![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() หน้าต่างที่ ๕ / ๗. จักวินิจฉัยในพระบาลีนี้ว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต ก่อน. การไป เรียกว่า อภิกกันตะ ก้าวไป. การกลับ เรียกว่า ปฏิกกันตะ ก้าวกลับ. แม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมได้ในอิริยาบท ๔. ในการไป เมื่อนำกายไปข้างหน้าก่อน ชื่อว่าก้าวไป เมื่อถอยกลับ ชื่อว่าก้าวกลับ. แม้ในการยืน ผู้ที่ยืนนั่นแหละ น้อมกายไปข้างหน้า ชื่อว่าก้าวไป เอนกายไปข้างหลัง ชื่อว่าก้าวกลับ. แม้ในการนั่ง ผู้ที่นั่งนั่นแหละ ชะโงกหน้าไปยังส่วนข้างหน้าของอาสนะ ชื่อว่าก้าวไป เมื่อถอยไปยังส่วนที่เป็นส่วนข้างหลัง ชื่อว่าก้าวกลับ. แม้ในการนอนก็นัยนี้แหละ. บทว่า สมฺปชานการี โหติ ความว่า กระทำกิจทั้งปวงด้วยสัมปชัญญะ หรือกระทำสัมปชัญญะนั่นเอง. ด้วยว่า ภิกษุนั้นย่อมกระทำสัมปชัญญะอยู่เสมอในการก้าวไปเป็นต้น มิได้เว้นสัมปชัญญะในกาลไหนๆ. สัมปชัญญะ ในพระบาลีนั้น มี ๔ อย่าง คือ ๑. สาตถกสัมปชัญญะ ๒. สัปปายสัมปชัญญะ ๓. โคจรสัมปชัญญะ ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ ใน ๔ อย่างนั้น เมื่อจิตคิดจะไปเกิดขึ้น ยังไม่ทันไปตามที่คิดก่อน ใคร่ครวญถึงประโยชน์มิใช่ประโยชน์ว่า การไปที่นั้นจะมีประโยชน์แก่เราหรือไม่หนอ แล้วใคร่ครวญประโยชน์ ชื่อสาตถกสัมปชัญญะ. คำว่า ประโยชน์ ในบทว่า สาตถกสัมปชัญญะนั้น คือความเจริญฝ่ายธรรมโดยได้เห็นพระเจดีย์ เห็นต้นพระศรีมหาโพธิ เห็นพระสงฆ์ เห็นพระเถระและ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความเจริญแม้ฝ่ายอามิสก็มีประโยชน์เหมือนกัน เพราะอาศัยอามิสนั้นปฏิบัติเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์. ส่วนในการไปนั้น ใคร่ครวญถึงสัปปายะและอสัปปายะ แล้วใคร่ครวญสัปปายะ ชื่อสัปปาย แม้ในการเห็นต้นพระศรีมหาโพธิก็นัยนี้แหละ. แม้การเห็นพระสงฆ์ก็มีประโยชน์. ก็ถ้าเมื่อมนุษย์ทั้งหลายสร้างมณฑปใหญ่ภายในหมู่บ้าน ชวนกันฟังธรรมตลอดคืน ย่อมมีทั้งประชุมชนทั้งอันตรายโดยประการที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ที่นั้นจึงเป็นอสัปปายะ. เพราะไม่มีอันตราย ที่นั้นเป็นสัปปายะ. แม้ในการเห็นพระเถระที่มีบริษัทบริวารมากก็นัยนี้แหละ. แม้การเห็นอสุภก็มีประโยชน์. ก็เรื่องนี้ เพื่อแสดงประโยชน์นั้น. ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งพาสามเณรไปหาไม้สีฟัน. สามเณรหลีกจากทางเดินไปข้างหน้า เห็นอสุภ ยังปฐมฌานให้บังเกิด ทำปฐมฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย ทำให้แจ้งผลทั้ง ๓ แล้วยืนกำหนดกรรมฐานเพื่อต้องการมรรคผลชั้นสูง. ภิกษุหนุ่มเมื่อไม่เห็นสามเณรก็เรียกว่า สามเณร. สามเณรนั้นคิดว่า จำเดิมแต่กาลที่เราบรรพชา ไม่เคยกล่าวคำสองกับภิกษุ เราจักยังคุณวิเศษชั้นสูงให้บังเกิดแม้ในวันอื่น ดังนี้จึงได้ขานรับว่า อะไรขอรับ. เมื่อภิกษุหนุ่มเรียกว่ามานี่ ด้วยคำเดียวเท่านั้น สามเณรนั้นก็มา กล่าวว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงเดินไปตามทางนี้ก่อน แล้วยืนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แลดูตรงที่ที่กระผมยืนอยู่สักครู่เถิด. ภิกษุนั้นกระทำตามนั้น ได้บรรลุคุณวิเศษที่สามเณรนั้นบรรลุแล้วเหมือนกัน. อสุภเดียวเกิดประโยชน์แก่ชน ๒ คนด้วยประการฉะนี้. อสุภนี้แม้มีประโยชน์อย่างนี้ก็จริง. แต่อสุภหญิงเป็นอสัปปายะแก่ชาย และอสุภชายเป็นอสัปปายะแก่หญิง อสุภที่เป็นสภาคกัน (เพศเดียวกัน) เท่านั้นเป็นสัปปายะ การใคร่ครวญสัปปายะอย่างนี้ ชื่อสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้. ก็การเลือกอารมณ์ กล่าวคือกรรมฐานที่ตนชอบใจในบรรดากรรมฐาน ๓๘ อย่าง แล้วยึดอารมณ์นั้นเท่านั้นไปในที่ที่ภิกขา เพื่อความแจ่มแจ้งโคจรสัมปชัญญะนั้น บัณฑิตพึงทราบจตุกกะนี้ ดังต่อไปนี้ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ นำไป ไม่นำกลับ บางรูปนำกลับ ไม่นำไป แต่บางรูปไม่นำไป ไม่นำกลับ บางรูป นำไปด้วย นำกลับด้วย. ในบรรดาภิกษุ ๔ จำพวกนั้น ภิกษุใดชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นเครื่องกั้น ด้วยการจงกรมและด้วยการนั่งในกลางวัน ตอนปฐมยามในกลางคืนก็ปฏิบัติอย่างนั้น นอนในมัชฌิมยาม ยังกาลให้ล่วงไปด้วยการนั่งและการจงกรมแม้ในปัจฉิมยาม กระทำวัตรที่ลานพระเจดีย์และลานพระศรีมหาโพธิก่อนทีเดียว รดน้ำที่ต้นพระศรีมหาโพธิ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ประพฤติสมาทานขันธกวัตรทุกอย่างมีอาจริยวัตรและอุปัชฌายวัตรเป็นต้น. ภิกษุนั้นกระทำสรีระบริกรรมแล้วเข้าสู่เสนาสนะ ให้ร่างกายได้รับไออุ่นชั่ว ๒-๓ กลับ แล้วประกอบเนืองๆ ซึ่งกรรมฐาน ลุกขึ้นในเวลาภิกขาจาร ถือบาตรและจีวร โดยกำหนดกรรมฐานเป็นหลักนั่นเทียว ออกจากเสนาสนะ ใส่ใจถึงกรรมฐานอยู่อย่างนั้น ไปลานพระเจดีย์ หากเจริญพุท ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นภิกษุนั้นก็ออกมาต้อนรับด้วยความยินดีว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรามาแล้ว รับบาตรนิมนต์ให้นั่งบนโรงฉันหรือบนเรือน ถวายข้าวยาคูชั่วระยะเวลาที่ภัตตาหารยังไม่เสร็จ ก็ล้างเท้า ทาน้ำมัน นั่งข้างหน้าถามปัญหาบ้าง ขอฟังธรรมบ้าง. พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ถ้าแม้เขาไม่ขอให้แสดงธรรม ก็พึงแสดงธรรมกถาทีเดียวเพื่อสงเคราะห์ประชาชน. จริงอยู่ ธรรมกถาที่นอกเหนือไปจากกรรมฐาน ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเมื่อกล่าวธรรมกถาโดยกำหนดกรรมฐานเป็นหลักนั่นเทียว ฉันอาหารโดยกำหนดกรรมฐานเป็นหลักนั่นเทียว แม้เมื่อกระทำอนุโมทนาลากลับ พวกมนุษย์ตามไปส่ง ออกจากหมู่บ้านแล้ว ให้พวกมนุษย์เหล่านั้นกลับตรงที่นั้น เดินไปตามทาง. ครั้งนั้น สามเณรและภิกษุหนุ่มที่ออกมาก่อน ได้ฉันภัตตาหารที่นอกบ้านเสร็จแล้ว เห็นภิกษุรูปนั้นไปต้อนรับ รับบาตรและจีวรของท่าน. ได้ยินว่า ภิกษุครั้งโบราณ ใช่ว่าจะแลดูหน้าเสียก่อน นี่อุปัชฌาย์ของเรา นี่อาจารย์ของเรา แล้วจึงปรนนิบัติก็หาไม่ ย่อมทำตามกำหนดที่ถึงเข้าเท่านั้น. สามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้นถามท่านว่า ท่านผู้เจริญ มนุษย์เหล่านั้นเป็นอะไรกับท่าน เป็นญาติข้างมารดาหรือเป็นญาติข้างบิดา. ภิกษุนั้นกล่าวว่า พวกท่านเห็นอะไรจึงถาม. สามเณรและภิกษุหนุ่มตอบว่า เห็นพวกเขาเหล่านั้นรักนับถือท่านมาก. ภิกษุนั้นกล่าวสรรเสริญชาวบ้านเหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กิจใดแม้มารดาบิดาก็ยากที่จะทำได้ กิจนั้นพวกเขาเหล่านั้นกระทำแก่พวกเรา แม้จีวรของพวกเราก็เป็นของพวกเขาเหล่านั้นทั้งนั้น เมื่อมีภัยก็ปลอดภัย เมื่อหิวก็ไม่หิว ผู้ที่มีอุปการะแก่พวกเราเช่นนี้ไม่มีอีกแล้ว ดังนี้ไป. นี้เรียกว่า นำไป ไม่นำกลับ. ส่วนภิกษุใดกระทำวัตรปฏิบัติมีประการดังกล่าวแล้วก่อนทีเดียว ไฟธาตุย่อยอาหารเผาอาหารใหม่หมดแล้วก็เผากระเพาะอาหาร. เหงื่อไหลท่วมตัว. กรรมฐานไม่ขึ้นสู่วิถีได้. ภิกษุนั้นถือบาตรจีวรก่อนแล้วไหว้พระเจดีย์โดยเร็วทีเดียว แล้วเข้าไปยังหมู่บ้านเพื่อขอยาคู ในเวลาฝูงโคออกจากคอกนั่นเทียว (เช้ามืด) ได้ยาคูแล้วไปฉันยังโรงฉัน. ตอนนั้นพอภิกษุนั้นกลืนยาคูลงไปได้ ๒-๓ คำ เตโชธาตุที่เกิดแต่กรรม ไม่เผากระเพาะอาหาร หันมาเผาอาหารใหม่. ภิกษุนั้นถึงความดับความเร่าร้อนแห่งเตโชธาตุ ดุจได้อาบน้ำตั้งร้อยหม้อ ฉันยาคูโดยกำหนดกรรมฐานเป็นหลัก ล้างบาตรและบ้วนปากแล้ว เจริญกรรมฐานเรื่อยไปในระหว่างที่ยังมิได้ฉันภัตตาหาร เที่ยว ภิกษุทั้งหลายที่ฉันยาคูแล้วเริ่มเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตในพระพุทธศาสนาเช่นนี้ มีมากจนนับไม่ถ้วน ในเกาะสีหลนั้น ในโรงฉันตามหมู่บ้านนั้นๆ ไม่มีอาสนะที่ไม่มีภิกษุฉันยาคูแล้วบรรลุพระอรหัตนั่ง. ก็ภิกษุที่อยู่ด้วยความประมาท ทอดทิ้งธุระ ทำลายวัตรที่จะพึงกระทำ มี ก็ภิกษุนี้ใดที่กล่าวแล้วว่า นำไปด้วย นำกลับด้วย ภิกษุนั้นพึงทราบด้วยอำนาจภิกษุผู้ประพฤติคตปัจจาคติกวัตร (ขาไปก็เจริญกรรมฐาน ขากลับก็เจริญ จริงอยู่ กุลบุตรทั้งหลายผู้ใคร่ประโยชน์ บวชในพระศาสนาแล้ว อยู่รวมกัน ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง ทำข้อตกลงกันว่า แน่ะอาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายมิใช่บวชหลบเจ้าหนี้ มิใช่บวชลี้ภัย มิใช่บวชเพื่ออาชีพ แต่มุ่งพ้นทุกข์จึงบวชในพระศาสนานี้. เพราะฉะนั้น กิเลสเกิดขึ้นในขณะเดิน จงข่มในขณะเดินนั่นเทียว กิเลสเกิดขึ้นในขณะยืน จงข่มในขณะยืนนั่นเทียว กิเลสเกิดขึ้นในขณะนั่ง จงข่มในขณะนั่งนั่นเทียว กิเสสเกิดขึ้นในขณะนอน จงข่มในขณะนอนนั่นเทียว ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นทำข้อตกลงกันอย่างนี้แล้ว ไปภิกขาจาร มีแผ่นหินในระหว่างทาง ครึ่ง ภิกษุนั้นจะไม่ย่างเท้าด้วยจิตที่ปราศจากกรรมฐาน. หากย่างเท้าไป ต้องถอยกลับมายังที่เดิมอีก ดุจพระมหาปุสสเทวเถระผู้อยู่อาลินทกวิหาร. ได้ยินว่า พระเถระนั้นบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอยู่ ๑๙ ปี. แม้มนุษย์ทั้ง ในวันที่บรรลุพระอรหัตนั่นเอง เทวดาผู้อยู่ท้ายที่จงกรมของพระเถระ ได้ยืนเอานิ้วมือทำเป็นประทีปสว่างโชติช่วง. แม้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และท้าวสักกเทวราช ตลอดถึงท้าวสหัมบดีพรหม ก็ได้มาบำรุงพระ ก็พระมหาติสสเถระผู้อยู่ป่าเห็นแสงสว่าง ดังนั้นจึงถามท่านในวันรุ่งขึ้นว่า เมื่อ และดุจพระมหานาคเถระผู้อยู่กาลวัลลิมณฑป ได้ยินว่า พระเถระแม้นั้นก็บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ทีแรกได้อธิษฐานเดินจงกรมอยู่ถึง ๗ ปี ด้วยตั้งใจว่า จักบูชามหาปธานของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอีก ๑๖ ปี จึงได้บรรลุพระอรหัต. พระเถระนั้นย่างเท้าด้วยจิตที่ประกอบด้วยกรรมฐานเท่านั้น เมื่อย่าง เพื่ออะไร? เพื่อต้องการว่า เมื่อคนมาถวายภิกษาแก่เราหรือมาไหว้ กรรมฐานอย่าได้เคลื่อน แม้ และดุจภิกษุ ๕๐ รูปผู้จำพรรษาในกลัมพติตถวิหาร. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นได้กระทำข้อตกลงกันในวันเพ็ญเดือน ๘ ว่า เราทั้งหลายยังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่พูดคุยกัน เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไป ก็มนุษย์เหล่านั้นคิดกันอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่พูดกับพวกเราเท่านั้น หรือว่าพวกท่านเองก็ไม่พูดกัน หากพวกท่านเองก็ไม่พูดกันแล้ว คงจักวิวาทกันเป็นแน่ มาเถิดพวกเราจักให้ภิกษุเหล่านั้นขมาโทษกันและกัน. เขาทั้งหมดไปวิหาร ไม่ได้เห็นภิกษุ ๕๐ รูป อยู่ในที่เดียวกันแม้ ๒ รูป. ในลำดับนั้น บรรดาคนเหล่านั้นมีคนตาแหลมคนหนึ่งกล่าว ภิกษุผู้ประพฤติดุจพระมหานาคเถระผู้อยู่กาลวัลลิมณฑป และดุจภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาในกลัมพ ก็ภิกษุบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร กล่าวคือนำกรรมฐานไปและนำกลับมานี้ หากเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแล้วจะบรรลุพระอรหัตได้ในปฐมวัยทีเดียว. ถ้าไม่ได้บรรลุในปฐมวัย ก็จะได้บรรลุในมัชฌิมวัย. ถ้าไม่ได้บรรลุในมัชฌิมวัย ก็จะได้บรรลุในเวลาตาย. ถ้าไม่ได้บรรลุในเวลาตาย ก็จะไปเป็นเทพบุตรแล้วบรรลุ. ถ้าไม่ไปเป็นเทพบุตรแล้วบรรลุ ไปเกิดเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ ก็จะบรรลุปัจเจกโพธิญาณ. ถ้าไม่บรรลุปัจเจกโพธิญาณ เมื่อไปเกิดพบพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็จะได้เป็นพระอรหันต์ประเภทขิปปาภิญญา ดังเช่นพระพาหิยทารุจิริยเถระก็มี. ประเภทผู้มีปัญญามาก เช่นพระสารีบุตรเถระก็มี. ประเภทผู้มีฤทธิ์มาก เช่นพระมหาโมคคัลลานเถระก็มี. ประเภทถือธุดงค์ เช่นพระมหากัสสปเถระก็มี. ประเภทได้ทิพยจักษุ เช่นพระอนุรุทธเถระก็มี. ประเภททรงพระวินัย เช่นพระอุบาลีเถระก็มี. ประเภทเชี่ยวชาญแสดงธรรม เช่นพระปุณณมัน ในข้อปฏิบัติ ๔ ข้อนี้ ภิกษุใดทั้งนำไปและนำกลับ โคจรสัมปชัญญะของภิกษุนั้น ย่อมเป็นอันถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติ ด้วยประการฉะนี้. ก็ความไม่หลงในการก้าวไปเป็นต้น ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ. อสัมโมหสัมปชัญญะนั้นพึงทราบอย่างนี้ ปุถุชนผู้อันธพาล เมื่อก้าวไปเป็นต้น ย่อมหลงผิดว่าตนก้าวไป การก้าวไปตนทำให้เกิดขึ้นดังนี้บ้าง ว่าเราก้าวไป การก้าวไป เราทำให้เกิดขึ้นดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุในพระศาสนานี้ไม่หลงผิดฉันนั้น เมื่อจิตคิดว่าเราจะก้าวไปเกิดขึ้น วาโยธาตุซึ่งเกิดแต่จิต ยังวิญญัติให้เกิด ย่อมเกิดขึ้นด้วยจิตนั่นเอง ดังนั้นร่างกระดูกที่สมมติว่ากายนี้ ย่อมก้าวไปด้วยอำนาจความแผ่ไปของวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังงานของจิตด้วยประการฉะนี้. เมื่อร่างกระดูกนั้นก้าวไปอย่างนี้ ในขณะที่ยกเท้าขึ้นแต่ละข้าง ธาตุทั้ง ๒ คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ ย่อมอ่อนกำลังลง. อีก ๒ ธาตุนอกนี้ย่อมมีกำลังขึ้น. ในขณะที่หย่อนเท้าลง ธาตุทั้ง ๒ คือเตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมอ่อนกำลังลง อีก ๒ ธาตุนอกนี้ย่อมมีกำลังยิ่งขึ้น. ในขณะที่ปลายเท้าจดพื้นและเหยียบเต็มฝ่าเท้า ก็เช่นเดียวกัน. รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในขณะที่ยกเท้าขึ้น ย่อมไม่ถึงขณะที่เคลื่อนเท้า. รูปธรรมและนาม ในการก้าวไปเป็นต้นนั้น ใครคนหนึ่งก้าวไป หรือการก้าวไปของใครคนหนึ่ง. แต่โดยปรมัตถ์ ธาตุทั้งหลายเท่านั้นเดิน ธาตุทั้งหลายเท่านั้นยืน ธาตุทั้งหลายเท่านั้นนั่ง ธาตุทั้งหลายเท่านั้นนอน. ก็ในส่วน (แห่งอิริยาบถ) นั้นๆ จิตดวงอื่นเกิดขึ้น จิตดวงอื่นดับไป พร้อมกับรูป เป็นไปอยู่เหมือนกระแสน้ำไหลติดต่อกันไปไม่ขาดสายฉะนั้น ดังนี้. ความไม่หลงในการก้าวไปเป็นต้นอย่างนี้ ชื่อว่า อสัมโมหสัปชัญญะ ดังนี้แล. จบอธิบายบทว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี โหติ เท่านี้. ก็ในบทว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ การเพ่งดูไปข้างหน้า ชื่ออาโลกิตะ. การเพ่งดูไปทิศเฉียง ชื่อวิโลกิตะ. อิริยาบถอื่นๆ ที่ชื่อว่าโอโลกิตะ อุลโลกิตะและอวโลกิตะ ก็คือการดูข้างล่าง ข้างบน ข้างหลัง การดูเหล่านั้น ท่านมิได้ถือเอาในที่นี้. แต่โดยการถือเอาตามความเหมาะสม ท่านถือเอาการแลดูสองอย่างนี้เท่านั้น. อีกนัยหนึ่ง การแลดูเหล่านั้นทั้งหมด ท่านถือเอาด้วยมุขนี้ด้วยประการฉะนี้ทีเดียวแล. ในการแลดูสองอย่างนั้น เมื่อจิตคิดว่าเราจักแลดูไปข้างหน้าดังนี้ เกิดขึ้น ยังมิทันแลไปด้วยอำนาจจิตนั่นแล ใคร่ครวญถือเอาประโยชน์ชื่อสาตถกสัมปชัญญะ. สาตถกสัมปชัญญะนั้น พึงดูท่านพระนันทะเป็นตัวอย่าง. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่านันทะจะพึงแลดูทิศตะวันออก เธอย่อมรวบรวมใจทั้งหมดแลดูทิศตะวันออกว่า เมื่อเราแลดูทิศตะวันออกอย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ไม่พึงไหลไปตามดังนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีสาตถกสัมปชัญญะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่านันทะจะพึงแลดูทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง เธอย่อมรวบรวมใจทั้งหมดพิจารณาดูทิศเฉียงว่า เมื่อเราแลดูทิศเฉียงอย่างนี้ ... ดังนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีสาตถกสัมปชัญญะ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่าการเพ่งดูไปข้างหน้าและการเพ่งดูไปตามทิศเป็นสาตถก ส่วนโคจรสัมปชัญญะ คือการไม่ละทิ้งกรรมฐานนั่นเอง เพราะฉะนั้น การเพ่งดูไปข้างหน้าและการเพ่งดูไปตามทิศ ในพระบาลีนี้ ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ยึดขันธ์ ธาตุ อายตนะเป็นอารมณ์ พึงกระทำด้วยอำนาจกรรมฐานของตนนั่นเทียว หรือฝ่ายภิกษุผู้เจริญสมถกรรมฐาน ยึดกสิณเป็นต้นเป็นอารมณ์ พึงกระทำโดยกำหนดกรรมฐานเป็นหลักทีเดียว. ชื่อว่าตนภายในร่างกาย ที่เพ่งดูไปข้างหน้าหรือที่เพ่งดูไปตามทิศย่อมไม่มี. พอเกิดความคิดว่าเราจักแลดูไปข้างหน้า ดังนี้ วาโยธาตุซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานพร้อมด้วยจิตดวงนั้นนั่นแล ยังวิญญัติให้เกิด ย่อมเกิดขึ้น หนังตาล่างหดลง หนังตาบนเลิกขึ้น ด้วยอำนาจความแผ่ไปของวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังงานของจิต อีกอย่างหนึ่ง ก็อสัมโมหสัมปชัญญะในพระบาลีนี้ พึงทราบด้วยการกำหนดรู้เหตุตัวเดิมและเหตุจรมา และเหตุเกิดชั่วขณะ. พึงทราบโดยกำหนดรู้เหตุตัวเดิมก่อน. ภวังคกิจ อาวัชชนกิจ ทัสสนกิจ สัมปฏิจฉันนกิจ สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ และชวนกิจ เป็นที่ ๗ ย่อมเกิด. ในวิถีจิตเหล่านั้น ภวังคจิตยังกิจอันเป็นองค์แห่งอุปปัตติกภพให้สำเร็จเกิดขึ้น. กิริยามโนธาตุรำพึงถึงภวังคจิตนั้นยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จเกิดขึ้น. ถัดจากกิริยามโนธาตุดับ จักขุ อสัมโมหสัมปชัญญะ ในการแลและการเหลียวนี้ด้วยอำนาจการกำหนดรู้เหตุตัวเดิม ถึงทราบเพียงเท่านี้ก่อน. พึงทราบวินิจฉัยในจักษุทวาร ก็เมื่อรูปารมณ์มาปรากฏ ถัดจากภวังคจิตไหว เมื่อวิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นเกิดขึ้นดับไป ด้วยอำนาจทำกิจของตนให้สำเร็จ ในที่สุดชวนจิตย่อมเกิด. ชวนจิตนั้นเป็นดุจบุรุษผู้จรมาในจักษุทวาร อันเป็นเพียงดังเรือนของอาวัชชนจิตเป็นต้นที่เกิดขึ้นก่อน. เมื่อบุรุษผู้จรมานั้นเข้าไปในเรือนของผู้อื่นเพื่อจะขอสิ่งของอะไรๆ แม้เมื่อพวกเจ้าของเรือนนิ่งอยู่ ก็ไม่ควรใช้อำนาจ ฉันใด แม้เมื่ออาวัชชนจิต ก็จิตทั้งหลายมีโวฏฐัพพนจิตเป็นที่สุดเหล่านี้ใด ย่อมเกิดขึ้นในจักษุทวาร จิตเหล่านั้นย่อมดับไปในที่นั้นๆ นั่นเอง พร้อมกับสัมปยุตตธรรม ย่อมไม่เห็นซึ่งกันและกัน ฉะนั้น จิตนอกนี้จึงเป็นจิตที่มีอยู่ชั่วขณะ. ในข้อนั้นมีอธิบายดังนี้ ในเรือนหลังหนึ่งเมื่อคนทั้งหลายตายกันหมดแล้ว เหลืออยู่คนเดียวซึ่งจะต้องตายในขณะนั้นเอง ย่อมไม่อภิรมย์ในการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น ฉันใด เมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้นอันเป็นตัวสัมปยุตในทวารหนึ่งดับไปในที่นั้นๆ นั่นเอง ชื่อว่าการอภิรมย์ด้วยอำนาจกำหนัดขัดเคืองและหลงนั่นแล ก็ไม่ควรแม้แก่ชวนจิตที่ยังเหลือซึ่งจะต้องดับในขณะนั้นเอง ฉันนั้น พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะด้วยอำนาจความเป็นไปชั่วขณะอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง อสัมโมหสัมปชัญญะนี้ พึงทราบด้วยอำนาจพิจารณาเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย. ก็ในอธิการนี้ จักษุและรูปจัดเป็นรูปขันธ์ ทัสสนะเป็นวิญญาณขันธ์ เวทนาที่สัมปยุตด้วยวิญญาณขันธ์นั้นเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาจัดเป็นสัญญาขันธ์ สัมปยุตตธรรมมีผัสสะเป็นต้น เป็นสังขารขันธ์. การแลและการเหลียว ย่อมปรากฏในเพราะขันธ์ ๕ เหล่านี้ประชุมกันด้วยประการฉะนี้. ในการแลและการเหลียวนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่งเหลียวไปข้างหลัง. จักษุก็เหมือนกัน จัดเป็นจักขวายตนะ รูปเป็นรูปายตนะ ทัสสนะเป็นมนายตนะ สัมปยุตตธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นเป็นธรรมายตนะ. การแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศ ย่อมปรากฏเพราะอายตนะ ๔ เหล่านี้ประชุมกัน ด้วยประการฉะนี้. ในการแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่งเหลียวไปข้างหลัง จักษุก็เหมือนกัน จัดเป็นจักษุธาตุ รูปเป็นรูปธาตุ ทัสสนะเป็นจักขุวิญญาณธาตุ ธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นเป็นธรรมธาตุ. การแลไปข้างหน้า และการแลไปตามทิศ ย่อมปรากฏเพราะธาตุ ๔ เหล่านี้ประชุมกันด้วยประการฉะนี้. ในการแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่งเหลียวไปข้างหลัง. จักษุก็เหมือนกัน เป็นนิสสยปัจจัย รูปเป็นอารัมมณปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย อาโลกะเป็นอุปนิสสยปัจจัย เวทนาเป็นต้นเป็นสหชาตปัจจัยเป็นต้น. การแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศ ย่อมปรากฏเพราะปัจจัยเหล่านี้ประชุมกันด้วยประการฉะนี้. ในการแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่งเหลียวไปข้างหลัง อสัมโมหสัมปชัญญะในการแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศนี้ พึงทราบด้วยอำนาจพิจารณาเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัยอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต ความว่า คู้เข้าหรือเหยียดออกแห่งอิริยาปถปัพพะทั้งหลาย. การใคร่ครวญประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ เพราะการคู้เข้าหรือเหยียดออกของมือเท้าเป็นปัจจัย แล้วใคร่ครวญแต่ประโยชน์ โดยมิได้คู้เข้าหรือเหยียดออกด้วยอำนาจจิตเลย ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะในการคู้เข้าหรือเหยียดออกนั้น. ทุกๆ ขณะที่ภิกษุยืนคู้หรือเหยียดมือและเท้านานเกินไป เวทนาย่อมเกิดขึ้นในการคู้หรือเหยียดนั้น จิตย่อมไม่ได้อารมณ์เป็นหนึ่ง. กรรมฐานย่อมจะเสียไป. ภิกษุนั้นย่อมจะไม่บรรลุ การใคร่ครวญประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ พึงทราบอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง แม้เมื่อมีประโยชน์ การใคร่ครวญถึงอารมณ์สัปปายะและอสัปปายะแล้วใคร่ครวญแต่อารมณ์ที่เป็นสัปปายะ ชื่อว่าสัปปายสัมปชัญญะ. ในสัปปายสัมปชัญญะในการคู้เข้าหรือเหยียดออกนั้น มีนัยดังนี้. ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มหลายรูปสวดมนต์อยู่ที่ลานพระเจดีย์. ภิกษุณีสาวหลายรูปฟังธรรมอยู่ข้างหลังภิกษุเหล่านั้น. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเหยียดมือออกไปถูกกายภิกษุณีเข้า จึงต้องเป็นคฤหัสถ์เพราะเหตุนั้นเอง. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เมื่อเหยียดเท้า ได้เหยียดเท้าไปในกองไฟ. ถูกไฟไหม้เท้าจดกระดูก. ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้เหยียดเท้าไปที่จอมปลวก ถูกอสรพิษกัด. อีกรูปหนึ่งเหยียดแขนไปที่ไม้แขวนมุ้ง ถูกงูเขียวกัด. เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่ควรเหยียดมือเท้าไปในที่อันเป็นอสัปปายะเช่นนี้ ควรเหยียดไปในที่อันเป็นสัปปายะ. นี้เป็นสัปปายสัมปชัญญะ ในบทว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต นี้. ก็โคจรสัมปชัญญะ พึงแสดงด้วยเรื่องของพระมหาเถระ. ได้ยินว่า พระมหาเถระนั่งอยู่ในที่พักกลางวัน สนทนาอยู่กับอันเตวาสิกทั้งหลาย คู้มือเข้ามาโดยเร็ว แล้วเหยียดออกไปไว้ในที่เดิมอีก แล้วค่อยๆ คู้เข้า อันเตวาสิกทั้งหลายถามท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เหตุไรท่านจึงคู้มือเข้ามาโดยเร็ว แล้วเหยียดออกไปไว้ในที่เดิมอีก แล้วค่อยๆ คู้เข้า. พระมหาเถระตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ตั้งแต่เราเริ่มมนสิการกรรมฐานมา เราไม่เคยละทิ้งกรรมฐานคู้มือเลย แต่บัดนี้เราสนทนากับท่านทั้งหลายได้ละทิ้งกรรมฐานคู้มือเข้า เพราะฉะนั้น เราจึงได้เหยียดมือออกไปไว้ในที่เดิมอีกแล้วคู้เข้า. อันเตวาสิกทั้งหลายได้ถวายสาธุการว่า ดีแล้ว ท่านอาจารย์ ขึ้นชื่อว่าภิกษุ ควรเป็นอย่างนี้. การไม่ละกรรมฐานแม้ในที่เช่นนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าโคจรสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้. ใครๆ ที่ชื่อว่าตนในภายใน ซึ่งคู้เข้าหรือเหยียดออก ย่อมไม่มี มีแต่การคู้เข้าหรือเหยียดออกด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิต มีประการดังกล่าวแล้ว ดุจหุ่นยนต์เคลื่อนไหวมือเท้าได้ด้วยอำนาจการชักสายใยฉะนั้น. ก็การกำหนดรู้อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบว่าอสัมโมหสัมปชัญญะในการคู้เข้าหรือเหยียดออกนี้. การใช้สอยโดยการนุ่งห่มสังฆาฏิและจีวร และโดยการรับภิกษาด้วยบาตรเป็นต้น ชื่อว่า ธารณะ ในบทว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ นี้. ในการใช้สอยสังฆาฏิบาตรและจีวรนั้น จะวินิจฉัยในการใช้สอยสังฆาฏิและจีวรก่อน. การที่ภิกษุนุ่งหรือห่มเที่ยวบิณฑบาตได้อามิสมา คือประโยชน์มีประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เพื่อป้องกันหนาวดังนี้นั่นแหละ ชื่อว่าประโยชน์. พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจของประโยชน์นั้น. ก็จีวรเนื้อละเอียดเป็นสัปปายะแก่ภิกษุขี้ร้อนและมีกำลังน้อย จีวรเนื้อหนา ๖ ชั้นเป็นสัปปายะแก่ภิกษุขี้หนาว. จีวรที่ตรงกันข้ามไม่เป็นสัปปายะ. จีวรเก่าไม่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเลย. ด้วยว่า จีวรเก่านั้นย่อมทำความกังวลแก่ภิกษุนั้น เพราะต้องคอยปะเป็นต้น. จีวรชนิดผ้าลายสองเป็นต้นเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ทำให้กังวลเหมือนกัน. ด้วยว่า จีวรเช่นนั้นย่อมทำอันตรายแก่ภิกษุผู้อยู่ในป่ารูปเดียว และอาจทำอันตรายถึงชีวิตก็ได้. ก็จีวรใดเกิดขึ้นด้วยอำนาจมิจฉาชีพ มีนิมิตตกรรมเป็นต้น และจีวรใด ใครๆ ชื่อว่าตนในภายใน ที่ชื่อว่าห่มจีวร ย่อมไม่มี. มีแต่การห่มจีวรด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิต มีประการดังกล่าวแล้วเท่านั้น. ในจีวรและกายนั้น แม้จีวรก็ไม่มีเจตนา แม้กายก็ไม่มีเจตนา. จีวรย่อมไม่รู้ว่าเราห่มกายไว้. แม้กายก็ไม่รู้ว่าเราถูกจีวรห่มไว้. ธาตุทั้งหลายเท่านั้นปิดหมู่ธาตุอยู่ เหมือนเอาผ้าเก่าห่อคัมภีร์ไว้ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น ภิกษุได้จีวรดีก็ไม่ควรดีใจ ได้จีวรไม่ดีก็ไม่ควรเสียใจ. เหมือนอย่างว่า ที่จอมปลวก พระเจดีย์และต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นต้น คนบางพวกบูชาด้วยดอกไม้ของหอมธูปและผ้าเป็นต้น คนบางพวกไม่บูชาด้วยคูถมูตรเปือกตม และประหารด้วยท่อนไม้และสาตราเป็นต้น จอมปลวกและต้นไม้เป็นต้น ย่อมไม่ แม้ในการใช้สอยบาตร พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะด้วยอำนาจประโยชน์ที่จะพึงได้เฉพาะ เพราะภิกษุไม่หยิบบาตรโดยรีบร้อน แต่หยิบบาตรโดยพิจารณาอย่างนี้ว่า เมื่อเราหยิบบาตรนี้เที่ยวไปบิณฑ ก็บาตรหนักไม่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุที่มีร่างกายผอม มีกำลังน้อย. บาตรที่มีปุ่มขรุขระ ๔-๕ ปุ่ม ล้างยาก ไม่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเลย. แม้บาตรที่ล้างยากก็ไม่ควร. ด้วยว่า เมื่อล้างบาตรนั้นอยู่นั่นแหละ เธอจะมีกังวล. ก็บาตรที่มีสีเหมือนแก้วมณี เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ไม่เป็นสัปปายะตามนัยที่กล่าวแล้วในจีวรนั่นแล. อนึ่ง บาตรที่ได้มาด้วยอำนาจนิมิตตกรรมเป็นต้นไม่เป็นสัปปายะ และบาตรใดเมื่อภิกษุใช้สอย อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป บาตรนี้เป็นอสัปปายะโดยส่วนเดียวเท่านั้น. บาตรที่ตรงกันข้ามเป็นสัปปายะ. ในการใช้สอยบาตรนี้ พึงทราบสัปปาย ใครๆ ชื่อว่าตนในภายในถือบาตรอยู่ ย่อมไม่มี. มีแต่การถือบาตรด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตมีประการดังกล่าวแล้วเท่านั้น. ในการถือบาตรนั้น แม้บาตรก็ไม่มีเจตนา แม้มือก็ไม่มีเจตนา. บาตรย่อมไม่รู้ว่า เราถูกมือถือไว้. แม้มือทั้งหลายก็ไม่รู้ว่า เราถือบาตรไว้. ธาตุทั้งหลายเท่านั้นถือหมู่ธาตุอยู่ เหมือนเอาคีมคีบอาหารที่ร้อนเป็นไฟฉะนั้น. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในการใช้สอยบาตรนี้ด้วยอำนาจพิจารณาที่เป็นไปอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง คนทั้งหลายเห็นคนอนาถามือเท้าด้วน มีหนองเลือดและหมู่หนอนออกจากปากแผล มีแมลงวันหัวเขียวตอมหึ่ง นอนอยู่บนศาลาที่อาศัยของคนอนาถา ผู้ที่มีความเอ็นดูเอาผ้าพันแผลมาให้บ้าง เอายาใส่ถ้วยกระเบื้องเป็นต้นมาให้บ้างแก่คนอนาถาเหล่านั้น บรรดาของเหล่านั้น ผ้าพันแผลของบางคนเป็นผ้าเนื้อละเอียดก็มี ของบางคนเป็นผ้าเนื้อหยาบก็มี ถ้วยกระเบื้องใส่ยาของบางคนรูปร่างสวยก็มี ของบางคนรูปร่างไม่สวยก็มี คนอนาถาเหล่านั้นย่อมไม่ยินดีหรือรังเกียจในสิ่งของเหล่านั้น ด้วยว่า คนอนาถาเหล่านั้นต้องการผ้าเพียงปิดแผลเท่านั้น และถ้วยกระเบื้องก็เพียงใส่ยาไว้เท่านั้น ข้อนี้ฉันใด ก็ภิกษุใดพิจารณาจีวรเหมือนผ้าพันแผล บาตรเหมือนถ้วยกระเบื้องใส่ยา และภิกษาที่ได้ในบาตรเหมือนยา ภิกษุนี้ฉันนั้น พึงทราบว่า เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวสูงสุดด้วยอสัมโมหสัมปชัญญะในการใช้สอยสังฆาฏิบาตรและจีวร. ในบทว่า อสิเต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า อสิเต ได้แก่ ในการฉันบิณฑบาต. บทว่า ปีเต ได้แก่ ในการดื่มยาคูเป็นต้น. บทว่า ขายิเต ได้แก่ ในการเคี้ยวกินของขบเคี้ยวที่ทำด้วยแป้งเป็นต้น. บทว่า สายิเต ได้แก่ ในการลิ้มน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น. ประโยชน์แม้ ๘ อย่างที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า เนว ทวาย มิใช่ฉันเพื่อจะเล่นดังนี้ ชื่อว่าประโยชน์ พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะด้วยอำนาจประโยชน์นั้น. ก็บรรดาโภชนะที่เลวหรือประณีต ที่ขมหรือหวานเป็นต้น ภิกษุใดไม่ผาสุกเพราะโภชนะใด โภชนะนั้นไม่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุนั้น. อนึ่ง โภชนะใดที่ได้มาด้วยอำนาจนิมิตตกรรมเป็นต้น และโภชนะใด เมื่อภิกษุนั้นฉันอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเสื่อมไป โภชนะนั้นเป็นอสัปปายะโดยส่วนเดียวเท่านั้น. โภชนะที่ตรงกันข้าม เป็นสัปปายะ. ในการฉันเป็นต้นนี้ พึงทราบ ใครๆ ชื่อว่าตนในภายในเป็นผู้บริโภค ย่อมไม่มี. ชื่อว่าการถือบาตรย่อมมีด้วยความแผ่ไปแห่ง ด้วยประการฉะนี้ วาโยธาตุย่อมนำอาหารเข้า เปลี่ยนแปลง ทรงไว้ กลับไปกลับมา บดให้ละเอียด ทำให้แห้งและนำออก. ปฐวี อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในการบริโภคนี้ โดยพิจารณาเป็นของปฏิกูล ๑๐ ประการอย่างนี้ คือ โดยการไป ๑ โดยการแสวงหา ๑ โดยการบริโภค ๑ โดยที่อยู่ ๑ โดยหมักหมม ๑ โดยยังไม่ย่อย ๑ โดยย่อยแล้ว ๑ โดยผล ๑ โดยไหลออก ๑ โดยเปื้อน ๑. ส่วนความพิสดารในเรื่องนี้ พึงถือเอาแต่อาหารปฏิกูลสัญญานิทเทส ในวิสุทธิ บทว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ได้แก่ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ. ในบทนั้นมีอธิบายว่า เมื่อถึงเวลาถ่ายแล้วมิได้ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ เหงื่อไหล ก็ภิกษุถ่ายอุจจาระปัสสาวะในที่ไม่สมควร ย่อมเป็นอาบัติ ย่อมเสียชื่อเสียง เป็นอันตรายแก่ชีวิต เมื่อถ่ายอุจจาระปัสสาวะในที่สมควร ทุกอย่างนั้นย่อมไม่มี ดังนั้นการรู้ตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะนี้ จึงเป็นสัปปายะ. พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะโดยสัปปายะนั้น. พึงทราบโคจรสัปชัญญะโดยไม่ละกรรมฐานนั่นแล. ชื่อว่าตนในภายในถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่ ย่อมไม่มี. แต่มีการถ่ายอุจจาระปัสสาวะด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตเท่านั้น. ก็หรือว่า เพราะฝีแตกเมื่อฝีสุก น้ำหนองและเลือดย่อมไหลออก โดยไม่มีใครต้องการ ฉันใด และภาชนะน้ำที่เต็มเปี่ยม น้ำย่อมไหลออกโดยไม่มีใครต้องการ ฉันใด อุจจาระปัสสาวะที่สั่งสมอยู่ในลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะ ถูกกำลังลมบีบคั้นหนักเข้า ย่อมไหลออกแม้โดยไม่มีใครต้องการ ฉันนั้น. ก็อุจจาระปัสสาวะนี้นั้น เมื่อไหลออกอย่างนี้ ย่อมไม่เป็นของตน ของภิกษุนั้น ไม่เป็นของผู้อื่น เป็นกากอาหารที่ไหลออกมาจากร่างกายเท่านั้นเอง. เหมือนอย่างอะไร. เหมือนอย่างว่า คนที่ถ่ายน้ำเก่าจากตุ่มน้ำ น้ำเก่านั้นย่อมไม่เป็นของตน ไม่เป็นของผู้อื่น เป็นเพียงล้างตุ่มเท่านั้นเอง. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะนี้ โดยพิจารณาที่เป็นไป ด้วยประการฉะนี้. ในบทว่า คเต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า คเต ได้แก่ ในการเดิน. บทว่า ฐิเต ได้แก่ ในการยืน. บทว่า นิสินฺเน ได้แก่ ในการนั่ง. บทว่า สุตฺเต ได้แก่ ในการนอน. บทว่า ชาคริเต ได้แก่ ในการตื่น. บทว่า ภาสิเต ได้แก่ ในการพูด. บทว่า ตุณฺหีภาเว ได้แก่ ในการไม่พูด. ก็ในพระสูตรนี้ว่า ภิกษุเดินอยู่ก็ดี ย่อมรู้ตัวว่าเราเดิน ยืนอยู่ก็ดี ย่อมรู้ตัวว่าเรายืน นั่งอยู่ก็ดี ย่อมรู้ตัวว่าเรานั่ง นอนอยู่ก็ดี ย่อมรู้ตัวว่า เรานอน ดังนี้๑- ตรัสถึงอิริยาบถยาวนาน. ____________________________ ๑- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๒๗๕ ในคำนี้ว่า ในการก้าวไป ในการถอยกลับ ในการแลไปข้างหน้า ในการแลไปตามทิศ ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ดังนี้ ตรัสถึงอิริยาบถปานกลาง. แต่ในที่นี้ว่า ในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่นดังนี้ ตรัสถึงอิริยาบทย่อยเล็กน้อย. เพราะฉะนั้น พึงทราบความเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในอิริยาบถแม้เหล่านั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. ก็พระมหาสิวเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า ภิกษุใดเดินหรือจงกรมนาน ภายหลังหยุดยืน ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในเวลาจงกรม ดับไปในขณะหยุดยืนนั้นแหละ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการเดิน. ภิกษุใดท่องบ่นอยู่ก็ดี วิสัชนาปัญหาอยู่ก็ดี มนสิการกรรมฐานอยู่ก็ดี ยืนอยู่นาน ภายหลังนั่งลง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในเวลายืน ดับไปในขณะนั่งลงนั้นแหละ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการยืน. ภิกษุใดนั่งนาน โดยกระทำการสาธยายเป็นต้น ภายหลังลุกขึ้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในเวลานั่ง ดับไปในขณะลุกขึ้นนั้นแหละ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการนั่ง. แต่ภิกษุใดนอนท่องบ่นอยู่ก็ดี มนสิการกรรมฐานอยู่ก็ดี หลับไป ภายหลังลุกขึ้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในเวลานอน ดับไปในขณะลุกขึ้นนั้นแหละ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการหลับและการตื่น. ก็จิตที่ไม่ทำงานชื่อว่าหลับ ที่ทำงานชื่อว่าตื่น. ก็ภิกษุใดกำลังพูดอยู่ มีสติสัมปชัญญะว่า ชื่อว่าเสียงนี้ย่อมเกิดเพราะอาศัยริมฝีปาก ฟัน ลิ้น เพดาน และความพยายามที่เหมาะแก่เรื่องนั้นๆ ของจิต ดังนี้ พูด ก็หรือว่า ท่องบ่นก็ตาม กล่าวธรรมก็ตาม เจริญกรรมฐานก็ตาม วิสัชนาปัญหาก็ตามตลอดกาลนาน แล้วนิ่งไปในภายหลัง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เกิดขึ้นในเวลาพูด ดับไปในขณะนิ่งนั้นแหละ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการพูด. ภิกษุใดนิ่งแล้วยังมนสิการพระธรรมหรือกรรมฐานเป็นเวลานาน ภายหลังพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในเวลานิ่ง ดับไปในขณะนิ่งนี้เอง ด้วยว่าเมื่ออุปาทายรูปเกิด ชื่อว่าพูด เมื่อไม่เกิด ชื่อว่านิ่ง ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในความเป็นผู้นิ่งด้วยประการฉะนี้. เรื่องนี้นั้น พระมหาสีวเถระกล่าวไว้แล้ว. หน้าที่ของอสัมโมหสัมปชัญญะ ท่านประสงค์ในมหาสติปัฏฐานสูตร. แต่ในสามัญญผลสูตรนี้ ย่อมได้สัมปชัญญะ ๔ อย่างแม้ทั้งหมด ฉะนั้น พึงทราบความเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวด้วยอำนาจแห่งสัมปชัญญะ ๔ ในที่นี้ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็บทว่า สมฺปชานการี ดังนี้ พึงทราบเนื้อความโดยสัมปชัญญะที่สัมปยุตด้วยสตินั่นเทียวในทุกๆ บท. บทว่า สติสมฺปชญฺเญน สมนฺนาคโต นี้ ก็มีความพิสดารเท่านี้. แต่ในวิภังคปกรณ์ ท่านจำแนกบทเหล่านี้ไว้อย่างนี้ว่า๒- สโต สมฺปชาโน อภิกฺกมติ สโต สมฺปชาโน ปฏิกฺกมติ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวไป เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะถอยกลับ ดังนี้ทีเดียว. ____________________________ ๒- อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๖๑๒ บทว่า เอวํ โข มหาราช ความว่า ภิกษุเมื่อยังการก้าวไปเป็นต้นให้เป็นไป .. อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค สามัญญผลสูตร |