![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() พฺราหฺมณทูตวตฺถุวณฺณนา ในมหาลิสูตรนั้น มีการพรรณนาตามลำดับบทดังนี้. บทว่า เวสาลิยํ ความว่า ใกล้นครอันได้นามว่า เวสาลี เพราะเมืองนี้ถึงความไพศาลเนืองๆ. บทว่า มหาวเน ความว่า ในป่าใหญ่เกิดเอง ตั้งอยู่ต่อเนื่องกับป่าหิมพานต์ ภายนอกนคร ซึ่งเรียกว่ามหาวัน เพราะความที่เป็นป่าใหญ่นั้น. บทว่า กูฏาคารสาลายํ ความว่า ได้สร้างสังฆารามในราวป่านั้น. ได้สร้างปราสาทเช่นกับเทพวิมาน ทำตามแบบกูฏาคารศาลา ยกช่อฟ้าบนเสาทั้งหลายในสังฆารามนั้น. หมายถึงปราสาทนั้นสังฆารามแม้ทั้งสิ้น จึงปรากฏว่ากูฏาคารศาลา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยนครเวสาลีนั้น ประทับอยู่ ณ สังฆารามนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เวสาลิยํ วิหรติ มหาวเน กูฏาคารสาลายํ ดังนี้. บทว่า โกสลกา คือ ชาวแคว้นโกศล. บทว่า มาคธกา คือ ชาวแคว้นมคธ. บทว่า กรณีเยน ความว่า ด้วยการงานที่พึงทำแน่แท้. ก็การงานที่แม้จะไม่กระทำก็ได้เรียกว่ากิจ การงานที่ควรทำแน่แท้ทีเดียว ชื่อว่า กรณียะ. บทว่า ปฏิสลฺลีโน ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้น คือทรงหลบจากเรื่องอารมณ์ต่างๆ ทรงอาศัยเอกีภาพ เสวยความยินดีในฌานในเอกัคคตารมณ์. บทว่า ตตฺเถว คือ ในวิหารนั้น. บทว่า เอกมนฺตํ ความว่า พราหมณ์ทูตเหล่านั้นไม่ละที่นั้นพากันนั่ง ณ เงาต้นไม้นั้นๆ. โอฏฺฐทฺธลิจฺฉวิวตฺถุวณฺณนา บทว่า มหติยา ลิจฺฉวีปริสาย ความว่า เจ้าลิจฉวีนามว่าโอฏฐัทธะ ถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ในปุเรภัต อธิษฐานองค์อุโบสถศีลในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้คนถือสิ่งของมีของหอมและดอกไม้เป็น บทว่า อกาโล โข มหาลิ ความว่า โอฏฐัทธะนั้นเดิมชื่อว่า มหาลิ พระเถระเรียกมหาลินั้นตามชื่อเดิมนั้น. บทว่า เอกมนฺตํ นิสีทิ ความว่า โอฏฐัทธลิจฉวี นั่งสรรเสริญพระคุณของพระรัตนตรัย พร้อมด้วยบริวาร ลิจฉวีหมู่ใหญ่ ณ เงาไม้อันสมควร. บทว่า สีโห สมณุทฺเทโส ความว่า สามเณร ชื่อว่าสีหะ เป็นหลานของพระนาคิตะ บวชในกาลที่มีอายุได้เจ็ดขวบ ขยันหมั่นเพียรในพระศาสนา. ได้ยินว่า สามเณรเห็นชุมชนใหญ่แล้วจึงคิดว่า ชุมชนหมู่ใหญ่นี้นั่งเต็มวิหารทั้งสิ้น วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงแสดงพระธรรมด้วยพระอุตสาหะใหญ่แก่ชุมชนนี้แน่ อย่าเลย เราจะบอกพระอุปัชฌายะให้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ถึงชุมชนหมู่ใหญ่มาประชุมกันแล้ว จึงเข้าไปหาพระนาคิตะ. บทว่า ภนฺเต กสฺสป ความว่า สามเณรกล่าวกะพระเถระด้วยโคตร. บทว่า เอสา ชนตา ความว่า ชุมนุมชนนั่น. บทว่า ตฺวญฺเญว ภาวโต อาโรเจหิ ความว่า ได้ยินว่า สีหสามเณรเป็นผู้สนิทสนมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระเถระนี้อ้วน ในการที่จะลุกหรือนั่งเป็นต้นก็อุ้ย บทว่า วิหารปจฺฉายายํ ความว่า ใต้ร่มเงาพระวิหาร. อธิบายว่า ในโอกาสแห่งเงากูฏาคารหลังใหญ่แผ่ไปถึง. ได้ยินว่า กูฏาคารศาลานั้นยาวไปทางทิศใต้และทิศเหนือ มีมุขทางทิศตะวันออก. ด้วยเหตุนั้น เงาใหญ่จึงแผ่ไปข้างหน้าแห่งกูฏาคารศาลานั้น. แม้สีหสามเณรได้ปูอาสนะถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ร่มเงาหน้าพระวิหารนั้น. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระพุทธรังสี ๖ ประการเปล่งรัศมีออกจากช่องประตู และช่องหน้าต่าง เสด็จออกจากกูฏาคารศาลา เหมือนพระจันทร์เพ็ญออกจากกลีบเมฆฉะนั้น ประทับนั่งบน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระวิหาร ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ใต้ร่มเงาพระวิหาร. ในบทว่า ปุริมานิ ภนฺเต ทิวสานิ ปุริมตรานิ นี้ ความว่า วันวานชื่อว่าวันก่อน วันอื่นต่อจากวันนั้น ชื่อว่าวานซืน ก็ตั้งแต่วันนั้นทั้งหมดจัดเป็นวันก่อนๆ. บทว่า ยทคฺเค ความว่า ข้าพเจ้าอยู่ชั่วเวลาตั้งแต่วันแรก. ท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้าอยู่ชั่วคราว. บัดนี้ สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเมื่อจะแสดงประมาณแห่งวันนั้น จึงกล่าวว่า ไม่นาน เพียง ๓ ปี. อีกประการหนึ่ง บทว่า ยทคฺเค ความว่า ข้าพเจ้าอยู่ชั่วคราวไม่นาน เพียง ๓ ปี. ท่าน ได้ยินว่า สุนักขัตตลิจฉวีบุตรนี้รับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรนนิบัติพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๓ ปี. สุนักขัตตลิจฉวีบุตรหมายถึง ๓ ปีนั้นจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า ปิยรูปานิ ได้แก่ น่ารัก คือน่ายินดี. บทว่า กามูปสญฺหิตานิ คือ ประกอบด้วยความยินดีในกาม. บทว่า รชนียานิ ความว่า ก่อให้เกิดราคะ. บทว่า โน จ โข ทิพฺพานิ สทฺทานิ ความว่า สุนักขัตตะฟังเสียงทิพย์เหล่านั้นไม่ได้ เพราะ ได้ยินว่า สุนักขัตตะนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็ในอดีตกาล สุนักขัตตะนี้ตีกกหูภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่ง ทำให้เป็นพระหูหนวก เพราะฉะนั้น แม้เธอจะทำบริกรรม ก็ไม่สามารถบรรลุถึงทิพยโสตได้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสบอกบริกรรม. เขาผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จึงคิดว่า พระดำริอย่างนี้ย่อมมีแก่พระสมณโคดมแน่ว่า แม้เราก็เป็นกษัตริย์ ถึงโอฏ เอกํสภาวิตสมาธิวณฺณนา ลิจฉวีนั้นได้ฟังอรรถนี้แล้วจึงคิดว่า ภิกษุฟังเสียงนี้ด้วยทิพยโสต ทิพยโสตเห็นจะเป็นของสูง เป็นของมีประโยชน์ในศาสนานี้แน่ ภิกษุเหล่านั้นประพฤติพรหมจรรย์ตลอด ๕๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้างมิใช่น้อย เพื่อประโยชน์แก่ทิพยโสตนี้หรือหนอ ถ้ากระไร เราพึงทูลถามเนื้อความนี้กะพระทศพล. ต่อแต่นั้น เมื่อจะทูลถามเนื้อความนั้น จึงกราบทูลว่า เอตาสํ นูน ภนฺเต เป็นต้น. ในบทว่า สมาธิภาวนานํ นี้ สมาธินั่นเทียวชื่อว่าสมาธิภาวนา ความว่า ซึ่งสมาธิอันได้อบรมแล้วทั้งสองส่วน. อนึ่ง เพราะสมาธิภาวนาเหล่านั้นเป็นของนอกศาสนา ไม่เป็นไปในภายใน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปฏิเสธสมาธิภาวนาเหล่านั้น เมื่อจะทรงแสดงประโยชน์ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ จึงตรัสว่า น โข มหาลิ เป็นต้น. จตุอริยผลวณฺณนา บทว่า โสตาปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้ถึงกระแสแห่งมรรค. บทว่า อวินิปาตธมฺโม คือ มีอันไม่ตกไปในอบายทั้ง ๔ อย่างเป็นธรรมดา. บทว่า นิยโต คือผู้แน่นอนแล้วโดยธรรมนิยาม. บทว่า สมฺโพธิปรายโน ความว่า ความตรัสรู้ กล่าวคือมรรคเบื้องสูง ๓ อย่างอันภิกษุนั้นพึงบรรลุเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า ผู้มีความตรัสรู้เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. บทว่า ตนุตฺตา ความว่า เพราะความที่กิเลสเป็นเครื่องกลุ้มรุมจิตมีน้อย และเพราะความที่การอุบัติในโลกไหน ในกาลใด เป็นของเบาบาง. บทว่า โอรมฺภาคิยานํ ความว่า สังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ ซึ่งเป็นเครื่องผูกพันไม่ให้เกิดในภูมิสุทธาวาสชั้นสูง. คำว่า โอปปาติโก นั้น เป็นคำปฏิเสธกำเนิดที่เหลือ. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปรินิพฺพายี คือ มีนิพพานธรรมในภพเบื้องหน้านั่นเทียว. บทว่า อนาวตฺติธมฺโม ความว่า มีอันไม่กลับมาจากพรหมโลกนั้นมาเกิดอีกเป็นธรรมดา. บทว่า เจโตวิมุตฺตึ คือ จิตตวิสุทธิ. คำนั่นเป็นชื่อแห่งอรหัตตผลจิต ซึ่งหลุดพ้นจากเครื่องผูกพันคือกิเลสทั้งปวง, ปัญญาคืออรหัตตผลนั่นเทียว ซึ่งหลุดพ้นจากเครื่องผูกพันคือกิเลสทั้งปวง พึงทราบว่า ปัญญาวิมุตติ แม้ในบทว่า ปญฺญาวิมุตฺตึ นี้. บทว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม คือ ในอัตภาพนี้นั่นเอง. บทว่า สยํ คือ เอง. บทว่า อภิญฺญา คือ รู้เฉพาะยิ่ง. บทว่า สจฺฉิกตฺวา คือ กระทำให้ประจักษ์. อนึ่ง บทว่า อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ความว่า กระทำให้แจ้งด้วยอภิญญา คือด้วยญาณอันละเอียดอย่างยิ่ง ดังนี้ก็มี. บทว่า อุปสมฺปชฺช คือ บรรลุแล้ว ได้แก่ได้รับแล้ว. อริยอฏฺฐงฺคิกมคฺควณฺณนา แต่นั้น เมื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลว่า อตฺถิ ปน ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น. บทว่า อฏฺฐงฺคิโก ความว่า มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เหมือนดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ และเหมือนบ้านประกอบด้วยตระกูล ๘ จึงชื่อว่าประกอบด้วยองค์ ๘. ธรรมดามรรคอื่นจากองค์ไม่มี ด้วยเหตุนั้นเทียว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสยฺยถีทํ สมฺมาทิฏฺฐิ ฯเปฯ สมฺมาสมาธิ ดังนี้. ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิมีลักษณะเห็นชอบ. สัมมาสังกัปปะ ในมรรคมีองค์ ๘ เหล่านั้น แต่ละองค์มีกิจ ๓ อย่าง คือ สัมมาทิฏฐิย่อมละมิจฉาทิฏฐิพร้อมกับกิเลสอันเป็นข้าศึกแก่ตน แม้เหล่าอื่นก่อน ย่อมทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ และเห็นแจ้งซึ่งสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะไม่ลุ่มหลงงมงาย ด้วยสามารถกำจัดโมหะอันปกปิดความเห็นชอบนั้น. ธรรมทั้งหลาย แม้มีสัมมาสังกัปปะเป็นต้นย่อมละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น และทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ เหมือนอย่างนั้น. ก็ในที่นี้โดยพิเศษ สัมมาสังกัปปะย่อมน้อมนึกถึงสหชาตธรรมทั้งหลาย สัมมาวาจาย่อมพิเคราะห์โดยชอบ สัมมากัมมันตะย่อมให้ตั้งมั่นโดยชอบ สัมมาอาชีวะย่อมให้ผ่องใสโดยชอบ สัมมาวายามะย่อมประคองโดยชอบ สัมมาสติย่อมให้เข้าไปตั้งอยู่โดยชอบ สัมมาสมาธิย่อมตั้งใจโดยชอบ. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาสัมมาทิฏฐินั้น ในส่วนบุพภาค มีขณะต่างกันมีอารมณ์ต่างกัน. ในขณะแห่งมรรคมีขณะเดียว มีอารมณ์เดียว แต่โดยกิจย่อมได้ชื่อ ๔ อย่างมีญาณในทุกข์๑- เป็นต้น ธรรมทั้งหลายแม้มีสัมมาสังกัปปะเป็นต้น ในบุพภาคมีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ในขณะแห่งมรรคมีขณะเดียว มีอารมณ์เดียว. ____________________________ ๑- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๒๙๙ ในธรรมเหล่านั้น สัมมาสังกัปปะโดยกิจย่อมได้ชื่อ ๓ อย่างมีเนกขัม ในธรรม ๘ อย่างนี้ สัมมาทิฏฐิอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงก่อน เพราะความที่สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน. ก็ปัญญานี้ท่านกล่าวว่าปัญญาปัชโชตะ และปัญญาสัตถะ เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรจึงกำจัดความมืดคืออวิชชาด้วยสัมมาทิฏฐิ กล่าวคือวิปัสสนาญาณในบุพภาคนั้น ฆ่าโจรคือกิเลส บรรลุนิพพานด้วยเขมะ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิก่อน เพราะความที่สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน. ก็สัมมาสังกัปปะมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในลำดับแห่ง เหมือนเหรัญญิกเอามือพลิกไปพลิกมา มองดูกหาปณะด้วยตา ย่อมรู้ว่ากหาปณะนี้ปลอม นี้แท้ ฉันใด แม้พระโยคาวจรก็ฉันนั้น ในบุพภาคตรึกตรองด้วยวิตกมองดูด้วยวิปัสสนาปัญญา ย่อมรู้ว่าธรรมเหล่านี้เป็นกามาวจร เหล่านี้เป็นรูปาวจรเป็นต้น. ก็หรือเหมือนช่างถาก ถากไม้ใหญ่ที่คนจับปลายพลิกไปพลิกมาด้วยขวาน ย่อมนำไปใช้การงานได้ฉันใด พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายที่วิตกตรึกตรองให้แล้วโดยนัยว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกามาวจร เหล่านี้เป็นรูปาวจรเป็นต้น ด้วยปัญญา ย่อมนำไปใช้การงานได้ฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สัมมาสังกัปปะมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในลำดับแห่งสัมมาทิฏฐินั้น ดังนี้. สัมมาสังกัปปะนี้นั้นมีอุปการะแม้แก่สัมมาวาจา เหมือนมีอุปการะแก่สัมมาทิฏฐิฉะนั้น. เหมือนที่ท่านกล่าวไว้ว่า คหบดี ตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาในภายหลัง.๒- เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมาวาจาในลำดับแห่งสัมมาสังกัป ____________________________ ๒- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๕๐๙ ก็เพราะคนทั้งหลายตระเตรียมด้วยวาจาก่อนว่า เราจักทำการงานนี้และการงานนี้ แล้วจึงประกอบการงานทั้งหลายในโลก เพราะฉะนั้น วาจาจึงเป็นอุปการะแก่กาย ก็อาชีวัฏฐมกศีล ย่อมบริบูรณ์แก่บุคคลผู้ละวจีทุจริต ๔ อย่างและกายทุจริต ๓ อย่าง บำเพ็ญสุจริตทั้ง ๒ อย่างเท่านั้น หาบริบูรณ์แก่บุคคลนอกนี้ไม่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมาอาชีวะในลำดับแห่งสุจริตทั้ง ๒ นั้น. อนึ่ง บุคคลมีอาชีวะบริสุทธิ์อย่างนี้ ทำความยินดีด้วยเหตุเพียงนี้ว่า อาชีวะของเราบริสุทธิ์แล้ว ไม่ควรอยู่อย่างคนหลับหรือประมาท ดังนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมาวายามะในลำดับแห่งสัมมาอาชีวะนั้น เพื่อทรงแสดงว่า บุคคลควรปรารภความเพียรนี้ในทุกอิริยาบถ. แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาสติในลำดับแห่งสัมมาวายามะนั้น เพื่อทรงแสดงว่า สติอันดำรงมั่นคงดีแล้วในวัตถุทั้ง ๔ มีกายเป็นต้น แม้บุคคลผู้ปรารถนาความเพียรแล้วก็ควรทำ. ก็เพราะสติที่ตั้งมั่นดีแล้วอย่างนี้ ย่อมอำนวยคติแห่งธรรมทั้งหลายที่อุปการะแก่สมาธิเพียงพอเพื่อจิตมั่นในเอกัตตารมณ์ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาสมาธิในลำดับแห่งสัมมาสติ. บทว่า เอเตสํ ธมฺมานํ สจฺฉิกิริยาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การกระทำให้ประจักษ์ซึ่งธรรมมีโสดาปัตติผลเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า เอกมิทาหํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเพราะเหตุอะไร. ได้ยินว่า พระราชานี้มีลัทธิอย่างนี้ว่า รูปเป็นอัตตา. ด้วยเหตุนั้น จิตของพระราชานั้นจึงไม่น้อมไปในเทศนา. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภถึงข้อนี้ เพื่อทรงนำมาซึ่งเหตุการณ์หนึ่ง เพื่อทรงทำให้แจ้งซึ่งลัทธิของพระราชานั้น. ในเรื่องนั้นมีเนื้อความโดยย่อดังนี้. สมัยหนึ่ง เราอยู่ในโฆษิตาราม ครั้งนั้น บรรพชิตสองรูปนั้นถามเราอย่างนี้. ลำดับนั้น เราจึงแสดงถึงการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าแก่บรรพชิตเหล่านั้น เมื่อจะแสดงตันติธรรม จึงได้กล่าวข้อนี้ว่า ผู้มีอายุ กุลบุตรผู้ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยศรัทธา บวชในศาสนาของพระศาสดาเห็นปานนี้ บำเพ็ญศีล ๓ อย่าง บรรลุถึงฌานมีปฐมฌานเป็นต้น ดำรงอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ชีพก็อันนั้น คำนั้นสมควรแก่กุลบุตรนั้นหรือหนอ. ลำดับนั้น ครั้นบรรพชิตทั้งสองนั้นกล่าวว่าสมควร ก็เราแลได้คัดค้านวาทะนั้นว่า ผู้มีอายุ ความข้อนี้ เรารู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ดังนั้นแล เราจึงไม่กล่าวอย่างนี้ แล้วแสดงพระขีณาสพยิ่งๆ ขึ้นไป บอกแก่กุลบุตรนี้ว่า ไม่ควรกล่าวอย่างนี้ บรรพชิตเหล่านั้นฟังคำพูดของเราแล้ว เป็นผู้มีใจยินดี ดังนี้. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระราชาแม้นั้นก็มีใจยินดี. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณพจน์นี้แล้ว โอฏฐัทธลิจฉวีมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อรรถกถามหาลิสูตร ในอรรถกถาทีฆนิกายชื่อสุมังคลวิลาสินี จบด้วยประการฉะนี้. จบอรรถกถามหาลิสูตรที่ ๖ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มหาลิสูตร จบ. |