บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ต่อไปนี้เป็นการอธิบายบทที่ยากในโลหิจจสูตรนั้น. บทว่า สาลวติกา เป็นชื่อของบ้านนั้น. ได้ยินมาว่า บ้านนั้นล้อมด้วยไม้สาละ เป็นแถวไปตามลำดับเหมือนล้อมรั้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า บ้านสาลวติกา. บทว่า โลหิจจะ เป็นชื่อพราหมณ์ผู้นั้น. บทว่า ลามก คือ ชื่อว่าลามก เพราะเว้นจากการอนุเคราะห์ผู้อื่น. แต่ไม่ใช่อุจเฉททิฏฐิ และสัสสตทิฏฐิ อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า เกิดขึ้นแล้ว คือ บังเกิดแล้ว ได้แก่ไม่ใช่เพียงเกิดในใจอย่างเดียวเท่านั้น. นัยว่า โลหิจจพราหมณ์นั้นยังพูดอย่างนั้น แม้ในท่ามกลางบริษัท ตามอำนาจของใจ. บททั้งหลายว่า เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ ดังนี้ อธิบายว่า คนอื่นจะพูดว่า ผู้ที่ถูกเขาพร่ำสอนจักทำอะไรแก่ผู้พร่ำสอนนั้นได้ ตนเองนั่นแหละควรสักการะเคารพกุศลธรรมที่ตนได้แล้วอยู่. ข้อว่า โลหิจจพราหมณ์เรียกช่างกัลบกชื่อโรสิกามา มีความว่า โลหิจจ บทว่า ตามเสด็จไปข้างหลังๆ หมายความว่า โรสิกาช่างกัลบกตามเสด็จไปข้างหลังๆ เพื่อสะดวกในการทูลสนทนา. บทว่า ขอจงทรงปลดเปลื้อง คือ โรสิกา ในบทว่า ไม่เป็นไร โรสิกา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระสุรเสียงด้วยพระดำรัสแรก ทรงเปล่งพระสุรเสียงย้ำอีกด้วยพระดำรัสที่สอง. ในบทนี้ พึงทราบอธิบายดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงข้อความนี้ว่า ดูก่อนโรสิกา เรากระทำทุกรกิริยาหลายอย่างและบำเพ็ญบารมีตลอดสี่อสงไขยและตลอดแสนกัป ก็เพื่อประโยชน์นี่แหละ เรารู้แจ้งแทงตลอดสัพพัญญุตญาณก็เพื่อประโยชน์นี่อีกแหละ การขจัดความเห็นลามก และเมื่อจะทรงแสดงความข้อนี้ว่า ดูก่อนโรสิกา การมาก็ดี การนั่งก็ดี การสนทนาปราศรัย โลหิจฺจพฺราหฺมณานุโยควณฺณนา คำว่า ประโยชน์ ในบทว่า อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ ได้แก่ ความความเจริญ. บุคคลย่อมเอ็นดู เพราะฉะนั้น ชื่อว่าผู้อนุเคราะห์ ความว่า ย่อมปรารถนา ท่านกล่าวอธิบายว่า ปรารถนาความเจริญหรือไม่ปรารถนา. บทว่า นรก หรือกำเนิดเดียรัจฉาน มีอธิบายว่า หากว่าความเห็นผิดนั้นสมบูรณ์ คือเป็นความแน่นอนย่อมเกิดในนรกโดยส่วนเดียว หากยังไม่แน่นอนย่อมเกิดในกำเนิด บัดนี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะให้พราหมณ์เกิดความสลดใจยิ่งขึ้น เหมือนอย่างสัตว์ทั้งหลายสลดใจด้วยอันตรายทางลาภของตนเอง มิใช่สลดใจด้วยอันตรายทางลาภของคนอื่น ฉะนั้น จึงตรัสเรื่องเกิดขึ้นครั้งที่สองว่า โลหิจจะ ท่านสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนดังนี้. บทว่า กุลบุตรทั้งหลายเหล่านี้ ได้แก่ กุลบุตรเหล่านี้สดับพระธรรมเทศนาของพระตถาคต แล้วไม่สามารถจะก้าวลงสู่อริยภูมิได้. บทว่า ครรภ์อันเป็นทิพย์ รูปศัพท์เป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ แปลว่า ซึ่งครรภ์อันเป็นทิพย์. อนึ่ง บทว่า ครรภ์อันเป็นทิพย์นี้ เป็นชื่อของเทวโลก ๖ ชั้น. บทว่า กุลบุตรทั้งหลายย่อมบำรุง อธิบายว่า กุลบุตรทั้งหลายบำเพ็ญปฏิปทาเพื่อไปสู่เทวโลก ให้ทาน รักษาศีล ทำการบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น เจริญภาวนา ชื่อว่าย่อมบำรุงบริหาร ย่อมอบรม คือว่าย่อมเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง บทว่า