ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ปัจจเวกขณญาณ ”             ผลการค้นหาพบ  3  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 3
[218] ธรรมขันธ์ 5 (กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหัวข้อใหญ่ — bodies of doctrine; categories of the Teaching)
       1. สีลขันธ์ (กองศีล, หมวดศีล ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปาติโมกขสังวร กายสุจริต สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นต้น — body of morals; virtue category)
       2. สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ, หมวดสมาธิ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นต้น — body of concentration; concentration category)
       3. ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา, หมวดปัญญา ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ธัมมวิจยะ วิมังสา ปฏิสัมภิทา สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น— body of wisdom or insight; understanding category)
       4. วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ, หมวดวิมุตติ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ปหาน วิราคะ วิโมกข์ วิสุทธิ สันติ นิโรธ นิพพาน เป็นต้น — body of deliverance; deliverance category)
       5. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ (กองวิมุตติญาณทัสสนะ, หมวดธรรมเกี่ยวกับการรู้ การเห็นในวิมุตติ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ เป็นต้น — body of the knowledge and vision of deliverance; knowing-and-seeing-of-deliverance category)

       ธรรมขันธ์ 4 ข้อต้น เรียกอีกอย่างว่า สาระ 4 (แก่น, หลักธรรมที่เป็นแกน, หัวใจธรรม — essences)

D.III.279;
A.lll.134;
A.II.140
ที.ปา. 11/420/301;
องฺ.ปญฺจก. 22/108/152;
องฺ.จตุกฺก. 21/150/189.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 3
[333] สัมมัตตะ 10 (ภาวะที่ถูก, ความเป็นที่ถูก — rightness; right states)
       8 ข้อต้น ตรงกับองค์มรรค 8 ข้อ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ และเพิ่ม 2 ข้อ คือ
       9. สัมมาญาณ (รู้ชอบ ได้แก่ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณทั้ง 19 ประเภท — right knowledge; right insight)
       10. สัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ ได้แก่ อรหัตตผลวิมุตติ — right deliverance)

       ธรรมหมวดนี้ เรียกชื่ออีกอย่างว่า อเสขธรรม (ธรรมของพระอเสขะ — qualities of the adept)

       ดู [293] มรรคมีองค์ 8.

D.III.271; 292;
M.I.42;
A.V.212
ที.ปา. 11/362/286;
ม.มู. 12/104/75;
องฺ.ทสก. 24/104/226;
ม.อ. 1/260;
องฺ.อ. 2/319,474,481.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 3
[345] ญาณ 16 หรือ โสฬสญาณ (ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด — insight; knowledge)
       1. นามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม — knowledge of the delimitation of mentality-materiality)
       2. ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ดี เป็นต้น — knowledge of discerning the conditions of mentality-materiality)
       3. สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน — knowledge of comprehending mentality-materiality as impermanent, unsatisfactory and not-self)
       4-12. ได้แก่ วิปัสสนาญาณ 9 ดู [311]
       13. โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล — knowledge at the moment of the ‘Change-of-lineage’)
       14. มัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น —knowledge of the Path)
       15. ผลญาณ (ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ — knowledge of Fruition)
       16. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ — knowledge of reviewing)

       ในญาณ 16 นี้ 14 อย่าง (ข้อ 1-13 และ 16) เป็น โลกียญาณ, 2 อย่าง (ข้อ 14 และ 15) เป็น โลกุตตรญาณ
       ญาณ 16 (บางทีเรียกว่า โสฬสญาณ ซึ่งก็แปลว่าญาณ 16 นั่นเอง) ที่จัดลำดับเป็นชุดและเรียกชื่อเฉพาะอย่างนี้ มิใช่มาในพระบาลีเดิมโดยตรง พระอาจารย์ในสายวงการวิปัสสนาธุระได้สอนสืบกันมา โดยประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และวิสุทธิมรรค ในกาลต่อมา

       (พึงดู ขุ.ปฏิ. 31/มาติกา/1-2 = Ps.1 และ วิสุทธิ. 3/206-328 = Vism. 587-678)

[***] รูปพรหม หรือ พรหมโลก 16 ดู [351] ภูมิ 4 หรือ 31.
[***] โสฬสวัตถุกอานาปานสติ ดู [346] อานาปานสติ 16 ฐาน
[***] อานาปานสติ 16 ขั้น ดู [346] อานาปานสติ 16 ฐาน


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปัจจเวกขณญาณ&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%BB%D1%A8%A8%E0%C7%A1%A2%B3%AD%D2%B3&detail=on


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]