ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[250] อายุสสธรรม หรือ อายุวัฒนธรรม 5 (ธรรมที่เกื้อกูลแก่อายุ หรือธรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ, ธรรมที่ช่วยให้อายุยืน — things conducive to long life)
       1. สัปปายการี (รู้จักทำความสบายแก่ตนเอง — to do what is suitable for oneself and favourable to one’s health; to act in accordance with rules of hygiene)
       2. สัปปาเย มัตตัญญู (รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย — to be moderate even as to thigs suitable and favourable)
       3. ปริณตโภชี (บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย เช่น เคี้ยวให้ละเอียด — to eat food which is ripe or easy to digest)
       4. กาลจารี (ประพฤติเหมาะในเรื่องเวลา เช่น รู้จักเวลา ทำถูกเวลา ทำเป็นเวลา ทำพอเหมาะแก่เวลา เป็นต้น — to behave oneself properly as regards time and the spending of time.)
       5. พรหมจารี (ถือพรหมจรรย์ ผู้เป็นคฤหัสถ์รู้จักควบคุมกามารมณ์เว้นเมถุนบ้าง — to practise sexual abstinence)

       อายุวัฒนธรรมนี้ มีอีกหมวดหนึ่ง สามข้อแรกเหมือนกัน แปลกแต่ข้อ 4 และ 5 เป็น
       4. สีลวา (มีศีล ประพฤติดีงาม ไม่ทำความผิด — to be morally upright)
       5. กัลยาณมิตตะ (มีกัลยาณมิตร — to have good friends)

A.III.145. องฺ.ปญฺจก. 22/125-126/163.

[***] อารยวัฒิ 5 ดู [249] อริยวัฑฒิ 5


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=250

อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย

บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]