บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๙. สิปปสูตร [๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมาก ด้วยกันกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตแล้ว นั่งประชุมกันในโรงกลม ได้ สนทนากันถึงเรื่องเป็นไปในระหว่างว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ใครหนอแล ย่อมรู้ศิลป ใครศึกษาศิลปอะไร ศิลปอย่างไหนเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้นภิกษุบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการฝึกช้างเป็นยอด แห่งศิลปทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการฝึกม้าเป็นยอดแห่ง ศิลปทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการขับรถเป็นยอดแห่งศิลป ทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการยิงธนูเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปทางอาวุธเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย บางพวก กล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปทางนับนิ้วมือเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย บางพวก กล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการคำนวณเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย บางพวก กล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปนับประมวลเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย บางพวกกล่าว อย่างนี้ว่า ศิลปในการขีดเขียนเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย บางพวกกล่าว อย่างนี้ว่า ศิลปในการแต่งกาพย์กลอนเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย บางพวก กล่าวอย่างนี้ว่าศิลปในทางโลกายตศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย บางพวก กล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในทางภูมิศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น สนทนาเรื่องค้างไว้ในระหว่างเพียงนี้ ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่เร้น ได้เสด็จเข้าไปถึงโรงกลม แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่ ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลาย นั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเธอทั้งหลายสนทนาเรื่องอะไร ค้างไว้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลาย กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต นั่งประชุมกันในโรงกลม เกิดสนทนากัน ในระหว่างว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ใครหนอแลย่อมรู้ศิลป ... บางพวก กล่าวอย่างนี้ว่าศิลปในทางภูมิศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายสนทนาเรื่องค้างไว้ในระหว่างนี้แลก็พอดีพระผู้มี- *พระภาคเสด็จมาถึง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลาย เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา กล่าวกถาเห็นปานนี้นั้นไม่สมควรเลย เธอทั้งหลายประชุมกันแล้ว พึงกระทำอาการ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถา หรือ ดุษณีภาพอันเป็นอริยะ ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง อุทานนี้ในเวลานั้นว่า ผู้ไม่อาศัยศิลปเลี้ยงชีพ ผู้เบา ปรารถนาประโยชน์ มี อินทรีย์สำรวมแล้ว พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง ไม่มี ที่อยู่เที่ยวไป ไม่ยึดถือว่าของเรา ไม่มีความหวัง ผู้นั้นกำจัด มารได้แล้ว เป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว ชื่อว่าเป็นภิกษุ ฯจบสูตรที่ ๙ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๒๓๘๔-๒๔๒๒ หน้าที่ ๑๐๔-๑๐๕. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=2384&Z=2422&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=64 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=83 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [83] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=83&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=4835 The Pali Tipitaka in Roman :- [83] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=25&item=83&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=4835 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.3.09.than.html https://suttacentral.net/ud3.9/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud3.9/en/sujato
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]