ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
สุชาตพุทธวงศ์ที่ ๑๒
ว่าด้วยพระประวัติพระสุชาตพุทธเจ้า
[๑๓] ในมัณฑกัปนั้นแล มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพระนามว่า สุชาตะ มีพระหนุดังคางราชสีห์ พระองค์งาม มีพระคุณประมาณ ไม่ได้ ยากที่จะเทียมถึง พระองค์ทรงงามรุ่งเรืองด้วยพระสิริทุกเมื่อ ดังพระจันทร์หมดจดปราศจากมลทิน เหมือนพระอาทิตย์ส่องแสง พระสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันอุดมบริสุทธิ์แล้ว ทรง ประกาศพระธรรมจักร ณ สุมังคลนคร เมื่อพระสุชาตบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ ในพระธรรมเทศนาครั้งที่ ๑ สัตว์ได้ ตรัสรู้แปดสิบโกฏิ ในกาลเมื่อพระองค์เสด็จเข้าจำพรรษา ณ เทวโลก ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ทวยเทพสามโกฏิเจ็ดแสน ในกาลเมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปยังสำนักพระพุทธบิดา ธรรมาภิสมัย ครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์หกโกฏิ พระสุชาตบรมศาสดา ทรงมีการ ประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุเหล่านั้นล้วนแต่บรรลุอภิญญาและพลธรรม ผู้ไม่ต้องไปในภพน้อยภพใหญ่ มาประชุมกันหกโกฏิ ครั้งที่ ๒ ในกาลนั้น พระพิชิตมารเสด็จลงจากเทวโลก พระภิกษุขีณาสพมา ประชุมกันห้าโกฏิ ครั้งที่ ๓ พระอัครสาวกของพระสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่านรชนเข้าเฝ้าพร้อมด้วยพระขีณาสพสี่แสน สมัยนั้น เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีพลนิกายมาก เป็นใหญ่ในทวีปทั้งสี่ เหาะ ไปในอากาศ เราถวายราชสมบัติใหญ่ในทวีปทั้งสี่ และรัตนะ ๗ ประการ อันประเสริฐในพระพุทธเจ้าแล้วออกบวชในสำนักของ พระองค์ พวกคนรักษาอารามในชนบท นำเอาบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย มาถวายแก่ภิกษุสงฆ์เนืองๆ แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็น ใหญ่ในหมื่นโลกธาตุพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราในกาลนั้นว่า ในสามหมื่นกัป ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก .......... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว ยัง ความยินดีให้เกิดอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรอย่างยอดเยี่ยม ในการ บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ เราเล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวงแล้ว ทำพระศาสนาของพระพิชิต มารให้งาม เราเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสั่งสอนนั้น เจริญพรหม วิหารภาวนา ถึงความสำเร็จในอภิญญาแล้ว ได้ไปยังพรหมโลก พระนครชื่อว่าสุมังคละ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าอุคคตะ เป็น พระพุทธบิดา พระนางประภาวดี เป็นพระพุทธมารดา พระองค์ ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อสิริ อุปสิริ และจันทะ ทรงมีพระสนมนารีกำนัลใน สองหมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระ นามว่าสิรินันทา พระราชโอรสพระนามว่าอุปเสนะ พระพิชิตมาร ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยอัสวราชยานพระที่ นั่งต้น ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๙ เดือนเต็ม พระสุชาตมหาวีรเจ้าผู้ เป็นนายกของโลก อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ พระธรรมจักร ณ สุมังคลอุทยานอันประเสริฐ ทรงมีพระสุทัสนเถระ และพระสุเทวเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่านารทะ เป็น พุทธอุปัฏฐาก พระนาคาเถรีและพระนาคสมานาเถรี เป็นพระ อัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกว่าไม้ไผ่ใหญ่ และ โพธิพฤกษ์นั้นลำต้นแข็ง ไม่เป็นโพรง มีใบแน่นหนา ลำต้นตรงใหญ่ น่าดูน่าชม น่ารื่นรมย์ใจ ต้นหนึ่งเจริญงอกงามแล้วแตกกิ่งสาขา ออกไป ไม้โพธิพฤกษ์ย่อมงามเหมือนดังหางนกยูงที่ผูกเป็นกำ ฉะนั้น ไม้ไผ่นั้นไม่มีหนาม แม้ช่องใหญ่ก็ไม่มี มีกิ่งชิดไม่ห่าง เงาทึบ น่ารื่นรมย์ใจ สุทัตตอุบาสกและจิตตอุบาสก เป็นอัคร- อุปัฏฐาก สุภัททาอุบาสิกาและปทุมาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพิชิตมารพระองค์นั้นมีพระองค์สูง ๕๐ ศอก ทรงประกอบด้วย พระอาการอันประเสริฐและพระคุณทุกอย่าง ทรงมีพระรัศมีหาเสมอ เหมือนมิได้ ซ่านออกโดยรอบ ไม่มีประมาณ ไม่มีเทียบเคียง หาอุปมาเปรียบมิได้ ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ ทรงดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏฏสงสาร ได้มากมาย ในกาลนั้น พระศาสนางามวิจิตรด้วยพระอรหันต์ ทั้งหลาย ดังคลื่นในสมุทสาคร เหมือนดาวในท้องฟ้า ฉะนั้น (พระศาสนาของพระพิชิตมารคับคั่งด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้บรรลุไตรวิชชา ฉฬภิญญาและพลธรรม ผู้คงที่) พระพุทธเจ้า พระองค์นั้น หาผู้เสมอเหมือนมิได้และพระคุณเหล่านั้นหาเทียบ เคียงมิได้ หายไปหมดสิ้นแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระพุทธสุชาตชินเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ เสลาราม พระสถูปของพระองค์ สูง ๓ คาวุต ประดิษฐานอยู่ในเสลารามนั้น ฉะนี้แล.
จบสุชาตพุทธวงศ์ที่ ๑๒

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๗๘๓๕-๗๙๐๐ หน้าที่ ๓๓๕-๓๓๘. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=7835&Z=7900&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=33&siri=204              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=193              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [193] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=193&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=51&A=6523              The Pali Tipitaka in Roman :- [193] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=193&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=51&A=6523              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :