ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
อวิชชาวรรคที่ ๓
๑. สมุทยธัมมสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความหมายของอวิชชาและวิชชา
[๓๒๐] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูปอันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อม ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งรูปอันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูปอันมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความ เกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเวทนา ... ย่อมไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงซึ่งสัญญา ... ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งสังขาร ... ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่ง วิญญาณอันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมไม่ รู้ชัดตาม ความเป็นจริงซึ่งวิญญาณอันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งวิญญาณ อันมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า อวิชชา และ บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่านี้. [๓๒๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาด้วย เหตุเพียงเท่าไร? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ย่อม รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อม รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความ เกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเวทนา ... ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงซึ่งสัญญา ... ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งสังขาร ... ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งวิญญาณ อันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งวิญญาณ อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัดตาม ความเป็นจริงซึ่งวิญญาณ อันมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความ เกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๑.
๒. สมุทยธัมมสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความหมายของอวิชชา
[๓๒๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตน- *มฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ออกจากที่พักผ่อนใน เวลาเย็น ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระ- *สารีบุตร ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบ ด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ... ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๒.
๓. สมุทยธัมมสูตรที่ ๓
ว่าด้วยความหมายของวิชชา
[๓๒๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตน- *มฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ออกจากที่พักผ่อนใน เวลาเย็น ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ แล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่าน พระสารีบุตร ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบ ด้วยวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ... ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้ เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๓.
๔. อัสสาทสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความหมายของอวิชชา
[๓๒๔] พระนครพาราณสี. ท่านพระมหาโกฏฐิตะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชา เป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษและอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร ... แห่งวิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๔.
๕. อัสสาทสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความหมายของวิชชา
[๓๒๕] พระนครพาราณสี. ท่านพระมหาโกฏฐิตะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉน หนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกร ท่านผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัด ออกแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร ... แห่งวิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๕.
๖. สมุทยธัมมสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความหมายของอวิชชา
[๓๒๖] พระนครพาราณสี ท่านพระมหาโกฏฐิตะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชา เป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระสารี บุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูปย่อมไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ... แห่ง สัญญา ... แห่งสังขาร ... แห่งวิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ ประกอบอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๖.
๗. สมุทยธัมมสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความหมายของวิชชา
[๓๒๗] พระนครพาราณสี. ท่านพระมหาโกฏฐิตะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชา เป็นไฉน หนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยสาวกได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่ง ความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ... แห่ง สัญญา ... แห่งสังขาร ... แห่งวิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๗.
๘. โกฏฐิตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความหมายของอวิชชาและวิชชา
[๓๒๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่าอิสิปตน- *มฤทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น ได้เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะถึงที่อยู่ ฯลฯ แล้วได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะว่า ดูกรท่าน โกฏฐิตะ ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบ ด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงไร? ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร ... แห่งวิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็น ผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล. [๓๒๙] เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ถามว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัด ออกแห่งรูป ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็น ผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๘.
๙. โกฏฐิตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความหมายของอวิชชาและวิชชา
[๓๓๐] พระนครพาราณสี ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่าน พระมหาโกฏฐิตะว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ดูกรท่าน ผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความ ดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร ... แห่งวิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล. [๓๓๑] เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ถามว่า ดูกร ท่านโกฏฐิตะ ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบ ด้วยวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้ สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร ... แห่งวิญญาณ. ดูกรท่านผู้ มีอายุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๙.
๑๐. โกฏฐิตสูตรที่ ๓
ว่าด้วยความหมายของอวิชชาและวิชชา
[๓๓๒] พระนครพาราณสี. ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถาม ท่านพระมหาโกฏฐิตะว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉน หนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่ง รูป ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งรูป ย่อม ไม่รู้ชัดซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ... ซึ่งวิญญาณ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งวิญญาณ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล. [๓๓๓] เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ถามว่า ดูกร

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๘๓๑-๓๙๖๙ หน้าที่ ๑๖๕-๑๗๑. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=3831&Z=3969&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=17&siri=126              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=320              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [320-333] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=17&item=320&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=8047              The Pali Tipitaka in Roman :- [320-333] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=17&item=320&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=8047              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i320-e.php# https://suttacentral.net/sn22.126/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :