ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ปฏิ ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
คิหิปฏิบัติ ข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
จีวรปฏิคคาหก ผู้รับจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร
       เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
ญายปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง หรือปฏิบัติเป็นธรรม
       คือปฏิบัติปฏิปทาที่จะให้เกิดความรู้ หรือปฏิบัติเพื่อได้ความรู้ธรรม ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์
       อีกนัยหนึ่งว่าปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ ถือความถูกเป็นประมาณ
       (ข้อ ๓ ในสังฆคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หมายถึงมรรคมีองค์แปด
       เรียกสั้นๆ ว่า มรรค
       เรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
ธรรมเทศนาปฏิสังยุต ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการแสดงธรรม (หมวดที่ ๓ แห่งเสขิยวัตร มี ๑๖ สิกขาบท)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
ธรรมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรม; การปฏิบัติที่ถูกต้องตามธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
ธรรมปฏิรูป ธรรมปลอม, ธรรมที่ไม่แท้, ธรรมเทียม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
ธรรมปฏิสันถาร การต้อนรับด้วยธรรม คือกล่าวธรรมให้ฟังหรือแนะนำในทางธรรม อย่างนี้เป็นธรรมปฏิสันถารโดยเอกเทศ คือส่วนหนึ่งด้านหนึ่ง
       ธรรมปฏิสันถารที่บำเพ็ญอย่างบริบูรณ์ คือการต้อนรับโดยธรรม ได้แก่ เอาใจใส่ช่วยเหลือสงเคราะห์ แก้ไขปัญหาบรรเทาข้อสงสัย ขจัดปัดเป่าข้อติดขัดยากลำบากเดือนร้อนทั้งหลาย ให้เขาลุล่วงกิจอันเป็นกุศล พ้นความอึดอัดขัดข้อง
       (ข้อ ๒ ในปฏิสันถาร ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
       หมายถึง การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลัก เช่น หลักย่อยสอดคล้องกับหลักใหญ่ และเข้าแนวกับธรรมที่เป็นจุดมุ่งหมาย,
       ปฏิบัติถูกต้องตามกระบวนธรรม;
       ดู วุฑฒิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
ธัมมปฏิสันถาร ดู ธรรมปฏิสันถาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม, เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้ เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้
       (ข้อ ๒ ในปฏิสัมภิทา ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ดู ธรรมานุธรรมปฏิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ
       (ข้อ ๓ ในปฏิสัมภิทา ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
ปฏิกโกสนา การกล่าวคัดค้านจังๆ
       (ต่างจากทิฏฐาวิกัมม์ ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นแย้ง ชี้แจงความเห็นที่ไม่ร่วมด้วยเป็นส่วนตัว แต่ไม่ได้คัดค้าน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
ปฏิกัสสนา กิริยาชักเข้าหาอาบัติเดิม,
       เป็นชื่อวุฏฐานวิธีสำหรับอันตราบัติ คือระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสสสำหรับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสขึ้นใหม่อีก ในเวลาใดเวลาหนึ่งตั้งแต่เริ่มอยู่ปริวาสไปจนถึงก่อนอัพภาน ทำให้เธอต้องกลับอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตตั้งแต่เริ่มต้นไปใหม่;
       สงฆ์จตุวรรคให้ปฏิกัสสนาได้;
       ดู อันตราบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
ปฏิกา เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสีขาวล้วน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ปฏิการ การตอบแทน, การสนองคุณผู้อื่น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
ปฏิกูล น่าเกลียด, น่ารังเกียจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ปฏิคม ผู้ต้อนรับ, ผู้รับแขก, ผู้ดูแลต้อนรับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ปฏิคาหก ผู้รับทาน, ผู้รับของถวาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
ปฏิฆะ ความขัดใจ, แค้นเคือง, ความขึ้งเคียด, ความกระทบกระทั่งแห่งจิต
       ได้แก่ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ;
       (ข้อ ๕ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๒ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๒ ในอนุสัย ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ปฏิจจสมุปบาท สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์คือหัวข้อ ๑๒ ดังนี้
       ๑. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
            เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
       ๒. สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ
            เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
       ๓. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ
            เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
       ๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ
            เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนจึงมี
       ๕. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส
            เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
       ๖. ผสฺสปจฺจยา เวทนา
            เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
       ๗. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
            เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
       ๘. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ
            เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
       ๙. อุปาทานปจฺจยา ภโว
            เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี
       ๑๐. ภวปจฺจยา ชาติ
            เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี
       ๑๑. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
            เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
        โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
            โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงมีพร้อม
        เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
            ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
ปฏิจฉันนปริวาส ปริวาสเพื่อครุกาบัติที่ปิดไว้, ปริวาสที่ภิกษุผู้ปรารถนาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสอยู่ใช้เพื่ออาบัติที่ปิดไว้ ซึ่งนับวันได้เป็นจำนวนเดียว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
ปฏิจฉันนาบัติ อาบัติ (สังฆาทิเสส) ที่ภิกษุต้องแล้วปิดไว้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
ปฏิญญา ให้คำมั่น, แสดงความยืนยัน, ให้การยอมรับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
ปฏิญญาตกรณะ “ทำตามรับ” ได้แก่ ปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์
       การแสดงอาบัติก็จัดเข้าในข้อนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ปฏิญาณ การให้คำมั่นโดยสุจริตใจ, การยืนยัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
ปฏิบัติ ประพฤติ, กระทำ;
       บำรุง, เลี้ยงดู

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติ คือ
       ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของท่าน,
       บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติกระทำสิ่งที่ดีงาม
       (ข้อ ๒ ในบูชา ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ปฏิบัติสัทธรรม ดู สัทธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
ปฏิปทา ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
ปฏิปทา ๔ การปฏิบัติของท่านผู้ได้บรรลุธรรมพิเศษ มี ๔ ประเภท คือ
       ๑. ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
       ๒. ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติยาก แต่รู้โดยเร็ว
       ๓. สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
       ๔. สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ
       ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙
       (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
ปฏิปทานุตตริยะ การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม
       ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่ได้เห็นแล้วในข้อทัสสนานุตตริยะ ทั้งส่วนที่จะพึงละและพึงบำเพ็ญ;
       ดู อนุตตริยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
ปฏิปักข์, ปฏิปักษ์ ฝ่ายตรงกันข้าม, คู่ปรับ, ข้าศึก, ศัตรู

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
ปฏิปักขนัย นัยตรงกันข้าม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยสงบระงับ ได้แก่
       การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอริยผล
       เป็นการหลุดพ้นที่ยั่งยืน ไม่ต้องขวนขวายเพื่อละอีก เพราะกิเลสนั้นสงบไปแล้ว
       เป็นโลกุตตรวิมุตติ
       (ข้อ ๔ ในวิมุตติ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
ปฏิพัทธ์ เนื่องกัน, ผูกพัน, รักใคร่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
ปฏิภาค ส่วนเปรียบ, เทียบเคียง, เหมือน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน,
       นิมิตเทียบเคียง เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิต
       เกิดจากสัญญา สามารถนึกขยายหรือย่อส่วน ให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามความปรารถนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
ปฏิภาณ โต้ตอบได้ทันทีทันควัน, ปัญญาแก้การณ์เฉพาะหน้า, ความคิดทันการ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ
       โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือ
       แก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ
       (ข้อ ๔ ในปฏิสัมภิทา ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
ปฏิมา รูปเปรียบ, รูปแทน, รูปเหมือน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
ปฏิรูป สมควร, เหมาะสม, ปรับปรุงให้สมควร;
       ถ้าอยู่ท้ายในคำสมาสแปลว่า “เทียม” “ปลอม” “ไม่แท้”
       เช่น สัทธรรมปฏิรูป แปลว่า “สัทธรรมเทียม” หรือ “ธรรมปลอม”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร,
       อยู่ในถิ่นที่เหมาะ หมายถึงอยู่ในถิ่นเจริญ มีคนดี มีนักปราชญ์
       (ข้อ ๑ ในจักร ๔, ข้อ ๔ ในมงคล ๓๘)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ปฏิโลม
       1. ทวนลำดับ, ย้อนจากปลายมาหาต้น เช่นว่า
           ตจปัญจกกัมมัฏฐาน
               จากคำท้ายมาหาคำต้นว่า “ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา”;
           ตรงข้ามกับ อนุโลม 1.
       2. สาวเรื่องทวนจากผลเข้าไปหาเหตุ เช่น
               วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย,
               สังขารมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นต้น;
           ตรงข้ามกับ อนุโลม 2

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
ปฏิวัติ การเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกกลับ, การหมุนกลับ, การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
ปฏิเวธ เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ปฏิเวธสัทธรรม ดู สัทธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ปฏิสนธิ เกิด, เกิดใหม่, แรกเกิดขึ้นในครรภ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ปฏิสนธิจิต, ปฏิสนธิจิตต์ จิตที่สืบต่อภพใหม่, จิตที่เกิดทีแรกในภพใหม่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
ปฏิสสวะ การฝืนคำรับ,
       รับแล้วไม่ทำตามรับ เช่น รับนิมนต์ว่าจะไปแล้วหาไปไม่
       (พจนานุกรมเขียน ปฏิสวะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
ปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซมทำให้กลับดีเหมือนเดิม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง,
       ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย;
       ดู วิปัสสนาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
ปฏิสันถาร การทักทายปราศรัย,
       การต้อนรับแขก มี ๒ อย่างคือ
           ๑. อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ
           ๒. ธรรมปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม คือ กล่าวแนะนำในทางธรรม
               อีกนัยหนึ่งว่า ต้อนรับโดยธรรม คือ
                    การต้อนรับที่ทำพอดีสมควรแก่ฐานะของแขก มีการลุกรับเป็นต้น หรือ
                    ช่วยเหลือสงเคราะห์ขจัดปัญหาข้อติดขัด ทำกุศลกิจให้ลุล่วง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
ปฏิสันถารคารวตา ดู คารวะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน,
       ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ
           ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
           ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
           ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา
           ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
ปฏิสัมภิทามรรค ทางแห่งปฏิสัมภิทา, ข้อปฏิบัติที่ทำให้มีความแตกฉาน;
       ชื่อคัมภีร์หนึ่งแห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก เป็นภาษิตของพระสารีบุตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
ปฏิสารณียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงให้กลับไป
       หมายถึง การที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุไปขอขมาคฤหัสถ์ กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุปากกล้า ด่าว่าคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นทายก อุปฐากสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ เป็นทางจะยังคนผู้ยังไม่เลื่อมใสมิให้เลื่อมใส จะยังคนผู้เลื่อมใสอยู่แล้วให้เป็นอย่างอื่นไปเสีย;
       ปฏิสาราณียกรรม ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
ปฏิเสธ การห้าม, การไม่รับ, การไม่ยอมรับ, การกีดกั้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
ปรมัตถปฏิปทา ข้อปฏิบัติมีประโยชน์อันยิ่ง, ทางดำเนินให้ถึงปรมัตถ์, ข้อปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงประโยชน์สูงสุดคือบรรลุนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
ปรหิตปฏิบัติ ดู ปรัตถปฏิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
ปรัตถปฏิบัติ การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
       เป็นพุทธคุณอย่างหนึ่ง คือ การทรงบำเพ็ญพุทธกิจเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นที่พึ่งของชาวโลก (โลกนาถ) ซึ่งสำเร็จด้วยพระมหากรุณาคุณเป็นสำคัญ
       มักเขียนเป็น ปรหิตปฏิบัติ ซึ่งแปลเหมือนกัน;
       เป็นคู่กันกับ อัตตัตถสมบัติ หรือ อัตตหิตสมบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
พุทธปฏิมา รูปเปรียบของพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
โภชนปฏิสังยุต ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับโภชนะ,
       ข้อที่ภิกษุสามเณรควรประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการรับบิณฑบาตและฉันอาหาร,
       เป็นหมวดที่ ๒ แห่งเสขิยวัตร มี ๓๐ สิกขาบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง,
       ข้อปฏิบัติเป็นกลางๆ ไม่หย่อนจนเกินไป และไม่ตึงจนเกินไป ไม่ข้องแวะที่สุด ๒ อย่างคือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค,
       ทางแห่งปัญญา (เริ่มด้วยปัญญา, ดำเนินด้วยปัญญา นำไปสู่ปัญญา) อันพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย คือ ความดับกิเลสและความทุกข์ หรือความหลุดพ้นเป็นอิสระสิ้นเชิง ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นที่สุด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
มิตตปฏิรูป, มิตตปฏิรูปก์ คนเทียมมิตร, มิตรเทียม ไม่ใช่มิตรแท้ มี ๔ พวก ได้แก่
       ๑. คนปอกลอก มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
           ๒. ยอมเสียน้อยโดยหวังจะเอาให้มาก
           ๓. ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
           ๔. คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว
       ๒. คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย
           ๒. ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย
           ๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้
           ๔. เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง
       ๓. คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. จะทำชั่วก็เออออ
           ๒. จะทำดีก็เออออ
           ๓. ต่อหน้าสรรเสริญ
           ๔. ลับหลังนินทา
       ๔. คนชวนฉิบหาย มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
           ๒. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
           ๓. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
           ๔. คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
มูลายปฏิกัสสนา การชักเข้าหาอาบัติเดิม เป็นชื่อวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง;
       ดู ปฏิกัสสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
มูลายปฏิกัสสนารหภิกษุ ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม หมายถึง ภิกษุผู้กำลังอยู่ปริวาส หรือประพฤติมานัตอยู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อเดียวกันหรืออาบัติสังฆาทิเสสข้ออื่นเข้าอีกก่อนที่สงฆ์จะอัพภาน ต้องตั้งต้นอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตใหม่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
ลูขปฏิบัติ ประพฤติปอน,
       ปฏิบัติเศร้าหมอง คือใช้ของเศร้าหมอง ไม่ต้องการความสวยงาม
       (หมายถึงของเก่าๆ เรียบๆ สีปอนๆ แต่สะอาด)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
วัตตปฏิบัติ ดู วัตรปฏิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
วัตรปฏิบัติ การปฏิบัติตามหน้าที่, การทำตามข้อปฏิบัติที่พึงกระทำเป็นประจำ, ความประพฤติที่เป็นไปตามขนบธรรมเนียมแห่งเพศ ภาวะหรือวิถีดำเนินชีวิตของตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
วิปฏิสาร ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ
       เช่น ผู้ประพฤติผิดศีล เกิดความเดือดร้อนขึ้นในใจ ในเพราะความไม่บริสุทธิ์ของตน
       เรียกว่า เกิดวิปฏิสาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
สัทธรรมปฏิรูป สัทธรรมปลอม, สัทธรรมเทียม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ทางที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ ทั้งสุคติ ทุคติ และทางแห่งนิพพาน
       (ข้อ ๓ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
สัมมาปฏิบัติ ปฏิบัติชอบ คือปฏิบัติชอบธรรม, ปฏิบัติถูกทำนองคลองธรรม, ดำเนินในมรรคามีองค์ ๘ ประการ (ปฏิบัติตามมรรค)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
สามีจิปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติชอบ, ปฏิบัติสมควรได้รับสามีจิกรรม คือปฏิบัติน่าเคารพนับถือ
       (ข้อ ๔ ในสังฆคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
สุปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี คือปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ดำรงอยู่ในธรรมวินัย
       (ข้อ ๑ ในสังฆคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
เสขปฏิปทา ทางดำเนินของพระเสขะ, ข้อปฏิบัติของพระเสขะ ได้แก่ จรณะ ๑๕

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
อนุปุพพปฏิปทา ข้อปฏิบัติโดยลำดับ, การปฏิบัติตามลำดับ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปฏิ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%AF%D4


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]