ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สรสูตรที่ ๗
[๗๐] ท. สงสารทั้งหลายย่อมกลับแต่ที่ไหน วัฏฏะย่อมไม่เป็น ไปในที่ไหน นามก็ดี รูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่ไหน ฯ [๗๑] ภ. น้ำ ดิน ไฟ ลม ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด สงสาร ทั้งหลายย่อมกลับแต่ที่นี้ วัฏฏะย่อมไม่เป็นไปในที่นี้ นามก็ดี รูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่นี้ ฯ
มหัทธนสูตรที่ ๘
[๗๒] ท. กษัตริย์ทั้งหลายมีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก ทั้งมีแว่น แคว้น ไม่รู้จักพอในกามทั้งหลาย ย่อมขันแข่งซึ่งกันและกัน เมื่อกษัตริย์ทั้งหลายนั้นมัวขวนขวาย ลอยไปตามกระแสแห่ง ภพ บุคคลพวกไหนไม่มีความขวนขวาย ละความโกรธและ ความทะเยอทะยานเสียแล้วในโลก ฯ [๗๓] ภ. บุคคลทั้งหลาย ละเรือน ละบุตร ละปศุสัตว์ที่รัก บวชแล้ว กำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาเสียแล้ว เป็นผู้มี อาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส บุคคลพวกนั้นเป็นผู้ไม่ ขวนขวายในโลก ฯ
จตุจักกสูตรที่ ๙
[๗๔] ท. ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก สรีระมีจักร ๔ มี ทวาร ๙ เต็มด้วยของไม่สะอาด ประกอบด้วยโลภะ ย่อม เป็นดังว่าเปือกตม ความออกไป (จากทุกข์) ได้ จักมีได้ อย่างไร ฯ [๗๕] ภ. ตัดความผูกโกรธด้วย กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดด้วย ความปรารถนาและความโลภอันลามกด้วย ถอนตัณหาอันมี อวิชชาเป็นมูลเสียแล้วอย่างนี้ ความออกไป (จากทุกข์) จึงจักมีได้ ฯ
เอณิชังคสูตรที่ ๑๐
[๗๖] ท. พวกข้าพระองค์เข้ามาเฝ้าแล้ว ขอทูลถามพระองค์ ผู้มีความเพียรซูบผอม มีแข้งดังเนื้อทราย มีอาหารน้อย ไม่มี ความโลภ เป็นเหมือนราชสีห์และช้างเที่ยวไปผู้เดียว ไม่มี ห่วงใยในกามทั้งหลาย บุคคลจะพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร ฯ [๗๗] ภ. กามคุณ ๕ มีใจเป็นที่ ๖ บัณฑิตประกาศแล้วในโลก บุคคลเลิกความพอใจในนามรูปนี้ได้แล้ว ก็พ้นจากทุกข์ได้ อย่างนี้ ฯ
จบสัตติวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
สูตรที่กล่าวในสัตติวรรคนั้น สัตติสูตร ผุสติสูตร ชฏาสูตร มโน- *นิวารณสูตร อรหันตสูตร ปัชโชตสูตร สรสูตร มหัทธนสูตร จตุจักกสูตร เป็นที่ ๙ กับเอณิชังคสูตร ครบ ๑๐ ฉะนี้แล ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๔๔๑-๔๗๙ หน้าที่ ๒๐-๒๒. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=441&Z=479&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=15&siri=27              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=70              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [70-77] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=70&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=1370              The Pali Tipitaka in Roman :- [70-77] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=70&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=1370              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i056-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/sn1.27/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.27/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :