย่างนี้ กถานี้จักไม่ถึงที่สุดได้ เอาเถอะ เราจะทำให้พวกเขาเงียบเสียงแล้วพูดกับโสณทัณฑพราหมณ์เท่านั้น ดังนี้แล้วจึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า สเจ โข ตุมฺหากํ เป็นต้น. บทว่า เป็นไปกับด้วยธรรม คือ เป็นไปด้วยเหตุ. บทว่า มีวรรณะเสมอเหมือนกัน คือ เสมอกันโดยความเป็นผู้เหมือนกัน ยกเว้นความเป็นผู้เสมอกันโดยเอกเทศ. อธิบายว่า เสมอกันโดยอาการทั้งปวง. บทว่า เรารู้จักมารดาและบิดาของเขา คือ เขาจักไม่รู้จักมารดาและบิดาของน้องสาวได้อย่างไร เขากล่าวหมายถึงการแสดงลำดับสกุลต่างหาก. บทว่า พึงกล่าวเท็จบ้าง คือ พึงกล่าวคำเท็จที่ตัดรอนประโยชน์. บทว่า วรรณะจักทำอะไรได้ คือ เมื่อคุณความดีภายในไม่มีอยู่ วรรณะจักทำอะไรได้. อธิบายว่า เขาจักสามารถรักษาความเป็นพราหมณ์ของเขาไว้ได้อย่างไร. แม้ถ้าจะพึงมีอีกเมื่อพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในปกติศีล องค์อื่นๆ ก็ยังความเป็นพราหมณ์ให้สำเร็จได้ เพราะศีลอย่างเดียวก็ให้สำเร็จเป็นพราหมณ์ได้อย่างนี้ ก็ครั้นปกติศีลนั้นของเขาไม่มี ความเป็นพราหมณ์ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น องค์ทั้งหลายมีวรรณะเป็นต้นเป็นสิ่งงมงาย. ก็พราหมณ์ทั้งหลายได้ยินคำนี้แล้ว ได้เป็นผู้นิ่งเสีย ด้วยคิดว่า อาจารย์กล่าวถูกต้องและพวกเรากล่าวโทษโดยหาเหตุมิได้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพราหมณ์กล่าวเฉลยปัญหาแล้ว เพื่อจะทรงทดลองเขาว่า ก็ในข้อนี้เขาจักสามารถเพื่อจะยืนยันหรือไม่สามารถ จึงได้ตรัสพระดำรัสว่า อิเมสํ ปน พฺราหฺมณ เป็นต้น. บทว่า อันศีลชำระให้บริสุทธิ์ คือ บริสุทธิ์ได้เพราะศีล. บทว่า ศีลมีในที่ใด ปัญญาก็มีในที่นั้น คือ ศีลมีในบุคคลใด ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น. ในบุคคลผู้ทุศีล ปัญญาจะมีแต่ที่ไหน หรือว่าในบุคคลที่เว้นจากปัญญา ที่โง่เขลา ที่ทั้งหนวกและใบ้ ศีลจะมีแต่ที่ไหน. บทว่า ศีลและปัญญา คือ ศีลด้วย ปัญญาด้วย ชื่อว่าศีลและปัญญา. บทว่า ปญฺญานํ คือ ปัญญานั่นเอง. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยอมรับคำพูดของพราหมณ์ จึงได้ตรัสว่า พราหมณ์ ข้อนั้นเป็นเช่นนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปัญญาที่ศีลชำระให้บริสุทธิ์แล้ว คือที่ปาริสุทธิศีล ๔ ชำระแล้ว. ถามว่า บุคคลย่อมชำระปัญญาด้วยศีลอย่างไร. แก้ว่า ศีลของปุถุชนใดไม่ขาดตกบกพร่องตลอด ๖๐ ปี และ ๘๐ ปี แม้ในเวลาถึงแก่กรรม เขาฆ่ากิเลสทั้งหมดได้ ชำระปัญญาด้วยศีล ยังถือเอาพระอรหัตได้ ดุจพระมหาสัฏฐิวัสสเถระอยู่ในบริเวณต้นสาละในซอกเขา ฉะนั้น. ได้ยินว่า เมื่อพระเถระนอนอยู่บนเตียงที่จะมรณภาพ ร้องครวญครางอยู่เพราะ ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มผู้อุปฐากจึงพูดกะพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ทำไมท่านจึงทำให้พวกผมได้รับความอับอาย พระราชาทั้งที่ทรงมีศรัทธา ยังทรงวิปฏิสารเสด็จไปเสีย ด้วยทรงดำริว่า เราจักไม่ไหว้. พระเถระกล่าวว่า เพราะเหตุไร ผู้มีอายุ. ภิกษุหนุ่มผู้อุปฐากกล่าวตอบว่า เพราะทรงสดับเสียงร้องครวญครางของท่าน. พระเถระกล่าวว่า ถ้ากระนั้น พวกเธอจงให้โอกาสแก่เรา ดังนี้แล้ว ข่มเวทนาเสียได้บรรลุพระอรหัต จึงให้สัญญาแก่ภิกษุหนุ่มว่า ผู้มีอายุ ท่านจงไป บัดนี้ท่านจงให้พระราชามาไหว้เราได้. ภิกษุหนุ่มไปแล้ว ทูลว่า นัยว่า บัดนี้ขอพระองค์จงทรงไหว้พระเถระเถิด. พระราชาเมื่อจะทรงไหว้พระเถระด้วยการพังพาบดุจจระเข้ จึงตรัสว่า ข้าพเจ้ามิได้ไหว้พระอรหัตของพระผู้เป็นเจ้า แต่ไหว้ท่านผู้ที่ดำรงอยู่ในภูมิแห่งปุถุชน แต่รักษาศีลต่างหาก ดังนี้. บุคคลชื่อว่าชำระปัญญาด้วยศีลด้วยประการฉะนี้. ก็ในภายในของผู้ใด การสำรวมในศีลไม่มี แต่เพราะเหตุที่ตนเป็นผู้รู้ในฉับพลัน ในที่สุดแห่งคาถาประกอบด้วยสี่บท เขาผู้นั้นชำระศีลด้วยปัญญาแล้ว บรรลุอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ผู้นี้ชื่อว่าชำระศีลด้วยปัญญา เหมือนสันตติมหาอำมาตย์. เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พราหมณ์ ก็ศีลนั้นเป็นไฉน. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติศีล ๕ ว่าเป็นศีล ย่อมบัญญัติความรอบรู้ในไตรเพทว่าเป็นปัญญาในลัทธิของพราหมณ์ ไม่รู้สิ่งที่วิเศษเหนือขึ้นไป ถ้ากระไร เราพึงแสดงมรรคศีล ผลศีล มรรคปัญญาและผลปัญญาที่เป็นของวิเศษยิ่งแก่พราหมณ์ พึงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคืออรหัต ดังนี้. ลำดับนั้น พระองค์เมื่อจะตรัสถามพราหมณ์ด้วยกเถตุกามยตาปุจฉา (ถามโดยมีพระประสงค์จะทรงตอบเอง) จึงตรัสว่า พราหมณ์ ศีลนั้นเป็นไฉน ปัญญานั้นเป็นไฉน ดังนี้. ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า ปัญหาเราเฉลยแล้วด้วยอำนาจแห่งลัทธิของตน แต่พระ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มีความรู้เพียงแค่นี้ คือ ศีลและปัญญาเพียงแค่นี้ ได้แก่ศีลและปัญญาเพียงนี้เท่านั้น เป็นอย่างยิ่งของข้าพระองค์ทั้งหลาย. ความว่า พวกข้าพระองค์เหล่านั้นมีศีลและปัญญา เพียงแค่นี้ เป็นอย่างยิ่ง คือไม่ทราบเนื้อความแห่งคำที่ตรัสนั้น ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงศีลและปัญญาจำเดิม แต่การอุบัติของพระตถาคต ผู้ทรงเป็นรากเหง้าของศีลและปัญญาแก่เขา จึงตรัสพระดำรัสว่า พราหมณ์ ตถาคตในโลกนี้ ดังนี้ เป็นต้น. ใจความแห่งบทนั้นพึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในสามัญญผลสูตรนั้นแล. แต่ข้อแตกต่างมีดังต่อไปนี้. ในที่นี้ ศีลแม้ทั้งสามอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้ชัดว่าเป็นศีลโดยแท้ อย่างนี้ว่า แม้ข้อนี้ก็จัดอยู่ในศีลของเธอ. ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น โดยความจัดเป็นปัญญาสัมปทา. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงชี้ชัดด้วยอำนาจแห่งปัญญา ทรงแสดงโดยเพียงเป็นปทัสถานแห่งปัญญามีวิปัสสนาเป็นต้น ทรงชี้ชัดถึงปัญญา จำเดิมแต่วิปัสสนาปัญญาด้วยประการฉะนี้. บทว่า เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ พึงทราบใจความตามนัยที่กล่าวแล้วในคำนี้ว่าเพื่อฉันในวันนี้นั่นแล. บทว่า ชุมนุมชนนั้นพึงดูหมิ่นข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น ความว่า ชุมนุมชนนั้น พึงดูหมิ่นข้าพระองค์ เพราะเหตุที่เห็นพระองค์แต่ไกลแล้ว ลุกจากอาสนะนั้นว่า โสณทัณฑพราหมณ์นี้เป็นคนแก่ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัยแล้ว แต่พระโคดมยังหนุ่ม เป็นเด็กแม้เป็นหลานของเขาก็ยังไม่ได้ เขายังลุกจาก บทว่า การประคองอัญชลีนั้นแทนการลุกจากอาสนะของข้าพระองค์ ความว่า โสณทัณฑพราหมณ์กราบทูลว่า ขึ้นชื่อว่าการไม่ลุก เพราะไม่เคารพของข้าพระองค์ไม่มี แต่ข้า ได้ยินว่า คนหลอกลวงเช่นกับโสณทัณฑพราหมณ์นี้ หาได้ยาก. ก็ชื่อว่าความไม่เคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้าของพราหมณ์นี้ไม่มี เพราะฉะนั้น เขากล่าวอย่างนั้นด้วยอำนาจแห่งการหลอกลวง เพราะกลัวว่า โภคสมบัติจะฉิบหาย. แม้ในบทอื่นก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ในบทว่า ด้วยกถาอันประกอบด้วยธรรมเป็นต้น มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงให้เห็นจริง ซึ่งประโยชน์ที่เป็นปัจจุบันและเบื้องหน้า ทรงให้เขายึดมั่น คือให้ถือเอาธรรมที่เป็นกุศล ทรงให้เขาอาจหาญในธรรมที่เป็นกุศลนั้น คือกระทำเขาให้มีความอุตสาหะ ทำให้เขาร่าเริง ด้วยความเป็นผู้มีอุตสาหะนั้น และคุณที่มีอยู่อย่างอื่น ทรงให้ฝนคือพระธรรมรัตนะตกลงแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ หลีกไป. ก็พราหมณ์เพราะเหตุที่ตนเป็นคนหลอกลวง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ฝนคือพระธรรมตกลงอยู่แม้ด้วยประการฉะนี้ ก็ไม่สามารถที่จะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้. กถาทั้งหมดได้เป็นกถาเบื้องต้น และเบื้องปลาย เพื่อประโยชน์แก่นิพพานในกาลต่อไป และเพื่อมีส่วนแห่งวาสนาของพราหมณ์อย่างเดียว. อรรถกถาโสณทัณฑสูตร ในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินีจบลงแล้วด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถาโสณทัณฑสูตร ที่ ๔ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค โสณทัณฑสูตร จบ. |