เพื่อบังเกิดในภพอันเป็นทิพย์ อธิบายว่า วิมานของเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่าภพเป็นทิพย์ เพื่อจะไปเกิดในวิมานเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ครรภ์อันเป็นทิพย์ หมายถึง บุญวิเศษมีทานเป็นต้น. บทว่า ภพอันเป็นทิพย์ อธิบายว่า ภพทั้งหลายเป็นวิบากขันธ์ในเทวโลก กุลบุตรทั้งหลายกระทำบุญเพื่อเกิดในภพเหล่านั้น. บทว่า ทำอันตรายแก่ชนเหล่านั้น คือทำอันตรายแห่งมรรคสมบัติ ผลสมบัติ และความวิเศษแห่งภพอันเป็นทิพย์ของชนเหล่านั้น. ตโยโจทนารหวณฺณนา บทว่า การท้วงนั้น คือ การท้วงของผู้ท้วงศาสดา ๓ จำพวกเหล่านั้น. บทว่า ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง คือ ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้รอบคือเพื่อประโยชน์แก่การรู้ทั่ว. บทว่า หลีกเลี่ยง อธิบายว่า ไม่กระทำตามคำสั่งสอนของศาสดานั้นตลอดเวลา หลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนนั้น. บทว่า พึงลุกเข้าไปหาสตรีที่กำลังถอยหลังหนี คือเข้าไปหาผู้ที่ถอยหนี ต้องการหญิงที่เขาไม่ต้องการ. อธิบายว่า หญิงคนหนึ่งผู้ไม่ต้องการอยู่ร่วม ตัวคนเดียวก็ยังต้องการอยู่. บทว่า บุรุษพึงกอดสตรีที่หันหลังให้ อธิบายว่า บุรุษไปข้างหลังแล้วกอดสตรีผู้ไม่อยากแม้จะเห็นยืนหันหลังให้. บทว่า ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น อธิบายว่า เมื่อศาสดาแม้นี้คิดว่า พวกนี้เป็นสาวกของเรา แล้วสอนสาวกผู้หลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนด้วยความโลภ เราจึงกล่าวธรรมคือความโลภนี้ว่า มีข้ออุปไมยฉันนั้น ศาสดานั้นควรถูกท้วงว่า ท่านได้เป็นเหมือนบุรุษที่รุกเข้าไปหาสตรีที่กำลังหนี เหมือนบุรุษพึงกอดสตรีที่หันหลังให้ ด้วยธรรมคือความโลภใด ธรรมคือความโลภของท่านนั้นก็เป็นอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. ข้อที่ว่า เพราะคนอื่นจักทำอะไรแก่คนอื่นได้ มีอธิบายว่า ศาสดาย่อมควรถูกท้วงว่า ท่านสอนคนอื่นด้วยธรรมใด ท่านจงยังตนให้ถึงพร้อมในธรรมนั้นก่อน คือท่านจงทำให้ตรง เพราะคนอื่นจักทำอะไรให้คนอื่นได้. บทว่า ที่อันตนควรบำรุง อธิบายว่า ควรถอนหญ้าที่ทำลายข้าวกล้าแล้วทำให้เรียบร้อย. เนื้อความแห่งการท้วงครั้งที่ ๓ ว่า คนอื่นจักทำอะไรแก่คนอื่นได้ หมายความว่า คนอื่นที่ถูกพร่ำสอนตั้งแต่เวลาที่ไม่รับคำสอนจักทำอะไรแก่คนอื่น คือผู้พร่ำสอนได้. อธิบายว่า ศาสดานั้นควรถูกท้วงอย่างนี้ว่า ตนนั่นแหละควรถึงความเป็นผู้ขวนขวายน้อย แล้วจึงควรนับถือบูชาธรรมที่ตนรู้แจ้งแทงตลอดแล้วอยู่มิใช่หรือ. นโจทนารหสตฺถุวณฺณนา บทว่า ตกไปสู่เหวคือนรก ความว่า เพราะเราถือทิฏฐิลามกเราจึงตกไปสู่เหวคือนรก. บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกเราวางไว้บนบก ความว่า โลหิจจพราหมณ์กล่าวว่า เราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตัดทิฏฐิลามกให้แล้ว ทรงยกขึ้นจากเหวคืออบาย ด้วยพระหัตถ์คือพระธรรมเทศนา แล้ววางเราไว้บนบกคือทางสวรรค์ ดังนี้. คำที่เหลือในสูตรนี้ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นด้วยประการฉะนี้. อรรถกถาโลหิจจสูตรแห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินีจบแล้วด้วยประการฉะนี้. สูตรที่ ๑๒ จบ -------------------- .. อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค โลหิจจสูตร จบ. |