ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
ธรรมปริยายสูตร
[๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความ กระเสือกกระสนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสนเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นผู้รับผลของกรรม เป็นผู้มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ เป็น กรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือ ชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ที่มีชีวิต ทั้งปวง บุคคลนั้นย่อมกระเสือกกระสนด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ กายกรรม ของเขาคด วจีกรรมของเขาก็คด มโนกรรมของเขาคด คติของเขาก็คด อุบัติของเขาก็คด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรกอันมีทุกข์โดยส่วนเดียว หรือกำเนิดดิรัจฉานอันมีปรกติกระเสือกกระสน ของบุคคลผู้มีคติคด ผู้มีอุบัติอันคด ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำเนิดดิรัจฉานมีปรกติกระเสือกกระสนนั้นเป็นไฉน คือ งู แมงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้าแมว หรือสัตว์ทั้งหลาย ผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้อื่นๆ ที่เห็นมนุษย์แล้วย่อม กระเสือกกระสน ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอุบัติของสัตว์ย่อมมีเพราะกรรมอันมีแล้ว ด้วยประการดังนี้แล คือ เขาย่อมอุบัติด้วยกรรมที่เขาทำ ผัสสะอันเป็นวิบาก ย่อมถูกต้องเขาผู้อุบัติแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้รับผลของกรรม ด้วยประการฉะนี้ ฯ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ลักทรัพย์ ... เป็นผู้ประพฤติผิด ในกาม ... เป็นผู้พูดเท็จ ... เป็นผู้พูดส่อเสียด ... เป็นผู้พูดคำหยาบ ... เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ... เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น ... เป็นผู้คิดปองร้าย ... เป็น ผู้มีความเห็นผิด คือมีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวง ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลก หน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนิน ไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดังนี้ บุคคลนั้นย่อมกระเสือก กระสนด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ กายกรรมของเขาคด วจีกรรมของเขาก็คด มโนกรรมของเขาก็คด คติของเขาก็คด การอุบัติของเขาก็คด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรกอันมีทุกข์โดยส่วนเดียว หรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอันมีปรกติกระเสือกกระสน ของบุคคลผู้มีคติอันคด ผู้มีการอุบัติอันคด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอันมีปรกติกระเสือก กระสนนั้นเป็นไฉน คือ งู แมงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้าแมว หรือสัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้อื่นๆ ที่เห็น มนุษย์แล้วย่อมกระเสือกกระสน ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอุบัติของสัตว์ย่อมมี เพราะกรรมอันมีแล้วด้วยประการดังนี้แล คือ เขาย่อมอุบัติด้วยกรรมที่เขาทำ ผัสสะอันเป็นวิบากย่อมถูกต้องเขาผู้อุบัติแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นผู้รับผลของกรรม ด้วยประการฉะนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นผู้ รับผลของกรรม เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่ง อาศัย ทำกรรมอันใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผล ของกรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ บุคคลนั้นย่อมไม่กระเสือก กระสนด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ กายกรรมของเขาตรง วจีกรรมของเขาก็ตรง มโนกรรมของเขาก็ตรง คติของเขาก็ตรง การอุบัติของเขาก็ตรง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีคติอันตรง ผู้มีการ อุบัติอันตรง คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุขโดยส่วนเดียว หรือสกุลที่สูงๆ คือสกุล- *กษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล หรือ สกุลคฤหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีเงินทองมาก มีเครื่องอุปกรณ์แห่งทรัพย์เครื่อง ปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอุบัติของสัตว์ ย่อมมีเพราะกรรมอันมีแล้ว ด้วยประการดังนี้แล คือ สัตว์นั้นย่อมอุบัติด้วยกรรม ที่ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากทั้งหลายย่อมถูกต้องเขาผู้อุบัติแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรม ด้วยประการฉะนี้ ฯ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ... ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ... ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ... ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ... ละ คำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ ... ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูด เพ้อเจ้อ ... เป็นผู้ไม่อยากได้ของผู้อื่น ... เป็นผู้มีจิตไม่คิดปองร้าย ... เป็น ผู้มีความเห็นชอบ คือ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การเซ่นสรวง มีผล การบูชามีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นอุปปาติกะมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ดำเนิน ไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก ดังนี้ บุคคลนั้น ย่อมไม่ กระเสือกกระสนด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ กายกรรมของเขาตรง วจีกรรม ของเขาก็ตรง มโนกรรมของเขาก็ตรง คติของเขาก็ตรง การอุบัติของเขาก็ตรง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มี คติตรง ผู้มีการอุบัติตรง คือ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุขโดยส่วนเดียว หรือสกุลที่สูงๆ คือสกุลกษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคฤหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีเงินทองมาก มีเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ มาก การอุบัติของสัตว์ย่อมมีเพราะกรรมอันมีแล้วด้วยประการดังนี้แล คือ เขา ย่อมอุบัติด้วยกรรมที่ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากทั้งหลายย่อมถูกต้องเขาผู้อุบัติ แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรม ด้วย ประการฉะนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตนเป็นผู้รับผล ของกรรม เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมอันใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งกระเสือกกระสนเป็นดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๖๘๗๖-๖๙๕๗ หน้าที่ ๒๙๙-๓๐๓. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=6876&Z=6957&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=24&siri=191              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=193              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [193] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=193&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8505              The Pali Tipitaka in Roman :- [193] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=193&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8505              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i189-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an10.216/en/sujato https://suttacentral.net/an10.216/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :