ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ิก ”             ผลการค้นหาพบ  20  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 20
[2] โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย - reasoned attention: systematic attention; analytical thinking; critical reflection; thinking in terms of specific conditionality; thinking by way of causal relations or by way of problem-solving) และเป็น ฝ่ายปัญญา (a factor belonging to the category of insight or wisdom)
       “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”
       “เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ภิกษุผู้มีโยนิโสมนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น”
       “เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”
       “เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกขจัดเสียได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”
       “โยนิโสมนสิการ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ
       ธรรมข้ออื่น ที่ได้รับยกย่องคล้ายกับโยนิโสมนสิการนี้ ในบางแง่ ได้แก่ อัปปมาทะ (ความไม่ประมาท - earnestness; diligence), วิริยารัมภะ (การปรารภความเพียร, ทำความเพียรมุ่งมั่น - instigation of energy; energetic effort), อัปปิจฉตา (ความมักน้อย, ไม่เห็นแก่ได้ - fewness of wishes; paucity of selfish desire), สันตุฏฐี (ความสันโดษ - contentment), สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว, สำนึกตระหนักชัดด้วยปัญญา - awareness; full comprehension); กุสลธัมมานุโยค (การหมั่นประกอบกุศลธรรม - pursuit of virtue); ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ - possession of will), อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งตนคือมีจิตใจซึ่งพัฒนาเต็มที่แล้ว - self-possession; self-realization), ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ - possession of right view), และ อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งอัปปมาทะ - possession of earnestness)

S.V.2-30;
A.I.11-31;
It.9.
สํ.ม. 19/136-137/34, 154-155/41
องฺ.เอก. 20/68/15, 124/24;
ขุ.อิติ. 25/194/236

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 20
[95] ปาปณิกธรรม 3 (ปาปณิกังคะ หลักพ่อค้า, องค์คุณของพ่อค้า — qualities of a successful shopkeeper or businessman)
       1. จักขุมา ตาดี (รู้จักสินค้า ดูของเป็น สามารถคำนวณราคา กะทุนเก็งกำไร แม่นยำ — shrewd)
       2. วิธูโร จัดเจนธุรกิจ (รู้แหล่งซื้อแหล่งขาย รู้ความเคลื่อนไหวความต้องการของตลาด สามารถในการจัดซื้อจัดจำหน่าย รู้ใจและรู้จักเอาใจลูกค้า — capable of administering business)
       3. นิสสยสัมปันโน พร้อมด้วยแหล่งทุนเป็นที่อาศัย (เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจในหมู่แหล่งทุนใหญ่ๆ หาเงินมาลงทุนหรือดำเนินกิจการโดยง่าย — having good credit rating)

A.I.116. องฺ.ติก. 20/459/146.

[**] ปิฎก 3 ดู [75] ไตรปิฎก
[**] พุทธคุณ 3 ดู [305] พุทธคุณ 3

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 20
[124] สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน — the Threefold Learning; the Threefold Training)
       1. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง — training in higher morality)
       2. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง — training in higher mentality)
       3. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง — training in higher wisdom)

       เรียกง่ายๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา (morality, concentration and wisdom)

D.III.220;
A.I.229.
ที.ปา. 11/228/231;
องฺ.ติก. 20/521/294.

[***] สุจริต 3 ดู [81] สุจริต 3.
[***] โสดาบัน 3 ดู [58] โสดาบัน 3.
[***] อกุศลมูล 3 ดู [68] อกุศลมูล 3.
[***] อกุศลวิตก 3 ดู [70] อกุศลวิตก 3.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 20
[144] ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 (ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน, หลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขขั้นต้น - virtues conducive to benefits in the present; virtues leading to temporal welfare)
       1. อุฏฐานสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ประกอบอาชีพอันสุจริต มีความชำนาญ รู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง ตรวจตรา หาอุบายวิธี สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี - to be endowed with energy and industry; achievement of diligence)
       2. อารักขสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรู้จักคุ้มครองเก็บรักษาโภคทรัพย์และผลงานอันตนได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม ด้วยกำลังงานของตน ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสีย - to be endowed with watchfulness; achievement of protection)
       3. กัลยาณมิตตตา (คบคนดีเป็นมิตร คือ รู้จักกำหนดบุคคลในถิ่นที่อาศัย เลือกเสวนาสำเหนียกศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้ทรงคุณมีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา - good company; association with good people)
       4. สมชีวิตา (มีความเป็นอยู่เหมาะสม คือ รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเลี้ยงชีวิตแต่พอดี มิให้ฝืดเคืองหรือฟูมฟาย ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้ - balanced livelihood; living economically)

       ธรรมหมวดนี้ เรียกกันสั้นๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ หรือเรียกติดปากอย่างไทยๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ (อัตถะ แปลว่า ประโยชน์ จึงมีประโยชน์ซ้ำซ้อนกันสองคำ)

A.IV.281. องฺ.อฏฺฐก. 23/144/289.

[***] เทวทูต 4 ดู [150] นิมิต 4.
[***] ธรรมมีอุปการะมาก 4 ดู [140] จักร 4.
[***] ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย 4 ดู [191] สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 20
[158] ประมาณ หรือ ปมาณิก 4 (บุคคลที่ถือประมาณต่างๆ กัน, คนในโลกผู้ถือเอาคุณสมบัติต่างๆ กัน เป็นเครื่องวัดในการที่จะเกิดความเชื่อความเลื่อมใส - those who measure, judge or take standard)
       1. รูปประมาณ (ผู้ถือประมาณในรูป, บุคคลที่มองเห็นรูปร่างสวยงาม ทรวดทรงดี อวัยวะสมส่วน ท่าทางสง่า สมบูรณ์พร้อม จึงชอบใจเลื่อมใสน้อมใจที่จะเชื่อถือ - one who measures by from or outward appearance; one whose faith depends on good appearance)
       2. โฆษประมาณ (ผู้ถือประมาณในเสียง, บุคคลที่ได้ยินได้ฟังเสียงสรรเสริญ เกียรติคุณหรือเสียงพูดจาที่ไพเราะ จึงชอบใจเลื่อมใสน้อมใจที่จะเชื่อถือ - one who measures by voice or reputation; one whose faith depends on sweet voice or good reputation)
       3. ลูขประมาณ (ผู้ถือประมาณในความคร่ำหรือเศร้าหมอง, บุคคลที่มองเห็นสิ่งของเครื่องใช้ความเป็นอยู่ที่เศร้าหมองเช่น จีวรคร่ำๆ เป็นต้น หรือมองเห็นการกระทำคร่ำเครียดเป็นทุกรกิริยา ประพฤติเคร่งครัดเข้มงวดขูดเกลาตน จึงชอบใจ เลื่อมใสน้อมใจที่จะเชื่อถือ - one who measures or judges by shabbiness, mediocrity or hard life; one whose faith depends on shabbiness or ascetic or self-denying practices)
       4. ธรรมประมาณ (ผู้ถือประมาณในธรรม, บุคคลที่พิจารณาด้วยปัญญาเห็นสารธรรมหรือการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จึงชอบใจเลื่อมใส น้อมใจที่จะเชื่อถือ - one who measures or judges by the teaching or righteous behavior; one whose faith depends on right teachings and practices)

       บุคคล 3 จำพวกต้น ยังมีทางพลาดได้มาก โดยอาจเกิดความคิดใคร่ ถูกครอบงำชักพาไปด้วยความหลง ถูกพัดวนเวียนหรือติดอยู่แค่ภายนอก ไม่รู้จักคนที่ตนมองได้อย่างแท้จริงและไม่เข้าถึงสาระ ส่วนผู้ถือธรรมเป็นประมาณ จึงจะรู้ชัดคนที่ตนมองอย่างแท้จริง ไม่ถูกพัดพาไป เข้าถึงธรรมที่ปราศจากสิ่งครอบคลุม
       พระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณสมบัติครบถ้วนทั้งสี่ข้อ (เฉพาะข้อ 3 ทรงถือแต่พอดี) จึงทรงครองใจคนทุกจำพวกได้ทั้งหมด คนที่เห็นพระพุทธเจ้าแล้ว ที่จะไม่เลื่อมใสนั้น หาได้ยากยิ่งนัก
       ในชั้นอรรถกถา นิยมเรียกบุคคล 4 ประเภทนี้ว่า รูปัปปมาณิกา โฆสัปปมาณิกา ลูขัปปมาณิกา และ ธัมมัปปมาณิกา ตามลำดับ

A.II.71;
Pug.7,53;
DhA.114;
SnA.242.
องฺ.จตุกฺก. 21/65/93;
อภิ.ปุ. 36/10/135; 133/204;
ธ.อ. 5/100;
สุตฺต.อ. 1/329.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 20
[191] สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 (ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า, หลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขขั้นสูงขึ้นไป - virtues conducive to benefits in the future; virtues leading to spiritual welfare)
       1. สัทธาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศรัทธา - to be endowed with faith; accomplishment of confidence)
       2. สีลสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศีล - to be endowed with morality; accomplishment of virtue)
       3. จาคสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการเสียสละ - to be endowd with generosity; accomplishment of charity)
       4. ปัญญาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยปัญญา - to be endowed with wisdom; accomplishment of wisdom)

       ธรรมหมวดนี้ เรียกกันสั้นๆ ว่า สัมปรายิกัตถะ หรือเรียกติดปากอย่างไทยๆ ว่า สัมปรายิกัตถประโยชน์ (อัตถะ ก็แปลว่า ประโยชน์ จึงเป็นคำซ้ำซ้อนกัน)

A.IV.284. องฺ.อฏฐก. 23/144/292.

[***] สัมมัปปธาน 4 ดู [156] ปธาน 4.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 20
[210] อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 (ตามบาลีว่า ภัยสำหรับกุลบุตรผู้บวชในธรรมวินัยนี้ อันเป็นเหตุให้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ไม่ยั่งยืน ต้องลาสิกขาไป - perils or terrors awaiting a clansman who has gone forth from home to the homeless life; dangers to newly ordained monks or novices)
       1. อูมิภัย (ภัยคลื่น คือ อดทนต่อคำสั่งสอนไม่ได้ เกิดความขึ้งเคียดคับใจ เบื่อหน่ายคำตักเตือนพร่ำสอน - peril of waves, i.e. wrath and resentment caused by inability to accept teaching and advice)
       2. กุมภีลภัย (ภัยจรเข้ คือ เห็นแก่ปากแก่ท้อง ถูกจำกัดด้วยระเบียบวินัยเกี่ยวกับการบริโภค ทนไม่ได้ - peril of crocodiles, i.e. gluttony)
       3. อาวฏภัย (ภัยน้ำวน คือ ห่วงพะวงใฝ่ทะยานในกามสุข ตัดใจจากกามคุณไม่ได้ - peril of whirlpools, i.e. desire for sense-pleasures)
       4. สุสุกาภัย (ภัยปลาร้าย หรือภัยฉลาม คือ เกิดความปรารถนาทางเพศ รักผู้หญิง - peril of sharks, i.e. love for women)

M.I.460;
A.II.123.
ม.ม. 13/190/198;
องฺ.จตุกฺก. 21/122/165.

[***] อัปปมัญญา 4 ดู [161] พรหมวิหาร 4

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 20
[222] นวกภิกขุธรรม 5 (ธรรมที่ควรฝึกสอนภิกษุบวชใหม่ให้ประพฤติ ปฏิบัติอย่างมั่นคง, องค์แห่งภิกษุใหม่ — qualities of a newly ordained monk; qualities which should be established in newly ordained monks)
       1. ปาติโมกขสังวร (สำรวมในพระปาติโมกข์ รักษาศีลเคร่งครัด ทั้งในส่วนเว้นข้อห้าม และทำตามข้ออนุญาต — restraint in accordance with the monastic code of discipline; self-control strictly in accordance with the fundamental training-rules)
       2. อินทรีย์สังวร (สำรวมอินทรีย์ มีสติระวังรักษาใจ มิให้กิเลสคือความยินดี ยินร้ายเข้าครอบงำ ในเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง 6 มีเห็นรูปด้วยตาเป็นต้น — restraint of the senses; sense-control)
       3. ภัสสปริยันตะ (พูดคุยมีขอบเขต คือ จำกัดการพูดคุยให้น้อย รู้ขอบเขต ไม่เอิกเกริกเฮฮา — restraint as regards talking)
       4. กายวูปกาสะ (ปลีกกายอยู่สงบ คือ เข้าอยู่ในเสนาสนะอันสงัด — seclusion as to the body; love of solitude)
       5. สัมมาทัสสนะ (ปลูกฝังความเห็นชอบ คือ สร้างเสริมสัมมาทิฏฐิ — cultivation of right views.)

A.III 138. องฺ.ปญฺจก. 22/114/156

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 20
[246] อนุปุพพิกถา 5 (เรื่องที่กล่าวถึงตามลำดับ, ธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความลุ่มลึกลงไปโดยลำดับ เพื่อขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟังให้ประณีตขึ้นไปเป็นชั้นๆ จนพร้อมที่จะทำความเข้าใจในธรรมส่วนปรมัตถ์ — progressive sermon; graduated sermon; subjects for gradual instruction)
       1. ทานกถา (เรื่องทาน, กล่าวถึงการให้ การเสียสละเผื่อแผ่แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน — talk on giving, liberality or charity)
       2. สีลกถา (เรื่องศีล, กล่าวถึงความประพฤติที่ถูกต้องดีงาม — talk on morality or righteousness)
       3. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์, กล่าวถึงความสุขความเจริญ และผลที่น่าปรารถนาอันเป็นส่วนดีของกาม ที่จะพึงเข้าถึง เมื่อได้ประพฤติดีงามตามหลักธรรมสองข้อต้น — talk on heavenly pleasures)
       4. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษแห่งกาม, กล่าวถึงส่วนเสีย ข้อบกพร่องของกาม พร้อมทั้งผลร้ายที่สืบเนื่องมาแต่กาม อันไม่ควรหลงใหลหมกมุ่นมัวเมา จนถึงรู้จักที่จะหน่ายถอนตนออกได้ — talk on the disadvantages of sensual pleasures)
       5. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งความออกจากกาม, กล่าวถึงผลดีของการไม่หมกมุ่นเพลิดเพลินติดอยู่ในกาม และให้มีฉันทะที่จะแสวงความดีงามและความสุขอันสงบที่ประณีตยิ่งขึ้นไปกว่านั้น — talk on the benefits of renouncing sensual pleasures)

       ตามปกติ พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่คฤหัสถ์ ผู้มีอุปนิสัยสามารถที่จะบรรลุธรรมพิเศษ ทรงแสดงอนุปุพพิกถานี้ก่อน แล้วจึงตรัสแสดงอริยสัจจ์ 4 เป็นการทำจิตให้พร้อมที่จะรับ ดุจผ้าที่ซักฟอกสะอาดแล้ว ควรรับน้ำย้อมต่างๆ ได้ด้วยดี

Vin.I.15;
D.I.148.
วินย. 4/27/32;
ที.สี. 9/237/189.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 20
[251] อาวาสิกธรรม 5 (ธรรมของภิกษุผู้อยู่ประจำวัด, แปลถือความมาใช้ให้เหมาะกับปัจจุบันว่า คุณสมบัติของเจ้าอาวาส, หมวดที่ 1 ประเภทที่ควรยกย่อง — qualities of an estimable resident or incumbent of a monastery; qualities of an estimable abbot)
       1. อากัปปวัตตสัมปันนะ (ถึงพร้อมด้วยมารยาทและวัตร — to be accomplished in manner and duties)
       2. พหุสสุตะ (เป็นพหูสูต ทรงความรู้ — to have great learning)
       3. ปฏิสัลเลขิตา (เป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ชอบความสงบ ยินดีในกัลยาณธรรม — to be fond of solitude)
       4. กัลยาณวาจา (มีวาจางาม รู้จักพูด รู้จักเจรจาให้เป็นผลดี — to have and convincing speech)
       5. ปัญญวา (มีปัญญา เฉลียวฉลาด — to be wise)

A.III.261 องฺ.ปญฺจก. 22/231/290.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 20
[252] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 2 ประเภทเป็นที่รักที่เคารพของสพรหมจารี คือ เพื่อนภิกษุสามเณรผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน — qualities of a beloved and respected incumbent or abbot)
       1. สีลวา (มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — to gave good conduct)
       2. พหุสสุตะ (เป็นพหูสูต ทรงความรู้ — to have great learning)
       3. กัลยาณวาจา (มีวาจางาม รู้จักพูด รู้จักเจรจาให้เป็นผลดี — to have lovely and convincing speech)
       4. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน 4 สำหรับอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน — to be able to gain pleasure of the Four Absorptions ot will)
       5. อนาสวเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ (บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ สิ้นอาสวะแล้ว — to have gained the Deliverance

A.III.262. องฺ.ปญฺจก. 22/232/290.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 20
[253] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 3 ประเภทอาวาสโสภณ คือทำวัดให้งาม — qualities of on incumbent or abbot who graces the monastery)
       1. สีลวา (มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — to have good conduct)
       2. พหุสสุตะ (เป็นพหูสูต ทรงความรู้ — to have great learning)
       3. กัลยาณวาจา (มีวาจางาม รู้จักพูด รู้จักเจรจาให้เป็นผลดี — to have lovely and convincing speech)
       4. ธัมมิกถาย สันทัสสนา (สามารถกล่าวธรรมีกถาให้ผู้มาหาเห็นแจ่มชัด ยอมรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้แกล้วกล้า และเบิกบานใจ — to be able teach, incite, rouse and satisfy those who him with talk on the Dharma)
       5. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน 4 ที่เป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน — to be able to gain pleasure of the Four Absorptions)

A.III.262 องฺ.ปญฺจก. 22/233/291.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 20
[254] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 4 ประเภท มีอุปการะมากแก่วัด — qualities of an incumbent or abbot who is of greal service to his monastery)
       1. สีลวา (มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — to have good conduct)
       2. พหุสสุตะ (เป็นพหูสูต ทรงความรู้ — to have great learning)
       3. ขัณฑผุลลปฏิสังขรกะ (รู้จักปฏิสังขรณ์เสนาสนะสิ่งของที่ชำรุดหักพัง — to repair broken and dilapidated things)
       4. ปุญญกรณายาโรจกะ (เมื่อมีสงฆ์หมู่ใหญ่มาจากต่างถิ่นต่างแคว้น ขวนขวายบอกชาวบ้านผู้ปวารณาไว้ให้มาทำบุญ — to inform the householders of the arrival of incoming monks in order that the former may make merit)
       5. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน 4 ที่เป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน — to be able to gain pleasure of the Four Absorptions)

A.III.263 องฺ.ปญฺจก. 22/234/292.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 20
[255] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 5 ประเภทอนุเคราะห์คฤหัสถ์ — qualities of an incumbent or abbot who is kind to lay people)
       1. อธิสีเล สมาทปกะ (ชักนำคฤหัสถ์ให้ถือปฏิบัติในอธิศีล — to incite them to higher virtue) อธิศีลในที่นี้ ท่านอธิบายว่า ได้แก่เบญจศีลที่เป็นไปเพื่อคุณเบื้องสูง
       2. ธัมมทัสสเน นิเวสกะ (ยังคฤหัสถ์ให้ตั้งอยู่ในธรรมทัศนะ คือรู้เห็นเข้าใจธรรม — to encourage them in the discernment of truth or the vision of the doctrine)
       3. คิลานสตุปปาทกะ (เมื่อคฤหัสถ์เจ็บไข้ ไปเยี่ยมให้สติ — to visit the sick and rouse them to mindfulness and awareness)
       4. ปุญญกรณายาโรจกะ (เมื่อมีสงฆ์หมู่ใหญ่มาจากต่างแคว้น ขวนขวายบอกชาวบ้านผู้ปวารณาไว้ให้มาทำบุญ — to inform the householders of the arrival of incoming monks in order that the former may make merit)
       5. สัทธาเทยยาวินิปาตกะ (เขาถวายโภชนะใดๆ จะเลวหรือดี ก็ฉันด้วยตนเอง ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป — to enjoy by himself any given food, whether mean or choice, not frustrating the gift of faith)

A.III.263. องฺ.ปญฺจก. 22/235/292.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 20
[256] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 6 ประเภทมีความสุขความเจริญดุจได้รับเชิญขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ — qualities of an incumbent or abbot who is prosperous as if put in heaven)
       1. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวตำหนิติเตียนบุคคลที่ควรตำหนิติเตียน — to speak in blame of a person deserving blame only after deliberately testing and plumbing the matter.
       2. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวยกย่องสรรเสริญบุคคลที่ควรยกย่องสรรเสริญ — to speak in praise of a person deserving praise only after deliberately testing and plumbing the matter.
       3. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงแสดงความไม่เลื่อมใส ในฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส — to show disbelief in what deserves disbelief only after deliberately testing and plumbing the matter.
       4. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงแสดงความเลื่อมใส ในฐานะอันควรเลื่อมใส — to show appreciation in what deserves appreciation only after deliberately testing and plumbing the matter.
       5. ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป -- not to frustrate to gift of faith.

       เจ้าอาวาสที่ประพฤติตรงข้ามจากนี้ ย่อมเสื่อมดุจถูกจับไปขังในนรก.

A.III.264. องฺ.ปญฺจก. 22/236/293.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 20
[257] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 7 ประเภทมีความสุขความเจริญดุจได้รับเชิญขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ อีกหมวดหนึ่ง — sikadhamma)
       1. อนุวิจจาวัณณภาสกะ (พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวตำหนิติเตียนบุคคลที่ควรตำหนิติเตียน - คำแปลภาษาอังกฤษดูในหมวดก่อน)
       2. อนุวิจจวัณณภาสกะ (พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวยกย่องสรรเสริญบุคคลที่ควรยกย่องสรรเสริญ - คำและภาษาอังกฤษดูในหมวดก่อน)
       3. น อาวาสมัจฉรี (ไม่ตระหนี่หวงแหนที่อยู่อาศัย — not to be stingy as to lodging)
       4. น กุลมัจฉรี (ไม่ตระหนี่หวงแหนตระกูลอุปฐาก — not to be stingy as to supporting-families)
       5. น ลาภมัจฉรี (ไม่ตระหนี่หวงแหนลาภ — not to be stingy as to gain)

       นอกจากนี้ ยังมีอาวาสิกธรรมประเภทมีความสุขความเจริญเหมือนได้รับเชิญไปอยู่ในสวรรค์ อีก 3 หมวด แต่มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย หรือกำหนดได้ง่ายคือ
       หมวดหนึ่ง เปลี่ยนเฉพาะข้อ 5 เป็น “ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป”
       อีกหมวดหนึ่ง เปลี่ยน 4 ข้อต้นเป็นเรื่องมัจฉริยะทั้งหมด คือ เป็น น อาวาสมัจฉรี, น กุลมัจฉรี, น ลาภมัจฉรี, น วัณณมัจฉรี ส่วนข้อสุดท้ายเป็น “ไม่ยังศรัทธาไทย ให้ตกไป”
       อีกหมวดหนึ่ง เปลี่ยนเป็นเรื่องมัจฉริยะทั้ง 5 ข้อ คือ เป็นผู้ไม่มีมัจฉริยะทั้ง 5

       ดู [233] มัจฉริยะ 5.

A.III.264-6 องฺ.ปญฺจก. 22/237-240/293-295.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 20
[290] อปริหานิยธรรม 7 ของภิกษุ หรือ ภิกขุปริหานิยธรรม 7 (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวสำหรับภิกษุทั้งหลาย — things leading never to decline but only to prosperity; conditions of welfare)
       1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ (to hold regular and frequent meeting)
       2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ (to meet together in harmony, disperse in harmony, and do the business and duties of the Order in harmony)
           ข้อนี้แปลอีกอย่างว่า : พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันลุกขึ้นจัดการแก้ไข สิ่งเสียหาย เหตุไม่งาม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
       3. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ (to introduce no revolutionary ordinance, break up no established ordinance, but train oneself in accordance with the prescribed training-rules)
       4. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง (to honour and respect those elders of long experience, the fathers and leaders of the Order and deem them worthy of listening to)
       5. ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้น (not to fall under the influence of craving which arises)
       6. ยินดีในเสนาสนะป่า (to delight in forest retreat)
       7. ตั้งสติระลึกไว้ในใจว่า เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุก (to establish oneself in mindfulness, with this thought, ‘Let disciplined co-celibates who have not come, come hither, and let those that have already come live in comfort.’)

D.II.77;
A.IV.20.
ที.ม. 10/70/90;
องฺ.สตฺตก. 23/21/21.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 20
อัฏฐกะ - หมวด 8
Groups of Eight
(including related groups)
[***] ฌาน 8 ดู [10] ฌาน 8.

[293] มรรคมีองค์ 8 หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐ” — the noble Eightfold Path); องค์ 8 ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path) มีดังนี้
       1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Right View; Right Understanding)
       2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป — Right Thought) ดู [69] กุศลวิตก 3
       3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4 — Right Speech)
       4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3 — Right Action)
       5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Right Livelihood)
       6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 — Right Effort)
       7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 — Right Mindfulness)
       8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4 — Right Concentration)

       องค์ 8 ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ 3 ข้อต้น คือ ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา ดู [124] สิกขา 3; [204] อริยสัจจ์ 4; และหมวดธรรมที่อ้างถึงทั้งหมด
       มรรคมีองค์ 8 นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ดู [15] ที่สุด 2

D.II.321;
M.I.61;
M,III.251;
Vbh.235.
ที.ม. 10/299/348;
ม.มู. 12/149/123;
ม.อุ. 14/704/453;
อภิ.วิ. 35/569/307.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 20
[337] อันตคาหิกทิฏฐิ 10 (ความเห็นอันถือเอาที่สุด, ความเห็นผิดที่แล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง — the ten erroneous extremist views) คือเห็นว่า
       1. โลกเที่ยง (The world is eternal.)
       2. โลกไม่เที่ยง (The world is not eternal.)
       3. โลกมีที่สุด (The world is finite.)
       4. โลกไม่มีที่สุด (The world is infinite.)
       5. ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น (The soul and the body are identical.)
       6. ชีวะก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง (The soul is one thing and the body is another.)
       7. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก (The Tathagata is after death.)
       8. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่เป็นอีก (The Tathagata is not after death.)
       9. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็ใช่ ไม่เป็นอีก ก็ใช่ (The Tathagata both is and is not after death.)
       10. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็มิใช่ ย่อมไม่เป็นอีก ก็มิใช่ (The Tathagata neither is nor is not after death.)

       คำว่า ตถาคต ในที่นี้ อรรถกถาบางแห่งว่าหมายถึงสัตว์ (เช่น ม.อ. 3/135; สงฺคณี.อ. 528) บางแห่งว่า อัตตา หรืออาตมัน (อุ.อ. 430) บางแห่งว่าพระพุทธเจ้า (สํ.อ. 3/192)

M.I.426;
S.IV.392;
A.V.193;
Ps.I.151;
Vbh.392
ม.ม. 13/147/143;
สํ.สฬ. 18/788/476;
องฺ.ทสก. 24/193/206;
ขุ.ปฏิ. 31/337/226;
อภิ.วิ. 35/1032/529

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 20
[355] เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต - mental factors; mental concomitants)
       ก. อัญญาสมานาเจตสิก 13 (เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพวกเดียว - the Common-to-Each-Other; general mental factors)
           1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง - universal mental factors; the Primary)
               1. ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์ - contact; sense-impression)
               2. เวทนา (ความเสวยอารมณ์ - feeling)
               3. สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ - perception)
               4. เจตนา (ความจงใจต่ออารมณ์ - volition)
               5. เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว - one-pointedness; concentration)
               6. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง - vitality; life-faculty)
               7. มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ - attention)

           2) ปกิณณกเจตสิก 6 (เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง - particular mental factors; the Secondary)
               8. วิตก (ความตรึกอารมณ์ - initial application; thought conception; applied thought)
               9. วิจาร (ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ - sustained application; discursive thinking; sustained thought)
               10. อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ - determination; resolution)
               11. วิริยะ (ความเพียร - effort; energy)
               12. ปีติ (ความปลาบปลื้มในอารมณ์, อิ่มใจ - joy; interest)
               13. ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์ - conation; zeal)

       ข. อกุศลเจตสิก 14 (เจตสิกฝ่ายอกุศล - immoral or unwholesome mental factors; unprofitable mental factors)
           1) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก 4 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง - universal immorals; the Primary)
               14. โมหะ (ความหลง - delusion)
               15. อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป - shamelessness; lack of moral shame)
               16. อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป - fearlessness; lack of moral dread)
               17. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน - restlessness; unrest)

           2) ปกิณณกอกุศลเจตสิก 10 (อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต - particular immorals; the Secondary)
               18. โลภะ (ความอยากได้อารมณ์ - greed)
               19. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด - wrong view)
               20. มานะ (ความถือตัว - conceit)
               21. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย - hatred)
               22. อิสสา (ความริษยา - envy; jealousy)
               23. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ - stinginess; meanness)
               24. กุกกุจจะ (ความเดือดร้อนใจ - worry; remorse)
               25. ถีนะ (ความหดหู่ - sloth)
               26. มิทธะ (ความง่วงเหงา - torpor)
               27. วิจิกิจฉา (ความคลางแคลงสงสัย - doubt; uncertainty; scepsis)

       ค. โสภณเจตสิก 25 (เจตสิกฝ่ายดีงาม - beautiful mental factors; lofty mental factors)
           1) โสภณสาธารณเจตสิก 19 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง - universal beautiful mental factors; the Primary)
               28. สัทธา (ความเชื่อ - confidence; faith)
               29. สติ (ความระลึกได้, ความสำนึกพร้อมอยู่ - mindfulness)
               30. หิริ (ความละอายต่อบาป - moral shame; conscience)
               31. โอตตัปปะ (ความสะดุ้งกลัวต่อบาป - moral dread)
               32. อโลภะ (ความไม่อยากได้อารมณ์ - non-greed)
               33. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย - non-hatred)
               34. ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ - equanimity; specific neutrality)
               35. กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งกองเจตสิก - tranquillity of mental body)
               36. จิตตปัสสัทธิ (ความสงบแห่งจิต - tranquillity of mind)
               37. กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก - lightness of mental body; agility of ~)
               38. จิตตลหุตา (ความเบาแห่งจิต - lightness of mind; agility of ~)
               39. กายมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก - pliancy of mental body; elasticity of ~)
               40. จิตตมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต - pliancy of mind; elasticity of ~)
               41. กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก - adaptability of mind; wieldiness of ~)
               42. จิตตกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งจิต - adaptability of mind; wieldiness of ~)
               43. กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก - proficiency of mental body)
               44. จิตตปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งจิต - proficiency of mind)
               45. กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก - rectitude of mental body; uprightness of ~)
               46. จิตตุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งจิต - rectitude of mind; uprightness of ~)

           2) วิรตีเจตสิก 3 (เจตสิกที่เป็นตัวความงดเว้น - abstinences)
               47. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ - right speech)
               48. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ - right action)
               49. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ - right livelihood)

           3) อัปปมัญญาเจตสิก 2 (เจตสิกคืออัปปมัญญา - boundless states)
               50. กรุณา (ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์ - compassion)
               51. มุทิตา (ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข - sympathetic joy)

           4) ปัญญินทรีย์เจตสิก 1 (เจตสิกคือปัญญินทรีย์ - faculty of wisdom)
               52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง - undeludedness; wisdom)

Comp. 94 สงฺคห. 7.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ิก
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%D4%A1


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]