ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ วท ”             ผลการค้นหาพบ  8  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 8
[83] เทวทูต 3 (ทูตของยมเทพ, สื่อแจ้งข่าวของมฤตยู, สิ่งที่เป็นสัญญาณเตือนใจให้ระลึกถึงคติธรรมดาของชีวิตอันมีความตายเป็นที่สุด เพื่อจะได้เกิดความสังเวชและเร่งขวนขวายทำความดี ด้วยความไม่ประมาท — divine messengers; messengers of death)
       1. ชิณณะ (คนแก่ — old men)
       2. พยาธิตะ หรือ อาพาธิกะ (คนเจ็บ, ผู้ป่วย — sick men)
       3. มตะ (คนตาย — dead men)

A.I.138. องฺ.ติก. 20/475/175.

[**] เทวทูต 4 ดู [150] นิมิต 4.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 8
[84] เทวทูต 5 (ทูตของยมเทพ — divine messengers)
       1. ทหระ หรือ มันทกุมาร (เด็กอ่อน — a young baby)
       2. ชิณณะ (คนแก่ — an old men)
       3. พยาธิตะ หรือ อาพาธิกะ (คนเจ็บ — a sick man)
       4. กรรมการณัปปัตตะ (คนถูกลงโทษ, คนถูกจองจำลงอาญา — a criminal subjected to punishment)
       5. มตะ (คนตาย — a dead man)

M.III.179. ม.อุ. 14/507/335.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 8
[110] เวทนา 2 (กายเสวยอารมณ์ — feeling; sensation)
       1. กายิกเวทนา (เวทนาทางกาย — physical feeling)
       2. เจตสิกเวทนา (เวทนาทางใจ — mental feeling)

S.IV.231. สํ.สฬ. 18/431/287.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 8
[111] เวทนา 3 (การเสวยอารมณ์, ความรู้สึกรสของอารมณ์ — feeling; sensation)
       1. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม — pleasant feeling; pleasure)
       2. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม — painful feeling pain)
       3. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา — neither-pleasant-nor-painful feeling; indifferent feeling)

D.III.216; 275;
S.IV.331.
ที.ปา. 11/228/229; 391/291;
สํ.สฬ. 18/432/287.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 8
[112] เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ — feeling)
       1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
       2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
       3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
       4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
       5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)

       เวทนา 5 นี้ เรียกเต็มมี อินทรีย์ ต่อท้ายทุกคำ เป็น สุขินทรีย์ เป็นต้น

S.IV.232 สํ.สฬ. 18/433/287.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 8
[113] เวทนา 6 (การเสวยอารมณ์ — feeling)
       1. จักขุสัมผัสสชา เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา — feeling arisen from visual contact)
       2. โสต ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู — from auditory contact)
       3. ฆาน ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก — from olfactory contact)
       4. ชิวหา ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น — from gustatory contact)
       5. กาย ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย — from physical contact)
       6. มโน ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ — from mental contact)

S.IV.232 สํ.สฬ. 18/434/287.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 8
[150] นิมิต 4 (เครื่องหมาย, เครื่องกำหนด, สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็น อันเป็นเหตุปรารภที่จะเสด็จออกบรรพชา - the Four Signs; the Four Sights on seeing which the Bodhisatta went forth in the Great Renunciation)
       1. ชิณณะ (คนแก่ - an old man)
       2. พยาธิตะ หรือ อาพาธิกะ (คนเจ็บ - a sick man)
       3. กาลกตะ (= มตะ, คนตาย - a dead man)
       4. ปัพพชิตะ (บรรพชิต, นักบวช - a religious; holy man; monk)

       สามอย่างแรกมีชื่อเรียกรวมว่า เทวทูต 3 เป็นเครื่องหมายหรือสัญญาณเตือนให้ระลึกถึงความทุกข์ตามคติธรรมดาของชีวิตและบังเกิดความสังเวช อย่างที่สี่คือบรรพชิต เป็นเครื่องหมายให้มองเห็นทางออกที่จะพ้นไปจากทุกข์ บางแห่งท่านเรียกรวมๆ ไปว่าเทวทูต 4 โดยอธิบายชั้นหลังว่า เป็นทูตของวิสุทธิเทพ แต่ตามบาลีเรียกว่านิมิต 4.

D.II.22;
Bv.XVII.14.
ที.ม. 10/32-38/24-35;
ขุ.พุทฺธ. 33/26/544.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 8
[358] เวทนา 108 (การเสวยอารมณ์, ความรู้สึกรสของอารมณ์ - feeling)
       เวทนา 108 มีกล่าวถึงในพระสูตรบางแห่งเฉพาะจำนวน (ม.ม. 13/99/96; สํ.สฬ. 18/412/278; 425/283 = M.I.398; S.IV.225,228) และตรัสแจกแจงไว้ใน อัฏฐสตปริยายสูตร (สํ.สฬ. 18/437/288 = S.IV.232) อธิบายโดยย่อดังนี้
       เวทนา 6 (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ; ดู [113])
       x 3 (ที่เป็นโสมนัส โทมนัส และอุเบกขา; ดู [111])
       x 2 (เป็นเคหสิต คืออิงเรือน หรือเป็นความรู้สึกแบบชาวบ้าน ฝ่ายหนึ่ง และเป็นเนกขัมมสิต คืออิงเนกขัมม์ หรือเป็นความรู้สึกอิงความสละสงบ ฝ่ายหนึ่ง) = 36
       x กาล 3 (อดีต อนาคต ปัจจุบัน) = 108


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วท
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%C7%B7


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]